ญี่ปุ่นขอมีส่วนร่วมพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย

นาย U Myint San รองประธานคณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) เผยรัฐบาลญี่ปุ่นยื่นข้อเสนอเพื่อเข้าร่วมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายแบบฐบาลต่อรัฐบาล (G2G) ถึงแม้มีการระบาดของ COVID-19 แต่ก็อนุมัติให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมทันทีและกำลังรอการสนับสนุนทางการเงินและทางเทคนิคเพื่อเริ่มต้นการก่อสร้างที่ล่าช้ามานาน โครงการการพัฒนาล่าสุดล่าสุดภายหลังจากจีนสนใจที่จะลงทุนในเขตเศรษฐกิจทวายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 63 ทวายคาดว่าจะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนซึ่งใหญ่กว่าติวลาในย่างกุ้งประมาณ 8 เท่าและใหญ่กว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวในยะไข่ถึงสิบเท่า เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายมีพรมแดนติดกับประเทศไทยโดยมีพื้นที่ 20,000 เฮกตาร์ซึ่งรวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมและท่าเรือ บริษัท อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างของไทยมีการลงนามบันทึกความเข้าใจเบื้องต้นระหว่างเมียนมาและไทยในปี 51 แต่หยุดชะงักลงในปี 56 เนื่องจากไม่สามารถหาเงินลงทุนได้ตามสัญญา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/japan-offers-participate-dawei-sez-development.html

ญี่ปุ่นวางแผนสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในกัมพูชา

บริษัทญี่ปุ่นได้ลงทุนบนโรงไฟฟ้าพลังงานจากขยะและสถานีกักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ในกัมพูชา โดย Mikami Masahiro เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำกัมพูชาในการพบปะกับ Suy Sem รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานในพนมเปญเมื่อต้นสัปดาห์ ซึ่งเอกอัครราชทูตกล่าวว่าการระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบอย่างมากทั่วโลกและส่งผลกระทบต่อโครงการพัฒนาหลายโครงการในกัมพูชา แต่อย่างไรก็ตามความสำคัญคือกัมพูชาและญี่ปุ่นยังคงทำงานร่วมกันในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานผ่านการเจรจาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาโครงการลงทุนระหว่างสองประเทศ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมีความยินดีกับโครงการลงทุนของญี่ปุ่นในภาคพลังงานโดยเน้นว่ากัมพูชากำลังปรับแผนการจัดหาไฟฟ้าเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาอย่างรวดเร็วของประเทศ ซึ่งโครงการพลังงานไฟฟ้าจากขยะในกัมพูชาได้รับการเสนอโดยบริษัทหลายแห่ง แต่เนื่องจากมีต้นทุนการลงทุนที่สูงเมื่อเทียบกับโครงการพลังงานอื่นๆ จึงยังไม่มีการลงทุนอุตสาหกรรมนี้เกิดขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50780638/japan-unveils-plan-to-build-waste-to-energy-plant-in-cambodia/

การค้าระหว่างกัมพูชากับญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 7.42

การค้าทวิภาคีระหว่างญี่ปุ่นกับกัมพูชาลดลงร้อยละ 7.42 อยู่ที่ 1.346 พันล้านดอลลาร์ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงสิงหาคม 2020 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ตามสถิติที่เปิดเผยโดยองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) โดยการส่งออกของกัมพูชาไปยังญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 5.3 ซึ่งมีมูลค่าอยู่ที่ 1.045 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2020 ในขณะที่การนำเข้าจากญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ระบุว่าสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกจากกัมพูชาไปยังญี่ปุ่น ได้แก่ เครื่องแต่งกาย รองเท้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้การส่งออกจาก PPSEZ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งนักลงทุนต่างชาติได้ขอให้รัฐบาลกัมพูชาลดค่าใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (CO) ที่ปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50770683/two-way-cambodia-japan-trade-dips-by-7-42-percent/

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและญี่ปุ่นในช่วง 7 เดือนแรกของปี

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและญี่ปุ่นอยู่ที่ 1,175 ล้านดอลลาร์ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งตัวเลขดังกล่าวรายงานโดยองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ระบุว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคมการส่งออกของกัมพูชาไปยังญี่ปุ่นมีมูลค่าอยู่ที่ 914 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 3 พบว่าสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกของกัมพูชาไปยังญี่ปุ่น ได้แก่ เสื้อผ้า รองเท้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเมื่อปีที่แล้วการค้าระหว่างสองชาติเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13 ที่ 2,292 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50764528/cambodia-japan-trade-reaches-1-1-billion-in-first-seven-months/

อิออน ซูเปอร์มาร์เก็ต จัดงาน ‘Vietnam Fair’ ในญี่ปุ่น

งาน Vietnam Fair จัดแสดงสินค้าเวียดนามระหว่างวันที่ 11-13 กันยายน 2563 ในอิออน ซูเปอร์มาร์เก็ต 40 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่น โดยงานแสดงสินค้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สินค้าเวียดนามเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นและขยายความสัมพันธ์ทางการค้ากับพาร์ทเนอร์ชาวญี่ปุ่น โดยเฉพาะผู้นำเข้าของทางอิออน นอกจากนี้ ยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมทางธุรกิจของบริษัทเวียดนามเกี่ยวกับระบบการจัดจำหน่ายในปี 2563 และเปิดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนามกับกลุ่มบริษัทอิออน เพื่อให้เวียดนามส่งออกไปยังอิออนเพิ่มขึ้น อยู่ที่ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ และ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2568

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-fair-underway-in-aeon-supermarkets-in-japan/182892.vnp

ญี่ปุ่นให้ทุนเพื่อเสริมสร้างการฝึกอบรมครูในสปป.ลาว

รัฐบาลญี่ปุ่นได้ตกลงที่จะให้เงินสนับสนุนจำนวน 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.91 พันล้านเยน) เพื่อปรับปรุงคุณภาพของสภาพแวดล้อมการฝึกอบรมของครูในระดับก่อนประถมศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในสปป.ลาว ความร่วมมือระหว่างกระทรวงการวางแผนและการลงทุนสปป.ลาวและหัวหน้าผู้แทนของสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ประจำสปป.ลาวผ่านโครงการ “การปรับปรุงวิทยาลัยการฝึกหัดครูในสปป.ลาว” ได้ลงนามในเวียงจันทน์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา โครงการนี้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 สำหรับปี 2564-2568 และจะช่วยเติมเต็มเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 สำหรับปี 2559-2563 นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาการศึกษาด้วย ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเป็นรูปแบบความช่วยเหลือหลักในการสนับสนุนความร่วมมือทวิภาคีอื่น ๆ จากพันธมิตรการพัฒนาที่ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของสปป.ลาว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Japan177.php

นักลงทุนญี่ปุ่นย้ายฐานเข้าสู่เวียดนาม เหตุห่วงโซ่อุปทาน

การลงทุนของญี่ปุ่นในเวียดนามนั้น มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และยังคงดำเนินต่อไปอีก เนื่องจากนักลงทุนญี่ปุ่นมองว่าเวียดนามมีสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ดี โดยบริษัทญี่ปุ่น 15 รายที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เพื่อกระจายห่วงโซ่อุปทานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ คุณ Watanabe Nobuhiro กล่าวว่าบริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งเข้าร่วมกับทาง HCMC Japanese Friendship Club (JCCH) แสดงให้เห็นถึงความน่าสนใจของผู้ประกอบการญี่ปุ่นต่อการทำธุรกิจในนครโฮจิมินห์ อีกทั้ง สถานกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ระบุว่าสาเหตุดังกล่าวมาจากการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ ทำให้ธุรกิจญี่ปุ่นในโฮจิมินห์สามารถจัดการกับปัญหาในการทำธุรกิจได้

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/japanese-investors-shifting-to-vietnam-to-diversify-supply-chain-24249.html

การค้ากัมพูชา-ญี่ปุ่น ดิ่งลง 6%

องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) เปิดเผยว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการค้าระหว่างกัมพูชาและญี่ปุ่น อยู่ที่ 1.175 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.71 เมื่อเทียบกับปีก่อน หากจำแนกชี้ให้เห็นว่ามูลค่าการส่งออกของกัมพูชาไปยังญี่ปุ่น ประมาณ 914.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่ มูลค่าการนำเข้าจากญี่ปุ่น 260.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 14.06 เมื่อเทียบกับปีก่อน นอกจากนี้ คุณ Lim Heng รองประธานหอการค้ากัมพูชา กล่าวกับสำนักข่าว ‘The Post’ ว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้การค้าโลกลดลงที่ละน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสที่ 2-3

 ที่มา : https://english.cambodiadaily.com/business/kingdom-japan-trade-plummets-almost-6-168981/

สปป.ลาวและญี่ปุ่นลงนามข้อตกลงเปิดช่องทางการเดินทางระหว่างประเทศ

ญี่ปุ่นและสปป.ลาวลงนามข้อตกลงที่จะให้ชาวต่างชาติที่พำนักระยะยาวสามารถกลับมาเดินทางระหว่างสองประเทศได้ ซึ่งคาดการณ์จะเริ่มทำได้เร็วที่สุดในเดือนกันยายน ปัจจุบันญี่ปุ่นกำลังก้าวเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศริมแม่น้ำโขง โดยเฉพาะในสปป.ลาวที่มีอัตราการเติบโตของภาคเศรษฐกิจที่ดีนอกเหนือจากความร่วมมือกับญี่ปุ่น สปป.ลาวยังได้ลงนามความร่วมมือระหว่างจีนและกลุ่มแม่น้ำโขลงที่ประกอบด้วย 6 ประเทศ ได้แก่ จีน กัมพูชา เมียนมาร์ สปป.ลาว ไทยและเวียดนาม การร่วมมือดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมสร้างในด้านความมั่นคงด้านอาหารและที่สำคัญช่วยส่งเสริมการค้าของสปป.ลาว แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้กลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขลงต้องหารือถึงแนวทางการป้องการแพร่ระบาดระลอกใหม่และมาตราการบรรเทาหรือฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาเติบโตได้ดีอีกครั้ง ซึ่งไทย จีน ญี่ปุ่น พร้อมที่จะช่วยเหลือประเทศในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขลงทั้งในด้านเงินทุน และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ในการรับมือ COVID-19 เพื่อให้เศรษฐกิจสปป.ลาวกลับมาเติบโตได้ตามเป้าอีกครั้ง 

ที่มา : https://www.ttrweekly.com/site/2020/08/laos-and-japan-to-open-travel-channel/

การพัฒนาท่าเรือสีหนุวิลล์สู่การเชื่อมต่อทางการค้าโลกของกัมพูชา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นกล่าวถึงการพัฒนาท่าเรือสีหนุวิลล์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเพิ่มการเชื่อมต่อภายในระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ รวมถึงส่งเสริม อินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง โดยกระทรวงการต่างประเทศของกัมพูชากล่าวว่าความคืบหน้าของโครงการสำคัญในกัมพูชาได้มีการอัพเดทและหารือกันในที่ประชุม ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อขยายกิจกรรมการลงทุนบนโครงสร้างพื้นฐานและเพิ่มการค้าระหว่างประเทศให้มากขึ้น โดยเมื่อปีที่แล้วองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือว่าด้วยความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ในด้านท่าเรือ ซึ่ง JICA กล่าวในแถลงการณ์เมื่อปีที่แล้วเนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมากในกัมพูชาทำให้ท่าเรือสีหนุวิลล์กลายเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ในประเทศและในภูมิภาคที่สำคัญมากขึ้น ปริมาณการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ประจำปีที่ท่าเรือเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 540,000 ตู้สินค้า (TEU) ในปี 2018 จาก 290,000 TEU ในปี 2013 ซึ่ง JICA จะยังคงจัดหาเงินทุนและความร่วมมือในรูปแบบต่างๆ เช่น โครงการเงินกู้อย่างเป็นทางการเพื่อให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา (ODA) ที่เรียกว่า “โครงการพัฒนาท่าเรือคอนเทนเนอร์ใหม่สีหนุวิลล์” และโครงการให้ความช่วยเหลือที่เรียกว่า “The Project for Port electronic data interchange (EDI) for Port Modernization” เพื่อพัฒนาท่าเรือสีหนุวิลล์ต่อไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50756097/development-of-sihanoukville-port-key-to-more-connectivity/