รถไฟจีน-ลาว เริ่มให้บริการนักท่องเที่ยวจาก ‘กรุงปักกิ่ง-นครหลวงเวียงจันทน์’

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา รถไฟจีน-ลาว ได้เริ่มเปิดให้บริการรถไฟท่องเที่ยวข้ามพรมแดนจากกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน ไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว โดยมีป้ายจอดหลายสถานีตั้งแต่เมืองหลวงพระบางและวังเวียง ขากลับจะผ่านสถานที่ท่องเที่ยวของจีน เช่น สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน และเมืองจิบิ มณฑลหูเป่ย รวมเวลาไป-กลับ 15 วัน ทั้งนี้ รถไฟสายนี้ได้ขนส่งสินค้าแล้วกว่า 9.62 ล้านตัน ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 เพิ่มขึ้น 94.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนที่มีปริมาณสินค้าข้ามพรมแดนมากกว่าสามเท่าอยู่ที่ 2.3 ล้านตัน (ไชน่านิวส์รายงาน) สินค้าหลักที่บรรทุกบนทางรถไฟสายนี้ ได้แก่ ผลไม้ แป้งมัน ข้าวบาร์เลย์ ยางพารา เบียร์ แร่เหล็ก และปุ๋ยเคมี นอกจากนี้ นับตั้งแต่เริ่มให้บริการรถไฟจีน-ลาวได้ขนส่งผู้โดยสารไปแล้วกว่า 3 ล้านคน เฉพาะแปดเดือนกว่าของปี 2566 ขนส่งผู้โดยสารไปแล้ว 1,759,900 คน

ที่มา : https://news.cgtn.com/news/2023-11-13/Tourism-train-service-from-Beijing-to-Vientiane-begins-1oH7tCQQNUc/index.html?fbclid=IwAR0g6s1-g2ck3bAU4kcP3n4ZFSA8Dde0soivCj5FalcSAcAlh7_XT23rl-s

‘วิกฤติประชากรเวียดนาม’ คาดลดลงเหลือ 72 ล้านคน ปี 2100 เหตุอัตราเกิดต่ำ

‘VnExpress’ สื่อหนังสือท้องถิ่นเวียดนาม ได้อ้างข้อมูลจากนาย Ha Anh Duc ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รายงานว่าประชากรเวียดนามคาดว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 107 ล้านคนในปี 2044 ก่อนที่จะปรับตัวลดลงเหลือ 72 ล้านคนในปี 2100 เนื่องจากอัตราการเกิดต่ำลง และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เวียดนามมีอัตราการเกิดลดลงอยู่ที่ 6.5 คนต่อผู้หญิงหนึ่งคนในปี 1960 เหลือ 2.05 ในปี 2020 โดยอ้างถึงสถิติว่าในแต่ละปี มีคู่รักประมาณหนึ่งล้านคู่ในเวียดนามที่ไม่สามารถมีบุตรได้ ประมาณ 7.7% ของคู่รักทั้งหมด นอกจากนี้ เวียดนามได้ร่างกฎหมายว่าด้วยประชากรที่จะเสนอไปยังหน่วยงานท้องถิ่นที่มีอัตราการเกิดต่ำ เพื่อสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้หญิงที่มีลูกคนที่สอง รวมถึงการยกเว้นค่าเล่าเรียนให้กับเด็ก

ที่มา : https://english.news.cn/20231113/de5e1f220f724e99a11cbe173f201d5e/c.html

จีนพร้อมสนับสนุนภาคพลังงานกัมพูชา

ทางการกัมพูชาพร้อมตอบสนองต่อความต้องการด้านพลังงานภายในประเทศ ภายใต้การร่วมมือของนักลงทุนจีน โดยเฉพาะการช่วยลดต้นทุนการบริโภคพลังงานของภาคครัวเรือนกัมพูชาซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 0.25 ดอลลาร์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งสูงกว่ามากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างประเทศไทยมีต้นทุนต่อกิโลวัตต์ชั่วโมงอยู่ที่ 0.139-0.141 ดอลลาร์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง และเวียดนามโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 0.073-0.078 ดอลลาร์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง สิ่งนี้พิสูจน์แล้วว่ากัมพูชามีต้นทุนทางด้านพลังงานที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน แต่ด้วยความพยายามของรัฐบาลในการปรับปรุงภาคพลังงานได้เริ่มดำเนินโครงการไว้ตั้งปี 2018 ด้วยการเปิดตัวโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 400 เมกะวัตต์ “Lower Sesan 2” ในจังหวัดสตึงแตรง ภายใต้เงินทุนสนับสนุนจาก China Hwaneng Group จับมือร่วมกับ Royal Group ด้วยเม็ดเงินลงทุนกว่า 800 ล้านดอลลาร์ ในการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำครอบคลุมกำลังการผลิตคิดเป็นกว่าร้อยละ 51 ของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501391160/china-proves-godsend-for-cambodias-energy-sector/

ส่งออกกัมพูชาโตแตะ 18.5 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2023

กรมศุลกากรและสรรพสามิตกัมพูชา (GDCE) รายงานสถานการณ์การส่งออกของประเทศมีมูลค่ารวมสูงถึง 18.59 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับสินค้าส่งออกหลักของกัมพูชา ได้แก่ เครื่องแต่งกาย รองเท้า สินค้าเพื่อการท่องเที่ยว จักรยาน และสินค้าเกษตร เป็นสำคัญ โดยเน้นการส่งออกไปยังตลาดหลักอย่าง สหรัฐฯ เวียดนาม จีน ไทย และญี่ปุ่น ซึ่งกัมพูชาส่งออกสินค้าไปยัง สหรัฐฯ มากที่สุดที่มูลค่าการส่งออกรวม 7.49 พันล้านดอลลาร์ ลดลงเล็กน้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้านการส่งออกไปยังเวียดนามเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 40 หรือคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 2.26 พันล้านดอลลาร์ ในขณะที่การส่งออกไปยังจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 คิดเป็นมูลค่า 1.17 พันล้านดอลลาร์ ตามรายงานของ GDCE โดยส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และข้อตกลงการค้าเสรีกับจีนและเกาหลี ที่เริ่มมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นมา ซึ่งถือว่ามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการส่งเสริมภาคการผลิตในประเทศ และมีส่วนสำคัญในการดึงดูดการลงทุนใหม่ๆ จากต่างประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501391190/cambodias-exports-reach-18-5b-in-10-months/

‘ผู้เชี่ยวชาญ’ เผยเศรษฐกิจเวียดนามมีเสถียรภาพ ท่ามกลางความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์โลก

ดร.เหงียน จิ ฮิว นักเศรษฐศาสตร์ที่เชี่ยวชาญทางด้านการเงินและการธนาคาร กล่าวว่าผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่เด่นชัดที่สุด คือ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ในขณะที่ผู้ส่งออกน้ำมัน เวียดนามขายน้ำมันดิบและนำเข้าน้ำมันสำหรับกระบวนการผลิต ด้วยเหตุนี้เมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้านำเข้า โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์พลังงาน นอกจากนี้ ความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์โลกที่ทวีความรุนแรงสูงขึ้น ได้ผลักดันราคาสินทรัพย์ปลอดภัย รวมไปถึงทองคำและเงินดอลลาร์สหรัฐ ตลอดจนกระทบต่อเงินด่องเวียดนามให้อ่อนค่าลง โดยปัจจัยเหล่านี้เกิดความยากลำบากในการควบคุมเงินเฟ้อและการรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnamese-economy-stable-amidst-geopolitical-instability-2214122.html

การรถไฟเมียนมาเตรียมเปิดตัวรถไฟขบวนพิเศษสำหรับเทศกาลยี่เป็ง บนเส้นทางเนปิดอว์ มะละแหม่ง และแปร

U Kyaw Myo Lwin ผู้ช่วยผู้จัดการการรถไฟเมียนมา Division-7 (เขตย่างกุ้ง) กล่าวว่า การรถไฟเมียนมา (MR) จะดำเนินการให้บริการเส้นทาง เส้นทางเนปิดอว์ มะละแหม่ง และแปร ในช่วงวันหยุดงานเทศกาลลอยโคมยี่เป็ง และเทศกาลตะดิ่งจุ๊ต (Thadingyut Festival) หรือที่ชาวเมียนมามักจะเรียกว่า เทศกาลแห่งแสง โดยรถไฟขบวนพิเศษจะเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 24-27 พฤศจิกายน และจะขยายการให้บริการหากจำนวนผู้โดยสารสูง ซึ่งจะมีรถไฟขบวนพิเศษเนปิดอว์-ย่างกุ้ง, ย่างกุ้ง-มะละแหม่ง, มะละแหม่ง-ย่างกุ้ง, ย่างกุ้ง-เมืองแปร และรถไฟพิเศษเมืองแปร-ย่างกุ้งอย่างไรก็ดี การรถไฟเมียนมายังจัดให้มีการอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า และจะขยายบริการหากจำเป็น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mr-to-launch-special-trains-for-tazaungdine-on-nay-pyi-taw-mawlamyine-pyay-routes/

รัฐบาลของรัฐยะไข่จัดสรรเงิน 3.5 พันล้านจ๊าดเพื่อการฟื้นฟูเมืองซิตตเว

รัฐบาลรัฐยะไข่กำลังจัดสรรงบประมาณ 3,500 ล้านจ๊าดสำหรับการพัฒนาเมืองซิตตเวใหม่ เนื่องจากเมืองซิตตเว ทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงของรัฐยะไข่ จุดสนใจหลักคือการเสริมสร้างความสวยงามของเมือง โดยผ่านโครงการ 90 วัน ซึ่งเริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน และงานทั้งหมดมีกำหนดจะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนมกราคมปีหน้า ทั้งนี้ ยังคงมีการดำเนินงานต่างๆอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งถนนสายรอง การขุดท่อระบายน้ำ การดำเนินการเก็บขยะทั่วเมือง และการติดตั้งอุปกรณ์ออกกำลังกายในสวนสาธารณะสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านสุขภาพ นอกจากนี้ ยังมีการใช้มาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำที่อาจเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน และการปรับปรุงถนน Shukhintha และถนนที่ทอดไปสู่ชายหาด แม้ว่ารัฐบาลจะดำเนินโครงการ 90 วันและงานที่เกี่ยวข้องเสร็จสิ้นแล้ว คณะกรรมการพัฒนารัฐยะไข่จะยังคงดูแลการเตรียมการและการบำรุงรักษาต่อไป

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rakhine-state-government-allocates-k3-5-billion-for-revitalization-of-sittway-township/#article-title

ผู้ว่าการ NBC รายงานการใช้สกุลเงินท้องถิ่นเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 2 ทศวรรษ

Chea Serey ผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) กล่าวถึงการเติบโตของการใช้สกุลเงินท้องถิ่น อย่างสกุลเงินเรียลเติบโตเป็นอย่างมาก สำหรับในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยวัตถุประสงค์ในการลดค่าของเงินดอลลาร์ (de-dollarize) เพื่อให้สกุลเงินท้องถิ่นกลับมามีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น โดยทางการพยายามที่จะปรับสมดุลการใช้สกุลเงินดอลลาร์ ให้เป็นตามกลไกตลาดด้วยการดำเนินมาตรการนโยบายต่างๆ เพื่อส่งเสริมการใช้เงินสกุลเรียลมานับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2000 ซึ่งปัจจุบันปริมาณเงินเรียลที่หมุนเวียนอยู่ในระบบเพิ่มขึ้นจาก 0.85 ล้านล้านเรียล (ประมาณ 211 ล้านดอลลาร์) เมื่อ 20 ปีที่แล้ว เป็น 14.5 ล้านล้านเรียล (ประมาณ 3.51 พันล้านดอลลาร์) ในปัจจุบัน สะท้อนไปยังการเพิ่มขึ้นทางด้านเสถียรภาพของสกุลเงินท้องถิ่นกัมพูชาได้เป็นอย่างดี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501390501/nbc-governor-says-cambodia-has-seen-big-increase-in-local-currency-usage-in-past-2-decades/