รัฐบาลกัมพูชาดำเนินการเร่งด่วนด้านความมั่นคงทางอาหาร

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ได้สั่งให้ทุกหน่วยงานด้านเกษตรดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับรองความมั่นคงด้านอาหารของประเทศเพื่อตอบสนองต่อการระบาดของ COVID-19 โดยอธิบดีกรมวิชาการเกษตรให้ทำการบันทึกสต๊อกข้าวและข้าวในโรงสีชุมชน รวมถึงในแต่ละครัวเรือนเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนของสถานการณ์อาหารและระบุพื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกผักเพื่อทำการรับมือ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรยังเรียกร้องให้ทำการประมาณการปริมาณความต้องการซื้อเนื้อสัตว์ในประเทศในปี 2563 นอกจากนี้ยังได้สั่งให้หน่วยงานการประมงประเมินความต้องการและอุปทานของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาตอบสนองความต้องการภายในประเทศ โดยราคาในตลาดต้องมีเสถียรภาพ รวมถึงเพื่อให้แน่ใจว่ามีสต็อกเพียงพอสำหรับคนในประเทศ ซึ่งความต้องการเนื้อสุกรจากประเทศกัมพูชาอยู่ที่ประมาณ 2.9 ล้านตันต่อปี ปริมาณปศุสัตว์เพิ่มขึ้น 37% ในปี 2562 เมื่อเทียบกับปี 2561 ในแง่ปริมาณสต็อกข้าวตัวเลขทางการแสดงว่าในปี 2562 ผลผลิตรวมอยู่ที่ 10.88 ล้านตัน โดยมีส่วนเกิน 5.76 ล้านตัน ปลาจากธรรมชาติและปลาจากฟาร์มเลี้ยงก็เพิ่มขึ้นในปี 2562 เช่นกันอยู่ที่ 908,000 ตัน มีไว้เพื่อการบริโภคในปี 2562 เพิ่มขึ้น 21% เมื่อปี 2561

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50712467/govt-call-for-urgent-action-on-food-security/

สถานการณ์ราคามะม่วงในกัมพูชา ณ ปัจจุบัน

กระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมงได้ออกมาตรการเพื่อป้องกันการลดลงของราคาของมะม่วง ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ตามที่กระทรวงระบุ ซึ่งกระทรวงกล่าวว่าในขณะที่รัฐบาลกัมพูชากำลังต่อสู้กับการแพร่กระจายของ Coronavirus โรคระบาดไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน แต่ส่งผลกระทบไปถึงเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่งผลทำให้ราคาสินค้าเกษตรลดลง เพื่อป้องกันการลดลงของราคามะม่วงกระทรวงได้ประกาศมาตรการรวมถึงการกระตุ้นให้หน่วยงานด้านการเกษตรในจังหวัดต่างๆร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเกษตรทำงานอย่างใกล้ชิดกับเกษตรกร ซึ่งกระทรวงยังกระตุ้นให้หน่วยงานระดับจังหวัดเตรียมการฝึกอบรมด้านเทคนิคให้กับเกษตรกรและเชื่อมโยงพวกเขาสู่ตลาดโดยการทำสัญญา ราคามะม่วงในปัจจุบันลดลงอย่างรวดเร็วและเราไม่สามารถคาดการณ์สถานการณ์ได้เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 อย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันราคาของมะม่วงอยู่ที่ 320 riels ต่อกิโลกรัมลดลงจาก 800 riels ในปี 2019 กระทรวงกล่าวว่าในปัจจุบัน บริษัท มะม่วงซื้อมะม่วงประมาณ 20 ถึง 30 ตันทุกวันโดยบริษัทผู้แปรรูปในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50712431/mango-prices-must-stay-same/

เวียดนามเผยยอดขายรถจักรยานยนต์ไตรมาสแรก “ดิ่งลง”

จากรายงานของสมาคมผู้ผลิตรถจักรยานยนต์เวียดนาม (VAMM) ระบุว่ายอดขายในช่วงไตรมาสแรกทั้งสิ้น 731,077 คัน ลดลงร้อยละ 3.03 เมื่อเทียบกับปีก่อน แสดงให้เห็นว่าสมาชิกของสมาคม 5 แห่ง ได้แก่ Honda, Piaggio, Suzuki, SYM และ Yamaha จำหน่ายได้เพียง 244,000 คันต่อเดือน อย่างไรก็ตาม คนวงใน กล่าวว่าสภาพตลาดรถจักรยานยนต์เวียดนามในปัจจุบัน มียอดขายสูงกว่าจากตัวเลขรายงานของสมาคมเผยแพร่ เนื่องจากยังมีแบรนด์อื่นๆที่ไม่ได้เข้าร่วมสมาคมข้างต้น อาทิ Kymco, Ducati, Kawasaki, BMW, KTM, Benelli and Harley Davidson เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญคาดว่ายอดขายรถจักรยานยนต์จะดิ่งลง เป็นผลมาจากความอิ่มตัวของตลาดและเทรนด์ที่เริ่มลดลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่าในปี 2561, 2562 และไตรมาสแรกปีนี้ ยอดขายลดลงร้อยละ 2.5, 4 และ 3.03 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ นอกจากนี้ ความเป็นอยู่ของคนเวียดนามที่ดีขึ้นและราคารถยนต์ลดลง ส่งผลให้คนหันมาซื้อรถยนต์มากขึ้นแทนรถจักรยานยนต์

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/motorcycle-sales-decrease-in-first-quarter/171624.vnp

เวียดนามส่งออกผักผลไม้ไตรมาสแรก 836 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) ระบุว่ามูลค่าการส่งออกผักและผลไม้ของเวียดนามในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ อยู่ที่ 836 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์สำคัญที่มีมูลค่าลดลง ได้แก่ แก้วมังกร กล้วย ลำไย แตงโม ทุเรียนและเห็ดหอม เป็นต้น จีนยังคงเป็นผู้นำเข้าผักและผลไม้รายใหญ่ที่สุดจากเวียดนาม ด้วยมูลค่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 29.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากการแพร่ระบาดโควิด-19 ในขณะเดียวกัน ตลาดอื่นๆ ยังมีการเติบโตเล็กน้อยตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนมีนาคม อาทิ อินโดนีเซีย ไทย สปป.ลาว รัสเซียและกัมพูชา ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เผยว่าในปี 2562 ภาคอุตสาหกรรมผักผลไม้เผชิญกับความลำบาก เนื่องจากจีนมีข้อกำหนดที่เข็มงวดในการนำเข้าหลายอย่างจากเวียดนาม ผ่านการกักตุนสินค้าและการตรวจสอบย้อนกลับ อย่างไรก็ตาม หลายตลาดยังมีการเติบโตที่ดีอยู่ อาทิ อาเซียน สหรัฐฯและสหภาพยุโรป

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/fruit-vegetable-exports-reach-836-million-usd-in-q1/171613.vnp

ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในเมียนมา เพิ่มขึ้นอีก 53 ราย

กระทรวงสาธารณสุขรายงานเมื่อวันที่ 13 เมษายนมีผู้ติเชื้อ COVID-19 ในประเทศแล้ว 12 รายทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อ เป็น 53 ราย จำนวน 12 รายเป็นคนที่เข้ารับการกักตัวที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลต่าง ๆ มีอาการ เช่น ไข้ ไอ และเจ็บคอเป็นต้น จำนวนผู้ป่วย COVID-19 ที่ตรวจพบใหม่สูงสุดในวันเดียวนับตั้งแต่มีรายงานผู้ป่วย 2 รายแรกเมื่อวันที่ 23 มีนาคม จากจำนวนผู้ป่วย COVID-19 ทั้งหมด 53 รายมีผู้เสียชีวิตแล้ว 4 รายและรักษาหายแล้ว 2 ราย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-reports-another-surge-covid-19-cases-52.html

สศช.ขอเอกชนเคาะข้อเสนอเร่งด่วนใน 1 สัปดาห์

สศช. ประชุมคณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชนนัดแรก ให้แบ่ง 5 กลุ่มกลับไปจัดลำดับความสำคัญข้อเสนอมาคุยอีกครั้ง 20 เม.ย.นี้ ก่อนรวบรวมเสนอรัฐบาล นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชนในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) นัดแรก ว่า ที่ประชุมฯ ได้รับทราบข้อเสนอของภาคเอกชนทั้งหมดทุกกลุ่มที่เสนอมาในการประชุมครั้งนี้ แต่เนื่องจากข้อเสนอมีหลายเรื่อง จึงจัดกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องด้นต่างๆ กลับไปกลั่นกรอง และจัดลำดับความสำคัญว่าข้อเสนอนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะทำหรือไม่ หรือมีความคุ้มค่ามากเพียงใด จากนั้นจึงให้รวบรวมข้อเสนอมาหารือกันอีกครั้งในวันที่ 20 เม.ย.นี้ จากนั้น สศช.จะพิจารณาอีกครั้งว่า ข้อเสนอที่เสนอมานั้นเรื่องใดทำได้ทันที หรือเรื่องให้ต้องนำไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน หากข้อเสนอใดมีความพร้อมจะเสนอให้ครม.พิจารณา พร้อมทั้งยังเปิดพื้นที่สาธารณะในการรับฟังความคิดเห็นผ่าน Facebook “ร่วมด้วยช่วยคิด” ซึ่งจะได้รวบรวมประมวลและนำเสนอครม.ต่อไปด้วย. สำหรับการทำงานทั้ง 5 กลุ่ม แบ่งเป็น กลุ่มมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) ,กลุ่มมาตรการเพื่อการกลับมาเปิดธุรกิจใหม่ ,กลุ่มมาตรการเพื่อธุรกิจเอสเอ็มอี ,กลุ่มมาตรการเพื่อภาคเกษตร และกลุ่มมาตรการเพื่อการแก้ไขปัญหาด้วยดิจิทัล

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/768722

การเชื่อมต่อกริดแห่งชาติกับสถานีพลังงานแสงอาทิตย์ที่ 3 ของกัมพูชา

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งที่สามของกัมพูชาเปิดตัวในรูปแบบออนไลน์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาในจังหวัดกำปงชนังตามรายงานของ Electricite du Cambodge (EDC) ผู้จัดหาพลังงานชั้นนำในประเทศ ตั้งอยู่ในเขต Toek Phos สามารถสร้างพลังงานเพิ่มเติมได้อีก 60 mW เพื่อช่วยตอบสนองความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัท SchneiTec Renewable Co. , Ltd. ซึ่งเป็น บริษัท เอกชนของกัมพูชาได้รับอนุญาตจากรัฐบาลภายใต้พื้นฐาน ของการจัดหาแหล่งเงินทุน ออกแบบ ก่อสร้างด้วยตนเอง (BOO) ซึ่งถือเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดย EDC ได้ซื้อพลังงานที่ผลิตโดยสถานีภายใต้ข้อตกลงระยะยาว ส่วนราคาสำหรับผู้บริโภคยังไม่ได้กำหนด แต่ SchneiTec Renewable Co. , Ltd จำเป็นต้องขายภายใต้กฎหมายในราคาต่ำกว่า 0.076 เหรียญสหรัฐต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งในปี 2562 รัฐบาลให้การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 4 แห่งเพื่อสร้างกริดแห่งชาติทั้งหมดให้ได้ 140 เมกะวัตต์ โดยผู้อำนวยการฝ่ายพลังงานของกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกล่าวว่าการทำงานในโรงงานขั้นสุดท้ายซึ่งเป็นโครงการขนาด 60 mW ในจังหวัดกำปงชนังกำลังดำเนินการอยู่ คาดว่าโรงงานผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ทั้ง 4 แห่งจะสร้างพลังงานให้กับกริดในต้นปี 2564

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50712430/third-solar-power-station-joins-national-grid/

กัมพูชาเผยพันธุ์มันฝรั่งที่ให้ผลผลิตสูง

กระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมงได้เผยแพร่ผลการวิจัยเกี่ยวกับการทำฟาร์มมันฝรั่งที่ให้ผลตอบแทนสูง โดยผลการวิจัยที่จัดทำโดย the Royal University of Agriculture แสดงให้เห็นว่าพันธุ์มันฝรั่งที่เหมาะสมสำหรับการปลูกในจังหวัดมณฑลคีรีนั้นมาจากไอร์แลนด์เยอรมนีและเวียดนาม แต่ละพันธุ์สามารถให้ผลผลิตได้ตั้งแต่ 13 ถึง 15 ตันต่อเฮกตาร์และฤดูปลูกที่เหมาะสมสำหรับมันฝรั่งในจังหวัดมณฑลคีรี เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคมของทุกปี ซึ่งกัมพูชานำเข้ามันฝรั่งมากกว่า 5,000 ตันทุกปีจากประเทศไทย, เวียดนาม, จีน, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา ตามรายงานของสถาบันวิจัยมันฝรั่งซึ่งเป็นศูนย์ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แห่งกรุงพนมเปญ โดยการศึกษาเกี่ยวกับการเพาะปลูกมันฝรั่งในกัมพูชาเริ่มดำเนินการตั้งแต่ต้นปี 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาพื้นที่ในกัมพูชาที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกพืช จนถึงตอนนี้นอกจากจังหวัดมณฑลคีรี แล้วการทดลองปลูกมันฝรั่งยังดำเนินอยู่ในจังหวัดโพธิสัตว์ และ พระตะบอง เพื่อการพัฒนาต่อไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/711891/high-yielding-potato-varieties-unveiled/

คาดการณ์เศรษฐกิจสปป.ลาวจะหดตัวจากการผลิตการใช้จ่ายในประเทศลดลง

การเติบโตทางเศรษฐกิจในสปป.ลาวจะชะลอตัวลง เนื่องจากการผลิตและการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยคาดว่าการเติบโตของเศรษฐกิจจะหดตัวประมาณร้อยละ 50 แม้ว่าการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสจะถูกควบคุมได้บางส่วนแล้ว แต่ด้วยความกังวลต่อโรคและมาตราการป้องกันต่างๆ ของรัฐไม่ว่าจะเป็นการให้ประชาชนกักตัวอยู่ที่บ้านร่วมถึงการให้โรงงานต่างๆ ปิดตัวลงชั่วคราวทำให้มีแรงงานบางส่วนตกงานและโรงงานขาดรายได้ไปชั่วคราวในขณะนี้ ซึ่งนักวิชาการสปป.ลาวด้านเศรษฐศาสตร์ได้กล่าวว่า “ การคาดการณ์ว่าการเติบโตของจีดีพีในลาวจะลดลง 50% นั้นสมเหตุสมผล นอกจากการผลิตและการใช้จ่ายที่ลดลงแล้วภาคการท่องเที่ยวจะเป็นภาคที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักร่วมถงธุรกิจที่เกี่ยวข้องอย่างโรงแรม ร้านอาหารก็จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง” ในขณะเดียวกันโครงการรถไฟที่เชื่อมต่อไปจีนที่มีกำหนดการแล้วเสร็จในปลายปีนี้ก็ต้องหยุดชะงักไปก่อน ดังนั้นจากปัจจัยต่างๆที่ได้กล่าวมาจะทำให้เศรษฐกิจสปป.ลาวหดตัวลงมากที่สุดในประวัติศาสตร์

ที่มา : https://www.rfa.org/english/news/laos/growth-04102020151706.html

สมาคมเวียดนามเผยยอดขายยานยนต์โต 2 เดือนติดต่อกัน

จากแถลงการณ์ของสมาคมผู้ผลิตยานยนต์เวียดนาม (VAMA) เปิดเผยว่ายอดขายยานยนต์ในเดือนมีนาคม อยู่ที่ 19,154 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน นับว่าเป็นการเติบโตของยอดขายพุ่งขึ้น 2 เดือนติดต่อกัน ส่วนรถยนต์ที่ประกอบในประเทศ จำหน่ายได้ 11,878 คัน ทั้งนี้ มีการใช้เครื่องมือดึงดูดการขายหลายช่องทางด้วยกัน อาทิ ส่วนลดหรือของชำร่วยที่มีมูลค่า เป็นต้น นอกจากนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ สมาคมฯ จำหน่ายรถยนต์ได้ 78,419 คัน ลดลงร้อยละ 33 เมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าตัวเลขยอดขายข้างต้นนั้น ไม่ได้แสดงถึงภาพรวมทั้งหมดของสภาพตลาดรถยนต์เวียดนาม เนื่องจากยังมีผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นที่ไม่ได้เข้าร่วมสมาคมฯ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/toyota-honda-among-bestselling-car-makers-in-march/171573.vnp