ดอลลาร์นิยม ปรากฏการณ์ที่กัมพูชาต้องก้าวข้าม

จากการขยายตัวของเศรษฐกิจ 7% ต่อปี ทำให้กัมพูชาเลื่อนสถานะจากประเทศรายได้ต่ำเป็นประเทศรายได้ปานกลางระดับต่ำ ในปี 2559 ดูเหมือนจะมีเสถียรภาพ แต่พบว่าการใช้เงินหลักที่หมุนเวียนในประเทศ 90 – 90% จะเป็นเงินดอลล่าร์สหรัฐ ทีเริ่มใช้มาตั้งแต่ยุคงสิ้นสุดยุคเขมรแดงในปี 2522 ส่งผลให้เงินสกุลท้องถิ่นอย่างเงินเรียล (Riel) ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ ดึงเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติ รักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำ ข้อเสียคือรัฐบาลมีเครื่องมือทางการเงินน้อยเมื่อเจอปัจจัยเสี่ยงภายนอก ปัจจุบันพยายามส่งเสริมให้ใช้เงินเรียลมากขึ้น เช่น การจ่ายเงินเดือนของราชการ การให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินมียอดสินเชื่อที่เป็นเงินเรียลไม่ต่ำว่า 10% เพื่อปล่อยสินเชื่อเป็นเงินเรียลมากขึ้นและให้มีผลบังคับใช้ภายในสิ้นปี 2562 นี้

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/49815_0.pdf

23 มกราคม 2561

ส่องธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในกัมพูชา : โตไม่หยุด…ฉุดไม่อยู่

เศรษฐกิจกัมพูชาถือว่าร้อนแรงมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้ โดยโตเฉลี่ย 7% ส่งผลต่อธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ที่ยอดเติบโตพุ่งสูงขึ้นจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทำให้มีการขยายเมืองสร้างที่อยู่อาศัย ที่สำคัญคือระบบโครงสร้างพื้นฐานโดยรัฐให้เอกชนเข้ามาลงทุนหรือการลงทุนร่วมกันในหลายๆ โครงการ และโครงการใหญ่อย่างการก่อสร้างทางพิเศษทั่วประเทศภายใต้แผน Expressway Master Plan ทั้งนี้ยังอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นได้ร้อยละ 100 ในบริษัทที่รับงานก่อสร้างในกัมพูชา ในปี 2561 พบว่าในพนมเปญคาดว่าจะมีการก่อสร้างคอนโด 22,366 ยูนิต รวมทั้งศูนย์การค้าและโรงแรมก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งการยายตัวดังกล่าวโอกาสทางธุรกิจของนักลงทุนไทยไม่ว่าจะเป็น การจำหน่ายวัตถุดิบการก่อสร้าง การตกแต่งภายใน เฟอร์นิเจอร์ตกแต่ง การเข้าไปประมูลรับงานเองหรือการรับช่วงต่อล้วนเป็นโอกาสที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/48325.pdf

วันที่ 9 มกราคา 2560

จับตาโครงสร้างตลาดกัมพูชาเปลี่ยน กดดันสินค้าส่งออกไทยเผชิญการแข่งขันจากจีนและเวียดนาม

การส่งออกสินค้าไปยังกัมพูชาในระยะเวลา 10 ที่ผ่านมา โตเฉลี่ย 12.6% ต่อปี ทว่าตั้งแต่ปี 2554-2559 มีอัตราลดลงเหลือ 2.2% ต่อปี เหตุเพราะการหันมานำเข้าสินค้าขั้นกลางและสินค้าทุนเพื่อสอดรับโครงสร้างเศรษฐกิจและการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีจีนและเวียดนามเป็นคู่แข่งสำคัญโดยมีสัดส่วน 85% และ 50% ของสินค้าทั้งหมด แต่สินค้าอุปโภคบริโภคของไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี ปี 2560 คาดว่าการส่งออกจะขยายตัว 6.5% มูลค่าการค้า 4,977 ล้านเหรียญสหรัฐถือว่ายังสามารถรักษาอันดับหนึ่งเอาไว้ได้

ที่มา: https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/36551.aspx

21 กันยายน 2560

วิเคราะห์ตลาดกัมพูชา ผ่านกูรูท้องถิ่น

กัมพูชาเป็นประเทศคู่ค้าเก่าแก่ของไทย แต่ปัจจุบันคู่แข่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างเวียดนามและจีนที่ได้เปรียบในด้านราคาเข้ามาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดของไทยในกัมพูชา ทั้งนี้นักธุรกิจท้องถิ่นในกัมพูชาได้ให้มุมมองเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจไว้น่าสนใจคือ การเข้าไปลงทุนถ้าถูกกฎหมาย เสียภาษีถูกต้องทุกอย่าง โอกาสในกัมพูชาจะมีอีกมากมาย ต้องปรับตัวให้ทันกับโอกาสและอุปสรรคที่เข้ามา อัพเดตข่าวสารทั้งด้านธุรกิจและเศรษฐกิจอยู่ตลอดเวลา อย่ากลัวการกู้ยืมเงินเพื่อการลงทุนเพื่อขยายกิจการและควรชำระเพื่อรักษาเครดิตทางการเงิน ระบบอี-คอมเมิร์ซจะช่วยผลักดันการเติบโตของอุตสาหกรรมไอซีที การชำระเงินง่ายขึ้น กว้างขึ้น และต้นทุนต่ำลง ทั้งนี้คาดว่าจะส่งผลต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมไอซีหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันกัมพูชามีเศรษฐกิจอยู่ในช่วงเติบโตรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงเร็วสุดในเอเชีย จึงไม่ควรมองข้ามในการลงทุน

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/524084

8 พฤศจิกายน 2560

สร้างแต้มต่อ SME ไทยเจาะตลาดกัมพูชา

กัมพูชาเป็นประเทศที่เนื้อหอมสำหรับนักลงทุนต่างชาติ ด้วยจีดีพีโตเฉลี่ย 7% ต่อปี แม้จะมีสะดุดจากกรณีการพิจารณาเพิกถอน EBA จากอียู แต่ด้วยการเติบโตของสัดส่วนของภาคอุตสาหกรรมจาก 29% ในปี 2553 เพิ่มเป็น 36% ในปี 2559 อัตรา ยังถือว่าน่าสนใจอีกทั้งการว่างงานที่ถือว่าต่ำมาก (0.3) แต่กำลังซื้อส่วนใหญ่อยู่ในเขตเมืองและการท่องเที่ยว ที่ผ่านมาสินค้าอุปโภคบริโภคของไทยเป็นที่นิยมและได้รับความเชื่อมั่นจากชาวกัมพูชาเป็นอย่างมาก แต่ควรระวังเรื่องการตั้งราคาที่เหมาะสมเพราะยังอ่อนไหวเรื่องราคา แต่ช่วงหลังหันมานำเข้าสินค้าขั้นกลางและสินค้าทุนที่เน้นในด้านภาคการผลิตส่งผลให้มีคู่แข่งเพิ่มมากขึ้น ลดการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคลง แต่ที่น่าสนใจคือผู้บริโภครุ่นใหม่ที่มาขึ้นมีกำลังซื้อมากขึ้น เช่น สินค้าประเภทอาหารสำเร็จหรือกึ่งสำเร็จรูป สินค้าอย่างเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งและเครื่องประดับมีแนวโน้มเติบโตได้ และอีกภาคอุตสาหกรรมที่ไม่ควรมองข้ามคือ การท่องเที่ยวและโรงแรมที่มีศักยภาพการเติบโตในระดับสูง สินค้าที่สามารถเจาะตลาด คือ เฟอร์นิเจอร์ สุขภัณฑ์ ตู้เย็น และเครื่องประดับตกแต่งบ้าน ซึ่งสามารถที่จะทำการตลาดได้ทั้งแบบ B2B และ B2C

ที่มา:https://kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/Thai-SME_Cambodia-Market.pdf

มิถุนายน 2561