ธนาคารกลางของสปป.ลาวและเวียดนามสนับสนุนความร่วมมือทวิภาคีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

ธนาคารกลางสปป.ลาวและเวียดนามจะยกระดับความร่วมมือทวิภาคีในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศประเด็นทางเทคนิคและประเด็นสำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการธนาคาร การประชุมระหว่างธนาคารกลางทั้งสองได้ทบทวนความสำเร็จในปีที่ผ่านมาในด้านความร่วมมือทางการเงินและสกุลเงินและหาวิธีในการเสริมสร้างความร่วมมือในอนาคต และหารือเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค นโยบายเงิน การจัดการของธนาคารพาณิชย์ของรัฐและประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ธนาคารทั้งสองให้คำมั่นว่าจะส่งเสริมและสร้างเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อธนาคารพาณิชย์ของทั้งสองประเทศเพื่อสร้างความร่วมมือการค้าและการลงทุนทั้งสองด้านเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบธนาคารและเพื่อตอบสนองการลงทุนการค้าและกิจกรรมทางธุรกิจของธุรกิจและนักลงทุน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-laos-central-banks-foster-collaboration/160641.vnp

เมืองใหม่ที่จะสร้างในเสียมราฐของกัมพูชา

จะมีการสร้างเมืองแห่งใหม่ในเสียมเรียบ โดยโครงการนี้เพิ่งถูกเพิ่มไปในแผนแม่บทในด้านการท่องเที่ยวของจังหวัด ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกล่าวว่าเมืองใหม่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชมในจังหวัดมากขึ้น โดยมีสถานที่สำคัญคือ Angkor Archeological Complex ตั้งอยู่ห่างจากเสียมราฐในทิศตะวันออกประมาณ 60 กิโลเมตร ซึ่งแผนแม่บทจะแล้วเสร็จภายในต้นปีหน้า โดยจากตัวเลขของอังกอร์เอ็นเตอร์ไพรส์สหราชอาณาจักรมีรายได้กว่า 55.7 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการขายตั๋วเข้าชมสถานที่ ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกลดลง 9% จากช่วงเดียวกันของปี 2561 โดยกลยุทธ์ดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาพักอาศัยนานขึ้น และนิยามความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดใหม่ ซึ่งประเทศจีนก็ยังคงเป็นประเทศที่ติดอันดับยอดนิยมของนักท่องเที่ยงที่มาเยือนเสียเรียบโดยคิดเป็นประมาณ 540,000 คนในช่วงครึ่งปีแรกตามมาด้วยเกาหลีและสหรัฐอเมริกา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50643972/new-city-to-be-built-in-siem-reap-province/

World Bank อนุมัติเงิน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพัฒนากัมพูชา

ธนาคารโลกได้อนุมัติการเบิกจ่ายอย่างเป็นทางการจำนวน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในกัมพูชา โดยเงินให้กู้ยืมจะอยู่ภายใต้ กรอบความร่วมมือในระดับประเทศในช่วง ปี2562-2566 ซึ่งได้รับการอนุมัติจากธนาคารโลกในเดือนพฤษภาคมตามแถลงการณ์ที่ออกหลังจากการประชุมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง โดยโครงการกู้ยืมดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงระดับความสำคัญของรัฐบาลและจัดการกับความท้าทายภายในประเทศเกี่ยวกับการกระจายความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ การพัฒนาผลิตผลทางการเกษตร เสริมสร้างการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า รวมถึงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งกรอบการทำงานจะมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพของรัฐและส่งเสริมการพัฒนาภาคเอกชน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50643974/world-bank-approves-1-billion-in-development-assistance/

กรมพัฒน์ฯ หนุนแฟรนไซส์ไทย เตรียมดัน 27 ธุรกิจ ลุยตลาดสากล

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เร่งเครื่องผลักดันสู่ตลาดสากล จำนวน 27 ธุรกิจ หลังพบธุรกิจแฟรนไซส์ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังคึกคัก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (CLMV) ที่ถือว่าเป็นทำเลทองในการขยายธุรกิจของไทย พร้อมเปิดตัวเลขแฟรน์ไซส์ไทยมีมูลค่าตลาดรวมกว่า 2.8 แสนล้านบาท โดยอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ดำเนินตามนโยบายของรัฐมนตรี ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เข็มแข็ง ผ่านการสนับสนุน ส่งเสริม และขยายธุรกิจด้วยระบบแฟรนไซส์ รวมไปถึงมุ่งเน้นกลยุทธ์สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร ส่งเสริมสภาพแวดล้อม หรือ Ecosystem ให้พร้อมสู่ระดับสากล ทั้งนี้ กรมฯ ได้ดำเนินการสร้างความเข็มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไซส์ไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมให้ธุรกิจขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อให้สามารถเติบโตได้อย่างเข้มแข็งยั่งยืน โดยเน้นการสร้างมาตรฐานคุณภาพที่มีความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ จากข้อมูลของธนาคารกสิกรไทย พบว่า ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ไทยมีมูลค่าตลาดโดยรวมกว่า 2.8 แสนล้านบาท มีอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 20.3 ต่อปี โดยในแต่ละปีมีผู้ประกอบการรายใหม่สนใจเข้าสู่ธุรกิจแฟรนไชส์กว่า 15,000 – 20,000 ราย ถือว่ากลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์เป็นกลุ่มธุรกิจสำคัญที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทย เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เข้าถึงกลุ่มธุรกิจที่ครอบคลุมทุกระดับ และสามารถสร้างความมั่นคงให้แก่เศรษฐกิจของประเทศได้อย่างต่อเนื่องยั่งยืน

ที่มา : ทรานสปอร์ต เจอร์นัล ฉบับที่ 16-30 ก.ย. 2562

ผู้ประกอบการเวียดนามเข้าร่วมประชุมการค้า อินเดีย-CLMV

คณะผู้แทนธุรกิจเวียดนามจะเข้าร่วมการประชุมครั้งแรก อินเดีย-CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และอินเดีย) ซึ่งในเดือนหน้า จะมีการจัดประชุมในนครเจนไน (Chennai City) โดยเป้าหมายของการประชุมครั้งนี้ คือ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศอินเดียและกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย Act East ของรัฐบาลอินเดีย เพื่อส่งเสริมการร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน รวมไปถึงกลุ่ม CLMV ในขณะที่ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (MoIT) จะนำคณะผู้ประกอบการเวียดนาม 15 ราย ในการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อเรียนรู้การต่อยอดการค้าระหว่างประเทศระหว่างประเทศ (เวียดนาม CLMV อินเดีย) ตามความต้องการ และข้อเรียกร้อง และมาตรฐานของตลาด ซึ่งผู้ประกอบการเวียดนามจะทำธุรกิจในลักษณะผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ (B2B) ในการเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างกลุ่มประเทศ CLMV และอินเดีย นอกจากนี้ การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-18 ตุลาคม 2562 ณ โรงแรม ITC Grand Chola, นครเจนไน, รัฐทมิฬนาฑู

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/535529/vietnamese-firms-to-attend-india-clmv-trade-meeting-in-india.html#5tTtZaLpBZGfj3CE.97

เวียดนามเผยมูลค่าการส่งออกสิ่งทอเพิ่มขึ้น 7% ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562

จากข้อมูลของสมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม (VITAS) เปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562 มูลค่าการส่งออกโดยรวมสิ่งทอ เส้นใย และเสื้อผ้าของเวียดนามอยู่ที่ 25.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รวมไปถึงสัดส่วนของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ร้อยละ 60.6 โดยอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มใช้เงินในการนำเข้า ด้วยมูลค่า 14.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และผลผลิตวัสดุที่ใช้ในการทำเสื้อผ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และอุตสาหกรรมดังกล่าวเกินดุลการค้า 10.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสถานการณ์สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน และทำให้ราคาสินค้าแปรรูปของเวียดนามสูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง ได้แก่ ประเทศเกาหลีใต้และจีน รวมไปถึงส่งผลกระทบต่อยอดคำสั่งส่งออกของผู้ประกอบการในประเทศ ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องหาโซลูชั่นในการผลิตสินค้าและการดำเนินธุรกิจ แต่ว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของประเทศเกาหลีใต้ และไต้หวันในเวียดนาม ได้รับประโยชน์จากสงครามการค้า เนื่องมาจากธุรกิจของประเทศดังกล่าว มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเองที่อยู่ภายใต้ห่วงโซ่อุปทาน โดยจากข้อมูลของหนังสือพิมพ์ Dau Tu (Investment) ระบุว่า ผู้ประกอบการสิ่งทอฯ ของเกาหลีใต้ในเวียดนาม ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากสงครามการค้า ด้วยจำนวนธุรกิจกว่า 143 แห่ง คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 50 ของมูลค่าการส่งออกสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มของเวียดนามไปยังสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาอีกประเด็นอีกอย่าง คือ อุตสาหกรรมสิ่งทอของเวียดนามยังขาดวัสดุในการป้อนเข้าโรงงาน ซึ่งจำเป็นต้องนำเข้าฝ้ายทั้งหมด และร้อยละ 80 ในการนำเข้าผ้า และวัสดุอื่นๆ จากจีน และอินเดีย ดังนั้น ต้นทุนในการผลิตของผู้ประกอบการในประเทศเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับบริษัทจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-s-textile-export-value-up-almost-7-pct-in-eight-months/160559.vnp

สหภาพยุโรปยังคงให้การสนับสนุนการศึกษาขั้นพื้นฐานในสปป.ลาว

สหภาพยุโรปจะยังคงสนับสนุนสปป.ลาวเพิ่มมากกว่า 14 ล้านยูโร สำหรับโครงการการสนับสนุนการศึกษาขั้นพื้นฐานในสปป.ลาว เพื่อช่วยให้ประเทศบรรลุแผนการพัฒนาด้านการศึกษา ซึ่งการประชุมระหว่างสปป.ลาวและสหภาพยุโรปคือการยืนยันความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการศึกษาในสปป.ลาว โดยมุ่งเน้นที่การส่งเสริมและตรวจสอบการจัดสรรครูและการพัฒนาทักษะการสอนของครูเพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนจะบรรลุผลทางการศึกษา จะช่วยปรับปรุงการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ชนบทในขณะเดียวกันก็สร้างขีดความสามารถในการพัฒนาส่วนบุคคลในโรงเรียนเป้าหมาย อีกทั้งเมื่อเร็วๆนี้ สหภาพยุโรปให้เงิน 55 ล้านยูโรเพื่อเปิดตัวโครงการใหม่ 2 โครงการเกี่ยวกับโภชนาการและการเติบโตอย่างยั่งยืนโดยการสนับสนุนทางการเงิน  50 ล้านยูโรจะไปปรับปรุงโภชนาการและลดการขาดสารอาหารและ 5 ล้านยูโรเพื่อช่วยกระตุ้นการเติบโตของการค้าและการลงทุนเพื่อสนับสนุนโครงการ ARISE Plus Laos นอกจากนี้ยังจัดสรรเงิน 162 ล้านยูโร ในหลายภาคส่วนรวมถึงโภชนาการการศึกษาและการกำกับดูแลภายใต้กรอบของ European Joint Programming 2559-2563

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/eu-continues-support-basic-education-laos-104287

10 ธนาคารพาณิชย์สปป.ลาว ลงนามขอสินเชื่อเพื่อส่งเสริม SMEs

ฝ่ายปฏิบัติการธนาคารภายใต้ธนาคารสปป.ลาวได้ลงนามใน 10 ธนาคารพาณิชย์เพื่อขอสินเชื่อ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารเพื่อการพัฒนาประเทศจีนเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในสปป.ลาว บันทึกความเข้าใจสำหรับโครงการได้มีการลงนามระหว่างธนาคารการค้าต่างประเทศลาว, ธนาคารเพื่อการพัฒนาลาว , ธนาคารส่งเสริมกสิกรรม, ธนาคารมารูฮานเจแปนลาวจำกัด, ธนาคารร่วมพัฒนาจำกัด , ธนาคารลาวจีนจำกัด, ธนาคารร่วมธุรกิจลาว-เวียด จำกัด, ธนาคารเอสทีจำกัด, ธนาคารหุ้นส่วนการค้าทหาร สาขาลาวและธนาคารไซง่อนเทืองตินลาวจำกัด ลงนามเป็นสักขีพยานโดยผู้ว่าการ BOL วัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือการมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของรัฐบาลและเพื่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนโดยการส่งเสริมการพัฒนาของ SMEs หลังจากการพิจารณาของแผนกธนาคารทั้งหมด 16 แห่งที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขได้ถูกคัดเลือกให้เข้าร่วมในโครงการอย่างไรก็ตามมีเพียง 10 ธนาคารเท่านั้นที่แสดงความตั้งใจที่จะเข้าร่วม

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/ten-lao-banks-seek-loan-promotion-smes-104290