ท่าเรือ PPAP ในกัมพูชาโกยรายได้โต 21% ในช่วง 3 ไตรมาส

ท่าเรือพนมเปญ (PPAP) ผู้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการท่าเรือในประเทศกัมพูชา ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (CSX) โดยได้รายงานถึงสถานการณ์รายได้ในช่วง 3 ไตรมาสของปี ที่เติบโตกว่าร้อยละ 21 หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 30.3 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งรายได้ดังกล่าวแบ่งออกเป็นรายได้จากการดำเนินการท่าเรือมูลค่า 25 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 เมื่อเทียบเป็นรายปี, รายได้จากการบริหารจัดการท่าเรือ 3.1 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ,รายได้จากการให้บริการอื่นๆ มูลค่า 212,000 ดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 22 และรายได้จากช่องทางอื่นๆ มูลค่า 1.8 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 13 โดยในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ท่าเรือได้เริ่มโครงการก่อสร้างศูนย์เทียบท่าและห้องเย็น เพื่อขยายการรองรับสินค้าและเป็นการตอบสนองต่อผู้ใช้บริการ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501171763/ppap-revenue-jumps-21-percent-in-three-quarter-period/

เมียนมาเดินหน้าจัดเทศกาลดอกไม้ หวังฟื้นฟูการท่องเที่ยว หลังพิษ COVID-19 กระทบหนัก

เมียนมาเตรียมจัดเทศกาลดอกไม้ ระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 15 มกราคม 2566 ในเขตมัณฑะเลย์ตอนกลางของเมียนมา เพื่อฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวหลังจากที่ได้ยกเลิกการจัดงานมาตั้งแต่ปี 2563 – 2564 ภายหลังจากได้รับผลกระทบ COVID-19  ระบาดหนัก โดยภายในงานจะมีกิจกรรมมากมาย เช่น ตลาดนัดขายสินค้าพื้นเมือง ผ้าสเวตเตอร์ งานหัตถกรรมและของที่ระลึก การประกวดแข่งขันกล้วยไม้ การประกวดตกแต่งดอกไม้ การประกวดภาพถ่าย และรกิจกรรมบันเทิงต่างๆ จากข้อมูล ยังพบว่า ประเทศในอาเซียนได้กลับมาเปิดให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 ที่ผ่านมา และจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเมียนมาเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ภาคการท่องเที่ยวของเมียนมาได้หยุดนิ่งเนื่องมาจากการระบาด COVID-19

ที่มา : https://english.news.cn/asiapacific/20221020/c338003b8f2a48bcbe74dc43738f4955/c.html

ราคาพริกสด พุ่งถึง 23,000 000 จัตต่อ viss

ในช่วงต้นเดือนตุลาคม 2565 ราคาพริกสดในตลาดสดของย่างกุ้งเริ่มขายไม่ได้เพราะราคาพุ่งสูงขึ้น และกลางเดือนที่ผ่านมา ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 14,500 ถึง 23,000 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ขึ้นอยู่กับสายพันธ์ ในขณะที่พริกสดแช่เย็นราคาช่วงต้นเดือนกันยายน อยู่ระหว่าง 14,000-16,000 จัตต่อ viss ราคาพุ่งเป็น 19,000-19,500 จัตต่อ viss ในช่วงกลางเดือน ทั้งนี้ ความต้องการของไทยยังมีอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ราคาสูงขึ้น ในวันที่ 13 กันยายน ราคาพริกสดจะอยู่ระหว่าง 17,500-19,500 จัตต่อ viss แต่เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ที่ผ่านมาราคาพุ่งขึ้นเป็น 20,000-23,000 จัตต่อ viss

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/chilli-pepper-price-soars-to-k23000-per-viss/#article-title

ทางการกัมพูชาและองค์กรของ UN เรียกร้องเสริมการลงทุนสร้างความมั่นคงด้านอาหาร

รัฐบาลกัมพูชา รวมถึงองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และโครงการอาหารโลก (WFP) เรียกร้องให้มีการลงทุนเกี่ยวกับระบบแปรรูปอาหาร เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการในระดับโลก โดยปัจจุบันกัมพูชาได้กำหนดแผนดังกล่าวเป็นวาระสำคัญระดับชาติ สำหรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาห่วงโซ่ระบบการแปรรูปอาหารเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนภายในประเทศ ภายในปี 2030 เพื่อให้แน่ใจว่าปริมาณอาหารจะมีเพียงพอสำหรับประชากร ภายใต้คุณภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีสำหรับทุกคน กล่าวโดน Om Kimsir รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง โดยจากข้อมูลล่าสุดของ WFP ราคาข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของกัมพูชายังคงค่อนข้างคงที่ ในขณะที่ราคาอาหารนำเข้ากลับปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะราคาน้ำมันพืชเพิ่มขึ้นกว่า 39.7% ในช่วงเดือนพฤษภาคมปีนี้เทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501169436/cambodia-un-agencies-call-for-more-investment-to-ensure-food-security/

กัมพูชาส่งออกจักรยานมูลค่ารวมกว่า 700 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ย.

กัมพูชาส่งออกจักรยานไปยังตลาดต่างประเทศในช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงกันยายนปีนี้มูลค่าประมาณกว่า 700 ล้านดอลลาร์ เติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรก (มกราคม-มิถุนายน) ของปีนี้ ที่มูลค่าการส่งออกรวม 505 ล้านดอลลาร์ หรือขยายมากกว่า 104% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งส่วนใหญ่กัมพูชาส่งออกจักรยานไปยังสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป แคนาดา กลุ่มประเทศอาเซียน ญี่ปุ่น จีนและเกาหลีใต้ เป็นสำคัญ โดยข้อมูลดังกล่าวประกาศโดยกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา ด้านรัฐมนตรีต่างประเทศและโฆษกกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า การส่งออกจักรยานของกัมพูชาเริ่มกลับมาเติบโตหลังจากก่อนหน้าได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยความต้องการจักรยานในตลาดโลกเริ่มกลับมาฟื้นตัว รวมถึงกัมพูชามีมาตรการต่างๆ ในการสนับสนุนให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินได้อีกครั้ง ซึ่งในปัจจุบันตลาดโลกมีประเทศผู้ส่งออกจักรยานรายใหญ่ 5 ประเทศแรก ได้แก่ จีน ไต้หวัน เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และกัมพูชา คิดเป็นสัดส่วนกว่า 70.3% ของมูลค่าการส่งออกจักรยานทั้งหมดทั่วโลก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501169435/bicycle-exports-stay-in-high-lane-earn-700-million-for-jan-sept/

อุตสาหกรรมฟอกหนังฟื้นตัว ผู้ประกอบการมียอดส่งออกสินค้าเพิ่ม 16 %

นายสุวัชชัย วงษ์เจริญสิน นายกสมาคมอุตสาหกรรมฟอกหนังไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องหนัง ของไทยหลังจากสถานการณ์โควิดคลี่คลายลง เริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง โดยในปี 2564 ผู้ประกอบการไทยมียอดส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้น 14% และเพิ่มเป็น 16% ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2565 ขณะที่สมาคมฯ และผู้ประกอบการหนังฟอกในประเทศไทยได้ให้ความสำคัญและตระหนักถึงอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ โดยผลักดันให้ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมผ่านโครงการต่างๆ ให้มีความยั่งยืน เป็นการยกระดับมาตรฐานของอุตสาหกรรมฟอกหนังไทยให้เป็นที่ยอมรับจากผู้ประกอบการและคู่ค้าต่างชาติทั่วโลก ส่งผลให้มีการสั่งซื้อสินค้าและการผลิตสินค้าจากในประเทศไทยสู่ตลาดสากลมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้จัดงานแสดงสินค้าแห่งเอเชีย (APLF ASEAN) ซึ่งเป็นงานอุตสาหกรรมเครื่องหนังระดับโลกที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก ในระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคม 2565 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งสมาคมฯได้ให้การสนับสนุนการจัดงาน โดยจะจัดแสดงสินค้าที่เกี่ยวกับเครื่องหนัง วัตถุดิบ และสินค้าแฟชั่นอื่นๆ เช่น หนังฟอกกึ่งสำเร็จ เคมีภัณฑ์ วัตถุดิบเพื่อความยั่งยืน รวมถึงวัสดุที่ใช้ในการผลิตกระเป๋า และเครื่องประดับแฟชั่น เป็นต้น

ที่มา: https://www.naewna.com/business/687091

ADB คาด เศรษฐกิจสปป.ลาว จะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในปี 2566

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เชื่อว่าเศรษฐกิจสปป.ลาวจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปในปีหน้า โดยได้รับการสนับสนุนจากการลงทุนใหม่และพลังงานหมุนเวียนและผลผลิตจากเหมืองแร่ที่สูงขึ้น ด้านกลุ่มทุนที่เตรียมเงินทุนมนการปล่อยกู้สำหรับโครงการ Monsoon Wind โครงการพลังงานลมขนาด 600 เมกะวัตต์ ซึ่งเมื่อเสร็จแล้วจะเป็นโครงการพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน” จากข้อมูลการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจ ฉบับล่าสุด (Asian Development Outlook (ADO) ปี 2565 ADB ยังระบุด้วยอีกว่าอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวคาดว่าจะกระตุ้นการนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภคในปี 2566 ส่งผลให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นเป็น 5.5% อย่างไรก็ตาม ได้ปรับลดแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในปี 2565 เป็น 2.5% จากที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.4% และการเติบโตในปี 2566 เหลือ 3.5% จากที่คาดการณ์ไว้ 3.7% การคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ปรับลดลงเพราะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ซบเซาและนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นในการแก้ปัญหาเงินเฟ้อ และได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มมากถึง 17% ในปี 2565 จากราคาน้ำมันที่สูงและค้าเงินกีบที่อ่อนค่าลง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 30.01% เพิ่มขึ้นเป็น 34% ในเดือนกันยายน จากรายงานของสำนักสถิติสปป.ลาว ค่าครองชีพที่สูงขึ้นทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง และข้อจำกัดของปัจจัยการผลิตได้ลดโอกาสการเติบโตของภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม และการชะลอตัวของเศรษฐกิจในจีน ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจของสปป.ลาว ฟื้นตัวได้ช้า นอกจากนี้ ราคาปุ๋ย อาหารสัตว์ อาหารและเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกษตรกรและผู้ผลิตไม่สามารถที่จะผลิตสินค้าและบริการได้

ที่มา: https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten202_ADB_Y22.php

ส่งออกทางทะเลของเมียนมาผ่านท่าเรือย่างกุ้งเพิ่มมากขึ้น

ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป ฤดูมรสุมได้สิ้นสุดลงการค้าระหว่างประเทศของเมียนมาผ่านทางทะเล ณ ท่าเรือย่างกุ้งกลับสู่ภาวะปกติและพบว่าปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยพบว่ามีเรือทั้งหมด 23 ลำ จอดที่ท่าเรือย่างกุ่งเมื่อวานนี้ (17 ตุลาคม 2565) ส่วนใหญ่เมียนมานำเข้าปุ๋ยต่างๆ เสื้อผ้าและสิ่งทอ ยาและเวชภัณฑ์ อาหาร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร วัสดุก่อสร้าง และโพลิโพรพิลีน ส่วนการส่งออกจะประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์ทางทะเล เสื้อผ้าสำเร็จรูป พืชผล ผลิตภัณฑ์จากป่า และยาง โดยใช้เรือคอนเทนเนอร์ในการขนสินค้า ปัจจุบันประเทศส่งออกสินค้าจะใช้เรือขนส่งสินค้าทั่วไปจำนวน 15 ลำ รวมถึงเรือบรรทุกข้าว 3 ลำ และเรือบรรทุกข้าวโพด 4 ลำไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนและยุโรป นอกจากนี้ เรือที่ใช้บรรทุกปุ๋ย ซีเมนต์ เครื่องจักรหนัก น้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำมันประกอบอาหาร ยังเทียบท่าที่ท่าเรือติละวาและท่าเรือย่างกุ้ง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmars-maritime-export-volumes-via-yangon-port-increase/

 

“ตลาดรองเท้าเวียดนาม” โตแรง 2 เท่าในปี 2574

ตามข้อมูลของบริษัทวิจัยการตลาด ระบุว่าตลาดรองเท้าในเวียดนาม คาดการณ์ว่าจะมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 38.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2574 เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของตัวเลขที่คาดการณ์ในปีนี้ โดยปัจจุบันเวียดนามอยู่ในอันดับที่ 2 ของโลกในแง่การส่งออกรองเท้า รองจากประเทศจีนเท่านั้น อีกทั้ง เวียดนามยังมีโรงงานผลิตรองเท้าราว 2,000 แห่งทั่วประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในเมืองโฮจิมินห์ และเป็นที่น่าสังเกตว่าแบรนด์ระดับโลกหลายแห่ง อาทิเช่น ไนกี้ (Nike) และ อาดิดาส (Adidas) ได้ตัดสินใจที่จะสร้างโรงงานผลิตหลักอยู่ในเวียดนาม เนื่องจากความมีเสถียรภาพทางด้านการเมือง บรรยากาศการลงทุนและแรงงานที่มีอายุน้อยและค่าจ้างถูก นอกจากนี้ ผู้ผลิตยังได้ใช้ประโยชน์จากมาตรการจูงใจด้านภาษีจากข้อตกลงการค้าเสรีที่สำคัญ (FTA) รวมถึงข้อตกลง CPTPP ทำให้ยกระดับการส่งออกไปยังตลาดทั่วโลก รวมทั้งแคนาดาและเม็กซิโก

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-footwear-market-to-boom-by-2031-value-to-rise-double-to-us387-bln-post977804.vov

คนวงในเผยเม็ดเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้าในเวียดนาม 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

นายเหงียน มาย ประธานสมาคมกลุ่มวิสาหกิจผู้ลงทุนจากต่างประเทศของเวียดนาม กล่าวว่าการลงทุนในต่างประเทศของผู้ประกอบการเวียดนามอยู่ในทิศทางที่กำลังจะเติบโตและมีมูลค่าเกินกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีในอนาคตข้างหน้า จากเดิมในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ กระทรวงวางแผนและการลงทุนเวียดนาม ระบุว่าในปัจจุบันเวียดนามลงทุนไปยังต่างประเทศมากกว่า 21.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยจำนวน 1,584 โครงการ ขณะที่ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ผู้ประกอบการทุ่มเงินกว่า 347.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไหลเข้าไปยังโครงการใหม่จำนวน 80 โครงการ โดยส่วนใหญ่ลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป นอกจากนี้ นาย Tran Du Lich ผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจ กล่าวว่าในขณะที่ธุรกิจต่างชาติกำลังเข้าซื้อกิจการบริษัทเวียดนาม องค์กรหลายแห่งในเวียดนามก็ย้ายไปซื้อบริษัทต่างชาติเพื่อขยายการเข้าถึงตลาดไปทั่วโลก

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-overseas-investment-can-top-1-billion-usd-annually-insider/240166.vnp