เมียนมาส่งออกถั่วเนยไปแล้วกว่า 44,000 ตัน

กระทรวงพาณิชย์ เผย เมียนมาส่งออกถั่วเนยไปแล้วกว่า 44,109 ตันระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 63 ถึง 10 ก.ย. 64 ในปีงบประมาณ 2563-2564 สร้างรายได้กว่า 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาเนยถั่วอยู่ที่ 1,735-1,775 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) แม้ว่าความต้องการจากต่างประเทศจะจะลดลงจากการระบาดของโควิด-19 และความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ ปัจจุบันราคาเนยถั่วนตลาดมัณฑะเลย์มีมูลค่ากว่า 75,000 จัตต่อกระสอบ ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาด แต่ตอนนี้ต้องพึ่งตลาดภายในประเทศเป็นหลัก โดยปกติ จะส่งออกเนยถั่วเนยประมาณ 75% ไปยังตลาดญี่ปุ่น, จีน, เดนมาร์ก, สิงคโปร์, เกาหลีใต้, มาเลเซีย, ไต้หวัน และเวียดนาม โดยมีปริมาณการส่งออก 15,000-30,000 ตันต่อปี ทั้งนี้การเพาะปลูกถั่วเนยส่วนใหญ่อยู่ในเขตซะไกง์, พะโค, มะกเว, มัณฑะเลย์, อิรวดี, มอญ และตอนเหนือของรัฐฉาน โดยเขตมะกเว ให้ผลผลิตถั่วเนยที่มีคุณภาพดี และเป็นที่ต้องการของตลาดญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-over-44000-tonnes-of-butter-bean-as-of-10-september/#article-title

‘ธุรกิจต่างชาติ’ หวังเวียดนามจะกลับมาเปิดเศรษฐกิจ

ตามจดหมายของกลุ่มสมาคม อาทิ หอการค้าสหรัฐฯ (AmCham), หอการค้ายุโรป (EuroCham), หอการค้าเกาหลีใต้ (KoCham) และสภาธุรกิจสหรัฐฯ-อาเซียน ได้ชื่นชมทิศทางการดำเนินงานเพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสของนายฝั่ม มิญ จิ๊ญ นายกรัฐมนตรีเวียดนาม โดยกลุ่มนี้ประเมินว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่เวียดนามต้องดำเนินมาตรการเพื่อรักษาระดับความสามารถทางการแข่งขันในภูมิภาคและโลก ตลอดจนต่อสู้กับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสและสร้างความมั่นใจในการพัฒนาเศรษฐกิจ ทั้งนี้ สมาคมต่างๆ ยืนยันว่ากิจการต่างชาติต้องการแผนงานที่ชัดเจนของรัฐบาลในการกลับมาเปิดเศรษฐกิจ ส่วนประเด็นของวัคซีนนั้น สมาคมต้องการให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับการฉีดวัคซีนแก่บุคลากรทางการแพทย์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ผู้ส่งสินค้า ผู้ค้าปลีก เภสัชกรและคนงานในนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยเฉพาะแรงงานในภาคใต้ของเวียดนาม

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/foreign-businesses-expect-vietnam-to-reopen-its-economy-36028.html

 

‘เวียดนาม’ เผยยอดการเติบโตทางการค้าเป็นบวกจากการเข้าร่วม CPTPP

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MOIT) เปิดเผยว่าเวียดนามได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ทำให้ยอดการค้าทวิภาคีระหว่างเวียดนามกับประเทศสมาชิก CPTPP เพิ่มขึ้น 23.36% เป็นมูลค่า 52 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ทั้งนี้ เดือน ก.ค. เพียงเดือนเดียว ยอดการส่งออกเติบโตอย่างแข็งแกร่ง เมื่อพิจารณารายสินค้าพบว่าสินค้าหลักที่มีการเติบโตได้ดี ได้แก่ เครื่องจักรและส่วนประกอช อะไหล่ โทรศัพท์และชิ้นส่วน อย่างไรก็ตาม สินค้าส่งออกหลักที่มีการเติบโตลดลง ได้แก่ สิ่งทอและเสื้อผ้า คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ รองเท้า นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาภาพรวมในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามเกินดุลการค้ากับตลาด CPTPP อยู่ที่ 86.28 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 75.94% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-enjoys-positive-trade-growth-with-cptpp-markets-892032.vov

 

ในช่วง 8 เดือนแรกของปี กัมพูชาส่งออกเสื้อผ้ารวมกว่า 5 พันล้านดอลลาร์

กัมพูชาส่งออกสินค้าประเภทเครื่องนุ่งห่มและเครื่องประดับเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 คิดเป็นมูลค่า 5.021 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมูลค่า 4.861 พันล้านดอลลาร์ ตามการรายงานจากกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา โดยมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มคิดเป็นถึงร้อยละ 45 ของการส่งออกทั้งหมดของประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น เป็นสำคัญ ถึงแม้กัมพูชาจะเผชิญอยู่กับการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงการถูกถอดถอนสิทธิพิเศษทางการค้า Everything But Arms (EBA) จาก EU แต่ถึงอย่างไรภาคการส่งออกผลิตเครื่องนุ่งห่มก็ยังคงมีแนวโน้มเติบโต ซึ่งในปี 2020 กัมพูชาส่งออกเสื้อผ้ามูลค่ารวม 7.420 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 10.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามรายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2020 ของกระทรวงพาณิชย์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50937900/garment-exports-net-5-billion-in-eight-months/

ท่าเรือสีหนุวิลล์ กำหนดก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ ในกัมพูชากลางปี 2022

โครงการก่อสร้างท่าเรือแห่งใหม่ของท่าเรืออิสระสีหนุวิลล์ ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา ได้เลื่อนกำหนดการแผนการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเป็นกลางปี 2022 โดยคาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี ที่ก่อนหน้านี้กำหนดให้มีการก่อสร้างในช่วงกลางปี 2021 ซึ่งตามแผนที่วางไว้โครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกจะมีความยาวอยู่ที่ 350 เมตร และความลึกของน้ำ 14.50 เมตร ใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 218 ล้านดอลลาร์ มาจากความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) จากประเทศญี่ปุ่น โดยประธานสมาคมโลจิสติกส์กัมพูชากล่าวว่าการก่อรสร้างและปรับปรุงท่าเรือถือเป็นส่วนสำคัญในการตอบสนองความต้องการของภาคการขนส่งในกัมพูชา จากทั้งปริมาณการส่งออกสินค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องนุ่งห่มและสินค้าเกษตร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50937980/deep-port-construction-rescheduled-for-mid-2022/

แนะรัฐให้ต่างชาติซื้อบ้านได้เฉพาะ กทม. อีอีซี ภูเก็ต ราคาเกิน 10 ล้านขึ้นไป

นายวิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า การขยายสิทธิให้ชาวต่างชาติเข้ามาถือครองชุดบ้านจัดสรรได้เพิ่มขึ้น ควรกำหนดให้ซื้อได้เฉพาะบ้าน หรือคอนโดฯ ระดับหรูที่มีราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป เพื่อไม่ให้มาแย่งซื้อที่อยู่อาศัยจากคนชั้นกลาง หรือคนทำงาน ซึ่งนิยมซื้อบ้านราคาปานกลาง 3-8 ล้านบาท เพราะอาจทำให้ที่อยู่อาศัยราคาแพงขึ้น นอกจากนี้ ควรกำหนดโซนถือครองบางพื้นที่ เฉพาะในเขตเศรษฐกิจสำคัญ เช่น  กรุงเทพฯ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) หรือภูเก็ต ไม่ควรเปิดให้เข้ามาถือครองได้อิสระ ส่วนการขยายกรรมสิทธิ์เกิน 30 ปี  ควรแบ่งเป็นช่วง ๆ ต่ออายุได้อีกครั้งละ 30 ปี อีก 2 ครั้ง รวมเป็น 90 ปี รวมถึงการถือครองคอนโดฯ แม้จะขยายสัดส่วนเข้าอยู่ได้เกิน 49% แต่ก็ควรจำกัดสิทธิการโหวตไม่เกินกึ่งหนึ่งเหมือนเดิม เพื่อให้คนไทยยังเป็นเสียงส่วนใหญ่อยู่

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/news/292995/

เกษตร ท่องเที่ยว กุญแจสู่ความก้าวหน้าเศรษฐกิจสปป.ลาว

รายงานของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เปิดเผย การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและการเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างการเกษตรและการท่องเที่ยวจะช่วยฟื้นฟูหลังโควิด 19 และการเติบโตอย่างครอบคลุมในสปป.ลาว สปป. ลาวได้สนับสนุนประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา แต่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานของประเทศยังไม่ก้าวหน้า นางพรวันห์ อุทาวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุน กล่าวว่า  “การสร้างงานที่มีคุณภาพและประสิทธิผลเป็นหนึ่งในความสำคัญสูงสุดในวาระนโยบายของรัฐบาล การทำให้อุตสาหกรรมการเกษตรและการท่องเที่ยวเป็นหัวใจสำคัญของการฟื้นตัวของเรา พร้อมกับกลยุทธ์ในการเสริมสร้างการผนึกกำลังของภาคส่วนต่างๆ จะเป็นโอกาสในการเริ่มต้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและแก้ปัญหาความยากจนของสปป.ลาว” ทั้งนี้ในรายงานระบุว่าในปี 2562 การท่องเที่ยวในลาวสนับสนุนการเติบโตของปศุสัตว์และการประมง ธุรกิจการท่องเที่ยวอาจเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่คุณค่าทางการเกษตรรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพืชผักและปศุสัตว์มีมูลค่ามากถึง 4.1 ล้านคนในปี 2561 คิดเป็น 12% ของจีดีพีของประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Agriculture_183_21.php

กัมพูชารายงานถึงการส่งออกมะม่วงที่เพิ่มขึ้น

กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง (MAFF) รายงานเกี่ยวกับการส่งออกผลไม้ระหว่างประเทศ และแสดงให้เห็นว่ามะม่วงมีปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 251 หรือคิดเป็นจำนวน 163,828 ตัน ในช่วง 8 เดือนแรกของปี โดยกัมพูชาส่งออกแยมมะม่วงรวม 14,087 ตัน และน้ำเชื่อมจากมะม่วงอีกกว่า 4,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 195 และร้อยละ 79 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งตลาดที่ทำการนำเข้ามากที่สุด ได้แก่ เวียดนาม ไทย จีน เกาหลี ฮ่องกง สิงคโปร์ คูเวต ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา คาซัคสถาน และรัสเซีย โดยจีนเป็นผู้นำเข้ามะม่วงรายใหญ่ที่สุดจากกัมพูชา เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้มีการลงนามระหว่างกันในข้อตกลงการค้าเสรีในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งได้กำหนดให้เกษตรกรชาวกัมพูชาจำนวน 37 ราย สามารถส่งออกมะม่วงไปยังจีนได้ และคาดว่าจะนำเข้ามะม่วงจากกัมพูชาราว 500,000 ตันต่อปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50937256/international-mango-exportation-on-the-rise/

MFIs อนุมัติเงินกู้รวมกว่า 7.73 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงครึ่งแรกของปี

สมาคมไมโครไฟแนนซ์กัมพูชา (CMA) รายงานถึงการอนุมัติเงินกู้รวม 7.730 พันล้านดอลลาร์ ให้กับลูกค้าเกือบ 2 ล้านราย ในช่วงครึ่งแรกของปี โดยสมาคมยังได้รายงานเพิ่มเติมว่ามีลูกค้าประมาณ 2.8 ล้านราย ฝากเงินเข้า MFI มูลค่ารวม 3.883 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งในปี 2020 ที่ผ่านมาเงินให้สินเชื่อส่วนใหญ่ร้อยละ 21 ถูกเบิกจ่ายให้กับลูกค้าที่มีวัตถุประสงค์ในการขยายธุรกิจและการค้า โดยในช่วงของการแพร่ระบาดธนาคารและสถาบันการเงินในกัมพูชาทราบดีถึงปัญหาของภาคประชาชนและภาคธุรกิจภายในประเทศที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งได้ออกมาตรการในการช่วยเหลือลูกค้า รวมถึงปรับโครงสร้างเงินกู้ไปแล้วจำนวน 577,673 ราย หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 6.6 พันล้านดอลลาร์ ณ เดือนกรกฎาคม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50936570/mfis-disburse-7-73-billion-in-first-semester-in-cambodia/

คลังชงเพิ่มกรอบเพดานก่อหนี้สาธารณะ70%

วันจันทร์นี้ (20ก.ย.)จะมีการประชุมคณะกรรมการวินัยการเงินการคลังที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานและมีคณะกรรมการที่มาจากผู้บริหารระดับสูงของ 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) และสำนักงบประมาณ โดยมีวาระสำคัญคือ การขยายกรอบการก่อหนี้สาธารณะ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลังหรือสศค.ได้เสนอทางเลือก คือ การขยายกรอบเพดานการก่อหนี้ให้ไม่เกิน 70% ของจีดีพี จากปัจจุบันที่อยู่ไม่เกิน 60% ของจีดีพี ขณะที่กรอบเพดานการก่อหนี้ที่เพิ่มขึ้นมา 10% นั้น จะทำให้รัฐบาลมีช่องทางการกู้เงินได้เพิ่มอีกราว 2 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ ตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ไทยเคยมีระดับหนี้เฉียดเข้าใกล้ 60% ต่อจีดีพีแต่ไม่เคยทะลุ 60% ต่อจีดีพี

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/961051