กระทรวงการต่างประเทศแห่งสหภาพยุโรปร่วมมือกับกัมพูชาปลดล็อกการท่องเที่ยว

กระทรวงการท่องเที่ยวและสำนักงานพัฒนาแห่งฝรั่งเศส (AFD) ร่วมมือกันจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว 3 จังหวัดในกัมพูชา ได้แก่เมือง กำปอต ,พระตะบอง และกระแจะ โดยพยายามพัฒนาให้เป็นเมืองท่องเที่ยวเมืองรอง ซึ่งในระหว่างการประชุม AFD ได้รับคำแนะนำจากกระทรวงมีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการซึ่งจะจัดทำโดยหน่วยงานของฝรั่งเศส โดยทั้ง 3 เมืองข้างต้นมีแหล่ง ท่องเที่ยวที่ดีคือแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แต่ยังด้อยพัฒนาอยู่ ซึ่งทั้ง กำปอต ,พระตะบอง ,และกระแจะ มีชื่อเสียงในด้านสถาปัตยกรรมเพราะเคยเป็นเมืองอาณานิคมของฝรั่งเศส โดยในปี 2561 มีนักท่องเที่ยวมาเยือนทั้ง 3 จังหวัดถึง 2.6 ล้านคน และนอกเหนือจากการช่วยเหลือในด้านการท่องเที่ยวของรัฐบาลฝรั่งเศสผ่าน AFD แล้วรัฐบาลฝรั่งเศสยังช่วยกัมพูชาในด้านการพัฒนาภาคการประมง ,การเกษตร ,พลังงาน และด้านสุขภาพอีกด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50630273/ministry-afd-team-up-to-unlock-provinces-tourism-potential/

องค์กรใหม่เพื่อเพิ่มความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างญี่ปุ่นและกัมพูชา

องค์กรที่พยายามส่งเสริมความสัมพันธ์ทางธุรกิจและวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งระหว่างญี่ปุ่นและกัมพูชาเปิดตัวในญี่ปุ่นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยมีรายงานว่า Mr.Kimura ตัดสินใจจัดตั้ง JCBC หลังจากมีการหารือกับMr.Rachana หลังจากที่เขาไปเยี่ยมกัมพูชาเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีองค์กรมิตรภาพในกัมพูชา – ญี่ปุ่นอย่างน้อย 3 องค์กร ได้แก่ สมาคมมิตรภาพญี่ปุ่น – กัมพูชา (JCA) ,สมาคมมิตรภาพโทยามะ – กัมพูชา (TCFA) และสมาคมมิตรภาพมิตรภาพญี่ปุ่น – กัมพูชา (WJCFA) การเปิดตัว JCBC นั้นคาดว่าจะสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างกัมพูชาและญี่ปุ่นซึ่งเป็นแหล่งความช่วยเหลือและการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดสำหรับกัมพูชา ซึ่งมีบริษัทญี่ปุ่นกว่า 1,500 บริษัท ดำเนินงานอยู่ในประเทศกัมพูชา และได้มีการช่วยเหลือจากทางญี่ปุ่นไปยังกัมพูชาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมากว่า 720 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50630252/new-organisation-to-boost-japan-cambodia-business-ties/

จับตาสินค้าจีนทะลักเข้าไทยพิษทรัมป์

ผอ.การสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยถึงกรณีสหรัฐฯ เตรียมปรับขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนลอตใหม่ 10% ตั้งแต่ 1 ก.ย.62 ว่า การปรับขึ้นภาษีครั้งนี้ มีสินค้าจำนวน 3,812 รายการ โดยมี 7 รายการที่ซ้ำกับที่สหรัฐฯขึ้นภาษีไปครั้งก่อน 25% มูลค่า 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่บังคับใช้ไปแล้ว โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าส่วนที่เหลือเกือบทั้งหมดที่สหรัฐฯนำเข้าจากจีนและยังไม่ได้ขึ้นภาษี ครอบคลุมสินค้า เช่น อาหาร อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าและรองเท้า เครื่องประดับ และของเล่น ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้บริโภคสหรัฐฯ แต่ยกเว้นสินค้าบางรายการ เช่น ยา และแร่ Rare Earth ซึ่งหากเดินหน้าขึ้นภาษีจริง ผลกระทบทางตรงต่อการส่งออกไทยและผลกระทบทางอ้อมกรณีที่สินค้าไทยเป็นวัตถุดิบของจีน แล้วจีนส่งออกไปสหรัฐฯ ประเมินว่ามีไม่มากนักเมื่อเทียบกับการขึ้นภาษีครั้งที่ผ่านมา และบางส่วนเป็นสินค้าที่ไทยนำเข้าสุทธิในปี 61 และปี 62 โดยกระทรวงพาณิชย์จะติดตามผลกระทบอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม พบว่ามีสินค้าที่ไทยมีโอกาสส่งออกเพิ่มขึ้นได้ โดยเฉพาะสินค้าเกษตรมีโอกาสส่งออกเพิ่มในตลาดสหรัฐฯกว่า 725 รายการ โดยเป็นสินค้าที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดและสามารถแข่งขันได้ กระทรวงพาณิชย์จะประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อหารือในประเด็นนี้ และประเมินผลกระทบและทำแผนรับมือ เบื้องต้นมีแผนรุกตลาดในสินค้าที่มีศักยภาพ และพัฒนาส่งออกผ่านออนไลน์ นอกจากนี้ จะติดตามสถานการณ์การนำเข้าอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันสินค้าไหลเข้ามาไทยเป็นจำนวนมากจากมาตรการภาษีระหว่างสหรัฐฯและจีนที่อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในประเทศและผู้บริโภค แต่ก็ยังไม่พบการนำเข้าที่ผิดปกติในช่วงที่ผ่านมา.

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/business/1629121

ผู้ประกอบการเวียดนามลงทุนในต่างประเทศ 278 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากรายงานของกระทรวงการวางแผนและการลงทุน (MPI) เปิดเผยว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2562 มูลค่าการลงทุนของเวียดนามไปยังต่างประเทศอยู่ที่ 278 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กว่า 30 ประเทศ โดยประเทศที่เป็นจุดสนใจของนักลงทุนเวียดนาม คือ ประเทศสเปน ด้วยมูลค่าการลงทุนรวม 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22 ของการลงทุนรวม รองลงมาสหรัฐอเมริกา ด้วยมูลค่าการลงทุนรวม 46 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (16.5 ของการลงทุนรวม) นอกจากนี้ นับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายนที่ผ่านมา นักลงทุนเวียดนามสนใจเข้ามาลงทุนภาคการค้าปลีกมากที่สุด ด้วยมูลค่ารวม 94.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 34 ของเงินลงทุนรวม ตามมาด้วยภาควิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และภาคการเงิน ธนาคาร ตามลำดับ

ที่มา: https://vietnamnews.vn/economy/523554/vietnamese-firms-invest-278-million-abroad.html#MLvLyU19dc4FKfFH.97

เวียดนามนำเข้ายานยนต์เพิ่มขึ้น 3 เท่า ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2562

จากรายงานของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2562 เวียดนามนำเข้ารถยนต์ประมาณ 1.94 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 319 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งคนวงในของอุตสาหกรรมยานยนต์ กล่าวถึงสาเหตุที่เวียดนามนำเข้ารถยนต์พุ่งสูงขึ้น เป็นผลมาจากการประสบภัยน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว นอกจากนี้ ทางรัฐบาลได้ออกกฎข้อบังคับการนำเข้ารถยนต์ที่เข็มงวดมากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าได้รับคุณภาพที่ดี และแหล่งที่มาของสินค้าอย่างถูกต้อง โดยในเดือนนี้ ยอดขายรถยนต์คาดว่าลดลง เนื่องมาจากอยู่ในช่วงเดือนสาร์ทจีน (Ghost Month) ทำให้คนเวียดนามหลีกเลี่ยงการจับจ่ายใช้สอยสินค้าใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงโชคร้าย ด้านสถิติการนำเข้ารถยนต์ ระบุว่าในปีที่แล้ว เวียดนามนำเข้ารถยนต์ 72,650 คัน ลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561

ที่มา: https://e.vnexpress.net/news/business/industries/vietnam-car-imports-triple-in-first-seven-months-3962602.html

EXIM BANK เข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์เศรษฐกิจระหว่างประเทศเมียนมา

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) เข้าเยี่ยมคารวะนายตอง ตุน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์เศรษฐกิจระหว่างประเทศเมียนมา เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสที่ได้รับตำแหน่งใหม่ รวมทั้งหารือความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการลงทุนของผู้ประกอบการไทยภายใต้แผนพัฒนาเมียนมาอย่างยั่งยืน (Myanmar Sustainable Development Plan : MSDP) รวมถึงโครงการลงทุนต่างๆ ของรัฐบาลเมียนมา ณ กรุงเนปิดอว์ เมียนมา เมื่อเร็วๆ นี้

ที่มา: https://www.ryt9.com/s/prg/3022597

เขตเศรษฐกิจพิเศษทิวาลายังต้องการท่าเทียบเรือมาตรฐานและบริการโลจิสติกส์ใน ระดับสากล

Thilawa Public Public Co. , Ltd (MTSH) ระบุ พื้นที่ของโรงงานเขตเศรษฐกิจพิเศษทิวาลายังต้องการบริการท่าเรือและโลจิสติกส์มาตรฐานสากล จากรายงานปีงบประมาณ 61-62 MTSH กำลังดำเนินการสำรวจเบื้องต้นเพื่อเปลี่ยนเขตพื้นที่ให้เป็นศูนย์กลางโลจิสติกที่หลากหลาย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2561 การดำเนินงานของท่าเทียบเรือที่สร้างโดย บริษัท ทิลาว่ามัลติเทอร์มินัลอินเตอร์เนชั่นแนลเทอร์มินัล จำกัด (TMIT) ด้วยเงินกู้ ODA ของญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้น บริษัท โตโยต้าเมียนมาร์ จำกัด ได้ลงทุน 52.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐในอุตสาหกรรมยานยนต์และจะผลิตรถยนต์โตโยต้าไฮลักซ์ 2,500 คันในปี 64 จากเขตเศรษฐกิจพิเศษสามแห่งในเมียนมาเขตเศรษฐกิจพิเศษทิวาล่ามีศักยภาพทางเศรษฐกิจ มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องเพราะอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ปัจจุบันมีบริษัท 108 บริษัท จาก 19 ประเทศที่ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษทิลาว่า 60% บริษัท ใน SEZ กำหนดเป้าหมายไปที่ตลาดในประเทศและที่เหลือคือตลาดต่างประเทศ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/thilawa-sez-in-need-of-international-standard-jetties-and-logistics-services

สปป.ลาว เผยภาคเกษตรกรรมมีอัตราการขยายตัวต่ำที่สุด

จากรายงานของทางรัฐบาลสปป.ลาว เปิดเผยว่าภาคการเกษตรยังคงไม่ขยายตัวตามที่คาดไว้ เป็นผลมาจากสภาพอากาศที่แปรปรวน โดยทางรัฐบาลคาดว่าในปี 2562 ภาคเกษตรกรรมจะขยายตัวร้อยละ 2.8 ถ้าหากไม่เกิดภัยธรรมชาติ ซึ่งทางผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์ภัยธรรมชาติยาวนาน จะทำให้ประสบปัญหาขาดแคลนผลผลิตทางการเกษตร และหากต้องการให้ภาคเกษตรขยายตัวอย่าง รวดเร็ว ภาครัฐต้องดำเนินให้นักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนในประเทศสนใจเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมนี้มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ทางรัฐบาลต้องส่งเสริมการเกษตรให้ชัดเจนมากขึ้น ในด้านการแก้ไขปัญหาผลผลิต ควบคุมการใช้สารเคมี เป็นต้น

ที่มา: http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Agriculture_experiences_176.php

ส่งออกกัมพูชาไปสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก

การส่งออกของกัมพูชาไปยังสหรัฐฯเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งปีแรกมูลค่าเกินกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งข้อมูลล่าสุดมาจากทางรัฐบาลสหรัฐ โดยการส่งออกของกัมพูชาขยายตัวกว่า 30% ในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งสหรัฐสั่งซื้อสินค้าจากกัมพูชามูลค่า 2.24 พันล้านเหรียญสหรัฐ และทางกัมพูชานำเข้าสินค้าจากสหรัฐมูลค่า 264 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับปีที่แล้วการค้าระหว่างกัมพูชาและสหรัฐอเมริกามีมูลค่าถึง 4.26 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 23% เมื่อเทียบกับชวงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกของกัมพูชาไปยังสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งในเดือนกรกฎาคม 2559 กัมพูชาได้รับสิทธิพิเศษสำหรับการส่งออกสินค้าบางชนิดไปยังสหรัฐฯ โดยไม่มีการเสียภาษีภายใต้โครงการ Generalized System of Preferences (GSP) ในปี 2561 กัมพูชาส่งออกสินค้าภายใต้ GSP มูลค่ากว่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามข้อมูลของกระทรวงเศรษฐกิจและการเงินของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50630230/exports-to-us-soar-in-h1/

บางกอกแอร์เวย์สเปิดเที่ยวบินร่วม CLMV

นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส (PG)  เปิดเผยว่า บริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)  เจ้าของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ได้ลงนามข้อตกลง ในการให้บริการเที่ยวบินร่วมกับสายการบิน เตอร์กิชแอร์ไลน์ (TK) เพื่ออำนวยความสะดวกผู้โดยสารเดินทางเชื่อมต่อจากกรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) ผ่านเที่ยวบินของ บางกอกแอร์เวย์สไปแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมทั้งในประเทศไทยและประเทศในกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ,สปป.ลาว ,เมียนมา และเวียดนาม) โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. ที่ผ่านมา ครอบคลุมเส้นทาง กรุงเทพฯ-ดานัง (เวียดนาม) กรุงเทพฯ-เกาะฟู้โกว๊ก (เวียดนาม) กรุงเทพฯ-ย่างกุ้ง (เมียนมา) กรุงเทพฯ-มัณฑะเลย์ (เมียนมา) กรุงเทพฯ-เนปิดอว์ (เมียนมา) กรุงเทพฯ-เวียงจันทน์ (สปป.ลาว) และกรุงเทพฯ-หลวงพระบาง (สปป.ลาว) นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 เส้นทางได้แก่ กรุงเทพฯ-พนมเปญ และกรุงเทพฯ-เสียมราฐ รออนุมัติจากรัฐบาลประเทศกัมพูชา 

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์