ถ้ำจอมอ๋องที่ยาวที่สุดเปิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาได้ มีพิธีเปิดตัวถ้ำจอมอ๋องในแขวงอุดมไซอย่างเป็นทางการเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของแขวงอุดมไซ ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นถ้ำที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยหวังว่าถ้ำจอมอ๋องจะดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ไปเยี่ยมชมได้จำนวนมาก ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปัจจุบันที่ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาเยือนสปป.ลาวไม่ได้ ทำให้รัฐบาลต้องพยายามกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศเพื่อเข้ามาทดแทนชาวต่างชาติที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศ  ซึ่งถ้ำจอมอ๋องจะเป็นสถานที่สำคัญด้านการท่องเที่ยวที่หนึ่งที่จะทำให้การท่องเที่ยวของสปป.ลาวกระเตื้องขึ้น รัฐบาลได้ตระหนักถึงศักยภาพของแขวงอุดมไซในฐานะสถานที่ท่องเที่ยวและพิจารณาว่าการพัฒนาทรัพยากรเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญในการสนับสนุนเศรษฐกิจ รวมถึงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและระบบคมนาคมเพื่อสนับสนุนความสะดวกสบายของนักท่องเที่ยวและส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Longest_22.php

นักลงทุนมองข้อตกลงการค้าเสรี คือส่วนสำคัญด้านการค้าของกัมพูชา

นักลงทุนต่างชาติและผู้ประเมินเครดิตอิสระต่างสะท้อนถึงความเชื่อมั่นในกัมพูชาจากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ทั้งที่เสร็จสมบูรณ์และกำลังดำเนินการโดยรัฐบาลของกัมพูชา ตามการบรรยายของ ASEAN Briefing (AB) โดยกล่าวว่า FTAs อาจทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกภายในปี 2030 ซึ่งประกอบไปด้วยตลาดผู้บริโภคที่มีมูลค่าประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์ ขับเคลื่อนโดยแนวโน้มด้านประชากรที่แข็งแกร่ง เช่น ร้อยละ 65 ของประชากรอาเซียนจำนวน 600 ล้านคน อยู่ในสถานะชนชั้นกลาง สะท้อนถึงกำลังซื้อของประชากร รวมถึงการเพิ่มการลงทุนจากต่างประเทศในภูมิภาค ระดับรายได้ที่เพิ่มขึ้น และความก้าวหน้าทางดิจิทัล อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา กล่าวว่าข้อตกลงพหุภาคีและทวิภาคีจะมีความสำคัญต่อกัมพูชาในอนาคตอันใกล้ ในด้านของการค้าระหว่างประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50809206/regional-free-trade-deals-key-to-cambodian-and-asean-success/

สถานการณ์สินเชื่อส่วนบุคคลในกัมพูชาเริ่มดีขึ้น

สถานการณ์ด้านเครดิตของสินเชื่อส่วนบุคคลภายในประเทศมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ตามรายงานของ Credit Bureau Cambodia (CBC) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการชั้นนำด้านข้อมูลเครดิตโซลูชัน การวิเคราะห์และบริการรายงานเครดิตแก่ธนาคาร สถาบันการเงินรายย่อย บริษัทให้กู้ยืม ผู้ให้บริการสินเชื่อ และผู้บริโภคในกัมพูชา ตามรายงานจำนวนการขอสินเชื่อเพื่อการบริโภคเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ (สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต และสินเชื่อที่อยู่อาศัย) ในทุกภูมิภาคในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2020 โดยจำนวนการชำระคืนล่าช้าภายใต้กำหนด 30 วัน (30+ DPD) ลดลงทั่วประเทศกว่าร้อยละ 1.91 ทุกภูมิภาคในกัมพูชา ทั้งรายงานระบุว่าการขอสินเชื่อผู้บริโภคโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 การเพิ่มขึ้นที่สำคัญที่สุดคือการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 33 จากไตรมาสก่อนหน้า (ไตรมาสที่ 3/2020) ซึ่ง ณ เดือนธันวาคม 2020 จำนวนบัญชีสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.63 จากไตรมาสที่ 3/2020 โดยจำนวนบัญชีเงินกู้ทั้งหมดในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 1.28 ล้านบัญชี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50809008/consumer-credit-performance-improving/

ไซต์งานก่อสร้างในย่างกุ้งหยุดกระทันหัน หวั่นกระทบแรงงานจำนวนมาก

อุตสาหกรรมการก่อสร้างของย่างกุ้งหยุดชะงักตามปัญหาการเชื่อมต่อและการขนส่ง สมาคมผู้ประกอบการการก่อสร้างแห่งเมียนมาเผยไซต์ก่อสร้างในเขตย่างกุ้งได้ระงับชั่วคราวและกำลังรอการพัฒนาเพิ่มเติมก่อนที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับแผนการดำเนินการต่อไป ปัจจุบันไม่มีการเชื่อมต่อ (โทรศัพท์หรืออินเทอร์เน็ต) และประชาชนไม่สามารถถอนเงินที่ธนาคารได้คนงานยังไม่สามารถเดินทางไปที่ทำงานได้เนื่องจากไม่มีรถประจำทางกระทบต่อคนทั้งประเทศ โดยมีแรงงานในอุตสาหกรรมจำนวนมากที่ได้รับค่าจ้างรายวัน คนงานเหล่านี้มักจะถอนเงินสดทุกวันที่ธนาคารหลังเลิกงาน ทั้งนี้ผู้เที่เกี่ยวข้องยังไม่มีแผนที่ประชุมหรือเจรจาเพื่อแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าว

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/yangon-construction-sites-cease-operations.html

อนาคตเศรษฐกิจเมียนมา ความไม่แน่นอนหลังการเลือกตั้ง

หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) เผยสถานการณ์ฉุกเฉินในขณะนี้ส่งผลกระทบต่อความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและนักลงทุนต้องรอดูว่าจะคลี่คลายอย่างไรในอีกไม่กี่วันข้างหน้า โดยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอาจเกิดขึ้นได้หากสถานการณ์ยังดำเนินต่อไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของประเทศและเกิดการประท้วงเกิดขึ้นในต่างประเทศ จากสถานการณ์ปัจจุบันนักลงทุนอาจตัดสินใจถอนการลงทุนออกจากเมียนมา หากมองแนวโน้มของสถานการณ์คาดจะมีการปราบปรามโดยกองทัพมากขึ้นอาจส่งผลให้เกิดความไม่สงบและความไม่แน่นอนทางการเมืองเพิ่มขึ้น ทั้งนี้สหรัฐฯ ยืนยันสนับสนุนสถาบันประชาธิปไตยของเมียนมาและเรียกร้องให้กองทัพยึดมั่นในประชาธิปไตยและปล่อยตัวผู้ที่ถูกควบคุมตัวซึ่งรวมถึงนางอองซานซูจี เนื่องจากเอเชียคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 60 ของการส่งออกทั้งหมดของเมียนมารโดยมีตลาดหลักคือจีนและไทยการส่งออกทั้งหมดไปภูมิภาคนี้จะลดผลกระทบของการคว่ำบาตรจากประเทศตะวันตกได้ บริษัทวิจัยได้ปรับการคาดการณ์การเติบโตของ GDP เหลือ 2% สำหรับปีงบประมาณ 63-64 และปีงบประมาณ 64-65 จากที่คาดไว้ก่อนหน้านี้คือ 5.6% และ 6% แนวโน้มการเติบโตของประเทศขึ้นอยู่กับโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ซึ่งอาจล่าช้าหรือยกเลิกได้ทั้งหมดหากมีการใช้มาตรการคว่ำบาตร

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/umfcci-vice-chair-says-impacts-economy-uncertain.html

เอกชนหวั่นรัฐประหารเมียนมาดันแรงงานทะลักเข้าไทย

เอกชนหวั่นแรงงานเมียนมาทะลักเข้าไทย ซ้ำเติมโควิด-19 ยิ่งกระทบศก. ชี้อีกมุมการค้าไทยได้ประโยชน์ ตื่นรัฐประหาร แห่ตุนสินค้าไทย นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย หลังจากพลเอกอาวุโส มินห์ อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพ ได้ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองประเทศเมียนมาว่า ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินสถานการณ์ทางตรงต่อเศรษฐกิจไทย แต่ผลกระทบทางอ้อมที่น่าเป็นห่วง คือ แรงงานเมียนมา อาจไหลทะลักเข้ามาในไทย จะยิ่งซ้ำเติมสถานการณ์โควิด-19 ที่กลับมาแพร่ระบาดระลอกใหม่ต่อเนื่อง มีสาเหตุหลักมาจากแรงงานต่างด้าวในตลาดอาหารทะเลจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งจะส่งผลกระทบทางอ้อมกับเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้มงวดในการตรวจตราบริเวณชายแดน โดยเฉพาะบริเวณช่องทางธรรมชาติ 2,400 กิโลเมตร และต้องจัดการกับผู้เกี่ยวข้องลักลอบขนแรงงานผิดกฎหมายอย่างเด็ดขาด นายอนุรัตน์ อินทร ประธานหอการค้า จ.เชียงราย กล่าวว่า ได้ประเมินเบื้องต้นคาดว่า จะทำให้การนำเข้าสินค้าจากไทยมากขึ้นกว่าปกติ เนื่องจากประชาชนอาจตื่นตะหนกกักตุนสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากไทย โดยด่านพรมแดนของ จ.เชียงราย มีทั้งหมด 6 ด่าน สร้างรายได้รวมประมาณ 50,000 ล้านบาทต่อปี เป็นการนำเข้า–ส่งออกสินค้าระหว่างไทยกับเมียนมา และไทยกับลาว โดยจะติดตามสถานการณ์ภายในของเมียนมาอย่างใกล้ชิดต่อไป นายศิวัสน์ เหลืองสมบูรณ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า ได้ประเมินผลกระทบการทำรัฐประหารเมียนมา จะส่งผลต่อไทยบ้างเล็กน้อยเนื่องจากการค้าและการส่งออกไทยไปยังเมียนมาในปัจจุบันมีไม่มากแล้ว เพราะส่วนใหญ่เมียนมาได้ผลิตในประเทศเองไม่เหมือนเมื่อก่อน โดยสิ่งที่จะกระทบคงจะเป็นด้านพลังงาน เนื่องจากมีรัฐวิสาหกิจไทยแห่งหนึ่งได้เข้าลงทุนในเมียนมา หากยืดเยื้ออาจกระทบต่อการต่อสัมปทานในระยะข้างหน้าได้

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/822756

เวียดนามเผยอุตสาหกรรมรองเท้า รุกขยายห่วงโซ่อุปทานโลก

สมาคมเครื่องหนัง รองเท้าและกระเป๋าถือของเวียดนาม (LEFASO) ระบุว่าอุตสาหกรรมรองเท้าของเวียดนามเริ่มเห็นสัญญาเขิงบวก หลังจากยอดการส่งออกรองเท้าและกระเป๋าถือลดลง 11% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สู่ระดับ 19.5 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 อุตสาหกรรมดังกล่าวได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยมีสัญญาแสดงให้เห็นว่าเวียดนามพยายามเข้าห่วงโซ่อุปทานรองเท้าหนังมากขึ้น ในขณะที่กระบวนการออกแบบและการวิจัยได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ทั้งนี้ แหล่งวัตถุดิบส่วนใหญ่อยู่ในประเทศ คิดเป็นสัดส่วน 60% ของทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรปและเวียดนามนับว่าเป็นโอกาสอันดีของเวียดนามที่จะส่งออกไปยังตลาดอียู ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้หวังว่าในปี 2564 ยอดคำสั่งซื้อและรายได้จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับประโยชน์หลังวิกฤติโควิด-19

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/866852/footwear-sector-further-penetrates-global-supply-chain.html

ยอดค้าปลีก-บริการเวียดนาม โต ช่วงเทศกาลเต็ด

สำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่ายอดค้าปลีกสินค้าและรายได้จากบริการผู้บริโภคของเวียดนามในเดือนมกราคม อยู่ที่ประมาณ 20.77 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.7% จากช่วงเดียวกันของเดือนก่อน และ 6.4% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งแบ่งออกเป็นยอดค้าปลีก มีมูลค่า 378.9 ล้านล้านด่อง คิดเป็นสัดส่วน 79% ของยอดค้าปลีกรวม เพิ่มขึ้น 8.7% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามมาด้วยรายได้จากร้านอาหารและที่พักอยู่ที่ราว 48.7 ล้านล้านด่อง รายได้จากการท่องเที่ยวอยู่ที่ราว 1.6 ล้านล้านด่อง และรายได้จากบริการอื่นๆอยู่ที่ราว 50.7 ล้านล้านด่อง ทั้งนี้ สำนักงานฯ ระบุว่ายอดค้าปลีกและรายได้จากบริการผู้บริโภคมีแนวโน้มดีขึ้น เมื่อเข้าใกล้เทศกาลเต็ด (Tet) อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการอย่างห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ต ได้เตรียมจัดหาสินค้าจำนวนมาก รวมถึงโปรโมทสินค้า เพื่อกระตุ้นการบริโภคในช่วงปีแห่งจันทรคติ

  ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/retail-sales-consumer-service-revenue-up-ahead-of-tet/195737.vnp

เมียนมาอนุมัติเร่งการลงทุนใหม่ในภาคพลังงาน คาดสร้างงานกว่า 4,371 ตำแหน่ง

คณะกรรมการการลงทุนแห่งเมียนมา (MIC) อนุมัติการลงทุนใหม่ 14 โครงการ ซึ่งการลงทุนจะครอบคลุมภาคพลังงาน การประมง อสังหาริมทรัพย์และบริการ โดยมีมูลค่ารวม 295.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดสร้างงานได้ถึง 4,371 คน โดยเน้นให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านพลังงาน เช่น โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 40 เมกะวัตต์ 4 โครงการในเขตมัณฑะเลย์ ภูมิภาคสะกาย และภูมิภาคแมกเวย์ ปัจจุบันสิงคโปร์ จีน และไทยติดอันดับ 51 ประเทศที่ลงทุนในเมียนมา มีการลงทุนใน 12 ภาคธุรกิจ โดยแบ่งเป็น 26% ในภาคไฟฟ้า 26% ในภาคน้ำมันและก๊าซ และ 14.6% ในภาคการผลิต MIC กำลังเร่งดำเนินตามแผนบรรเทาเศรษฐกิจ COVID-19 และแผนฟื้นฟูและปฏิรูปเศรษฐกิจเมียนมา ซึ่งเป้าหมายคือการผลิตไฟฟ้าทั่วประเทศ 100% จากระบบกริดแห่งชาติภายในปี 2573

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-approves-new-investments-energy-and-other-sectors.html

แบงก์ชาติเมียนมา ออกกฎระเบียบควบคุม Non-Bank

ธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) ได้ออกกฎระเบียบใหม่ที่ครอบคลุมการจัดตั้งการดำเนินงานและการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (NBFI) ในประเทศ เพื่อให้อยู่ขอบเขตของธนาคารกลางรวมถึงการกำหนดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งประกาศ 1/2564 จะใช้กับนิติบุคคลที่มีเจตนาในการจัดตั้ง NBFI ที่จัดหาเงินทุนเพื่อเช่าซื้อและการซื้อขายลูกหนี้การค้า โดยจะต้องขอใบรับรองการจดทะเบียนจาก CBM เพื่อดำเนินธุรกิจ ขณะนี้ NBFI จำเป็นต้องส่งรายงานเป็นระยะเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไปยัง CBM และงบการเงินที่ตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบให้กับ CBM ภายในสามเดือนของสิ้นปีบัญชีตามประกาศ 1 / พ.ศ. 2564 ตั้งแต่ปี 2559 CBM ออกใบอนุญาติให้กับ NBFI จำนวน  28 แห่ง มีการเพิกถอนใบอนุญาติ 2 แห่ง ในเดือนสิงหาคม 63 คือ First Collaborative และ Finance Co Ltd เนื่องจากไม่สามารถเริ่มดำเนินการภายในหนึ่งปี ขณะที่เดือนธันวาคม 63 ได้เพิกถอนใบอนุญาตของ Z Corporation Co Ltd เนื่องจากโครงสร้างทางธุรกิจที่ไม่เหมาะสมและมีความไม่โปร่งใส

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-releases-directives-non-bank-financial-institutions.html