เมียนมา ตลาดสุดท้ายของประเทศ CLMV

เมียนมาเป็นประเทศที่น่าสนใจ แม้ประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ ที่อยู่ห่างไกลออกไปยังเลือกที่จะเข้ามาลงทุน เช่น ประเทศสิงคโปร์ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้ามาที่นี่นานมากแล้ว ตั้งแต่ยุคประธานาธิบดี ลี กวนยู ยังมีชีวิตอยู่ เคยเดินทางมาเพื่อเชื่อมสัมพันธ์ด้วยตนเอง อีกประการหนึ่งประเทศใน CLMV คือ เพื่อนบ้านเราที่อยู่ชายแดนติดกัน จึงน่าจะง่ายที่สุดในการค้าและการลงทุน หากจะเปรียบเทียบหรือวิเคราะห์ ระหว่างทั้ง 4 ประเทศแล้วประเทศกัมพูชา และสปป.ลาว (ซึ่งมีประชากรน้อย) หากจะไปแข่งขันกับประเทศที่มีเงินทุนหนา เทคโนโลยีสูง มีความฉลาด ขยันอดทน อย่างคนจีน ที่เข้าไปยึดหัวหาดไว้เกือบจะหมดแล้ว ไทยเราอาจจะสู้ได้ลำบาก ส่วนเวียดนามที่นั่นมีพัฒนามากเกือบจะล้ำหน้าไทยเราไปแล้ว อีกทั้งยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศก็เข้าไปแล้วทุกประเทศ ในช่วงนี้ใครที่เข้าไปลงทุนใหม่ๆ ต้องศึกษาให้ดีก่อน ดังนั้นประเทศเมียนมาเท่านั้น ที่เพิ่งเปิดประเทศได้ไม่นาน ไทยมีโอกาสสู้ประเทศอื่นๆ ได้อยู่แล้ว เพราะกำลังเร่งพัฒนาประเทศกันอยู่ เราต้องนึกย้อนไปในช่วงไทยเริ่มต้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 เมื่อปีพ.ศ.2504 เพียงแต่เขาจะเร็วกว่าเรา เพราะยุคสมัยและเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งมาในช่วงที่ยุค IT กำลังบูม หากไทยมองเห็นช่องก็จะมีโอกาสรวยได้เช่นกัน

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/605146

เมียวดี ขุมทรัพย์ที่กำลังเริ่มพัฒนา

จากการไปสำรวจตลาด และพูดคุยเกี่ยวกับการค้าและธุรกิจกับเพื่อนๆ นักธุรกิจในเมียวดี พบเห็นความเปลี่ยนแปลงมากมาย เช่น การค้าคึกคักมาก รถเพิ่มขึ้นมากๆ ถนนเริ่มแออัด ซึ่งเริ่มติดประมาณต้นปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ถนนจากย่างกุ้งดีขึ้นก็มีรถยนต์โดยสารรุ่นใหม่ๆ เริ่มวิ่งวันละไม่ต่ำกว่ายี่สิบเที่ยว วันจะมีชาวย่างกุ้งเดินทางมาเที่ยวแม่สอด มารักษาพยาบาลมากขึ้น ส่วนมากจะมาพบทันตแพทย์ ส่วนรักษาโรคภัยจะเดินทางมาที่กรุงเทพฯ และมาช๊อปปิ้ง และมีบางส่วนเล่นการพนันที่บ่อนคาสิโน บ่อนใหญ่สุดมีทั้งสินค้าปลอดภาษี ร้านอาหารไทย ร้านอาหารฝรั่ง ผับเบียร์สด ร้านกาแฟ ส่วนใหญ่ที่นี้มีแต่คนไทย พนักงานก็เป็นคนไทย และใช้เงินไทยการเล่นพนัน ส่วนการค้าที่พบสินค้าที่บรรทุกมาจากประเทศเมียนมา ส่วนใหญ่เป็นข้าวโพดแห้งหรือข้าวโพดอาหารสัตว์ ส่วนมากมาจากรัฐฉานและปกติจะส่งออกไปยังจีนแต่ผู้ประกอบการจีนได้ระงับการสั่งซื้อ และเนื่องจากเข้าฤดูฝนเกษตรกรจึงจำเป็นต้องขนมาขายที่ชายแดนไทย ดังนั้นหากผู้ประกอบการไทยได้มีโอกาสเข้าไปดำเนินธุรกิจที่เมียนมา โดยนำเอาความสามารถและเทคโนโลยีด้านอาหารสัตว์หรืออาหารมนุษย์เข้าไปเปิดโรงงานอุตสาหกรรมเป็นอีกช่องทางการลงทุนที่ยั่งยืนและได้รับประโยชน์สูงสุด และได้ใจชาวเมียนมาไปเต็มๆ

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/598670

การปรับโฉมของตลาดสดของย่างกุ้ง

ตลาดสดเมียนมาปัจจุบันมักจะสกปรกและยังไม่ถูกสุขลักษณะนัก อนาคตอีกไม่กี่ปีทางการนครย่างกุ้ง ได้ทำโครงการปรับปรุงคุณภาพชีวิตด้วยการให้การปรับปรุงตลาดสดให้ทันสมัยมากขึ้น นี่คือหนึ่งในแผนโครงการ 80 เมกกะโปรเจ็คที่กำลังดำเนินการอยู่ ตลาดสดในย่างกุ้งปัจจุบันนี้มีอยู่ประมาณร้อยกกว่าแห่ง โดยที่พอใช้มี 70 กว่าแห่ง ทุกแห่งจะดำเนินการโดยภาครัฐ คือ คณะกรรมการพัฒนานครย่างกุ้ง (YCDC) ตลาดใหญ่หน่อยจะมีรูปร่าง คือ ด้านหน้าเป็นอาคารที่ขายตั้งแต่เครื่องอุปโภค-บริโภค จนกระทั่งเครื่องสังฆภัณฑ์ ส่วนด้านในจะเป็นอาหารแห้งต่างๆ ต่อด้วยอาหารสดผักผลไม้ ด้านในจะเป็นเนื้อสัตว์ และสัตว์เป็นๆ รวมทั้งปลาและอาหารทะเลเป็นต้น ส่วนตลาดที่เล็กลงมาหน่อยจะไม่มีรูปแบบ พื้นจะเป็นดินสลับคอนกรีต แต่ก็จะสกปรกมากๆ ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ร่วมทั้ง YCDC เล็งเห็นการพัฒนาความเป็นอยู่ ต้องเริ่มจากตลาดสดก่อนนั่นเอง จึงได้เริ่มโครงการดังกล่าวนี้ขึ้นมา ตัวอย่างการพัฒนา เช่น ตลาดปะซุ่นตองที่เป็นตลาดสดขนาดใหญ่ที่ และร้านอาหารในย่างกุ้งนิยมมาจ่ายตลาดกันนั้นมีอยู่สองตลาดด้วยกัน คือ ที่นี่กับตลาดตั่งเซ โดยจุดเด่นคือเป็นตลาดที่อยู่ติดกับท่าแพปลา ที่นี่อาคารจะมีทั้งหมดสามอาคารใหญ่ ดังนั้นจะรื้อทิ้งทั้งหมด แล้วสร้างใหม่จากเนื้อที่ 6 เอเคอร์ โดยสร้างเป็นอาคาร 2 ชั้น ด้านในจะเป็นอาคารที่ทันสมัยและสะอาด โดยแบ่งโซนออกมาชัดเจน รวมทั้งจัดให้เป็นสัดส่วนของสินค้าอุปโภค-บริโภคนำเอาไปไว้ชั้นบนชั้นล่างจะเป็นของสด ขณะนี้อยู่ในระหว่างเขียนแบบและหาผู้เข้าร่วมรับสัมปทานโครงการอยู่ ดังนั้นถ้าผู้ประกอบการไทยที่อยากไปลงทุนที่เมียนมา โดยเฉพาะเมืองท่าสำคัญที่มีประชากรอยู่อาศัยมากที่สุด ก็สามารถติดต่อสอบถามไปที่ YCDC เพื่อขอทราบความชัดเจนของโครงการได้ที่สำนักงานโดยตรงเลย

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/602721

การค้าที่มั่นคง

หากอยากจะเปิดบริษัททำการค้าขายผลิตภัณฑ์เสริมความงาม คลินิกเสริมความงามในเมียนมา ถ้าเป็นตลาดล่างของเครื่องสำอางค์ อันนี้ง่ายมากเพราะโดยมากจะมีขายตามแผงลอยในตลาดทั่วไป คือจะมีขายสินค้าในครัวเรือน เช่น สบู่ ยาสีฟัน เครื่องสำอางค์ทั่วไป และขนมมีหมด ซึ่งมักจะมีอยู่ทั่วไปในทุกๆเมือง ทุกๆหมู่บ้าน อีกทั้งภายในตลาดก็จะมีสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป ซึ่งทุกๆแห่งจะมีแพล็ตฟอร์มเดียวกันหมด ไม่มีอะไรแตกต่างกันมากนักและรัฐเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด ซึ่งจะแตกต่างจากบ้านเรามาก ส่วนสินค้าระดับสูงหรือตลาดบนในอดีตจะไม่ค่อยมีมากนัก จะเริ่มมีให้เห็นก็ประมาณสักสิบปีที่ผ่านมา พอห้างสรรพสินค้าเริ่มเปิดก็เริ่มมีตู้โชว์ของเครื่องสำอางค์แบรนด์เนมก็เข้ามาสู่ตลาดมากขึ้นการแข่งขันก็เริ่มรุนแรงขึ้น และเริ่มมีร้านที่เป็นร้านขายแบรนด์ของตนเองเข้ามาร่วมทำตลาดด้วย ต่อมาอิทธิพลของเกาหลีใต้เริ่มเข้ามาสู่ตลาด ทำให้วัยรุ่นคลั่งไคล้กันมาก ดังนั้นเครื่องสำอางค์ตลาดบนเริ่มหลั่งไหลเข้าสู่ตลาด การแข่งขันกันดุเดือดขึ้นพอสมควร แง่ดีคือตลาดเริ่มยอมรับเครื่องสำอางค์มากขึ้น เพราะในอดีตจะพบว่าแต่สาวๆ เมียนมาชอบทาหน้าด้วยทานาคาเท่านั้น

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/601341

ธุรกิจขนส่งและยานยนต์

ธุรกิจขนส่งและธุรกิจยานยนต์เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจมากๆ เป็นปกติที่ประเทศเปิดใหม่ มักจะต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะก่อน ในเมียนมาทุกอย่างกำลังเริ่มต้นใหม่ เพียงแต่ต่างจากไทยอาจเวลาถึง 30 ปีกว่าจะเปลี่ยนเป็นประเทศกำลังพัฒนา ในเมียนมาใช้เวลาเพียงไม่ถึง 10 ปี ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป ที่เปลี่ยนแปลงเร็วเพราะยุคสมัยเปลี่ยนไปก่อนล่วงที่เมียนมาเปลี่ยน จึงทำให้เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งก็เหมือนเวียดนามนั่นเอง แต่ในชนบทยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะไม่มีเงินทุนสำรองมากนัก จึงเปิดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนมากกันมากขึ้น ในแง่ของธุรกิจยานยนต์ ที่นี่ในอดีตที่ผ่านมา ไม่อนุญาตให้นำเข้ารถยนต์ ตั้งแต่ ปี 2000 เพราะในยุคก่อนนั้นมีการนำเข้ารถเก่าญี่ปุ่นจากประเทศไทยเข้าไปเยอะ และเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันจะได้รับการอุ้มจากรัฐบาล ราคาตลาดมืดลิตรละประมาณ 1,000-1,200 Ks/ลิตร แต่ราคารัฐบาลขายให้ประชาชนที่มีรถยนต์ โดยการจำกัดรถ 1 คัน ให้เติมวันละ 4 แกลลอน/ละ 400-600 Ks รถ 1 คัน สามารถวิ่งเข้าไปเติมน้ำมันแล้วเก็บไว้ขายสามารถสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้เลย ดังนั้นจึงห้ามนำเข้ารถยนต์ พอในเดือน ส.ค. 2007 รัฐบาลทนต่อการขาดทุนไม่ไหวจึงประกาศงดการสนับสนุนอีกต่อไป

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/scoop/561437

วันนี้ที่ นิคมอุตสาหกรรม ติลาว่า

การเปลี่ยนแปลงของนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือติลาว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมากๆ พบว่ามีนักลงทุนจากไทย ได้ไปลงทุนสร้างโรงงานอยู่หลายโรงงานเพียงแต่เป็นนักลงทุนรายใหญ่ ส่วนรายขนาดกลางลงมา ยังไม่ค่อยมี ซึ่งต่างจากอดีตที่คุณภาพไม่ค่อยดีหรือใช้งานได้ไม่ถึงครึ่งไม่ว่าจะเป็นการคมนาคม หลายโรงงานเปิดยังไม่มีเครื่องจักร ไฟฟ้าไม่เพียงพอ น้ำไม่มีบริการ ไม่มีบ้านพักคนงาน ปัจจุบันนิคมต่างๆ ก็ได้มีการปรับปรุงมากขึ้นเช่น ที่นิคมอุตสาหกรรมตองตะโก่ง นิคมฯเมียวอ๊อกกะล่าซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็นคอนกรีต ต่างไปจาก 5 – 6 ปีที่แล้วเป็นอย่างมาก ส่วนนิคมอุตสาหกรรมติลาว่าจากเดิมที่เป็นท้องนางว่างเปล่า ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นนิคมที่ทันสมัย โรงงานที่เปิดใหม่ล้วนมีความทันสมัย มีทั้งจากญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน สิงคโปร์และบางส่วนที่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่จากไทย มีอีกธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจมากคือ ธุรกิจบ้านพักคนงาน ถ้าหากใครลงทุนก่อนจะได้เปรียบ ถ้านักลงทุนไทยสนใจเชื่อว่าดีมานด์หรือความต้องการที่นี่ยังมีมาก

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/592233

เมียนมาเปิดโอกาสการลงทุน พร้อมส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ

นับเป็นเวลาหลายปีหลังจากที่เมียนมาได้ปฏิรูปการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ซึ่งในช่วง 2 ปีให้หลังที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือมีการลดผ่อนมาตรการต่างๆ โดยออกนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติมากขึ้น รวมไปถึงกฎหมายสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติ เช่น ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ในเรื่องของภาษีอากร หรือนักลงทุนต่างชาติสามารถถือหุ้นบริษัทท้องถิ่นได้ร้อยละ 35 และอำนวยความสะดวกการจัดตั้งบริษัทโดยจัดทำระบบจดทะเบียนบริษัทออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ Myanmar Companies Online (MyCo) เพื่อส่งเสริมให้บริษัทต่างชาติมีบทบาทในการพัฒนาบริษัทท้องถิ่น การพัฒนาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ให้ความสำคัญกับ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. ปฏิรูปเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน 2. การลงทุน ส่งเสริมการลงทุนในสาขาโครงสร้างพื้นฐาน ภาคเกษตร ปศุสัตว์ การประมง การศึกษา สาธารณสุข การท่องเที่ยว โลจิสติกส์ การผลิตสินค้าเพื่อทดแทนการนำเข้า การส่งออก และการจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมใหม่ 3. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ปรับปรุงคุณภาพของทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงระหว่างเมืองและชนบท และส่งเสริมให้ประชากรเข้าถึงไฟฟ้าภายในปี 2573 4. ส่งเสริมการท่องเที่ยว ได้เพิ่มจำนวนโรงแรม และพัฒนาการคมนาคมระหว่างสถานที่ท่องเที่ยวในอนาคต ในเวลานี้การพัฒนาไปในเชิงบวกทำให้เอื้อต่อการลงทุน และเพิ่มโอกาสที่จะเข้าไปลงทุน และถึงแม้ในการลงทุนจะต้องพบกับความท้าทายต่างๆ มีอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นในบางเรื่อง แต่เมียนมาในมุมมองของวิเคราะห์ คือเป็นประเทศที่มีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตได้ถึงร้อยละ 6-7 ภายในสองปี ทำให้เป็นโอกาสการลงทุนสำหรับผู้ประกอบการไทย

ที่มา: https://www.bangkokbanksme.com/article/27110

ปัจจัยในการตัดสินใจลงทุนของชาวต่างชาติ

การทำธุรกิจหรือการลงทุนในต่างประเทศ แม้จะเข้าตลาดก่อน แต่ถ้าใจไม่ถึง ไม่กล้าแย่งส่วนแบ่งการตลาด (Market Share)ก่อน ก็ไม่สามารถชนะได้ และการก้าวต่อไปจะยากลำบากมาก เมื่อเข้าไปลงทุนหรือทำการค้า ต้องใจกล้าๆ ลงให้ถึงที่สุด เมื่อได้ Market Share แล้ว ก็ต้องรักษาไว้ให้ดี ต้องมั่นดูแลตลาดให้ดี อย่าให้คู่แข่งเข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดได้ หากเราใส่ใจรักษาส่วนแบ่งการตลาดไว้ เราจะสามารถกินส่วนแบ่งได้อีกนาน ดังนั้นการที่บริษัทหนึ่งๆ กล้าเข้าไปในสภาวะที่คนอื่นไม่ได้เข้าหรือไม่กล้าเข้า อาจจะเป็นเพราะว่าเขามองว่าคู่แข่งน้อย การทำการตลาดย่อมง่ายกว่า ซึ่งจะมองด้านความเสี่ยงของสถานการณ์ทางการเมือง ว่ามีความผันผวนระยะสั้นมากกว่า เพราะรัฐบาลไหนๆ ก็มักจะอยู่ไม่เกิน 2 – 3 สมัย พอความนิยมเสื่อมลง ก็ถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลง เป็นหนึ่งเหตุผลหลักที่บริษัทจะไม่ค่อยกลัวกัน ยิ่งตอนมีการเลือกตั้ง นโยบายส่งเสริมการลงทุนจึงเกิดขึ้น เพื่อให้มีนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามา จะทำให้ผลประโยชน์ที่ได้รับก็ย่อมมากตามไปด้วย อีกปัจจัยหนึ่งคือ ความสงบเรียบร้อยภายในประเทศที่จะไปลงทุน ถ้าไม่มีสงครามกลางเมือง แค่เดินขบวนประท้วง หรือการสู้รบตามชายแดนเล็กๆน้อยๆ นักลงทุนย่อมไม่กลัวในการเข้ามาลงทุน ตัวอย่างเช่น การสู้รบที่รัฐฉานรัฐยะไข่ของเมียนมา ในกรุงปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กรุงเทพฯ หรือที่ย่างกุ้ง ก็ไม่มีการถอนการลงทุนออกไป สรุปว่า นักการค้าการลงทุน จะพิจารณาการลงทุนอย่างจริงจัง และมีการทำการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น ( Feasibility study) ก่อนจะตัดสินใจลงทุน

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/586359

จับตาเมียนมา ปูทางลงทุนท่องเที่ยว ‘รัฐยะไข่’

จากพิธีฉลองการเปิดสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา ข้ามแม่น้ำเมย/ตองยิน แห่งที่ 2 เชื่อมระหว่างเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง และอ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งสะพานแงนี้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2558 โดยมีมูลค่าประมาณ 4,132 ล้านบาท ประกอบด้วยถนนฝั่งไทยความยาว 17.25 กม. ฝั่งเมียนมาความยาว 4.15 กม. นอกจากนี้ยังมีสะพานข้ามแม่น้ำเมย และจุดควบคุมชายแดนด้วย เป้าหมายสำคัญเพื่อส่งเสริมการค้าการท่องเที่ยว โดยโครงการนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือในเอเชียและยุโรปกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชีย และแปซิฟิก สหประชาชาติ (ESCAP) เพื่อพัฒนาและปรับปรุงระบบเครือข่ายถนนโดยรวมในภูมิภาค และช่วยลดปัญหาการจราจรบริเวณด่านชายแดนเมียวดี-แม่สอด ปริมาณการค้าระหว่างไทย-เมียนมาในเดือนต.ค. 61-ม.ค 62 มีมูลค่า 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของเมียนมารองจากจีน ปัจจุบันนโยบายรัฐบาลที่มุ่งสนับสนุนการลงทุนด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม ใน “รัฐยะไข่” โดยโฟกัสไปที่บริเวณแนวชายฝั่งรัฐยะไข่ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ พร้อมกำหนดชายหาดเป็นจุดหมายใหม่ โดยชูจุดขายเรื่องความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ที่ผ่านมาการเปิดชายหาด Ngapali ได้รับความนิยมสูง มีชาวต่างชาติเดินทางโดยรถยนต์จากย่างกุ้ง ซึ่งใช้เวลา 9-10  ชั่วโมง มากกว่า 60,000 คนต่อปี จากการสำรวจความเห็นของนักลงทุนพบว่าสนใจลงทุนด้านการท่องเที่ยวสูงสุด เมื่อเทียบกับธุรกิจอื่น เช่น เกษตร ประมง หรือปศุสัตว์ แต่อุปสรรคสำคัญ คือ ราคาที่ดินที่สูงมาก โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งประเด็นนี้รัฐบาลท้องถิ่นให้ข้อมูลว่าได้มีโครงการก่อสร้างถนนและสนามบินที่จะเริ่มเร็วๆ นี้ และยังมีโครงการใหม่ 5 โครงการ ได้แก่ การพัฒนาเมืองใหม่และสนามบิน Mrauk-U เขตนิคมอุตสาหกรรม Ponnagyum โครงการพัฒนา Kyaetaw – Mingan และการปรับปรุงสนามบิน Ngapali และโครงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์บนเกาะ Manaung หากโครงการทั้งหมดก่อสร้างแล้วเสร็จ เศรษฐกิจของเมียนมาน่าจะเติบโตและเป็นจุดที่น่าสนใจในอาเซียน

ที่มา: https://www.bangkokbanksme.com/article/31192

ความกังวลต่อปัญหาภายในประเทศของนักลงทุน

ความกังวลในความสงบและการสู้รบของชนชาติพันธ์กับรัฐบาลกลางของเมียนมา ที่ได้รับฟังมาจากข่าวสารจากหลายช่องทาง ต่างได้รับความกังวลเป็นอย่างมาก ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้นักลงทุนมองว่าประเทศที่สงบที่สุดคือสิงคโปร์ รองลงมาก็มาเลเซียและประเทศอื่นๆ ส่วนไทยอยู่อันดับท้ายๆ จากสถานการณ์การเมือง Death Lock และปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ว่าการค้าการลงทุน Foreign Direct Investment (FDI) เข้ามาในไทยและเมียนมาอยู่ไม่น้อย เพียงแต่ว่าอยู่ที่ช่วงสถานการณ์ของแต่ละประเทศ ดังนั้นมาลองวิเคราะห์ดูว่าเขาคิดอย่างไร การที่จะลงทุนหรือทำการค้าหากเราได้มีโอกาสครองตลาด สามารถต่อรองกับคู่ค้า เพราะสามารถแสดงให้คู่ค้าทั้งสองฝั่งคือฝั่งซื้อและฝั่งขาย ถ้าหากอยากได้โอกาสธุรกิจมาเป็นอันดับแรก ต้องประเมินว่าใช่เวลาอันเหมาะสมกับธุรกิจหรือไม่ ตัวอย่างเช่น บางธุรกิจที่มีน้อย เช่น สิ่งทอ หากมองด้านความเสี่ยง ก็จะมองว่าเร็วเกินไปหรือไม่ที่จะลงทุนทางด้านนี้ หรือถ้าจะบอกว่าคู่ค้าที่เป็นธุรกิจต่อเนื่อง เช่น โรงย้อม โรงพิมพ์ผ้า โรงงานการ์เม้นต์ ยังมีน้อย สามารถตัดสินใจทันทีว่าไม่ลงทุน แต่ในทางกลับกัน ถ้าในอนาคตอันใกล้นี้มาแน่ อาจจะรีบเข้ามาลงทุน แต่นี่เป็นมุมมอง อย่างไรก็ตามนักลงทุนมีความคิดของตัวเอง ไม่มีผิดหรือถูก อยู่ที่จะรอเวลาได้หรือเปล่า

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/586290