การขาดรายได้ในช่วง COVID-19 จะเพิ่มภาระหนี้แก่สปป.ลาว

รายได้ในประเทศคาดว่าจะลดลงอีกจากร้อยละ 13.5 ในปี 2019 เป็นร้อยละ 10.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในปี 2020 ตามรายงานของธนาคารโลก ดังนั้นการขาดดุลการคลังคาดว่าจะสูงถึงร้อยละ 7.6 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากประมาณร้อยละ 5.1 ของ GDP ในปี 2019 ซึ่งจะส่งผลให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นซึ่งจะเพิ่มแรงกดดันต่อความสามารถในการชำระหนี้ของประเทศท่ามกลางวิกฤต COVID -19 นายกรัฐมนตรีทองลุน สีสุลธิ์ได้สั่งการกระทรวงการคลังให้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อยกระดับรายได้ประชาชาติให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหาทางการเงินของประเทศกระทรวงการคลังมีแนวทางในการเพิ่มรายได้โดยจะมีการเพิ่มค่าธรรมเนียมจากโครงการสัมปทานต่างๆ รวมถึงค่าธรรมเนียมอื่นๆ อย่างไรก็ตามการขาดดุลงบประมาณคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากผลกระทบที่ยาวนานของการแพร่ระบาดของ COVID -19 ต่อธุรกิจต่างๆ และจะทำให้สปป.ลาวมีความเสี่ยงสูงในการชำระหนี้ในอนาคต

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Projected197.php

รัฐบาลสร้างกองทุนเพื่อส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน

รัฐบาลได้จัดตั้งกองทุนเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาพลังงานหมุนเวียนท่ามกลางความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการใช้ไฟฟ้า ในสปป.ลาว นายกรัฐมนตรี Thongloun Sisoulith ได้รับรองพระราชกฤษฎีกานายกรัฐมนตรีที่ให้การสนับสนุนทางกฎหมายสำหรับการจัดตั้งและการดำเนินงานของกองทุนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาพลังงานสปป.ลาว โดยกองทุนนี้บริหารงานโดยกระทรวงพลังงานและการเหมืองซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจาก 5 กระทรวงและธนาคารแห่งสปป. ลาวเป็นผู้กำหนดนโยบายจุดมุ่งหมายของโครงการนี้คือการให้เงินกู้เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาพลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม เชื้อเพลิงชีวภาพและก๊าซ ซึ่งโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กจะได้รับประโยชน์จากการสนับสนุนทางการเงินผ่านกองทุนนี้ นอกจากนี้กองทุนจะจัดหาเงินทุนสำหรับการขยายการจ่ายไฟฟ้าในพื้นที่ชนบทเพื่อการเกษตรและการส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ เงินทุนบ้างส่วนยังนำไปใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สร้างความตระหนักรู้ในด้านการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt196.php

การใช้ไฟฟ้าภายในประเทศสปป.ลาวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

กระทรวงพลังงานและเหมืองแร่สปป.ลาวกล่าวว่าการใช้ไฟฟ้าในสปป.ลาวในปีนี้อาจสูงถึง 9,401 ล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมงเพิ่มขึ้น 7.7% ต่อปีและจะเพิ่มขึ้นจนถึง 13,621 ล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมงภายในปี 2568 ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมในสปป.ลาวใช้ไฟฟ้าร้อยละ 47 ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 52 ในปี 2568 ปัจจุบันสปป.ลาวมีโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 78 แห่งกำลังการผลิตรวม 9,972 เมกะวัตต์ โรงงานต่างที่ผลิตกระแสไฟฟ้าส่วนใหญ่แล้วจะเป็นของภาคเอกชนหรือเป็นการร่วมทุนกันระหว่างรัฐบาลสปป.ลาวกับบริษัททำให้ราคาไฟฟ้าในประเทศสูง เพื่อลดปัญหานี้รัฐบาลจะดำเนินการเรียกคืนโรงไฟฟ้าต่างๆภายในปี2573 มาบริหารจัดการเองเพื่อลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในประเทศ นอกจากนี้รัฐบาลได้พัฒนาสายส่งไฟฟ้าแรงสูงปานกลางและแรงต่ำกว่า 65,563 กิโลเมตรรวมถึงสถานีจ่ายไฟฟ้า 74 แห่งขณะที่เก้าสิบห้าเปอร์เซ็นต์ของครัวเรือนทั่วประเทศเชื่อมต่อกับไฟฟ้าแล้ว

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/10/07/domestic-electricity-consumption-on-the-rise-in-laos/

เวียดนามจะซื้อไฟฟ้าเพิ่มจากเพื่อนบ้านรวมถึงลาว: รายงาน

เวียดนามคาดว่าจะซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านอย่างสปป.ลาว กัมพูชาและจีนเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นของประเทศ นับจากนี้จนถึงปี 2573 เวียดนามอาจซื้อไฟฟ้าจากสปป.ลาว 14GW (14,000MW) จากจีน 3.8GW และ 4GW จากกัมพูชาตามรายงานของไซง่อนไทม์ส กระทรวงพลังงานและการเหมืองแร่ของสปป.ลาวกล่าวว่ารัฐบาลของทั้งสองประเทศได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อที่จะวางแผนเพิ่มการนำเข้าไฟฟ้าจากสปป.ลาว 5,000 เมกะวัตต์ในปี 2569-2573 ไฟฟ้าส่วนใหญ่นำเข้าจากพื้นที่ทางตอนเหนือ – กลางภาคกลางและพื้นที่ที่ราบสูงตอนกลาง โดยคาดว่าภูมิภาคเหล่านี้จะขาดแคลนไฟฟ้าหลังปี 2568 ทำให้รัฐบาลเวียดนามเพิ่มแหล่งจ่ายไฟจากภาคใต้และจากประเทศอื่น ๆ ซึ่งหนึ่งในปัญหาของการขาดแคลนไฟฟ้ามาจากการขาดแคลนน้ำที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้านั้นเอง เวียดนามเป็นหนึ่งในห้าประเทศที่สปป.ลาวขายไฟฟ้าให้เยอะที่สุด ปริมาณไฟฟ้าที่สปป.ลาวส่งออกในช่วง 5 ปีตั้งแต่ปี 2559-2563 สูงถึง 129,605 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงมูลค่า 7,203 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 164 เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ จุดนี้เองเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้สปป.ลาวหันมามุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าเพื่อก้าวสู่การเป็น แบตเตอรี่แห่งเอเชี่ยตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Vietnam_195.php

อัตราเงินเฟ้อเดือนกันยายนยังคงอยู่ในระดับสูง

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ลดลงในเดือนกันยายนเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แต่ก็ยังอยู่ในระดับสูงตามรายงานของสำนักงานสถิติสปป.ลาว ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) อยู่ที่ 114.97 จุดในเดือนกันยายนส่งผลให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 4.63 ลดลงจากร้อยละ 5.84 ในเดือนสิงหาคม ระดับอัตราเงินเฟ้อได้รับแรงหนุนจากราคาอาหารและสินค้านำเข้าอื่นๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นจากการที่สปป.ลาวนำเข้าอาหารจำนวนมากจากประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งอาหารทะเล อีกทั้งในช่วงฤดูฝนเกษตรกรไม่สามารถปลูกพืชให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดได้ ยังมีอีกปัจจัยที่เป็นแรงหนุนสำคัญคือความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินกีบ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ค่าครองชีพในสปป.ลาวสูงขึ้น โดยมีเหตุมาจากการระบาดของ COVID -19 ส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการไหลเข้าของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศรวมถึงการลงทุนจากต่างประเทศในสปป.ลาวซึ่งถือเป็นแหล่งรายได้หลักของสกุลเงินต่างประเทศของสปป.ลาว จากข้อมูลของสำนักงานสถิติสปป.ลาวค่าเงินกีบลดลงร้อยละ 4.29 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐและร้อยละ 10.3 เมื่อเทียบกับเงินบาท อย่างไรก็ตามรัฐบาลพยายามจำกัดราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นโดยผลักดันให้มีการผลิตในประเทศมากขึ้นเพื่อลดความจำเป็นในการนำเข้า

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Inflation_195.php

Electricite du Laos องค์กรรัฐวิสาหกิจกำลังศึกษาโครงสร้างราคาไฟฟ้าใหม่

Electricite du Laos ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจกำลังศึกษาโครงสร้างราคาที่เป็นไปได้สำหรับการใช้ไฟฟ้าในช่วงปี 2564-2568 เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างราคาของไฟฟ้ามีเป้าหมายเพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นภายใต้ต้นทุนด้านไฟฟ้าที่เป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม คุณจันทบุญ สุกะลุนกรรมการผู้จัดการ EDL กล่าวในงานสัมมนาที่จัดขึ้นในเวียงจันทน์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า “บริษัทกำลังประสบกับภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น ธุรกิจของเราสูญเสียเงินอย่างน้อย 10 ปีที่ผ่านมา จากปัญหาต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่สูงถึง 880 กีบต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง การสูญเสียนี้ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้ของ EDL” ปัจจุบันผู้บริโภคที่ใช้พลังงานอย่างน้อย 150 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อเดือน การศึกษาถึงโครงสร้างราคาเพื่อหาระดับราคาที่เหมาะสมจึงเป็นความตั้งใจของรัฐบาลที่จะช่วยเหลือภาคธุรกิรวมถึงประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทให้สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Electricity_194.php

อุทยานแห่งชาตินาไก – น้ำเทินโครงการต้นแบบการพัฒนาเมืองควบคู่สิ่งแวดล้อม

อุทยานแห่งชาตินาไก – น้ำเทินหนึ่งในพื้นที่รกร้างสุดท้ายที่เหลืออยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังได้รับการพัฒนาเป็นโครงการต้นแบบสำหรับการจัดการพื้นที่คุ้มครองในสปป.ลาวและส่วนที่เหลือของภูมิภาค คุณ Savanh Chanthakoumane ผู้อำนวยการบริหารของอุทยานกล่าวกับเวียงจันทน์ไทม์สเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า “เราจำเป็นต้องสร้างสมดุลในการปกป้องอุทยานและการปรับปรุงความเป็นอยู่ด้วยความช่วยเหลือจากการมีส่วนร่วมในพื้นที่ซึ่งที่ผ่านมาเราให้ความสำคัญกับการจัดการและการอนุรักษ์พื้นที่คุ้มครองมากเกินไปโดยไม่คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนเลย”  นาคาอิ – น้ำเทินได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้วเป็นโดยเป็นจุดรวมความหลากหลายทางชีวภาพระดับโลกโดยมีพื้นที่ 4,270 ตารางกิโลเมตรครอบคลุมแขวงคำม่วนและแขวงบอลิคำไซทางตอนกลางของสปป.ลาว ในปี 2562 มีการระดมทุน 3.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก 3 แหล่งเพื่อใช้ไปกับการปรับปรุงวิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อุทยานและส่วนที่เหลือจะถูกใช้ไปกับกิจกรรมการอนุรักษ์การส่งเสริมพื้นที่ดังกล่าวจะนำมาซึ่งการพัฒนาที่สำคัญควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเป้าหมายของการพัฒนาประเทศในแบบของสปป.ลาว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Nakai_193.php

จีนเปิดทางด่วนสายที่ 2 เชื่อมสปป.ลาว

เมื่อวันพุธที่ผ่านมาจีนได้เปิดทางด่วนสายที่สองของประเทศที่เชื่อมต่อทางตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลยูนนานกับ                   สปป.ลาวทางด่วนมีความยาว 49 กม. ก่อนหน้านี้ทางด่วน Xiaomengyang-Mohan ซึ่งอยู่ในมณฑลยูนนานได้เชื่อมระหว่างสองประเทศที่ชายแดนด้านจีน ยูนนานเป็นมณฑลเดียวของจีนที่มีพรมแดนทางบกร่วมกับสปป.ลาว เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นกล่าวว่าทางด่วนสายใหม่จะปรับปรุงโครงข่ายทางหลวงในภูมิภาคและช่วยส่งเสริมการค้าระหว่างจีนกับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) โดยเฉพาะสปป.ลาวที่มีจีนเป็นคู่ค้าที่สำคัญมาโดยตลอด

ที่มา : http://en.people.cn/n3/2020/1001/c90000-9766298.html

กองทุนลดความยากจน (PRF) เปิดตัวโครงการใหม่เพื่อปรับปรุงโภชนาการในภาคเหนือของสปป.ลาว

ชุมชนท้องถิ่นในแขวงทางตอนเหนือของสปป.ลาวจะได้รับประโยชน์จากโครงการนำร่องของกองทุนลดความยากจน (PRF) โครงการนี้จะให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคและคำแนะนำเพื่อให้ชุมชนสามารถผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพสูงขึ้น เมื่อผลผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้นจะทำให้ความมั่นคงด้านโภชนาในพื้นดีขึ้น จากข้อมูลของกองทุนลดความยากจน PRF พบว่าอัตราการขาดสารอาหารยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 19 ในพื้นที่ทางเหนือขอวสปป.ลาว ผู้อำนวยการกองทุนลดความยากจน PRF กล่าวว่า “ปัญหาดังกล่าวต้องการนโยบายที่ชัดเจนในการประสานงานและจำเป็นต้องมีการเปิดตัวโครงการนำร่องเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร” การจำกัดปัญหาดังกล่าวได้นั้นมีความสำคัญต่อการส่งเสริมทุนมนุษย์ในสปป.ลาวและทำให้ประชาชนมีชีวิตที่มีประสิทธิผลและมีชีวิตที่สมบูรณ์ตามที่พันธกิจของธนาคารโลกที่เป็นพันธมิตรที่สำคัญในการให้ความช่วยเหลือสปป.ลาวตลอดมา

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2020-09/29/c_139406890.htm

รัฐบาลเยอรมันให้รายละเอียดความร่วมมือด้านการพัฒนากับลาว 26.5 ล้านยูโร

รัฐบาลเยอรมันได้สนับสนุนความพยายามในการปฏิรูปของสปป.ลาวและยืนหยัดในการเป็นหุ้นส่วนช่วยเหลือพัฒนาประเทศ ซึ่งมีมูลค่ากว่า 26.5 ล้านยูโร สำหรับความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสปป.ลาว – ​​เยอรมันในปี 2563 ตัวเลขดังกล่าวได้รับการรายงานในการเจรจาความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างรัฐบาลสปป.ลาวและเยอรมนี รัฐบาลทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะสานต่อความร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อให้แน่ใจว่าโครงการที่กำลังดำเนินอยู่รวมถึงกิจกรรมเพิ่มเติมที่ตกลงกันในการเจรจาเหล่านี้จะได้ข้อสรุปตามแผนที่วางไว้และแนวทางและผลลัพธ์ที่ตั้งใจไว้สนับสนุนลาวในเส้นทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ในที่ประชุมยังได้คุยในประเด็นสำคัญของความร่วมมือ ได้แก่ การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนควบคู่ไปกับดูแลพัฒนาชนบททรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เยอรมนียังคงรักษาความสัมพันธ์ทางการทูตและความร่วมมือด้านการพัฒนากับสปป.ลาวมา ตั้งแต่แรกเริ่มในปี 2501 เยอรมนีถือเป็นประเทศที่สนับสนุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและมีส่วนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการศึกษาโดยให้ความสำคัญกับการลดความยากจนโดยรวมของสปป.ลาวตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา ปัจจุบันสปป.ลาวมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมากเนื่องจากรัฐบาลดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหาความเท่าเทียมกัน ความยุติธรรมทางสังคมและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนผ่านความร่วมมือกับรวมกันกับประเทศที่มีศักยภาพไม่ว่าจะเป็น จีน ไทย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น รวมถึงเยอรมนี

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_German_189.php