บังคลาเทศซื้อหัวหอมของเมียนมา โดยส่งออกทางทะเลเป็นหลัก

เจ้าของศูนย์ขายส่งหัวหอมในเมียนมาให้สัมภาษณ์ ว่า บังคลาเทศซื้อหัวหอมที่ปลูกในเมียนมาเพื่อเตรียมสต็อกไว้สำหรับเดือนรอมฎอน โดยที่การซื้อส่วนใหญ่จะส่งออกทางทะเล ทั้งนี้ ในเดือนตุลาคม 2023 ราคาหัวหอมอยู่ที่ประมาณ 2,600 จ๊าดต่อviss ในตลาดท้องถิ่น และเพิ่มขึ้น 500 จ๊าดต่อviss ในสามวัน เนื่องจากความต้องการของบังกลาเทศ อย่างไรก็ดี ปัจจุบันมีการผลิตหัวหอมมากมายในทุกพื้นที่ ราคาจึงลดลงในตลาดท้องถิ่น และยังไม่สามารถบอกได้แน่ชัดว่าราคาหัวหอมมีแนวโน้มจะลดลงอีกเท่าใด รวมถึงข้อเท็จจริงที่ว่านี่เป็นฤดูเก็บเกี่ยวในทุกภูมิภาคและรัฐ ผลผลิตจึงมีมากนอกจากนี้ ราคาต่อviss ที่เผยแพร่โดยศูนย์ขายส่งสินค้า Bayintnaung เมื่อวันที่ 11 มีนาคม หัวหอม seikphyu มีราคาอยู่ที่ 2800, 2700, 2600 และ 2200 จ๊าดต่อviss และหัวหอม Myingyan อยู่ที่ 2900 จ๊าดต่อviss

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/bangladesh-buys-myanmar-onions-exports-made-mainly-by-sea/

เมียนมา-เซ็น MoU บังคลาเทศ ส่งออกข้าวกว่า 165,000 ตัน

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา (MoC)  เผย เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 ที่ผ่านมาเมียนมาและบังกลาเทศ ได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) โดย บังคลาเทศตกลงที่จะซื้อข้าวขาว 250,000 ตันและข้าวนึ่งอีก 50,000 ตันจากเมียนมา ตั้งแต่ปี 2565-2570 ซึ่ง ณ วันที่ 2 มกราคม 2565 เมียนมาส่งออกข้าวไปบังคลาเทศแล้วกว่า 165,000 ตัน ส่วนที่เหลือจะส่งมอบภายในระยะเวลากำหนด ตามข้อตกลงพันธ์ขาวที่จะทำการส่งออก คือ ข้าวขาว (ATAP) พันธุ์ GPCT Broken STX ราคา FOB ที่ส่งออกจะอยู่ที่ 2.78856 หยวนต่อกิโลกรัม และ 2,788.56 หยวนต่อตัน ทั้งนี้ กรมอาหารของบังกลาเทศและสมาพันธ์ข้าวแห่งเมียนมา (MRF) ได้ลงนาม MoU ร่วมกัน โดยได้ส่งข้าวเป็นครั้งแรกในปี 2560 จำนวน 100,000 ตัน และในปี 2564 เป็นครั้งที่ 2

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-over-165000-tonnes-of-rice-to-bangladesh-under-g-to-g-pact/#article-title

เดือนก.ย.65 เมียนมาส่งออกสินค้าไปบังคลาเทศ โกยรายได้กว่า 2.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

เดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา เมียนมาส่งออกสินค้าไปบังคลาเทศคิดเป็นมูลค่า 2.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ผ่านด่านชายแดนชเวมิงกันของเมืองซิตเวย์มูลค่า 1.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และด่านชายแดนกันยินชวงของเมืองหม่องตอมูลค่า 0.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยชายแดนหม่องตอได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนและปัญหาคมนาคมที่แออัด ดังนั้นการค้าผ่านชายซิตเวย์จึงเพิ่มขึ้น และที่ผ่านมาเมียนมาได้เปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด โดยมีสินค้าประมงเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ ทั้งนี้ ในการส่งออกสินค้าไปบังคลาเทศ ประกอบไปด้วย ปลาจะละเม็ดขาว ปลากะตัก ปลาแห้ง ถั่ว มะพร้าว ลูกเนียง ไม้กวาด เห็ด ขิง หัวหอม ถั่วชิกพี พลัมแห้ง เมล็ดมะขาม รองเท้า ชุดลองยี (ชุดประจำชาติของเมียนมา)  ทานาคา กาแฟสำเร็จรูป เมล็ดทานตะวัน และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ในขณะเดียวกัน สินค้านำเข้า คือเครื่องนุ่งห่ม สินค้าอุปโภคบริโภค ท่อพีวีซี ถังเก็บน้ำพลาสติก และปั๊มน้ำแบบโยก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-earns-2-11-mln-from-exports-to-bangladesh-in-sept/

ครึ่งปีแรกของงบฯ 65 – 66 เมียนมาจัดออกมะพร้าว 319 ตัน ไปบังกลาเทศผ่านชายแดนมองดอ

ในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณปัจจุบัน 2565-2566 เมียนมาส่งออกมะพร้าว 319 ตัน มูลค่าประมาณ 0.128 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไปบังกลาเทศผ่านชายแดนมองดอ ส่วนใหญ่แล้วบังคลาเทศจะใช้มะพร้าวในการประกอบพิธีทางศาสนานอกเหนือจากการใช้บริโภค ซึ่งมะพร้าวที่ส่งออกมี 3 ประเภทที่ปลูกในรัฐยะไข่ตอนใต้บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำและบริเวณชายฝั่งของเมียนมา ได้แก่ พันธ์ต้นสูง พันธ์ต้นเตี้ย และมะพร้าวไฟ (มะพร้าวสีส้ม)  โดยพันธ์ต้นสูงจะใช้เวลาปลูกและเก็บเกี่ยวได้ภายใน 7 – 10 ปี พันธุ์ต้นเตี้ย 3 – 5 ปี และมะพร้าวไฟ 5 – 7 ปี ซึ่งมะพร้าว 1 ต้นสามารถให้ผลผลิตโดยเฉลี่ยประมาณ 100 ลูก ส่วนใหญ่แล้วมะพร้าวที่ส่งออกไปยังบังคลาเทศ จะปลูกในภูมิภาคย่างกุ้ง และรัฐยะไข่ได้แก่ เมีองมะนัง เมืองเจาะพยู และเมืองตาน-ดแว โดยทำการส่งออกผ่านชายแดนมองดอของรัฐยะไข่

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-319-tonnes-of-coconut-to-bangladesh-via-maungtaw-trade-post-in-h1/

 

เดือนก.พ.65 การค้าเมียนมา-บังคลาเทศ ลดฮวบ

รายงานของกระทรวงพาณิชย์ เผย ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. ถึง 25 ก.พ.65 ของงบประมาณย่อย การค้าเมียนมา-บังคลาเทศผ่านชายแดนมีมูลค่า 18.002 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว 20.498 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 2.49 ล้านเหรียญสหรัฐจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นการส่งออก 17.92 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้ามูลค่า 0.080 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การค้าชายส่วนใหญ่ผ่านจุดเข้าเมืองซิตต์เวย์และเมืองมองตอ ซึ่งสินค้าที่ซื้อขายระหว่างสองประเทศ ได้แก่ ไม้ไผ่ ขิง ถั่วลิสง กุ้งทะเลและปลา ลูกพลัมแห้ง กระเทียม ข้าว ถั่วเขียว ผ้าห่ม ลูกอม แยมลูกพลัม รองเท้า อาหารแช่แข็ง สารเคมี หนัง ผลิตภัณฑ์จากปอกระเจา ยาสูบ พลาสติก ไม้ เสื้อถัก และเครื่องดื่ม

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/e-paper/

ราคามันฝรั่งในเมียนมาพุ่งสูงขึ้น

ราคามันฝรั่งในตลาดเมียนมาที่พุ่งสูงขึ้น เนื่องจากปัญหาผลผลิตที่ลดลงของจีน นอกจากนี้ อีกทั้งเกษตรกรยังไม่สามารถปลูกมันฝรั่งเพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศได้ อีกทั้งจีนได้ปิดชายแดนเพราะการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะที่ปีที่แล้วราคาลดลงเนื่องจากการหลั่งไหลเข้าของมันฝรั่งจีน เมื่อวันที่ 1 ก.ย.64 ราคามันฝรั่งในช่วง 500-1,200 จัตต่อ viss (1 viss = 1.6 กิโลกริม) ขึ้นอยู่กับสายพันธ์ แต่เมื่อวันที่ 7 ต.ค.64 ราคาขยับพุ่งมาเป็น 1,050-1,850 จัตต่อ viss นอกจากนี้ ราคาเครื่องครัวยังสูงขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมาตรการเข้มงวดเพื่อควบคุมโควิด-19 การอ่อนค่าของเงินจัต และความต้องการจากต่างประเทศ นอกจากมันฝรั่งแล้ว ราคาหัวหอมที่เพิ่มขึ้นทำให้สร้างความไม่พอใจให้กับครัวเรือนประชาชนเป็นอย่างมาก โดยราคาของหัวหอมเมื่อวันที่ 1 ก.ย.64 อยู่ระหว่าง 200 -500 จัตต่อ viss แต่ในวันที่ 7 ต.ค.64 ราคาขยับเป็น 450 – 950 จัตต่อ viss ราคาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการจากบังกลาเทศที่สูงขึ้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/potato-price-soars-in-domestic-market/?__cf_chl_managed_tk__=pmd_n6hH8rgDH77fex2nHcuNwVxhSWl4ukOGBcKxxDkcbJQ-1633856152-0-gqNtZGzNAvujcnBszRWl#article-title

 

ราคาหัวหอมในประเทศพุ่ง ผลจากความต้องการของบังคลาเทศเพิ่มขึ้น

ความต้องการหัวหอมเมียนมาที่เพิ่มขึ้นจากบังกลาเทศ ทำให้ราคาหัวหอมในตลาดเมียนมาสูงขึ้น ในเดือนมี.ค.64 ราคาอยู่ระหว่าง 250-300 จัตต่อ viss (1 viss = 1.6 กิโลกรัม) จากนั้นราคาก็แตะระดับต่ำสุดที่ 200 วอนต่อครั้ง จึงไม่สามารถส่งออกไปยังจีนได้เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ด้านบังคลาเทศมักจะนำเข้าหัวหอมจากอินเดีย แต่ในตอนนี้อินเดียได้ระงับการส่งออกหัวหอม ดังนั้นบังคลาเทศจึงหันนำเข้าจากเมียนมาแทน ส่งผลให้ ตอนนี้ราคาหัวหอมได้เพิ่มขึ้นเป็น 500 จัตต่อ viss ปัจจุบันสต๊อกหัวหอมในตลาดมัณฑะเลย์ลดน้อยลง ดังนั้นราคาค้าปลีกจึงอยู่ที่ 700 จัตต่อ viss ปัจจุบันหัวหอมส่วนใหญ่ปลูกในเขตมัณฑะเลย์ มะกเว ย่างกุ้ง เนปิดอว์ และรัฐฉาน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/domestic-onion-price-rises-due-to-demand-from-bangladesh/#article-title

ปีงบฯ 63-64 ค้าชายแดนเมียนมา-บังกลาเทศ ดิ่ง ! 16 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2564 ของปีงบประมาณ 2563-2564 การค้าชายแดนระหว่างเมียนมา-บังกลาเทศ อยู่ที่ 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แบ่งเป็นการส่งออก 16.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้า 18.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 16 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณก่อน การส่งออกลดลง 9.5 ล้านดอลลาร์ และการนำเข้าลดลงเกือบ 6.47 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่การค้าชายแดนลส่วนใหญ่ผ่านจุดเข้าเมืองซิตต์เวย์และเมืองมองตอ โดยผสินค้าที่ซื้อขายระหว่างสองประเทศ ได้แก่ ไม้ไผ่ ขิง ถั่วลิสง กุ้งและปลาทะเล พลัมแห้ง กระเทียม ข้าว ถั่วเขียว ผ้าห่ม ลูกอม แยมลูกพลัม รองเท้า อาหารแช่แข็ง สารเคมี หนัง ผลิตภัณฑ์จากปอกระเจา ยาสูบ พลาสติก ไม้ เสื้อถัก และเครื่องดื่ม

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-bangladesh-border-trade-decreases-16-mln-this-fy/#article-title

เมียนมาเตรียมส่งออกหัวหอมไปบังกลาเทศ

เมียนมากำลังส่งออกหัวหอมไปยังบังกลาเทศเนื่องจากมีผลผลิตในท้องถิ่นจำนวนมากเพราะพรมแดนของจีนถูกปิดลง นาย U Khin Han ประธานศูนย์ค้าส่งบะยินเนาว์ ( Bayinnaung) กล่าวขณะหารือกับสถานทูตซึ่งการส่งออกจะต้องผ่านการเดินเรือและความจุแต่ละลำจะมีมากกว่า 150 ตู้คอนเทนเนอร์แต่ละคอนเทนเนอร์สามารถบรรจุหัวหอมได้ประมาณ 14 ตัน เนื่องจากชายแดนหลุ่ยลี่ (RUILI) กับจีนถูกปิดลงทำให้ไม่สามารถขนส่งสินค้าและเกิดปัญหาสต็อกหัวในประเทศเป็นจำนวนมาก ปีนี้การส่งออกหัวหอมจะอยู่ระหว่าง 15,000 ถึง 20,000 ตัน ปัจจุบันมีผลผลิตมากกว่า 15 ล้านไร่ที่ยังตกค้างอยู่ที่เกษตรกรและผู้ค้า และรถบรรทุกสามารถขนส่งหัวหอมไปศูนย์ค้าส่งได้ประมาณ 15 คันต่อวัน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-may-export-onions-bangladesh.html

เมียนมาส่งออกไปบังคลาเทศผ่านชายแดนมังดอร์มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เดือนมิถุนายน 2563 เมียนมาส่งออกผ่านชายแดนผ่านชายแดนมังดอว์มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐไปยังบังคลาเทศและส่วนใหญ่เป็นสินค้าอย่างพลาสติก ซึ่งการค้าชายแดนมังดอร์ หยุดตั้งแต่เดือนเมษายนถึงพฤษภาคมและเปิดในเดือนมิถุนายน 2563 จากการแพร่ระบาดของ COVID-19

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/more-than-us-1-million-worth-products-exported-to-bangladesh-via-maungdaw-border-trade