เวียดนามยังคงนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯอย่างต่อเนื่อง

จากข้อมูลของกรมศุลกากร เปิดเผยว่าสหรัฐอเมริกาเป็น 1 ในแหล่งวัตถุดิบรายใหญ่ที่สุดจากเวียดนาม และมีการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปีที่แล้ว พบว่ามูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 14.36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 18  รวมถึงคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบด้วยมูลค่า 14.36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกเพิ่มขึ้นร้อยละ 84.3 ด้วยมูลค่า 826.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ การนำเข้าสินค้าอื่นๆ เริ่มต้นเพิ่มขึ้นในช่วงปีนี้ ได้แก่ อาหารทะเลและวัตถุดิบอาหารเลี้ยงสัตว์ที่นำเข้าทำให้ราคาลดลง เป็นผลมาจากสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน และการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ ทางผู้อำนวยการบริษัทเทรดดิ้งอาหารทะเลระหว่างประเทศ ระบุว่าการส่งออกล็อบสเตอร์ของสหรัฐฯไปยังจีนลดลง เนื่องมาจากราคาสินค้าและทำให้ต้องนำเข้าจากเวียดนามพุ่งสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้คนไม่นิยมรับประทานอาหารนอกบ้านเท่าไรนัก เนื่องจากความกังวลต่อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้อุปทานของภัตตาคารลดลง แต่ในทางกลับกัน จำนวนผู้คนที่ทำอาหารในบ้านเพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vn-imports-of-us-goods-continue-to-rise-411376.vov

เมียนมาส่งออกข้าว 40,000 ตันผ่านด่านมูเซ

จำนวนข้าวและข้าวหักรวมประมาณ 40,000 ตันถูกส่งออกผ่านแดนมูเซ 105 ไมล์ในหนึ่งเดือนเนื่องจากความต้องการจากตลาดจีน ซึ่งถือเป็นโอกาสของตลาดการค้าชายแดนกลับมาเป็นบวกอีกครั้ง โดยรัฐบาลจีนอนุญาตให้ส่งออกผ่านประตูชายแดนเนื่องจากความต้องการเพิ่มขึ้น และไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาต การส่งออกรายวันอยู่ที่ประมาณ 1,700 ตันทั้งข้าวและข้าวหัก การค้าชายแดนของมูเซเกือบหยุดชะงักเนื่องจาก COVID-19 แต่การค้าขายกลับอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ และถูกส่งออกอย่างสม่ำเสมอด้วยรถบรรทุก 40 หรือ 50 คันทุกวัน องค์การอนามัยโลกประกาศว่า COVID-19 เป็นการระบาดใหญ่ การส่งออกสินค้าเกษตรไปยังประเทศจีนได้รับผลกระทบจากการปิดชายแดนและการส่งออกที่ลดลง จำนวนข้าวส่งออกและถุงข้าวหักเพิ่มขึ้นโดยมีรถบรรทุกประมาณ 50 คันต่อวันจนถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2563 หากเปรียบเทียบกับรถบรรทุกเพียง 20 คันในเดือนตุลาคมพฤศจิกายนและธันวาคมปีที่แล้ว

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/40000-tonnes-rice-exported-muse.html

คน.ถกผู้ผลิตสินค้ารับมือชาวบ้านแห่กักตุน

กรมการค้าภายในเชิญผู้ประกอบการสินค้าหาแนวทางรับมือประชาชนกักตุนอาหาร ชี้ผู้ผลิตยืนยันยังเหลือกำลังการผลิตอีก 30% วอนประชาชนไม่ต้องกักตุนสินค้า ขณะนี้มีข่าวลือเรื่องการระบาดของไวรัสโควิด-19  จนทำให้สัปดาห์ที่ผ่านมามีประชาชนเข้าไปซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคมากกว่าปกติ จนทำให้ชั้นวางสินค้าในบ้างห้างบ้างช่วงเวลาขาดแคลน จึงได้เรียกผู้ประกอบการค้าปลีกเข้ามาสอบถามสถานการณ์อีกครั้งเพื่อหาแนวทางในการดูแลไม่ให้สินค้าขาดแคลน เบื้องต้น  ได้รับการยืนยันจากผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคว่ามีกำลังการผลิต 70% ยังเหลือกำลังการผลิตอีก 30% ที่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ทันที หากความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ติดตามสถานการณ์ปริมาณสินค้าอย่างใกล้ชิดหลังจากที่มีประชาชนวิตกกังวลจากปัญหาโรคโควิด-19 จนทำให้เร่งซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ไปกักตุน จนหายออกไปจากชั้นวางในห้างต่างๆ  อย่างไรก็ตามยืนยันว่า ประเทศไทย เป็นฐานการผลิตสินค้าอุปและบริโภคสำคัญของโลก โดยเฉพาะเป็นผู้ผลิตอาหาร ทั้งอาหารสำเร็จรูป และผู้ปลูกข้าวรายใหญ่ จึงไม่ต้องกลัวอาหารขาดแคลน รวมถึงสินค้าอุปโภค เช่น  กระดาษชำระที่ยังมีวัตถุดิบการผลิตเพียงพอ ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องกักตุนสินค้า ผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ของประเทศกว่า 40 ราย ต่างยืนยันสินค้ามีเพียงพอต่อความต้องการบริโภคของคนในประเทศไม่มีการขาดแคลนอย่างแน่นอน  โดยตอนนี้ผู้ผลิตสินค้าได้ใช้กำลังการผลิต 70% ยังเหลืออีก 30%   จึงไม่มีความจำเป็นต้องซื้อสินค้าไปกักตุนไว้ และได้ขอความร่วมมือกับผู้ผลิตและห้างสรรพสินค้าทุกรายของประเทศแล้วให้ช่วยกันดูแลสินค้าภายในห้างให้มีเพียงพอต่อความต้องการให้มากที่สุดด้วย

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/763212

ญี่ปุ่นสนับสนุนเงิน 3.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและความแห้งแล้งในแม่น้ำโขง

รัฐบาลญี่ปุ่นจะมอบเงินช่วยเหลือ 412 ล้านเยนญี่ปุ่น (ประมาณ 3.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) แก่คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านการตรวจสอบและการพยากรณ์ถึงภัยธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับน้ำท่วมและภัยแล้งที่เป็นปัญหาที่สปป.ลาว ต้องเผชิญทุกปีโดยเฉพาะภาคการผลิตของเกษตร ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ข้อตกลงเรื่องเงินทุนได้ลงนามเมื่อสัปดาห์ที่แล้วโดยตัวแทนของ ศูนย์จัดการน้ำท่วมและภัยแล้งในภูมิภาค(MRC)และรัฐบาลญี่ปุ่นในเวียงจันทน์โดยความช่วยเหลือดังกล่าวจะเปลี่ยนศูนย์จัดการน้ำท่วมและภัยแล้งในภูมิภาคของ MRC ให้กลายเป็นศูนย์กลางของความเป็นเลิศในการจัดหาการคาดการณ์น้ำท่วมและภัยแล้งที่รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้นและเตือนภัยล่วงหน้าไปยังประเทศลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ญี่ปุ่นเชื่อว่าการสนับสนุนทางการเงินแก่สปป.ลาวในครั้งนี้ นอกจากเป็นการสนับสนุนในด้านดังกล่าวแล้ว ถือเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่าง 2 ประเทศเพื่อเป็นผลดีต่อการเจรจาด้านการค้าในอนาคต

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Japan.php

COVID-19 ส่งผลกระทบต่อแรงงานอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มในกัมพูชา

การระบาดทั่วโลกของ COVID-19 กำลังส่งผลทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง รวมถึงส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในกัมพูชาซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในภูมิภาค ซึ่งโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากประเทศจีน ในขณะที่การผลิตลดลงในประเทศจีนเจ้าของโรงงานในกัมพูชาได้เริ่มหยุดดำเนินการและตัดทอนแรงงานลง ซึ่งโรงงาน 10 แห่งในกัมพูชาแจ้งรัฐบาลว่าจะระงับการผลิต และคาดว่าจะมีโรงงานอีกกว่า 200 แห่งในภาคอุตสาหกรรมที่จะหยุดการดำเนินงานหรือลดกำลังการผลิตลง โดยจากแหล่งข่าวรายงานว่าแรงงานกัมพูชา 5,000 คนตกงานแล้ว ซึ่งโรงงานที่หยุดการดำเนินงานจะต้องจ่ายค่าแรง 60% ของค่าแรงขั้นต่ำ ในช่วงพักงานพนักงานจะต้องได้รับการฝึกอบรมที่จัดทำโดยกระทรวงแรงงานและอาชีวศึกษาในสถานที่ทำงาน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50701601/covid-19-impacts-garment-workers-in-cambodia/

การจัดเก็บภาษีของกรมศุลกากรเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

กรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) กล่าวว่าการจัดเก็บภาษีมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 19.5% ต่อปี ตั้งแต่ปี 2014 จากการกำกับดูแลที่ดีของ GDCE ซึ่งสะท้อนจากการปฏิรูปการทำงานในระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งจากข้อมูลของ GDCE รายได้จากภาษีนำเข้าปี 2019 เพิ่มขึ้นมากกว่า 30% และจากภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ประมาณ 29% โดยแหล่งรายได้หลักสำหรับปี 2019 คือการนำเข้ายานพาหนะและเครื่องจักรซึ่งจากข้อมูลของ GDCE นั้นคิดเป็น 50% ของรายได้ทั้งหมด เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา GDCE ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการระบาดใหญ่ของโลก ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อแผนการประจำปีสำหรับการจัดเก็บภาษีสำหรับปีนี้แผนประจำปีของ GDCE คือการจัดเก็บภาษีให้ถึง 2.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยกรมสรรพากร (GDT) ในเวลาเดียวกันได้เตือนถึงการระบาดของ COVID-19 จะลดรายได้ที่สามารถเก็บได้ในปีนี้ ผู้อำนวยการ GDT กล่าวว่าไวรัสยังคงสร้างการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นเป็นอย่างมาก ซึ่งรัฐบาลกำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพราะไม่ทราบถึงการระบาดของ COVID-19 จะสิ้นสุดลงเมื่อใด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50701921/custom-revenue-grows-by-almost-20-percent-over-last-five-years/

กลุ่มยางวางแผนที่จะสร้างโรงงานแปรรูปในภาคเหนือ

จากข้อมูลของกลุ่มยางเวียดนาม (Vietnam Rubber Group – VRG) ได้ลงทุนก่อสร้างโรงงานแปรรูปจำนวน 3 โรงงานในภาคเหนือ เนื่องมาจากผลผลิตยางจะเพิ่มขึ้นเร็วๆนี้ ดังนั้น ในปี 2565 บริษัทยาง Lai Chau จะดำเนินลงทุนในสายการผลิตน้ำยางข้น (SVR10,SVR20) ด้วยกำลังการผลิตอยู่ที่ 3,000 ตันต่อปี เพื่อที่จะรองรับกับบริษัทในภาคเหนือ ทั้งนี้ ในปัจจุบัน กลุ่มยางเวียดนาม (VRG) มีโรงงานแปรรูปยางในจังหวัด Son La ด้วยกำลังการผลิต 6,000 ตัน และในจังหวัด Lai Chau ด้วยกำลังการผลิต 5,000 ตันต่อปี ซึ่งในปี 2566 ทางกลุ่มยางเวียดนามจะเริ่มก่อสร้างโรงงานแปรรูปยาง (เฟส 2) ในจังหวัด Lai Chau ด้วยกำลังการผลิต 4,000 ตันต่อปี ส่งผลให้กำลังการผลิตรวมอยู่ที่ 9,000 ตันต่อปี ขณะเดียวกัน โรงงานทั้งสองแห่งนี้คาดว่าจะตอบสนองต่อความต้องการทั้งภูมิภาค

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/rubber-group-plans-to-build-three-processing-plants-in-northern-region/170134.vnp

ยอดขายซุปเปอร์มาร์เก็ตพุ่งสูงขึ้น ขณะที่ตลาดสดดิ่งลง

จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เปิดเผยว่ารายได้ของธุรกิจภาคการค้าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องมาจากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้มีความต้องการสินค้าจำเป็นมากยิ่งขึ้น โดยสินค้าส่วนใหญ่ที่คนซื้อ คือกลุ่มอาหารที่จำเป็น ได้แก่ ปศุสัตว์และเนื้อสัตว์ปีก ไข่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและผัก เป็นต้น สำหรับทางฝั่งซุปเปอร์มาร์เก็จยังคงต้องส่งเสริมช่องทางอีคอมเมิร์ซ เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของผู้คนเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าว เพราะว่าราคาอาหารในซุปเปอร์มาร์เก็ตหลังจากช่วงปีใหม่ ยังมีเสถียรภาพอยู่และต่ำกว่าเมื่อเทียบกับตลาดสด สำหรับปริมาณขายสินค้าของตลาด ลดลงร้อยละ 50-70 ขณะที่รายได้ลดลงร้อยละ 50-80 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดไวรัส นอกจากนี้ ลูกค้ายังคงกังวลที่จะไปยังสถานที่แออัด ดังนั้น รายได้จากอีคอมเมิร์ซของบางธุรกิจนั้น ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20-30

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/sales-at-supermarkets-surge-wet-markets-drop/170116.vnp

เมียนมาตั้งทีมงานเยียวยาเศรษฐกิจสำหรับ Covid-19

เมียนมาได้ตั้งคณะทำงานเพื่อร่างแผนการแก้ไขผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นจาก Covid-19 โดยร่วมมือระหว่างกระทรวงและองค์กรของรัฐบาลเมื่อวันที่ 13 มีนาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการมีหน้าที่หกประการ มีเป้าหมายเพื่อใช้มาตรการฉุกเฉินและร่างแผนระยะสั้นและระยะยาว เพื่อลดปัญหาทั้งจากการค้าและการท่องเที่ยว สร้างงานใหม่สำหรับคนที่ว่างงานทำและฝึกอบรมสายอาชีพให้ หาวิธีการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศอื่น ๆ แทนที่จะพึ่งพาจีน เนื่องจากเหตุการณ์ที่คล้ายกัน เช่น Covid-19 ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ในระยะยาว บริษัทจำเป็นต้องนำระบบซัพพลายเชนมาใช้โดยการจัดตั้งอุตสาหกรรมการทอผ้า การถัก การย้อม และการตัดเย็บ คณะกรรมการจะยื่นข้อเสนอต่อสำนักงานประธานาธิบดีเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีและการลดหย่อนภาษีหาก Covid-19 มีผลกระทบต่อธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อมในท้องถิ่น เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของ Covid-19 รัฐบาลได้สั่งห้ามให้มีการชุมนุมตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคมถึง 30 เมษายน 2563

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-president-office-forms-economic-remedy-committee-for-covid-19

COVID-19 พ่นพิษ แรงเมียนมาตกงานกว่า 4,000 คน

กระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและประชากรของเมียนมาชี้มีแรงงานกว่า 4,000 คนตกงานตั้งแต่ต้นปีเนื่องจากการปิดตัวและลดจำนวนแรงงานใน 15 โรงงาน และมีโรงงานอีก 20 แห่งที่ยื่นคำร้องขอระงับการดำเนินการ เหตุผลหลักๆ คือการขาดวัตถุดิบและไม่มีคำสั่งซื้อของสินค้า จากปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 และปัญหาการเช่าที่ดิน สำหรับโรงงานที่ได้รับผลกระทบ 15 แห่ง ปิดอย่างถาวรไปแล้ว 9 แห่ง ปิดชั่วคราว 6 แห่ง และอีก 2 แห่งลดจำนวนแรงงานลง คนงานที่ว่างงานจะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านการดูแลสุขภาพขึ้นอยู่กับเงินสมทบประกันสังคม แต่ไม่ใช่สวัสดิการการว่างงาน โรงงานเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในเขตย่างกุ้ง, พะโคและเขตอิรวดีโดยส่วนใหญ่ผลิตกระเป๋า รองเท้า และเครื่องนุ่งห่ม ในบรรดาผู้ที่ตกงานเป็นชาวจีนและชาวเกาหลีที่ทำในโรงงานเหล่านี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าตั้งแต่ต้นปีโรงงานเปิดใหม่สร้างงานได้ถึง 6,000 ตำแหน่ง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/4000-workers-myanmar-unemployed-over-shutdown-workforce-reduction.html