ลิ้นจี่ไทยเจอคู่แข่งเวียดนาม

สำนักงานส่งเสริมการค้าต่างประเทศ เวียดนาม ได้รายงานสถานการณ์การผลิตและการค้าลิ้นจี่ของเวียดนาม โดยพบว่าในปัจจุบันผลผลิตลิ้นจี่ได้เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าปี61 จะผลิตได้สูงถึง 2.07 แสนตัน ส่งออกไปขายใน 30 ประเทศกว่า 1,000 ตัน โดยมีตลาดสำคัญ ได้แก่ สหรัฐ สหภาพยุโรป แคนาดา จีน ฯลฯ และยังมีแผนขยายตลาดส่งออกไปตลาดใหม่ในยุโรปตะวันออก รัสเซียเพิ่ม และมาเลเซียที่มีแนวโน้มซื้ออย่างต่อเนื่อง และยังร่วมมือกับมาเลเซียเพื่ออำนวยความสะดวกนำเข้าสินอื่นๆ เช่น ผัก ผลไม้ อาหารทะเล ฯลฯ ดังนั้นไทยควรรักษาคุณภาพ ความสดใหม่และมาตรฐานของสินค้าเอาไว้ให้ได้ เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดของสินค้าไทย

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/news/570191

อียูอาจคว่ำบาตรเมียนมา

อียูอาจคว่ำบาตรเมียนมา

EU กำลังเตรียมมาตรการคว่ำบาตรต่อเมียนมา กรณีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่ หากถูกตัดสิทธิจริง แรงงานมากกว่า 4.5 แสนคนว่างงานทันที รายได้ส่งออกหายไป 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รัฐบาลของนางซูจีเผชิญปัญหาอย่างมากทั้งเรื่องเศรษฐกิจชะลอตัวและการปฏิบัติต่อศาสนาและชาติพันธุ์ที่ต่างกัน UN เผยว่ามากว่า 6.8 หมื่นคนกลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศจากการสู้รบในรัฐกะฉิ่นและรัฐชาน ตั้งแต่ต้นปี60 เกิดพรรคการเมืองจากชนกลุ่มน้อยจากหลายฝ่าย บางพรรครวมตัวกันเพื่อการเลือกตั้งทั่วไปในปี63 เชื่อว่าอนาคตของนางซูจีและพรรคเริ่มจะไม่น่าจะดีขึ้นในอนาคต

ที่มา: https://www.thairath.co.th/content/1413281

 

มาตรการภาษี EU กระทบส่งออกข้าวกัมพูชา

มาตรการภาษี EU กระทบส่งออกข้าวกัมพูชา

กัมพูชากำลังมองหาตลาดใหม่ในการส่งออกข้าวทดแทน EU เนื่องจากการกำหนดภาษีเพื่อป้องกันอุตสาหกรรมผลิตข้าวของ EU ตามข้อร้องเรียนของสเปนและอิตาลี รองประธานสภาค้าข้าวแห่งกัมพูชา เผยแม้กัมพูชาจะได้รับประโยชน์จากสิทธิ EBA แต่มาตรการดังกล่าวที่ป้องกันการขาดดุลของ EU จะส่งผลให้กัมพูชาไม่สามารถแข่งขันได้ ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรรายงานว่าตัวส่งออกข้าว 9 เดือนแรก 389,264 ตัน ลดลง 8.4% และจีนยังเป็นตลาดสำคัญอีกทั้งยังเซ็น MOU ในการส่งเสริมการปลูกและตั้งเป้านำเข้าโควตาข้าวจากกัมพูชามากกว่า 300,000 ตัน

ที่มา: https://www.khmertimeskh.com/50548309/rice-exports-to-eu-to-be-hit-by-tariffs/

 

โครงการเหมืองทองคำแห่งแรกในกัมพูชา เริ่ม ต้นปี 2020

โฆษกกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน เผยบริษัท Emerald Resources จากออสเตรเลีย ได้รับใบอนุญาตการเข้าทำเหมืองแร่และทองคำไปเมื่อก.ค ที่ผ่านมา ภายใต้ชื่อโครงการ The Okvau Gold ในจังหวัดมัณฑลคีรี จะสามารถเริ่มได้ตั้งแต่ต้นปี 2020 คาดว่าจะใช้เงินทุนมากกว่า 19.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สิ่งที่กัมพูชาจะได้คือ การจ้างงาน ภาษี รายรับจากสิทธิ์ใบอนุญาต แต่เรื่องคอรัปชั่นยังเป็นที่กังขาเพราะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลให้กับประชาชนได้ทราบเนื่องจากบริษัทได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ

ที่มา: https://www.phnompenhpost.com/business/first-large-scale-gold-project-kingdom-early-2020

ผลกระทบการเพิกถอน EBA ต่ออสังหาริมทรัพย์กัมพูชา

GDP เติบโตเฉลี่ย 7% อย่างต่อเนื่อง หนึ่งในปัจจัยหลักคือ อสังหาริมทรัพย์ที่เติบโตอย่างรวดเร็วโดยมีการท่องเที่ยว เกษตรและอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มเป็นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นตัวผลักดัน จากสถิติ เผยว่าการจ้างงานภายในประเทศ 800,000 กว่าคน จากโรงงานสิ่งทอที่ขึ้นทะเบียนไว้ 1,522 แห่ง พื้นที่รอบๆ จึ่งมีมูลค่าสูงขึ้นส่งผลดีกับอสังหาฯ อย่างมาก แต่เมื่อมีการพิจารณาตัดสิทธิ์ EBA ของ EU อาจส่งผลกระทบกับอสังหาริมทรัพย์เป็นอย่างมาก แต่อีกในมุมหนึ่งอาจถึงเวลาที่ต้องพัฒนาแรงงาน เช่น ฝึกอบรมหรือปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมที่ใช้ทักษะสูงขึ้นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอย่างที่จีนและเวียดนามกำลังเป็นอยู่

ที่มา: https://www.khmertimeskh.com/50547887/cancellation-of-eba-could-hit-kingdom-real-estate/

สปป.ลาวระดมเงินออกพันธบัตร 7พันล้านบาท

ทริสเรทติ้ง คงอันดับเครดิต สปป.ลาว และอันดับเครดิตพันธบัตรเดิมที่ ที่ระดับ “BBB+” และแนวโน้มอันดับเครดิต “ลบ” ในขณะเดียวกันได้กำหนดอันดับเครดิตพันธบัตร ที่ออกใหม่มูลค่าไม่เกิน 7,000 ล้านบาท ที่ระดับ “BBB+” แนวโน้มอันดับเครดิต “ลบ” เช่นเดียวกัน คาดว่ารัฐบาล ยังต้องพึ่งพาแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศต่อไป เพื่อใช้ในการลงทุนของภาครัฐในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ในขณะที่การขาดแคลนข้อมูล ที่ทันสมัย ทั้งในด้านเศรษฐกิจการเงินการคลัง ตามข้อมูลของธนาคารแห่ง สปป.ลาว คาดว่าเศรษฐกิจปี 61 จะโต 6.5-7% ด้านหนี้ต่างประเทศมีมูลค่ากว่า 8,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นปี 60 หรือประมาณ 50% ของจีดีพี คาดว่าพันธบัตรรัฐบาลของ สปป.ลาว ที่ออกในไทยเมื่อรวมกับที่คาดว่าจะออกใหม่มูลค่า 219 ล้านดอลลาร์ จะมีมูลค่าคงเหลือ ณ สิ้นปี61 ประมาณ 1,740 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นสัดส่วน 16% ของมูลค่าหนี้ต่างประเทศทั้งหมดของรัฐบาล

ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

เลือกตั้งซ่อมเมียนมา NLD ได้ 7 ที่นั่ง แพ้ 6 ที่นั่ง เหตุคนพื้นที่ไม่พอใจการทำงานของรัฐบาลซูจี

เอเอฟพีรายงานว่า พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของนางออง ซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐของเมียนมา ออกมาแถลงเมื่อวันที่ 4 พ.ย.ว่า พรรคNLD คว้าเก้าอี้ในการเลือกตั้งซ่อมมาได้ 7 ที่นั่ง และพ่ายแพ้ 6 ที่นั่ง ที่มีการเลือกตั้งซ่อม 13 ที่นั่งในสภาสูงและสภาล่างรวมทั้งสภาท้องถิ่น ที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 3 พ.ยที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการทดสอบคะแนนเสียงในท้องถิ่นที่มีต่อพรรคNLD ของนางซูจี หลังจากคว้าชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งปี58 และเป็นอันสิ้นสุดยุคการปกครองของทหาร

ที่มา: https://www.prachachat.net/aseanaec/news-245071

จังหวัดด่งนาย ดึงดูดการลงทุน FDI ผ่านเครื่องหมายการค้า

จากรายงานระบุว่านอกจากความได้เปรียบจากข้อตกกลงทางการค้าเสรีหรือเอฟทีเอที่เวียดนามลงนาม เครื่องหมายการค้าของบริษัทท้องถิ่นและเขตอุตสาหกรรมก็ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีต่อการตัดสินใจของสถานประกอบการต่างประเทศ ใน 9 เดือนที่ผ่านมา เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้ามาในจังหวัดด่งนาย กว่า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับแผนที่วางไว้ ซึ่งถือเป็นการยืนยันคุณภาพและประสิทธิภาพในการลงทุนของโครงการในจังหวัดด่งนาย ตลอดจนความเชื่อมั่น และการ FDI ของสถานประกอบการ ต่อบรรยากาศการลงทุนของจังหวัดฯ ปัจจุบันยังคงปฏิบัติการปฏิรูประเบียบราชการและมีความโปร่งใส จากความได้เปรียบทั้งในด้านเครื่องหมายการค้าของท้องถิ่นและสถานประกอบการช่วยให้จังหวัดด่งนาย สามารถดึงดูดการลงทุนทางตรงจากสถานประกอบการ เป็นอย่างมาก

ที่มา: http://vovworld.vn/en-US/economy/dong-nai-attracts-fdi-thanks-to-brand-development-694610.vov

 

ม.หอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ต.ค.อยู่ที่ 81.3 ปรับตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ต.ค.61 อยู่ที่ 81.3 จาก 82.3 ในเดือนก.ย.61 ซึ่งปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 จากความกังวลสงครามการค้าและนักท่องเที่ยวจีนที่ลดลง โดยปัจจัยลบที่ส่งผลให้ดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ การส่งออกเดือนก.ย.61 ลดลงร้อยละ 5.20 , ราคาพืชผลทางการเกษตรส่วนใหญ่ยังทรงตัวในระดับต่ำ, ความกังวลสงครามการค้าสหรัฐฯและจีน, นักท่องเที่ยวจีนลดลง, ผู้บริโภคยังรู้สึกว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวช้าและกระจุกตัว

ที่มา: https://mgronline.com/uptodate/detail/9610000110478

“กกร.” คงเป้าส่งออกปี 61 ที่ 8.0-10.0% GDP 4.4-4.8% แต่ห่วงสงครามการค้า น้ำมันผันผวน แนะประชุม “กรอ.” ส่วนกลางสะท้อนปัญหาถึงบิ๊กตู่

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) ประเมินเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ปี61 การเติบโตชะลอลงจากช่วงครึ่งปีแรก โดยประมาณการปี 61 GDP ขยายตัว 4.4-4.8% และการส่งออกขยายตัว 8.0-10.0% เงินเฟ้อ 0.9-1.5% ผลมาจากสงครามการค้าสหรัฐฯ – จีน การที่ไทยถูกตัดสิทธิ์ GSP จากสหรัฐฯ ใน 11 รายการสินค้าส่งออก และผลกระทบอื่นๆ สำหรับภูมิภาคมีการปรับตัวลง ยกเว้นภาคตะวันออก ผลมาจากปัญหาความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว (โดยเฉพาะจีน ) รวมถึงราคาสินค้าเกษตรที่ยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ด้านบวกคือ การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายฯ อยู่ที่ 1.50% และภาคส่งออกและการค้าชายแดนที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-245844