กัมพูชาเริ่มเข้าใกล้กับขั้นตอนการควบคุมท่าเรือที่เหมาะสม

กระบวนการในและนอกของการยกร่างกฎหมายที่จะควบคุมท่าเรือของกัมพูชาอย่างเหมาะสมนั้นกลับมาดำเนินการอีกครั้ง โดยกระทรวงโยธาธิการและคมนาคมของกัมพูชามีหน้าที่มอบหมายในการร่างกฎหมายท่าเรือและองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ได้จัดกิจกรรมที่นำผู้แทนจากทั้งภาครัฐและเอกชนมารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงร่างกฎหมายตามรายงานจาก Agence Kampuchea Presse (AKP) ซึ่ง JICA ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลกัมพูชาในการร่างกฎหมายที่เสนอ โดยในการประชุมเชิงปฏิบัติการแสดงถึงขั้นตอนที่สำคัญสำหรับกัมพูชาซึ่งตามผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและการขนส่งสินค้ามองว่าจำเป็นต้องมีกฎหมายที่ควบคุมกิจกรรมภายในท่าเรือของตนอย่างเหมาะสม ซึ่งการขาดกฎหมายท่าเรือถือว่าเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาท่าเรือของกัมพูชา โดยท่าเรือถูกมองว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาของกัมพูชาซึ่งได้เห็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและเติบโตอย่างมากหลังจากเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/653738/cambodia-one-step-closer-to-proper-port-regulation/

กลุ่มนักลงทุนจีนลงทุนในอุตสาหกรรมกล้วยมูลค่าโครงการกว่า 30 ล้านเหรียญ

Beijing Capital Agribusiness Group ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของจีนประกาศที่จะศึกษาโครงการการลงทุนมูลค่ากว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อทำสวนกล้วยในกัมพูชา โดยบริษัทกำลังพิจารณาการซื้อที่ดิน 1,500 เฮกตาร์ ที่จะใช้ในการปลูกกล้วย ซึ่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตรของกัมพูชาให้การต้อนรับแผนของ บริษัท และให้คำมั่นที่จะอำนวยความสะดวกในการลงทุนเนื่องจากมองว่าการลงทุนจะมีความสำคัญต่อการพัฒนาภาคเกษตรกรรมของกัมพูชา โดยให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความทันสมัยของภาคและส่งเสริมการแปรรูปบรรจุภัณฑ์รวมถึงการส่งออกสินค้าเกษตรที่มีมาตรฐานคุณภาพสูง จากรายงานล่าสุดของกระทรวงเกษตร กัมพูชาได้ส่งออกกล้วยสดจำนวนกว่า 110,512 ตัน ในช่วงเก้าเดือนแรกของปีซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศจีน เวียดนามและญี่ปุ่น โดยมองว่าในอนาคตมูลค่าการส่งออกกล้วยอาจจะสูงมากกว่ามูลค่าการส่งออกข้าวสารภายในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50653739/chinese-group-unveils-plan-to-invest-30m-in-banana-industry/

กลุ่มทุนจีนปรับทัพย้ายฐานลง EEC ‘สมคิด’ ช่วยกล่อม

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเยือนมณฑลกวางตุ้งและเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 20-25 ตุลาคม 2562 ทั้งนี้รัฐบาลจีน จะใช้เขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (Guangdong-Hong Kong-Macao Greater Bay Area) หรือ GBA เป็นตัวเชื่อมระหว่างจีนกับโลกภายนอกโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาเซียน ขณะที่ประเทศไทยในฐานะเป็นศูนย์กลาง CLMVT และอาเซียนมีแผ่นดินเชื่อมกับจีนด้วย ขณะที่ ไทยให้ความสำคัญกับจีนเป็นอย่างมาก โดยการเป็นประเทศคู่ค้าและหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา นอกจากนี้ไทยยังเชื่อมั่นกับฮ่องกงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาค จากนโยบาย Belt and Road ของจีนเชื่อมกับโลกทุกมิติ โดยเฉพาะกลุ่ม CLMV ของไทย เป็นประตูส่งผ่านค้าออกไปทั่วโลก ซึ่งนักธุรกิจจีนสนใจมาลงทุนไทยเพื่อเลี่ยงผลกระทบจากสงครามการค้า ขณะที่นักลงทุนฮ่องกง เลี่ยงผลกระทบจากความไม่สงบของการเมืองในประเทศฮ่องกง นอกจากนี้ การที่นายสมคิดนำคณะเดินทางไปโรดโชว์การลงทุน ณ มณฑลกวางตุ้ง และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน จะยิ่งเพิ่มความน่าสนใจให้พื้นที่ EEC

ที่มา : https://www.naewna.com/business/449519

ไทยพาณิชย์ยืนเป้าส่งออก-2.5%

เมื่อวันที่ 22 ต.ค. ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ หรืออีไอซี ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์หลังจากกระทรวงพาณิชย์ได้เปิดเผยตัวเลขการส่งออก ก.ย. 62 ที่ยังคงติดลบ 1.4% ว่าหากหักทองคำออก จะติดลบเพิ่ม เป็น -2.8% ส่วนส่งออกรวม 9 เดือนของปีนี้ ติดลบ 3.1% หากหักทองคำออกจะหดตัวเป็น -5% แต่ถือว่าเป็นการหดตัวในอัตราที่ลดลง ผลจากปัจจัยฐานต่ำของการส่งออกรถยนต์ช่วง ก.ย. 61 ที่หดตัว -7.5% ส่งผลให้ส่งออกรถยนต์เดือนก.ย.ปีนี้พลิกกลับมาขยายตัว 5.4% และ ส่งออกทองคำขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเดือนก.ย.ที่ผ่านมา เติบโต 110.6% อย่างไรก็ตามยังไม่พบสัญญาณที่ชัดเจนของการฟื้นตัวของภาคส่งออก คาดว่าในไตรมาส 4 นี้ยังมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง แม้ว่าจีนและสหรัฐจะตกลงการค้าได้ในขั้นต้นก็ตาม แต่คาดว่าสงครามการค้ายังมีแนวโน้มยืดเยื้อ เป็นปัจจัยกดดันสำคัญต่อการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี อีไอซีจึงคงประมาณการมูลค่าการส่งออกปีนี้เติบโต -2.5% ได้ประเมินการส่งออกปีหน้าว่าเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักของไทยส่วนใหญ่มีแนวโน้มขยายตัวลดลง ประกอบกับความเสี่ยงจากสงครามการค้ายังมีทิศทางยืดเยื้อ ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่า จึงเป็นปัจจัยกดดัน คาดว่าการส่งออกจะมีทิศทางทรงตัว ขยายตัวเพียง 0.2% เนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญส่วนมากมีแนวโน้มชะลอตัว จากที่ IMF คาดการณ์ล่าสุดว่าเศรษฐกิจโลกในปีหน้าจะขยายตัวที่ 3.4% เพิ่มขึ้นจากปีนี้ที่คาดว่าจะขยายตัวที่ 3% อย่างไรก็ดี การเร่งตัวดังกล่าวได้รับผลจากฐานต่ำของประเทศในกลุ่มตะวันออกกลางเอเชียกลาง กลุ่มแอฟริกา ซาฮารา ละตินอเมริกาและแคริบเบียนเป็นสำคัญ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนต่อการส่งออกรวมของไทยเพียง 9.5% ขณะที่เศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ เช่น จีน สหรัฐ ญี่ปุ่น อาเซียน และ CLMV มีทิศทางขยายตัวใกล้เคียงหรือชะลอลงในปีหน้าเมื่อเทียบกับปีนี้

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 24 ต.ค. 2562 (กรอบบ่าย)

อุตสาหกรรมรถยนต์เวียดนามจำเป็นต้องยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน

จากการประชุมโดยศูนย์บริหารเศรษฐกิจเวียดนาม (Central Institute for Economic Management :CIEM) ณ กรุงฮานอย ในวันที่ 22 ตุลาคมที่ผ่านมา กล่าวถึงประเด็นในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนานโยบายภาษีให้ครอบคลุม และการส่งเสริมทางด้านการเงิน เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ โดยอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์เป็น 1 ใน 6 อุตสาหกรรมหลักของเวียดนาม และจากข้อมูลทางสถิติของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าธุรกิจรถยนต์ในประเทศมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปี่ผ่านมา ด้วยปริมาณรถยนต์ 250,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ในช่วงปี 2558-2559 ในขณะที่ ผู้เชี่ยวชาญของสถาบันยุทธศาสตร์การเงินและรองประธานสมาอุตสาหกรรม ระบุว่าจำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญในการวางแผน เพื่อจะส่งเสริมธุรกิจอย่างถูกต้อง และเสนอให้ยกเว้นภาษีการบริโภคพิเศษ สำหรับสินค้าผลิตในประเทศ รวมไปถึงส่งเสริมสินเชื่อเพิ่มมากขึ้นแก่ผู้ประกอบการ SMEs

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/domestic-automobile-industry-in-need-of-policies-to-raise-competitiveness-405092.vov

เวียดนามนำเข้าสุกรอย่างมาก เนื่องจากไข้หวัดหมูระบาดหนัก

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วงกลางเดือนตุลาคมของปีนี้ นครโฮจิมินห์นำเข้าเนื้อหมูกว่า 10,820 ตัน คิดเป็นมูลค่า 21.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 155 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งประเทศบราซิล สหรัฐอเมริกาและโปแลนด์ เป็นผู้ส่งออกเนื้อหมูรายใหญ่ แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ได้แก่ กระดูก และคอหมู ไปยังตลาดเวียดนาม ในราคาที่ต่ำกว่าในประเทศ อย่างไรก็ตาม เวียดนามต้องการเนื้อหมูสดมากกว่า ดังนั้น การนำเข้าเนื้อแช่แข็งจึงนิยมใช้สำหรับอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก เป็นต้น โดยมีเพียงธุรกิจไม่กี่แห่งที่สามารถนำเข้าเนื้อหมูที่มีคุณภาพในการสต๊อกสินค้าได้ นอกจากนี้ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่าในช่วงเดือนมกราคม-กันยายน ในปีนี้ เวียดนามนำเข้าเนื้อหมู 14,824 ตัน หรือคิดเป็นมูลค่าราว 220 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และการสต๊อกเนื้อหมูในประเทศลดลงร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ที่มา :  https://english.vov.vn/economy/imported-pork-floods-vietnam-after-swine-flu-cull-405080.vov

MIC อนุมัติการลงทุนในประเทศและต่างประเทศ 8 แห่งมูลค่าสูงกว่า 270 ล้านเหรียญสหรัฐ มากกว่า 150 พันล้านจัต

ในระหว่างการประชุม (ครั้งที่ 19/2562) คณะกรรมาธิการการลงทุนของเมียนมา (MIC) ได้อนุมัติการลงทุนในประเทศและต่างประเทศแปดแห่งมูลค่า 279.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐและสูงกว่า 156 พันล้านจัตสร้างงานในท้องถิ่นได้ถึง 33,279 อัตรา เป็นการลงทุนในที่อยู่อาศัย บริการการศึกษา อุตสาหกรรม และการเกษตร เป้าหมายการลงทุนสำหรับปีงบประมาณ 62-63 จะเกิดขึ้นเนื่องจากโครงการโครงสร้างพื้นฐานแม้จะมีการเลือกตั้งทั่วไปในปีหน้า การเลือกตั้งของเราในปีหน้าประชาคมระหว่างประเทศจะรอดูผลการเลือกตั้งและสถานการณ์ของรัฐบาลใหม่ ซึ่งเป็นปกติของ บริษัทข้ามชาติที่รอเฝ้าดูสถานการณ์ อย่างไรก็ตามยังชี้ให้เห็นถึงการมีอยู่ของ Project Bank ที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาล ซึ่งรวมถึงโครงการระดับชาติและโครงการระดับกระทรวง สำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานจะเชิญนักลงทุนในปีหน้าโครงการเหล่านั้นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากซางโครงการเหล่านั้นจะมีผลประโยชน์แม้จะมีการเลือกตั้ง เป้าหมายการลงทุนสามารถบรรลุได้หากโครงสร้างพื้นฐาน น้ำมันและก๊าซ และการสื่อสารได้รับการพิจารณา

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/mic-approves-8-local-and-foreign-investments-worth-over-us270m-over-k150bn

เศรษฐกิจเมียนมาขยายตัว 7.1% ในปีนี้

เศรษฐกิจของเมียนมาคาดขยายตัว 6.8% ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 61 ถึงวันที่ 30 ก.ย. 62 เทียบกับ 6.5 % ในปีที่แล้วตามรายงานของสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของอาเซียน +3 (AMRO) ซึ่งได้รับแรงหนุนจากความเชื่อมั่นทางธุรกิจการเติบโตในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและผลิตภัณฑ์การผลิตอื่น ๆ การบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียคาดการณ์ว่าจะขยายตัว 6.6% สำหรับปีงบประมาณ 61-62 และ 6.8% ในปี 63-64 ส่วน IMF คาดว่าการเติบโตจะอยู่ที่ 6.4% ในปีงบประมาณ 61-62 และถ้าการใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้น.ในปี 62-63จะเติบโต 6.6 ผลกระทบจากความต้องการที่ลดลงจากจีนเนื่องจากสงครามการค้า แต่ก็ยังได้รับประโยชน์จากเงินลงทุนเนื่องจากการย้ายฐานการผลิตและหากสามารถปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ แต่โครงสร้างพื้นฐานเป็นสิ่งที่ยากลำบาก ธนาคารกลางของเมียนมา (CBM) ควรปรับอัตราแลกเปลี่ยนให้สอดคล้องกับกลไกตลาดและดำเนินการสร้างทุนสำรองระหว่างประเทศเพื่อสานต่อความสามารถในการจัดการกับปัจจัยภายนอก ความเสี่ยงต่อการคาดการณ์ส่วนใหญ่มาจากความตึงเครียดทางชาติพันธุ์ในรัฐยะไข่ ความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจโลกที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องการค้าและราคาพลังงาน กล่าวว่าความจำเป็นเร่งด่วนคือแก้ไขปัญหาคอขวดโครงสร้างพื้นฐานและข้อจำกัดด้านทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มการลงทุนภาคเอกชนและเพิ่มศักยภาพการเติบโต  และในขณะที่การเพิ่มขึ้นของค่าไฟฟ้าจะช่วยลดภาระทางการคลัง แต่จะช่วยเพิ่มอัตราเงินเฟ้อในระยะสั้น อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะสูงถึง 8.8% ในปีงบประมาณ 61-62 และประมาณ 9% ในปีงบประมาณ 62-63 ส่วนหนึ่งเนื่องจากการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/economy-expand-much-71-year-amro.html  

กลุ่มประเทศ แม่โขง-ล้านช้าง แลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญด้านการจัดการพลเมือง

เจ้าหน้าที่ในการจัดการพลเมืองจากสปป.ลาว, จีน, พม่า, ไทย, เวียดนามและกัมพูชาพบกันที่เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก เพื่อหารือเกี่ยวกับการระบบทะเบียนราษฎรและสถิติสำคัญ (CRVS)  ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจากสาธารณรัฐเกาหลีได้พูดคุยเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติการรวมและการเปรียบเทียบข้อมูลสถิติการเสียชีวิต สถิติการเสียชีวิตของมารดาและเด็ก สถิติที่ยังไม่เกิดและข้อมูลเกี่ยวกับทารกที่มีอายุน้อยกว่าหนึ่งสัปดาห์ ผู้เข้าร่วมยังได้เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของธนาคารโลกเกี่ยวกับมุมมองระดับโลกเกี่ยวกับการลงทะเบียนครอบครัวรวมถึงระบบข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการพลเรือนการลงทะเบียนและการระบุตัวพลเมือง ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศไทยได้แบ่งปันแนวทางปฏิบัติในการจัดการทะเบียนราษฎรและรวบรวมสถิติที่สำคัญโดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์และสปป.ลาวได้แนะนำกลยุทธ์ในการลงทะเบียนพลเมืองและสถิติสำคัญ  โครงการความร่วมมือได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากประเทศจีนภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ซึ่งดำเนินการตั้งแต่ปี 61-63 การแบ่งปันความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน CRVS ก็เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lancang-mekong-countries-share-expertise-citizen-management-106882

การใช้ smart technology ในอุตสาหกรรมการก่อสร้างสปป.ลาว

ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมในสาขาการก่อสร้างและสถาปัตยกรรมได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการก่อสร้างอัจฉริยะในระหว่างการสัมมนา“Smart Construction – 4th Industrial Revolution and Digital Transformation in the Construction Industry” จัดขึ้นโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนแห่งประเทศสาธารณรัฐเกาหลี และบริษัท Heerim Architects and Planners จากเกาหลีใต้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ CSR เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสองประเทศในอุตสาหกรรมการก่อสร้างของสปป.ลาว ซึ่งในปัจจุบันอุตสาหกรรมการก่อสร้างในสปป.ลาวส่วนใหญ่ยังคงใช้เทคโนโลยีในท้องถิ่น แต่ smart technology มีข้อได้เปรียบอย่างมากในการช่วยให้บริษัทก่อสร้างสามารถใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ช่วยให้สามารถสร้างและออกแบบสิ่งปลูกสร้างที่รับประกันความปลอดภัยมากขึ้น การทำงานที่รวดเร็วขึ้น มีความแม่นยำ ใช้แรงงานจำนวนน้อยลง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-construction-industry-eyes-use-smart-technology-106805