เมียนมาปล่อยเงินกู้รอบสองกว่า 100 พันล้านจัตให้ธุรกิจสู้ภัยโควิด

รัฐบาลได้เริ่มจ่ายเงินกู้จำนวน 20,700 ล้านจัตเพื่อช่วยเหลือบริษัทมากกว่า 10,000 แห่งที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 รวมถึงบริษัทที่อยู่นอกย่างกุ้ง เงินเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของงบประมาณจำนวน 1 แสนล้านจัต รอบที่ 2 ของรัฐบาลเมียนมา ซึ่งจากธุรกิจ 10,000 แห่ง มากกว่า 7,600 แห่งมาจากภูมิภาคและรัฐอื่น ๆ โดยเงินจะจ่ายล็อตแรกให้กับธุรกิจ 1,041 แห่ง จะมีเพียง 180 แห่งที่เป็นธุรกิจในย่างกุ้ง ซึ่งเงินกู้ถูกจ่ายไปใน 9 ภาคธุรกิจจะถูกรวมอยู่ในเงินล็อตที่ 2 ได้แก่ เกษตรกรรม ปศุสัตว์และประมง การส่งออก การทดแทนการนำเข้า ห่วงโซ่อุปทาน อาหาร บริการการจัดหางานในต่างประเทศและอาชีพ โดยระยะเวลาการกู้ยืม 12 เดือนอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 กลุ่มธุรกิจแรกที่ได้รับ ได้แก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โรงสีข้าว ฟาร์มปศุสัตว์ และธุรกิจอาหาร ภายใต้กองทุน 100 พันล้านจัตล็อตแรกได้จ่ายให้กับผู้ที่สมัครเข้ามา 3,393 จากผู้สมัครมากกว่า 4250 คน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-govt-commences-second-k100b-covid-19-loan-business.html

ไทย-สปป.ลาวร่วมทุนก่อตั้งบริษัทค้าเม็ดไม้ Wood Pellet แห่งแรกในสปป.ลาว

บริษัท ราชกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท บุรีรัมย์กรีนเอนเนอร์จี จำกัด (BGE) และ บริษัท สีพันโทนโบลาเวนดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัท สี่แผ่นดินราช – ลาว จำกัด เพื่อเปิดตัวโครงการ wood pellet ในสปป.ลาว ทุนจดทะเบียน 1.7 ล้านบาทหรือ 500 ล้านบาทตามรายงานของ RATCH Group โครงการดังกล่าวคาดว่าโรงงานเม็ดไม้จะเริ่มก่อสร้างในปี 2564 โดยจะเริ่มผลิตและจำหน่ายเชิงพาณิชย์ในต้นปี 2565 จะมีกำลังการผลิต 60,000 ตันต่อปี โครงการนี้จะครอบคลุมพื้นที่ 3,000 เฮกตาร์ในแขวงจำปาศักดิ์โดยมีแผนจะส่งออกเชื้อเพลิงชีวมวลให้กับลูกค้าอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ภายใต้สัญญาระยะยาวปัจจุบันความต้องการเม็ดไม้ในภาคอุตสาหกรรมมีเพิ่มขึ้นทั่วโลกและยังใช้เม็ดไม้ในโรงไฟฟ้าชีวมวลอีกด้วย อุตสาหกรรมเม็ดไม้ยังคงมีแนวโน้มเติบโตได้ดีจากความต้องของประเทศที่กำลังพัฒนาและพัฒนาแล้วอย่างยุโรปที่มีความต้องการสูงและเป็นคู่ค้าคนสำคัญ

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/09/23/first-wood-pellet-project-to-be-launched-in-laos/

กัมพูชาหารือเกี่ยวกับศูนย์โลจิสติกส์ภายในประเทศ

กระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง (MPWT) กำลังหารือเกี่ยวกับร่างกรอบข้อตกลงของกัมพูชาสำหรับการพัฒนาศูนย์โลจิสติกส์ภายในประเทศ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง MPWT กล่าวว่า Phnom Penh Logistics Complex (PPLC) เป็นศูนย์กลางที่มีศักยภาพในการส่งเสริมภาคการขนส่งของกัมพูชาให้มีประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆในภูมิภาคและทั่วโลกได้ ทั้งในด้านต้นทุนและบริการ ซึ่งจะส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาให้บรรลุวิสัยทัศน์ของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศสู่ประเทศที่มีรายได้ปานกลางภายในปี 2030 และเป็นประเทศที่มีรายได้สูงภายในปี 2050 โดยทำงานทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและบริษัทเพื่อให้แน่ใจว่าโครงการจะดำเนินไปอย่างราบรื่นตามกำหนดการที่วางไว้ ซึ่งประธานสมาคมโลจิสติกส์แห่งกัมพูชา (CLA) กล่าวว่าความท้าทายสำหรับภาคการขนส่งของกัมพูชาคือการขาดการเชื่อมต่อทางถนน ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ใช้เวลามากขึ้น รวมไปถึงค่าธรรมเนียมที่ไม่เป็นทางการในการขนส่งสินค้าภายในประเทศ โดยมองว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ของกัมพูชาถือเป็นอุปสรรคต่อการค้ามานานควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50765766/logistics-centre-under-discussion/

ผลกระทบของ COVID-19 สู่การหยุดชะงักทางเศรษฐกิจของกัมพูชา

ผู้ประกอบการรายย่อย, ขนาดเล็กและขนาดกลาง (MSMEs) กำลังเผชิญกับการหยุดชะงักของการดำเนินกิจการและการหยุดชะงักของยอดขายรวมถึงการบริการที่ลดลงอันเป็นผลมาจาก COVID-19 โดย MSMEs ถือเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจมาอย่างยาวนานในกัมพูชา ซึ่งในกัมพูชา MSMEs ถูกระบุว่ามีบทบาทสำคัญในการสร้างงาน การสร้างรายได้ ให้กับประชากรที่อยู่ในช่วงผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะ MSMEs ในกัมพูชามีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 70 ของการจ้างงานทั้งหมด และมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 58 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่ง Angkor Research and Consulting. ได้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมโดยร่วมมือกับ Future Forum เพื่อทำการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจในปีนี้ โดยข้อมูลที่พบในการศึกษาชี้ให้เห็นว่ารายได้สุทธิเฉลี่ยของผู้ประกอบการในครัวเรือนลดลงร้อยละ 56 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ซึ่งในระดับจังหวัดผลสำรวจระบุว่ากรุงพนมเปญและกัมปงสปือได้รับผลกระทบเชิงลบมากที่สุดระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน ในขณะที่กำปอตได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ทั้งจากการขนส่งที่แย่ลงสู่การท่องเที่ยวที่ทรุดตัวอย่างหนัก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50765790/economic-disruption-of-covid-19/

ส่งออก ส.ค.ฟื้นติดลบแค่ 7.94% มูลค่าทะลุ 2 หมื่นล้านเหรียญในรอบ 5 เดือน

“พาณิชย์” เผยการส่งออกเดือน ส.ค. 63 ฟื้นตัวต่อเนื่อง มูลค่าเกิน 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในรอบ 5 เดือนอัตราการขยายตัวติดลบเหลือ 7.94% ส่วนยอดรวม 8 เดือนลบเหลือ 7.75% คาดแนวโน้มยังเป็นขาขึ้นลักษณะเหมือนเครื่องหมายถูก มั่นใจทั้งปีลบไม่เกิน 2 หลัก น่าจะลบ 5% ถึงลบ 8% โดย น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือน ส.ค. 2563 มีมูลค่า 20,212.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 7.94% ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น่าพอใจ ทั้งในแง่มูลค่าที่กลับมาส่งออกเกิน 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในรอบ 5 เดือนนับจากเดือน เม.ย. 2563 และการขยายตัวติดลบน้อยลง จากที่เคยลบสูงสุดถึง 23.17% ในเดือน มิ.ย. 2563 ถือว่าพ้นจุดต่ำสุดแล้ว ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 15,863.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 19.68% ทำให้เกินดุลการค้ามูลค่า 4,349.4 ล้านเหรียญสหรัฐ และยอดรวม 8 เดือนปี 2563 (ม.ค.-ส.ค.) มีมูลค่า 153,374.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 7.75% นำเข้ามูลค่า 134,981.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 15.31% เกินดุลการค้ามูลค่า 18,393.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนในต่างประเทศก็มีการส่งออกที่ลดลง เช่น ญี่ปุ่น ลด 16.6% สหภาพยุโรป 15 ประเทศ ลด 16.9% อาเซียน 5 ประเทศ ลด 16.5% CLMV ลด 9.3% เป็นต้น ทั้งนี้ มองว่าการส่งออกของไทยทั้งปีจะไม่ติดลบในระดับ 2 หลักอย่างที่หลายๆ ฝ่ายได้ประเมินเอาไว้ น่าจะติดลบ 5% ถึงลบ 8% โดยการส่งออกลบ 5% ต้องส่งออกให้ได้เดือนละ 20,145 ล้านเหรียญสหรัฐ และลบ 8% ต้องส่งออกให้ได้เดือนละ 18,298 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9630000097477

“การประชุมทางไกล” ส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรของเวียดนาม

ตามรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เผยการประชุมทางไกล จะจัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน เพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตรในท้องถิ่นไปสู่สายตาชาวโลก โดยงานนี้คาดว่าจะนำแพลตฟอร์มให้กับธุรกิจในประเทศและผู้นำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อรับรู้ข้อมูลเชิงลึกมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับความต้องการของแต่ละฝ่าย รวมถึงจับมือลงนามความร่วมมือ สิ่งนี้จะช่วยให้ภาคธุรกิจก้าวผ่านอุปสรรคต่างๆ จากการได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 และยังสร้างกลยุทธ์ในการพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้ บริษัทต่างชาติที่เข้าร่วมงาน มีจำนวน 28 รายจากตลาดส่งออก ได้แก่ อินเดีย บังกลาเทศ เกาหลีใต้ ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เบลารุส เบลเยียม เดนมาร์ก เยอรมนี ฮังการี อิตาลี สเปน สวิตเซอร์แลนด์ แอลจีเรีย อิหร่าน อิสราเอล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บราซิล แคนาดา ชิลี เอกวาดอร์ สหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก เป็นต้น นอกจากนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามมีมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร ประมงและป่าไม้อยู่ที่ 26.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/teleconference-to-boost-vietnamese-agricultural-exports-780473.vov

เวียดนามนำเข้ารถยนต์ 202 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนสิงหาคม

จากรายงานของกรมศุลกากร เผยว่าในเดือนสิงหาคม ปริมาณนำเข้ารถยนต์ทุกประเภทของเวียดนามอยู่ที่ 8,800 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.6 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว ซึ่งเวียดนามนำเข้ารถยนต์จากไทยมากที่สุด 4,700 คัน รองลงมาอินโดนีเซีย 2,500 คัน และจีน 570 คัน คิดเป็นสัดส่วนรวมกันทั้งสามประเทศ ร้อยละราว 90 ของยอดนำเข้ารวม ทั้งนี้ จำนวนการนำเข้ารถยนต์ 9 ที่นั่งหรือน้อยกว่า อยู่ที่ 6,136 คัน (69.4% ของยอดนำเข้ารวม) เพิ่มขึ้นร้อยละ 91.6 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าปริมาณนำเข้ารถยนต์ในเดือนสิงหาคมจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ก็ไม่สามารถพยุงจำนวนรถยนต์ในเดือนมกราคม-สิงหาคมได้ทั้งหมด ที่ลดลงร้อยละ 44.3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ด้วยจำนวน 53,800 คัน จากการได้รับผลกระทบของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในขณะที่ แบ่งออกเป็นประเภทรถยนต์ได้ ดังนี้ รถยนต์ 9 ที่นั่งหรือน้อยกว่า 39,000 (-46.9%), รถบรรทุก 10,759 คัน (-47.8%)

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnam-spends-us202-million-importing-automobiles-in-august-780374.vov

Electricite du Laos (EDL) มองหาโอกาสส่งออกกระแสไฟฟ้าส่วนเกินในช่วงฤดูฝน

Electricite du Laos (EDL) กำลังหาประโยชน์จากปริมาณไฟฟ้าส่วนเกินที่ผลิตได้ในช่วงฤดูฝนจากการไหลของน้ำในปริมาณมาก รักษาการกรรมการผู้จัดการ EDL คุณจันทบุญสุกะลุนกล่าวว่า “เราสามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 1,500 เมกะวัตต์ในช่วงฤดูฝนทำให้เกิดส่วนเกิน แต่ในช่วงหน้าแล้งสปป.ลาวประสบปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าทำให้ต้องนำเข้าไฟฟ้าจากไทย” ถึงแม้สปป.ลาวจะผลิตกระแสไฟฟ้าได้มาก แต่ก็ยังคงต้องนำเข้าไฟฟ้าจากไทย ทำให้ Electricite du Laos (EDL) ต้องเผชิญกับการขาดทุนจากการนำเข้าไฟฟ้า เนื่องจาก EDL จำหน่ายไฟฟ้า 1,000-2,000 ล้านกิโลวัตต์ต่อปี ให้แก่ประเทศไทยและนำเข้าในปริมาณใกล้เคียงกันแต่ปัญหาคือสปป.ลาวขายไฟฟ้าให้ไทยเพียง 5 เซนต์ต่อกิโลวัตต์ แต่ซื้อไฟฟ้า 11 เซนต์ต่อกิโลวัตต์ทำให้เป็นการเพิ่มภาระหนี้แก่ EDL ในการต้องนำเข้าไฟฟ้าเข้ามา ด้วยเหตุผลนี้สปป.ลาวจำเป็นต้องกระจายแหล่งพลังงานโดยการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าในฤดูแล้ง นอกจจากนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูงและหาตลาดไฟฟ้าให้มากขึ้นเพื่อให้ประเทศสามารถใช้ประโยชน์จากศักยภาพไฟฟ้าพลังน้ำได้อย่างเต็มที่

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_EDLs_185.php

หวั่นโควิดรอบ 2 จำกัดขนส่งสินค้าข้ามเมียนมาเหลือ 6 คัน

นายยงยุทธ นาคแดง รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) เปิดเผยถึงการขนส่งสินค้าระหว่างไทย-เมียนมาในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่า ปัจจุบันปริมาณการขนส่งสินค้าบริเวณด่านพรมแดนแม่สาย จังหวัดเชียงรายลดลง เนื่องจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นในเมียนมา ทำให้ไทยต้องยึดมาตรการด้านสาธารณสุขเป็นหลัก ในขณะเดียวกัน ปริมาณการขนส่งสินค้าบริเวณด่านพรมแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีปริมาณการขนส่งสินค้าราว 1,000 เที่ยวต่อวัน แต่ปัจจุบันหลังเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ทางประเทศเมียนมามีการจำกัดปริมาณการเดินรถขนส่งสินค้าข้ามประเทศ ส่งผลให้ปริมาณการขนส่งสินค้าด่านดังกล่าวเหลือเพียง 6 คันต่อวัน ขณะเดียวกันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างหนักในเมียนมา ทำให้ต้องควบคุมด้านความปลอดภัยในการเข้า-ออกประเทศ เพื่อลดการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบ 2

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/450100

ค้าชายแดนมูเซกลับมาเปิด หลังคลายล๊อคด่านหลุยลี่

การค้าชายแดนที่ด่านมูเซของรัฐฉานกลับมาเปืดอีกครั้งหลังจากสำนักงานศุลกากรในเมืองหลุ่ยลี่ของจีนเริ่มเปิดทำการ ในวันที่ 22 กันยายน 63  การค้าชายแดนระหว่างเมียนมาและจีนถูกระงับหลังจากด่านหลุ่ยลี่ถูกปิดไปเมื่อวันที่ 15 กันยายน 63 ภายหลังตรวจพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในขณะที่การเดินทางออกนอกเมืองหลุ่ยลี่ยังคงถูกจำกัด ซึ่งสินค้าอนุญาตให้ผ่านชายแดนได้แต่คนขับรถบรรทุกของเมียนมาต้องสับเปลี่ยนรถกับคนขับรถของจีนก่อนที่สินค้าจะถูกนำเข้า คาดว่าจะมีการส่งออกข้าวประมาณ 20,000 ถุงจากเมียนมาในวันนี้ มูลค่าการค้าที่ด่านมูเซสูงสุดในบรรดาด่านชายแดนโดยมีการส่งออกรวม 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 62-63 และการนำเข้าจากจีนสูงถึง 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/border-trade-muse-resumes-after-ruili-restrictions-relaxed.html