สสว.เดินหน้าหนุน SMEs รุกตลาดใกล้ บุกตลาดไกล จัดเสวนากลยุทธ์บุกตลาดเพื่อนบ้าน

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จัดทำ โครงการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ให้บริการ SMEs สู่อาเซียน เดินหน้าสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ไทยรุกตลาดโลก พร้อมเดินสายจัดสัมมนาในแต่ละภูมิภาค ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี อุดรธานี ข่อนแก่น หาดใหญ่ เชียงราย และเชียงใหม่ ภายใต้หัวข้อ “รุกตลาดใกล้ บุกตลาดใหญ่” เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดต่างประเทศมาร่วมให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับกลยุทธ์ด้านการตลาดและการลงทุนกับเครือข่ายทางธุรกิจในกลุ่มประเทศดังกล่าว โดยกลุ่มเป้าหมายหลักเบื้องต้นคือกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งมีวัฒนธรรมการบริโภคสินค้าและพฤติกรรมผู้บริโภคที่ใกล้เคียงกับไทยในหลายด้าน โดยการสร้างเครือข่าย (Network) ถือเป็นพันธกิจและเป้าหมายหลักของโครงการ เพื่อมอบโอกาสทางการตลาด ให้ผู้ประกอบการสามารถต่อยอดในการประกอบธุรกิจ

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3019713

ผู้ประกอบการเวียดนามเร่งโอกาสจากผลกระทบของความตกลงการค้าเสรี EVFTA

ในกรณีที่สหภาพยุโรปและเวียดนามลงนามข้อตกลงการค้าเสรี (EVFTA) คาดว่าจากผลของข้อตกลงการค้าเสรีฉบับนี้จะนำโอกาสทางการค้าให้ผู้ประกอบการอลูมิเนียมของเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการเวียดนามยังคงเผชิญกับการท้าทายใหม่ๆ ได้แก่ การแข่งขันทางการค้าที่รุนแรงของคู่แข่ง ข้อกำหนดที่เข็มงวดจากกฎด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และกฎหมายทางด้านแรงงาน เป็นต้น ในขณะที่ทางสมาคมอลูมิเนียมเวียดนาม ระบุว่าคุณภาพและแหล่งกำเนิดสินค้าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเป็นจุดอ่อน/ข้อบกพร่องที่เวียดนามต้องหาทางแก้ไขให้ได้ นอกจากนี้ ทางสภาหอการค้ายุโรป เผยว่าอัตราภาษีสินค้าส่งออกอลูมิเนียมของเวียดนามไปยังสหภาพยุโรปจะดำเนินการยกเลิกภายในระยะเวลา 8 ปี นับตั้งแต่ข้อตกลงการค้าเสรี (EVFTA) มีผลบังคับใช้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/523113/local-aluminium-firms-urged-to-tap-opportunities-from-evfta.html#YsCmtEq255yPhgmE.97

เวียดนาม เผยมูลค่าการลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2562

จากรายงานของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่ามูลค่าการลงทุนในภาคเกษตรกรรมอยู่ที่ 491.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในชวงครึ่งแรกของปี 2562 ด้วยจำนวนโครงการใหม่ 11 โครงการ รวมไปถึงโครงการที่มีอยู่ ในขณะนี้ ทางกระทรวงฯ จะดำเนินการสนับสนุนด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการก่อสร้างโรงงานแปรรูปพืชผลทางการเกษตร และผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ รวมไปถึงฟาร์มเทคโนโลยีแปรรูปโควัวและนมวัว ด้วยจำนวนมูลค่ากว่า 3.8 ล้านล้านด่อง (หรือ 163.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) นอกจากนี้ ในช่วงตั้งแต่ปี 2556-2561 พบว่าอุตสาหกรรมการแปรรูปการเกษตร ป่าไม้และประมง มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 5-7 ต่อปี ดังนั้น มูลค่าการส่งออกรวมของอุตสาหกรรมนี้ จึงเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8-10 ปี โดยเฉพาะในปี 2561 ที่เพิ่มขึ้นอย่างประวัติการณ์ด้วยมูลค่ารวมราว 40.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/523123/almost-500m-invested-in-farm-product-processing-industry-in-h1.html#oaphoz97v5rXCALX.97

การท่าเรือเมียนมาเจรจาญี่ปุ่นขยายท่าเรือติวาลา

Myanma Port Authority (MPA) กำลังเจรจากับญี่ปุ่นเพื่อขยายอาคารอเนกประสงค์สำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศของท่าเรือติวาลา (Thilawa Multipurpose International Terminal: TMIT) MPA สร้าง TMIT โดยใช้เงินกู้กว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐจากความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) จากญี่ปุ่นและเปิดให้บริการในวันที่ 1 มิ.ย.62 นี้ เมียนมาสร้างท่าเรือใหม่แปดแห่งในย่างกุ้งภายในระยะเวลาสามปีและการขนถ่ายสินค้ากำลังดำเนินการกับอีก 41 ท่าเรือตามรายงานของ MPA ชายฝั่งเมียนมามีความยาว 1,385 ไมล์และท่าเรือเก้าแห่งสร้างขึ้นตามแนวชายฝั่ง ท่าเรือย่างกุ้งเป็นท่าเรือที่สำคัญเพราะมากกว่า 90% เป็นการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/mpa-negotiates-with-japan-to-expand-tmit-wharf

โอกาสของเขตเศรษฐกิจพิเศษทะวายกับการเข้ามาของญี่ปุ่น

รัฐบาลเมียนมา ญี่ปุ่น และไทยได้หารือโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายที่มีปัญหาหยุดชะงักตั้งแต่ปี 56 เนื่องจากขาดเงินทุน เขตเศรษฐกิจพิเศษทะวายตั้งอยู่ห่างจากเมืองทวายไปทางทิศเหนือของเมืองทวายซึ่งเป็นเมืองหลวงของเขตตะนาวศรีทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย :ซึ่งญี่ปุ่นไม่ใช่หน้าใหม่ในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในเมียนมาเนื่องจากเคยมีส่วนร่วมในการเศรษฐกิจพิเศษติวาลาและมีความต้องการให้ญี่ปุ่นมีส่วนร่วมเนื่องจากชื่อเสียงในด้านคุณภาพและความน่าเชื่อถือและมีผลกระทบเชิงบวกต่อทวายและพื้นที่โดยรอบ เช่น ไฟฟ้า การขนส่ง อุตสาหกรรมการผลิต การประมง และการท่องเที่ยว ในอนาคตแรงงานที่ทำงานในไทยอาจมีโอกาสกลับมาทำงานในโรงงานของญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในทะวาย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/dawei-sez-stands-better-chance-japanese-participation-officials-say.html

รัฐบาลสปป.ลาว แก้ไขปัญหาเร่งด่วน 6 ประเด็น

รัฐบาลได้เรียกร้องให้ภาคส่วนที่รับผิดชอบเพิ่มความรับผิดชอบในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาเร่งด่วน 6 ประเด็นที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ปัญหาสำคัญอันดับแรกคือการระบาดของโรคไข้เลือดออก      2.การแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรที่อันตรายถึงตาย 3.การกำจัดหนอนกระทู้ข้าวโพด ซึ่งได้ทำลายข้าวโพดร้อยละ 30 จาก 35,000 เฮกเตอร์ 4.เกี่ยวข้องกับความแห้งแล้งได้รับผลกระทบข้าวและพืชอื่น ๆ 5.ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนมูลค่าที่ลดลงของกีบเมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างประเทศและการลดลงของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศซึ่งทำให้ราคาผลิตภัณฑ์สูงขึ้นและขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจ ภาคที่รับผิดชอบได้รับคำสั่งให้เพิ่มผลผลิตดังนั้นจะมีสินค้าส่งออกมากขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการและเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้มากขึ้น และประเด็นที่ 6 เกี่ยวข้องกับการโพสต์บนโซเชียลมีเดีย ความคิดเห็นสาธารณะเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการของรัฐ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_takes_170.php

งานจัดแสดงสินค้า Made in Laos fair เพิ่มศักยภาพการส่งออกของประเทศ

คณะกรรมการจัดงาน“ Made in Laos 2019” คาดว่างานนี้จะช่วยเพิ่มโปรไฟล์ผลิตภัณฑ์ในประเทศผ่านการประชุมการค้าการจับคู่ทางธุรกิจและการฝึกอบรม มุ่งเน้นไปที่ตลาดระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศเริ่มต้นที่ Lao-ITECC ซึ่งการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ภายในประเทศตามนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการเสริมศักยภาพของผลิตภัณฑ์สปป.ลาว เพื่อให้สามารถส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ในปีนี้ได้รวบรวมบริษัทกว่า 100 แห่งจากทั่วประเทศที่มีการจัดแสดงสินค้าไว้ที่บูธ 172 แห่ง จำนวนลดลงเล็กน้อยจาก 180 บูธในปีที่แล้ว แต่จำนวนบริษัท เพิ่มขึ้นจาก 115 ในปี 2018 เป็น 117 บริษัทในปีนี้ นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมงานจากจีนและไทยได้รับเชิญให้แสดงผลิตภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการเยี่ยมชมลาว – จีนปี 2019 การสัมมนาที่จะจัดขึ้นในส่วนของงานจะเน้นหัวข้อที่น่าสนใจ เช่นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร จะมีการสาธิตการให้บริการธนาคารขั้นสูงโดยธนาคารพัฒนาสปป.ลาว  และการนำเสนอบริษัทสปป.ลาวที่ประสบความสำเร็จ คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประชุมมากกว่า 500 คน รวมถึงตัวแทนของบริษัทและนักศึกษาธุรกิจต่าง ๆ

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/made-laos-fair-maximise-nation%E2%80%99s-export-potential-100826

ผลผลิตปลาท้องถิ่นของกัมพูชาเพิ่มขึ้น

ผลผลิตปลาน้ำจืดและปลาทะเลเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงเวลาครึ่งปีแรก โดยมีการทำผิดกฎหมายในการดำเนินกิจกรรมการจับสัตว์น้ำลดลง เนื่องจากการปราบปรามอย่างจริงจัง ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกสามารถผลิตปลาน้ำจืดได้ถึง 167,950 ตัน มากกว่าในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วอยู่ 380 ตัน ส่วนในด้านทางฝั่งของปลาน้ำเค็มอยู่ที่ 57,800 ตัน การผลิตในฟาร์มปลามีการเติบโตที่แข็งแกร่งอยู่ที่ 112,846 ตัน เพิ่มขึ้นกว่า 18,808 ตัน โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์ปลาสดเพิ่มขึ้น 80 ตัน และเพิ่มขึ้น 30 ตันในส่วนของผลิตภัณฑ์ปลาแปรรูป ซึ่งปลาน้ำจืดของกัมพูชาส่วนใหญ่ส่งออกไปยัง สิงคโปร์ มาเลเซีย และจีนในขณะที่ปลาทะเลส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศไทยและเวียดนาม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50626839/local-fish-yields-on-the-rise/

ABA ได้รับการอนุมัติจากผู้ควบคุมการออกพันธบัตรภายในกัมพูชา

ผู้กำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ของกัมพูชา (SECC) ได้อนุมัติคำขอของ ABA ในการออกพันธบัตรในตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (CSX) บริษัท แอดวานซ์แบงก์ออฟเอเชีย จำกัด (ABA Bank) เป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทที่สามารถออกพันธบัตรใน ตลาดหลักทรัพย์ของกัมพูชาได้ โดยวางแผนจะออกพันธบัตรมูลค่าประมาณ 32 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยกำหนดระยะเวลาของพันธบัตรไว้ที่ 3 ปี อัตราผลตอบแทนหรือดอกเบี้ยอยู่ที่ 7-7.5% ต่อปี โดย ABA เชื่อว่าการออกพันธบัตรจะทำให้บริษัทฯแข็งแกร่งขึ้น และได้รับผลประโยชน์ทางภาษี ซึ่งการระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์จะนำไปสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50626914/aba-gets-regulators-approval-to-issue-bonds/

กางแผนดันทุเรียนใต้เข้าระบบGAPลดกีดกันการค้า

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวถึงสถานการณ์ไม้ผลแปลงใหญ่ภาคใต้ฤดูกาลปี 62 โดยเฉพาะทุเรียน จัดเป็นไม้ผลที่ส่งออกลำดับต้นๆ เนื่องจากเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้น ราคาดี จากแนวโน้มราคาทุเรียนที่ดีขึ้นต่อเนื่องส่งผลให้มีการขยายพื้นที่ทั้งประเทศเพิ่มขึ้น ประกอบกับช่วง 4 ปี ที่ผ่านมา ประเทศไทยส่งออกทุเรียนเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน โดยมีจีนเป็นตลาดหลัก ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรมองว่าการที่ไทยส่งออกทุเรียนไปจีนจำนวนมาก เนื่องจากขณะนี้จีนแจ้งในเบื้องต้นมาแล้วผลผลิตทุเรียนที่ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP จะไม่สามารถส่งออกได้ในปีถัดไป ด้วยเหตุนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร จึงเร่งผลักดันให้เกษตรกรได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP โดยศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร จะเป็นตัวขับเคลื่อนการดำเนินงาน เพื่อช่วยผลักดันให้ทุเรียนแปลงใหญ่ผลิตภายใต้มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงในการพึ่งพาตลาดส่งออกรายใหญ่ เพียงรายเดียว และเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อทุเรียนไทย นอกจากทุเรียนแล้วไม้ผลชนิดอื่น ได้เร่งบริหารจัดการให้มีมาตรฐานการผลิตเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อาทิ มังคุด  สำหรับแผนบริหาร จัดการผลไม้ของภาคใต้ในฤดูกาล โดยการบริหารจัดการเชิงปริมาณ ได้แก่ การกระจายผลผลิตในประเทศ ด้วยวิธีกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิตผ่านผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน ศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชน สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร Modern Trade ไปรษณีย์/ตลาดออนไลน์ ตลาดค้าผลไม้ภายในจังหวัด การจำหน่ายตรงผู้บริโภค การจัดงานประชาสัมพันธ์ เป็นต้น การแปรรูป ด้วยวิธีการแช่แข็ง อบแห้ง กวน ทอด และการส่งออก ซึ่งในอนาคตผลไม้แปลงใหญ่ทุกชนิด กรมจะผลักดันให้เข้าสู่ระบบ GAP ทั้งหมด เพื่อรองรับตลาดส่งออกไปยังทุกประเทศต่อไป

ที่มา : https://www.naewna.com/local/428504