UPA ปิดดีลซื้อหุ้นน้ำประปาที่ลาว แย้มแจรจาร่วมทุนโซลาร์ฟาร์มเวียดนาม 50 MW

UPA ปิดดีลลงนามเซ็นสัญญาซื้อขายหุ้นโครงการน้ำประปาแสนดินใน สปป.ลาว มูลค่ารวม 80.85 ล้านบาท บุ๊กรายได้ทันที สร้างรายได้ประจำ ส่งซิกแผนเจรจาร่วมทุนโซลาร์ฟาร์มเวียดนาม ขนาดกำลังผลิต 50 เมกะวัตต์ หวังหนุนผลประกอบการเทิร์นอะราวด์ ซึ่งบริษัทได้ลงทุนผ่าน บริษัท  เอไอดีซี  วอเตอร์ โฮดิ้ง (สิงคโปร์ ) พีทีอี แอลทีดี (AWH) ซึ่งจะเป็นผู้ถือหุ้น 60% ของบริษัท เอเชีย วอเตอร์ จำกัด ผู้เดียว (AWS) ผู้ดำเนินโครงการผลิตน้ำประปาแสนดิน จากการรับโอนโครงการน้ำประปาจากบริษัท เอเชีย ลงทุน พัฒนา และก่อสร้าง จำกัด ผู้เดียว (AIDC) สำหรับโครงการดังกล่าว ตั้งอยู่ที่นครหลวงเวียงจันทน์ ได้เริ่มผลิตน้ำประปาในเชิงพาณิชย์แล้วเมื่อเดือน มิ.ย. 2562 เพื่อจำหน่ายให้กับน้ำประปานครหลวงของสปป.ลาว มีระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี กำลังการผลิตรวม 48,000 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวัน ขณะเดียวกัน ในช่วงที่ผ่านมา UPA ยังคงมองหาโอกาสในการลงทุนด้านพลังงานทางเลือกใหม่เพิ่มเติม โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม CLMV ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจาลงนามซื้อหุ้น โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์) 1 โครงการ ในเวียดนาม

ที่มา : นสพ.ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 5 พ.ย. 2562

เวียดนามเผยยอดส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 40 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีนี้

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม มีแนวโน้มที่จะบรรลุเป้าหมายของยอดการส่งออก 40 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีนี้ แม้ว่าบางตลาดจะเผชิญกับปัญหาอยู่ สำหรับผู้ผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มรายใหญ่ของเวียดนาม (Vietnam National Garment and Textile Group : Vinatex) เปิดเผยถึงผลประกอบการของยอดการส่งออก 29.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ โดยทางบริษัทพยายามผ่านอุปสรรคของภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลกระทบทางด้านราคาสินค้าที่ลดลงอย่างมาก เนื่องมาจากสถานการณ์สงครามการค้า แต่สถานการณ์ปัจจุบันเริ่มกลับมาฟื้นตัวขึ้น ทำให้ลูกค้าหันมาสนใจมากขึ้น ขณะที่ ราคาสินค้ากลับมาฟื้นตัวเช่นกัน ทั้งนี้ ทางบริษัทฯ คาดว่าจะได้รายรับ 9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งธุรกิจให้ความสำคัญในการออกแบบวัสดุที่เหมาะสมกับคนเวียดนาม และสร้างความมั่นใจในเรื่องของคุณภาพสินค้า เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/textile-and-garments-likely-to-hit-40b-in-exports-this-year-405723.vov

เวียดนามเผยผู้ประกอบการก่อตั้งธุรกิจกว่า 12,000 แห่ง ในเดือนตุลาคม

จากข้อมูลของสำนักสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการก่อตั้งธุรกิจอยู่ที่ 12,182 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว โดยธุรกิจที่ก่อตั้งใหม่มีเงินทุนที่จดทะเบียนรวม 6.19 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน และมีการจ้างแรงงาน 94,700 คน ในขณะที่ ธุรกิจที่ล้มเลิกกิจการมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก 5,012 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 84.5 และ 98.0 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้วและปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2562 เวียดนามมีผู้ประกอบการที่จดทะเบียนใหม่ 114,400 แห่ง ด้วยเงินทุนจดทะเบียนรวมมากกว่า 61.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และจำนวนการจ้างแรงงานกว่า 1 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4, 28.5 และ 11.0 ตามลำดับ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/over-12000-businesses-set-up-in-october-405719.vov

ก.ล.ต. นำเสนอการระดมทุนหนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน ในการประชุมผู้บริหารระดับสูง ณ OECD กรุงปารีส

เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้นำเสนอบทบาทของภาครัฐและ ก.ล.ต. ในการสนับสนุนการระดมทุนที่สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable financing) ในการประชุมที่องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส เรื่องโอกาสของการระดมทุนแบบยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน ในหัวข้อบทบาทของผู้กำหนดนโยบาย ร่วมกับผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจากภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้ เลขาธิการ ก.ล.ต. นำเสนอแนวทางการสนับสนุน sustainable financing ทั้งในยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาตลาดทุน ปัจจัยสำเร็จทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน รวมทั้งการพัฒนา ecosystem ความท้าทาย ความคาดหวังของสาธารณะ และความร่วมมือโดยเฉพาะในกรอบตลาดทุนอาเซียน ซึ่งที่ประชุมหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนอาเซียน (ASEAN Capital Markets Forum : ACMF) ครั้งที่ 31 ที่ ก.ล.ต. ไทยเป็นเจ้าภาพ ได้เห็นชอบการจัดทำ Roadmap for ASEAN Sustainable Capital Markets นอกจากนี้ ได้นำเสนอความคืบหน้าล่าสุดเกี่ยวกับการดำเนินการของ ก.ล.ต. และร่างแผน ก.ล.ต. ปี 2563 – 2565 ที่เกี่ยวข้องกับการระดมทุนที่สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน

ที่มา : https://thaipublica.org/2019/10/oecd-sec-sustainable-financing/

“ภาคเอกชน”แรงขับเคลื่อนหลักของระบบเศรษฐกิจ

จากการประชุมที่จัดขึ้นโดยสถาบัน Central Institute for Economic Management (CIEM) ณ วันที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา เปิดเผยว่าเศรษฐกิจมหภาคยังคงมีเสถียรภาพ, อุตสาหกรรมท้องถิ่นที่ขยายตัวได้ดี โดยสาขาอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปยังคงเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการเติบโตเศรษฐกิจ ส่วนภาคการค้าระหว่างประเทศนั้น เวียดนามเกินดุลการค้าประมาณ 7.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับ 9 เดือนแรกของปี 2561 ในส่วนของสาขาการส่งออกและการนำเข้านั้น บริษัทลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีแนวโน้มชะลอตัว ขณะที่ ภาคเอกชนเป็นเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจเวียดนาม อย่างไรตาม เวียกนามต้องเผชิญกับความท้าทายของเศรษฐกิจชุมชน และคาดว่าสาขาอุตสาหกรรมเหมืองแร่จะเป็นภัยคุกคามต่อสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ ทางสถาบันฯ แนะนำให้ปฏิรูปเศรษฐกิจมหภาค การปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำธุรกิจ และควรให้ความสำคัญกับคุณภาพสินเชื่อ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/private-sector-main-driving-force-for-economic-growth-405492.vov

ไต้หวันเป็นผู้บริโภคกุ้งรายสำคัญในเวียดนาม

จากรายงานสถิติของศูนย์การค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่าเวียดนามเป็นผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่ อันดับ 2 ของบรรดาซัพพลายเออร์ทั่วโลก ไปยังตลาดไต้หวัน (จีน) ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 โดยมูลค่าการส่งออกกุ้งไปยังไต้หวันอยู่ที่ 41.9 ล้านเหรียญหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นับว่าขยายตัวได้ดีที่สุด เนื่องมาจากผู้บริโภคชาวไต้หวันนิยมกุ้งกุลาดำแช่แย็นแช่แข็ง ราคาอยู่ที่ 6-8 เหรียญสหรัฐฯต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ สินค้าสัตว์น้ำประเภทอื่นๆ ต่างได้รับความนิยมเป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าการส่งออกกุ้งอยู่ในทิศทางที่เป็นบวก แต่เวียดนามส่งออกกุ้งไปยังไต้หวันนั้น ไม่ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามที่คาดหวังไว้ เป็นผลมาจากอัตราภาษีที่สูงขึ้นร้อยละ 20 รวมไปถึงกฎระเบียบที่เข็มงวดในด้านความปลอดภัยของอาหารและมาตรฐานสุขอนามัย

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/taiwan-emerges-as-largest-consumer-of-vietnamese-shrimp-405481.vov

ทศวรรษหน้า ขนส่งสาธารณะย่างกุ้งสามารถพึ่งพา YBS ได้

การประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สองของ บริษัท ขนส่งสาธารณะย่างกุ้งประจำเมือง (YUPT) การขนส่งสาธารณะในเขตย่างกุ้งสามารถพึ่งพา YBS (Yangon Bus Service) ได้ในทศวรรษหน้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมการไฟฟ้าและการขนส่งทางถนนกล่าวระหว่างการ เมื่อวันที่ 30 ต.ค. ที่ผ่านมา การขนส่งทางรถไฟรอบเมืองสามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณหมื่นคนในขณะที่โครงการรถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดินไม่สามารถดำเนินการได้ มีผู้โดยสารประมาณ 2.5 ล้านคนต้องพึ่งพา YBS แต่อาจจะอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านคนเพราะต้องไปและกลับจากบ้านของพวกเขา ย่างกุ้งมีรถบัส 100 สาย พร้อมด้วยรถบัสที่จดทะเบียน 6,635 คัน รถโดยสารมากกว่า 4,500 คัน มีผู้โดยสารประมาณ 1.8 ล้านคนต่อวัน

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/yangon-public-transport-can-rely-on-ybs-for-next-decade-minister

MAB หนุนไมโครไฟแนนซ์เพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็ก

Myanmar Apex Bank (MAB) ได้จัดสรรเงิน 57,000 ล้านจัต เพื่อสนับสนุนบริษัทสินเชื่อรายย่อยที่ปล่อยกู้สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ขณะนี้ MAB ได้ให้การสนับสนุนกับ Fullerton Finance Myanmar, Proximity Finance Microfinance, Vision Fund Myanmar, Early Dawn Microfinance, and Pact Global Finance Microfinance Fund. บริษัท ไมโครไฟแนนซ์มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กในเมียนมา โดยยินดีที่จะให้ธุรกิจขนาดเล็กได้กู้ยืมสินเชื่อเพราะธุรกิจเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการสร้างโอกาสการจ้างงาน MAB ได้จัดตั้งขึ้นในปี 53 มีบทบาทในการสนัยสนุนทุนให้กับ บริษัทไมโครไฟแนนซ์เพื่อสนับสนุนลูกค้ารายย่อยและธุรกิจขนาดเล็ก ในอนาคตได้วางแผนจะขยายการระดมทุนการเงินรายย่อยเพื่อให้สามารถรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจ ธุรกิจขนาดเล็กมียอดกู้มากที่สุด 10 ล้านจัตและหากมีการเติบโตจะต้องการเงินทุนเพื่อขยายตัวของธุรกิจ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/microfinance-firms-get-more-support.html

ADB ให้สินเชื่อใหม่เพื่อการพัฒนา สปป.ลาว

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) จัดหาเงินกู้ใหม่ 3 วงเงินมูลค่า 140 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อพัฒนาภาคเกษตรกรรม การศึกษาและเพื่อการบริหารการเงินสาธารณะ ซึ่งการเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบชลประทาน ถนนในชนบทและการปรับปรุงสภาพโภชนาการในพื้นที่ชนบทจะช่วยเพิ่มผลผลิตในฟาร์มให้การเข้าถึงตลาดที่ดีขึ้นและยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชน การให้การสนับสนุนด้านการศึกษาจะช่วยให้สปป.ลาวผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถ และการสนับสนุนการปฏิรูปการคลังสาธารณะจะช่วยลดความเปราะบางของประเทศต่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมและส่งเสริมภาคสังคม

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/adb-provides-new-loans-development-107384

สปป.ลาว-ชิลี ส่งเสริมธุรกิจและความร่วมมือทางการค้า

สปป.ลาวและชิลีมีเป้าหมายที่จะกระชับความร่วมมือทางธุรกิจและการค้า ในระหว่างการประชุมเอกอัครราชทูตชิลีได้แสดงข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมถึงโอกาสทางการค้าและการลงทุนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างทั้ง 2 ประเทศ การค้าทวิภาคีระหว่างสปป.ลาวและชิลีในปี 60 ประสบความสำเร็จ 1.3 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ลดลงเหลือประมาณ 600,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 61 จากเดือนม.ค.ถึงเดือน ก.ค.ปีนี้ถึง 430,000 ดอลลาร์สหรัฐ การส่งออกหลักของชิลีไปยังสปป.ลาวคือเครื่องจักรแปรรูปหิน และไวน์ ในขณะที่สปป.ลาวส่งออกไปยังชิลี คือ รองเท้า อุปกรณ์กระจายเสียง และชุดสูทผู้ชายที่ไม่ได้ถัก ทั้งสองฝ่ายหวังว่าการต้อนรับอย่างอบอุ่นจะเพิ่มพูนความร่วมมือด้านธุรกิจและการค้าและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-chile-boost-business-trade-cooperation-107310