มองเวียดนามกับโอกาสของธุรกิจพลังงานหมุนเวียน

หลังจากเวียดนามประกาศยกเลิกแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกเพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าซึ่งเป็นผลจากภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันพบว่าธุรกิจพลังงานหมุนเวียนกำลังเป็นที่น่าจับตา ซึ่งจะเป็นแหล่งพลังงานสำคัญทดแทนพลังงานหลักของเวียดนามอย่างถ่านหินและพลังน้ำที่ต้องนำเข้าเป็นหลัก ทำให้รัฐบาลพยายามส่งเสริมการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนขากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมเพื่อลดการนำเข้าของถ่านหิน และการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นต่อปีอยู่ที่ 10% ในอีก 5 ปีข้างหน้า ปัจจุบันแม้จะอยู่ในช่วงเริ่มต้นแต่เชื่อได้ว่าเวียดนามมีศักยภาพมากพอโดยเฉพาะพลังงานจากแสงอาทิตย์และพลังงานลม ดังนั้นนักลงทุนหรือผู้ประกอบการควรศึกษาและคว้าโอกาสนี้เอาไว้ให้ได้

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/49486_0.pdf

10 กรกฎาคม 2561

SCB EIC วิเคราะห์ CLMV Monitor แนะโอกาสทางธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้าน

เศรษฐกิจ CLMV ปี 2561 ขยายตัว 6-7% ปัจจัยหลักคือ การส่งออกและการท่องเที่ยว การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นกลไกสำคัญโดยเฉพาะจีน การส่งออกครึ่งปีแรกขยายตัวได้ดีโดยเฉพาะสินค้าเกษตร เพื่อพิจารณาเป็นรายประเทศพบว่าเมียนมามีการขยายตัวสูงสุดคือ 7% รองลงมาคือ กัมพูชามีเติบโต 6.9% สปป.ลาวขยายตัว 6.8% และเวียดนามเติบโตราว 6.6% ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะการเงินโลกที่ตึงตัวขึ้นทำให้เศรษฐกิจ CLMV ต้องพึ่งทุนจากต่างประเทศในระดับสูงและเสี่ยงต่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจด้านต่างประเทศที่มากขึ้น

ที่มา: https://www.scbeic.com/th/detail/file/product/4770/f23fv1xzqa/CLMV-Monitor_TH_2018_H1_20180618.pdf

สามเหลี่ยมเศรษฐกิจตอนเหนือ แหล่งลงทุนที่น่าสนใจในเวียดนาม

ปัจจุบันสามเหลี่ยมเศรษฐกิจตอนเหนือเป็นที่เนื้อหอมของนักลงทุนต่างชาติ เพราะเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่าง กรุงฮานอย จังหวัดไฮฟอง และจังหวัดกว๋างนิญ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นย่านเศรษฐกิจ การค้าและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ และยิ่งกว่านั้นจุดเชื่อมโยงนี้ตั้งอยู่บนเส้นทางโลจิสติกส์สำคัญอย่าง โครงการ Belt Road Initiative (BRI) ของจีน และในภาคการท่องเที่ยวพบว่ามีนักเดือนทาองเพิ่มมากขึ้น 128% ของครึ่งปีแรก เห็นได้ว่าโอกาสของนักลงทุนนั้นเปิดกว้าง แต่ทั้งนี้สิ่งที่ต้องเข้าใจเป็นอันดับแรกคือ ความต่างกันของพฤติกรรมผู้บริโภคระหว่างเวียดนามเหนือที่อยู่ในเขตค่อนข้างหนา และเวียดนามใต้อากาศจะคล้ายกับไทยคือร้อนอบอ้าว และยังมีนักท่องเที่ยวที่หลากหลายและผู้บริโภคจากจีนที่จำเป็นจะต้องรู้ถึงพฤติกรรมการบริโภค

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/49911_0.pdf

10 กรกฎาคม 2561

เศรษฐกิจ CLMV เติบโตดีต่อเนื่อง แม้เวียดนามอาจมีความเสี่ยงจากสงครามการค้า

ยังคงขยายตัวสูงที่ระดับ 6-7% ในปี 2018 และ 2019 หลักๆ มาจาก มูลค่าการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) ขยายตัว 21%YOY จากจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 63% ของ FDI ทั้งหมด อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงสำคัญคือการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ทั้งนี้ ค่าเงินมีทิศทางอ่อนค่าลงตั้งแต่ต้นปีตามการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่อ่อนค่าในระดับต่ำกว่าค่าเงินประเทศเอเชียอื่นๆ เนื่องจากอยู่ภายใต้การควบคุมจากธนาคารกลาง

 

ที่มา: https://www.scbeic.com/th/detail/product/5081

 

ตลาดผลิตภัณฑ์ความงามและผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายในเวียดนามตอนใต้

การบริโภคผลิตภัณฑ์ความงามในเวียดนามเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2559 โดยกลุ่มประชากรเป้าหมายเป็นเพศหญิลอายุ 20 – 44 ปี และจากการสำรวจพบว่ากลุ่มผู้บริโภคมีอายุและตำแหน่งการงานสูงขึ้น มักหันมาสนใจดูแลผิวพรรณมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคในจังหวัดทางตอนใต้ที่มีกำลังซื้อมากกว่ากลุ่มผู้บริโภคในพื้นที่อื่น ๆ ซึ่งในปัจจุบัน มีบริษัทด้านความงามในเวียดนาม 400 บริษัท สำหรับช่องทางการซื้อ ส่วนใหญ่นิยมซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ รองลงมาผ่านร้านตัวแทนจำหน่าย ในขณะที่ ผลิตภัณฑ์ความงามจากเกาหลีใต้และญี่ปุ่นได้รับความนิยมจากคนเวียดนาม โดยเฉพาะเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ แต่หากรวมผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย พบว่าผลิตภัณฑ์จากไทยกำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากราคาย่อมเยา สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมกำลังเริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการไทยที่สนใจขยายตลาดผลิตภัณฑ์ความงามในเวียดนาม ควรพิจารณาผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ “Organic” และพิจารณาช่องทาง E-Commerce อีกด้วย

ที่มา : http://www.thaiembassy.org/hochiminh/th/business/6900/95647-ตลาดผลิตภัณฑ์ความงามและผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายในเวียด.html

จัดทัพลงทุนธุรกิจสปาใน CLMV

โดย ปุลวัชร ปิติไกรศร

ธุรกิจสปาเป็นหนุ่งในธุรกิจดาวรุ่งของไทยที่ขยายตัวควบคู่กับการเติบโตของภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวเอเชียที่นิยมใช้บริการสปาของไทย ทั้งนี้ Global Wellness Institute ประเมินว่าตลาดสปาของไทยมีมูลค่าราว 4.3 หมื่นล้านบาทในปี 2017 และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องจากการขยายตัวด้านรายได้และจำนวนชนชั้นกลางในจีน รวมถึงยังคว้าโอกาสจากจุดแข็งด้านคุณภาพการบริการ รูปแบบการทำสปาที่มีเอกลักษณ์ และองค์ความรู้ด้านสมุนไพร

อีไอซี (EIC) มองว่ากัมพูชาและเวียดนามเหมาะกับการเข้าไปลงทุนธุรกิจสปา โดย IMF คาดว่ารายได้ต่อหัวของประชากรกัมพูชาจะขยายตัวเฉลี่ย 7.5% ต่อปีในช่วง 5 ปีข้างหน้า ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ขยายตัวเฉลี่ย 29% ต่อปีในช่วงปี 2013-2017 ทั้งนี้ เมืองที่น่าลงทุน คือ ‘พนมเปญและเสียมฐาน’ ซึ่งสำคัญต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของกัมพูชา

นอกจากนี้ ปัจจุบัน ธุรกิจสปาของกัมพูชาส่วนใหญ่เป็น hotel spa ที่บริหารโดยโรงแรมระดับสากล เช่น Le Méridien Spa หรือ So SPA by Sofitel แต่ยังไม่มี day spa ที่มีมาตรฐานสากลเปิดให้บริการมากนัก

ในขณะที่เวียดนามมีจุดที่น่าสนใจ คือ ภาคการท่องเที่ยวที่เติบโตรุดหน้ากว่าประเทศอื่นในกลุ่ม CLMV จากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ขยายตัวเฉลี่ย 23% ต่อปีระหว่างปี 2013-2017 จนแตะระดับ 4 ล้านคน ขณะที่ จำนวนชนชั้นกลางก็คาดว่าจะขยายตัวจนมีจำนวน 33 ล้านคนในปี 2020 ส่งผลให้เวียดนามมีฐานลูกค้าคนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวจีนที่ใหญ่กว่าประเทศอื่น การลงทุนในเมืองใหญ่อย่างดานัง ฮานอยและโฮจิมินห์จึงมีความน่าสนใจ อย่างไรก็ตาม เวียดนามมีรูปแบบการทำสปาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งอาจส่งผลให้รูปแบบการทำสปาจากต่างประเทศไม่ได้รับความนิยมมากนักจากคนท้องถิ่น ผู้ประกอบการอาจต้องปรับรูปแบบการทำสปาแบบสากลให้เหมาะสมกับคนท้องถิ่นเพื่อให้ตัดสินใจใช้บริการได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ ในปัจจุบัน เวียดนามพบว่ามีการลงทุนจากกลุ่มธุรกิจสปาขนาดใหญ่อย่าง Six Senses รวมถึง Le SPA ที่บริหารโดย AccorHotels ก็เริ่มเปิดให้บริการในโรงแรมหลายแห่ง

อย่างไรก็ตาม หนึ่งในความเสี่ยงที่สำคัญของการขยายธุรกิจสปาในกัมพูชาและเวียดนามคือการเปลี่ยนงานของแรงงานท้องถิ่นในตำแหน่งผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งมักจะเปลี่ยนงานบ่อยครั้งเมื่อมีโอกาสได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น เนื่องจากกฎหมายของทั้งสองประเทศกำหนดสัดส่วนการจ้างงานแรงงานท้องถิ่นของบริษัทต่างชาติ ซึ่งเป็นความท้าทายสำหรับธุรกิจสปาที่เติบโตโดยการขยายสาขา ผู้ประกอบการจึงควรหาวิธีแก้ไขปัญหานี้หากต้องการรุกตลาดในทั้งสองประเทศ

ที่มา : https://www.scbeic.com/th/detail/product/5048

สร้างแต้มต่อ SME ไทยเจาะตลาดกัมพูชา

กัมพูชาเป็นประเทศที่เนื้อหอมสำหรับนักลงทุนต่างชาติ ด้วยจีดีพีโตเฉลี่ย 7% ต่อปี แม้จะมีสะดุดจากกรณีการพิจารณาเพิกถอน EBA จากอียู แต่ด้วยการเติบโตของสัดส่วนของภาคอุตสาหกรรมจาก 29% ในปี 2553 เพิ่มเป็น 36% ในปี 2559 อัตรา ยังถือว่าน่าสนใจอีกทั้งการว่างงานที่ถือว่าต่ำมาก (0.3) แต่กำลังซื้อส่วนใหญ่อยู่ในเขตเมืองและการท่องเที่ยว ที่ผ่านมาสินค้าอุปโภคบริโภคของไทยเป็นที่นิยมและได้รับความเชื่อมั่นจากชาวกัมพูชาเป็นอย่างมาก แต่ควรระวังเรื่องการตั้งราคาที่เหมาะสมเพราะยังอ่อนไหวเรื่องราคา แต่ช่วงหลังหันมานำเข้าสินค้าขั้นกลางและสินค้าทุนที่เน้นในด้านภาคการผลิตส่งผลให้มีคู่แข่งเพิ่มมากขึ้น ลดการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคลง แต่ที่น่าสนใจคือผู้บริโภครุ่นใหม่ที่มาขึ้นมีกำลังซื้อมากขึ้น เช่น สินค้าประเภทอาหารสำเร็จหรือกึ่งสำเร็จรูป สินค้าอย่างเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งและเครื่องประดับมีแนวโน้มเติบโตได้ และอีกภาคอุตสาหกรรมที่ไม่ควรมองข้ามคือ การท่องเที่ยวและโรงแรมที่มีศักยภาพการเติบโตในระดับสูง สินค้าที่สามารถเจาะตลาด คือ เฟอร์นิเจอร์ สุขภัณฑ์ ตู้เย็น และเครื่องประดับตกแต่งบ้าน ซึ่งสามารถที่จะทำการตลาดได้ทั้งแบบ B2B และ B2C

ที่มา:https://kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/Thai-SME_Cambodia-Market.pdf

มิถุนายน 2561