ผู้เชี่ยวชาญเผยหน้ากาก,ชุดป้องกันที่จะส่งออกต้องได้มาตรฐานสหภาพยุโรป

สำนักงานการค้าเวียดนามในเบลเยียม กล่าวว่าผู้ประกอบการที่จะส่งออกหน้ากากและชุดป้องกันไปยังสหภาพยุโรป ควรจะให้ความสำคัญเรื่องข้อกำหนดมาตรฐานของแต่ละสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งผลิตภัณฑ์ต้องได้รับเครื่องหมาย CE บ่งบอกถึงผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีมาตรฐานที่จะขายแก่ยุโรป สามารถค้นหามาตรฐานแต่ละประเทศในยุโรป : https://standards.cen.eu ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้มีการผลิตหน้ากากและชุดป้องกันมากขึ้น รวมถึงการหาพันธมิตรทางการค้าเพื่อจะส่งออกไปยังสหภาพยุโรป อีกทั้ง ผู้ประกอบการควรศึกษาเกี่ยวกับมาตรฐานหน้ากากและชุดป้องกันทางการแพทย์ จากเว็บไซต์ : https://ec.europa.eu/commission/presscorner/detail/en/IP_20_502 หรือ https://www.centexbel.be/en?utm_source=zalo&utm_medium=zalo&utm_campaign=zalo&zarsrc=30

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/mask-protective-clothing-exporters-must-meet-eu-standards-authority/171699.vnp

เขตซะไกง์ประกาศเคอร์ฟิว 10:00 น. ถึง 04:00 น.

ประชาชนในเขตซะไกง์จะไม่อนุญาตให้ออกจากบ้านระหว่างเวลา 22.00 น. ถึง 04.00 น. แต่อนุญาตให้ออกไปสถานที่สำคัญ เช่น การซื้ออาหารหรือรักษาพยาบาล เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการป้องกันการระบาดของ COVID-19 ตามเมื่อประกาศ 13 เมษายน 2563 หากละเมิดกฎเหล่านี้จะดำเนินคดีโดยทันที ทั้งนี้ยังไม่ให้ประชาชนฉลองเทศกาลตะจาน (ปีใหม่ของเมียนมา) และหลีกเลี่ยงการชุมนุมโดยไม่มีเหตุผล เขตซะไกง์เป็นหนึ่งในเขตที่มีประชากรแรงงานอพยพสูงสุด ตามรายงานสถานการณ์ของ COVID-19 ของกระทรวงสาธารณสุขระหว่างวันที่ 31 มกราคมถึงวันที่ 11 เมษายน 2563 มีแรงงานกว่า 17,000 คนถูกกักตัวจำนวน 6,889 ซึ่งไม่ชัดเจนว่าตัวเลขเหล่านี้รวมถึงผู้ที่ถูกกักกันที่บ้านหรือไม่

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/sagaing-imposes-10pm-4am-curfew.html

เมียนมาปิดประตูเข้าออกชายแดนบังคลาเทศ

รัฐบาลเมียนมาได้ปิดการเข้าและออกของผู้คนในประตูชายแดนกับบังกลาเทศตั้งแต่วันที่ 13 เมษายนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะบรรเทาการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้ได้ห้ามการเข้าและออกของผู้คนจากประตูชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินเดีย จีน ไทยและสปป.ลาวและเปิดเฉพาะการขนส่งสินค้าเท่านั้น ซึ่งสินค้าระหว่างเมียนมาและบังคลาเทศก็จะดำเนินต่อไปเช่นกัน วันที่ 13 และ 14 เมษายน 2563 เมียนมามีจำนวนผู้ป่วย 62 คนโดยมีผู้เสียชีวิต 4 รายและหายป่วยไปแล้วสองราย

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-stops-entry-exit-people-bangladesh-border-gates.html

รัฐบาลกัมพูชาไฟเขียวโครงการลงทุนใหม่มูลค่า 23.5 ล้านเหรียญสหรัฐ

สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ไฟเขียวให้กับโครงการลงทุนใหม่ 6 โครงการด้วยเงินลงทุนรวม 23.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามข่าวประชาสัมพันธ์ของ CDC สองแห่งแยกกัน โครงการใหม่ที่ได้รับการอนุมัตินั้นคาดว่าจะสร้างงานให้กับผู้คนในท้องถิ่นได้มากกว่า 4,000 ตำแหน่ง โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติ 6 โครงการครอบคลุม การผลิตฝ้าย, เสื้อผ้า, กล่องกระดาษแข็ง, วัสดุบรรจุภัณฑ์ทุกชนิด และถุง ซึ่งโครงการเหล่านี้เป็นของบริษัทต่าง ๆ 6 แห่ง ตั้งอยู่ในเมืองหลวงกรุงพนมเปญ, ตบุงคมุม, กำปงสปือ และ ตาแกว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50712885/23-5-million-in-new-investment-projects-licensed/

รายงานประจำปี 2019 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา

The Advanced Bank of Asia Limited (ABA Bank) ผู้ออกหุ้นกู้ในตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (CSX) เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2019 ได้บันทึกกำไรเบ็ดเสร็จรวม 130 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นกว่า 77.45% ในปี 2018 โดยฝั่งของธนาคารไม่ได้ประสบความสำเร็จเพียงด้านเดียว ในด้านบริษัท Grand Twins International (กัมพูชา) (GTI) ซึ่งจดทะเบียนใน CSX มีรายรับเพิ่มขึ้น 42.06% เป็น 169 ล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว แต่ขณะนี้ GTI กำลังเผชิญกับรายได้ที่ลดลงอย่างรุนแรงในปีนี้ จากอุปสงค์ที่ลดลงในตลาดส่งออกสำคัญสองแห่งคือสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป รวมถึงเป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจาก COVID-19 และการถูกถอนสิทธิพิเศษทางการค้า EBA ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อภาคการตัดเย็บเสื้อผ้าของกัมพูชาเป็นอย่างมาก รวมถึงสถาบันการเงินไมโครไฟแนนซ์ LOLC (กัมพูชา) จำกัด (มหาชน) ยังได้เตรียมการสำหรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ทั้งที่มีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 49% จาก 77 ล้านเหรียญสหรัฐ สู่ 116 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยคิดเป็นกำไรสุทธิ 35 ล้านเหรียญก็ตาม จากการคาดการณ์ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อลูกค้าเริ่มมีข้อเรียกร้องในการชำระล่าช้าหรือการชำระคืนแต่เพียงดอกเบี้ยในระยะสั้นจากผลกระทบในปัจจุบัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50712847/csx-companies-report-good-2019-but-brace-for-2020/

รัฐบาลสปป.ลาวสั่งห้ามการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชั่วคราวทั่วประเทศ

สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (PMO) เพิ่งได้รับการปล่อยประกาศสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆและนายกเทศมนตรีนครหลวงเวียงจันทน์ในเรื่องการงดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงวันหยุดปีใหม่อย่างเคร่งครัดโดยผู้จัดจำหน่ายซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ตลาดและองค์กรการค้าออนไลน์ห้ามมิให้มีการขายและจัดจำหน่ายสุราเบียร์และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หากผู้ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษตามบทบัญญัติของกฎหมาย โดยกฎระเบียบใหม่นี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน (เริ่มเวลา 6 โมงเช้า) ซึ่งตรงกับวันแรกของวันหยุดปีใหม่ทางจันทรคติ จนสิ้นสุดเวลา 6 โมงเช้าของวันที่ 20 เมษายนทั้งนี้เป็นมาตรรการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนการระงับการแพร่ระบาดของสปป.ลาว เพราะการงดจำหน่ายเหล้าเบียร์จะช่วยลดการสังสรรค์ในเทศกาลวันปีใหม่ของชาวสปป.ลาวอันจะนำมาซึ่งการแพร่ระบาดอย่างหนัก ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตราการดังกล่าวออกมาเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19  ในขณะนี้ 

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/04/13/government-imposes-temporary-ban-on-sale-of-alcoholic-beverages-during-pi-mai/

มูลนิธิพงษ์สวาทช่วยให้โรงพยาบาล 103 แห่งต่อสู้กับโควิด -19

มูลนิธิพงษ์สวาทได้บริจาคเวชภัณฑ์และสินค้าอุปโภคบริโภคมูลค่าประมาณ 66.56 ล้านกีบให้แก่โรงพยาบาล 103 แห่งเพื่อช่วยในการต่อสู้กับโควิด -19 โดยเป็นสินค้าที่บุคลากรทางการแพทย์มีความต้องการในขณะนี้ได้แก่ ถุงมือแพทย์ เจลทำความสะอาดมือฆ่าเชื้อ มาสก์รวมถึงอาหารสำเร็จรูปไม่เพียงแค่การพัฒนาประสิทธิภาพด้านสาธารณะก่อนหน้านี้มูลนิธิพงษ์สวาทยังมีส่วนช่วยในการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของสปป.ลาวและยังสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีส่วนสำคัญต่อความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม ทั้งนี้มูลนิธิมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งในการร่วมมือกับรัฐบาลสปป.ลาวในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในสปป.ลาว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Phongsavanh78.php

รัฐบาลกัมพูชาดำเนินการเร่งด่วนด้านความมั่นคงทางอาหาร

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ได้สั่งให้ทุกหน่วยงานด้านเกษตรดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับรองความมั่นคงด้านอาหารของประเทศเพื่อตอบสนองต่อการระบาดของ COVID-19 โดยอธิบดีกรมวิชาการเกษตรให้ทำการบันทึกสต๊อกข้าวและข้าวในโรงสีชุมชน รวมถึงในแต่ละครัวเรือนเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนของสถานการณ์อาหารและระบุพื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกผักเพื่อทำการรับมือ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรยังเรียกร้องให้ทำการประมาณการปริมาณความต้องการซื้อเนื้อสัตว์ในประเทศในปี 2563 นอกจากนี้ยังได้สั่งให้หน่วยงานการประมงประเมินความต้องการและอุปทานของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาตอบสนองความต้องการภายในประเทศ โดยราคาในตลาดต้องมีเสถียรภาพ รวมถึงเพื่อให้แน่ใจว่ามีสต็อกเพียงพอสำหรับคนในประเทศ ซึ่งความต้องการเนื้อสุกรจากประเทศกัมพูชาอยู่ที่ประมาณ 2.9 ล้านตันต่อปี ปริมาณปศุสัตว์เพิ่มขึ้น 37% ในปี 2562 เมื่อเทียบกับปี 2561 ในแง่ปริมาณสต็อกข้าวตัวเลขทางการแสดงว่าในปี 2562 ผลผลิตรวมอยู่ที่ 10.88 ล้านตัน โดยมีส่วนเกิน 5.76 ล้านตัน ปลาจากธรรมชาติและปลาจากฟาร์มเลี้ยงก็เพิ่มขึ้นในปี 2562 เช่นกันอยู่ที่ 908,000 ตัน มีไว้เพื่อการบริโภคในปี 2562 เพิ่มขึ้น 21% เมื่อปี 2561

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50712467/govt-call-for-urgent-action-on-food-security/