ค้าต่างประเทศเมียนมา ลดฮวบ 263 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณนี้

ข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ เผย การค้าระหว่างของเมียนมา ณ วันที่ 22 ต.ค.65 ในปีงบประมาณย่อย พ.ศ.2564-2565 (ต.ค.64-มี.ค.65) ดิ่งลง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงเหลือ 263 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว.การค้าชายแดนลดลงเนื่องจากการปิดด่านชายแดนโดยคู่ค้าหลักอย่างจีนจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 แต่การค้าทางทะเลเพิ่มขึ้นกว่า 115 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปัจจุบันผู้ค้ามีปัญหาในการทำธุรกิจเนื่องจากข้อจำกัดของธนาคารพาณิชย์ในประเทศ โดยสินค้าส่งสำคัญ ได้ แก่ สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ในขณะที่การนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน วัตถุดิบอุตสาหกรรม และสินค้าอุปโภคบริโภค ภาคการส่งออกของประเทศพึ่งพาภาคการเกษตรและการผลิตมากขึ้น ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เน้นลดขาดดุลการค้า ส่งเสริมการส่งออก และกระจายตลาดให้มากขึ้น จากสถิติของกระทรวงพาณิชย์ การค้าระหว่างประเทศในปีงบประมาณ 2563-2564 อยู่ที่ 29.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-foreign-trade-down-by-263-mln-this-fy/#article-title

ถั่วดำ เป็นที่ต้องการในตลาดมัณฑะเลย์

ถั่วดำ ผลผลิตในเขตชลประทานจากเมืองมาดายา ซิงกู เมียง โมนยวา และเยซาเกียว เป็นที่ต้องการในตลาดมัณฑเลย์ ส่งผลให้ราคาถั่วดำพุ่งสูงขึ้น โดยราคาเมื่อปีที่แล้ว ถั่วดำต่อถุงราคาอยู่ที่ 85,000 จัต แต่ในปีนี้ พุ่งเป็น 130,000 จัต ในช่วงเวลาเดียวกัน เทรดเดอร์คาดการณ์ว่าสต็อกผลผลิตถั่วคาดว่าจะต่ำในปีนี้เนื่องจากความต้องการนำเข้าอย่างต่อเนื่องจากอินเดีย แต่ไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับการเพาะปลูกเพราะเป็นฤดูเก็บเกี่ยวใหม่ ในบรรดาการส่งออกถั่วพัลส์ของเมียนมาร์ ถั่วดำเป็นพืชส่งออกที่ทำกำไรได้มากที่สุด ผู้ค้าถั่วเห็นว่าควรขยายการเพาะปลูกเป็นพืชผลต่อเนื่องในภูมิภาคในลุ่มแม่น้ำเพราะทำการเพาะปลูกได้ง่าย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/irrigated-black-beans-enter-mandalay-market/#article-title

 

ปีงบฯ 63-64การส่งออกวัว ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ลดฮวบ 88.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

การส่งออกผลิตภัณฑ์จากสัตว์ของเมียนมาในปีงบประมาณ 2563-2564 แตะระดับต่ำสุดที่ 18.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดฮวบลง 88.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2562-2563 ที่ 107.7 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากจีนระงับการนำเข้าปศุสัตว์บริเวณชายแดน ซึ่งการส่งออกวัวที่มีชีวิตพึ่งพาจีนเป็นหลักเนื่องจากได้ราคาดี แม้จะมีตลาดภายอื่นๆ เช่น ลาว ไทย มาเลเซีย และบังคลาเทศ โดยเมียนมาจะส่งออกวัวที่มีอายุมากกว่า 5 ปี พร้อมใบรับรองการฉีดวัคซีน ใบรับรองการตรวจสุขภาพ และใบรับรองการจดทะเบียนเกษตรกรรม จากการสำรวจในปี 2561 พบว่า เมียนมามีวัวในประเทศจำนวน 11.5 ล้านตัว ตั้งแต่ปี 2560 เมียนมาส่งออกวัวไปแล้วมากกว่า 540,000 ตัว ทั้งนี้กระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และการชลประทานจะมุ่งมั่นลงทุนในธุรกิจการเลี้ยงโคนมและธุรกิจ การผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/exports-of-cattle-animal-products-down-by-88-9-mln-in-fy2020-2021/

ส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมา พุ่ง 132.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย 15 วันแรกของเดือนตุลาคม 2564 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรอยู่ที่ 132.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของงบประมาณย่อย (Mini Budget) ตั้งแต่ ต.ค. 2564 ถึง มี.ค. 2565 เพิ่มขึ้น 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2563-2564  ที่ส่งออกสูงถึง 87.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นแม้จีนคู่ค้าหลักซึ่งปิดพรมแดนทั้งหมดจากการระบาดของ COVID-19 ในเมียนมา ซึ่งการระบาดกระทบต่อกลุ่มสินค้าส่งออก เช่น สินค้าเกษตร ประมง ปศุสัตว์ แร่ ผลิตภัณฑ์จากป่า สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และสินค้าอื่นๆ ในภาคการส่งออก อุตสาหกรรมการเกษตรคิดเป็น 37% ของการส่งออกโดยรวม สินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวและข้าวหัก ถั่วและข้าวโพด ฯ ส่วนใหญ่สินค้าเกษตรส่งออกไปยังจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกาเป็นหลัก ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์กำลังให้ความช่วยเกษตรกรในด้านต่างๆ เช่น ต้นทุนการผลิตที่สูง การจัดหาเมล็ดพันธุ์ ต้นทุนการเพาะปลูก และสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/agricultural-export-tops-132-9-mln-as-of-15-oct/

“ราคาข้าวในประเทศดิ่ง” จากการบริโภคที่หดตัวลง

สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) เผย ราคาข้าวทั้งคุณภาพสูงและช้าวคุณภาพต่ำในประเทศลดลงเล็กน้อย ในตอนนี้ ข้าวหอม “Pearl Paw San” ราคาอยู่ที่ 47,000 จัตต่อถุง ลดลงเหลือ 46,000 จัตต่อ ในทำนองเดียวกัน ราคาข้าว. “Kyarpyan” อยู่ในช่วง 49,000-50,000 จัตต่อถุง ขยับลดลงเหลือ 47,500-48,000 จัตต่อถุง ในทำนองเดียวกัน ก่อนหน้านี้ ราคาข้าวคุณภาพต่ำตั้งไว้ที่ 26,500 จัตต่อถุง แต่ปัจจุบันลดลงเหลือ 25,000 จัตต่อถุง ข้าวอายุ 90 วัน ซื้อขายกันในราคา 31,000 จัตต่อถุง แต่ตอนนี้มีราคาเพียง 30,000 วอนต่อถุงเท่านั้น โดย MRF ให้ข้อมูลว่าราคาข้าวที่ลดลงน่าจะเกิดจากความต้องการบริโภคข้าวในประเทศที่ลดน้อยลง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/domestic-rice-price-falls-slightly/#article-title

ปลาดาบเงินตากแห้งขายราคาดีที่ตลาดเจาะพยู

พ่อค้าปลา เผย ปลาดาบเงินตากแห้งในจังหวัดเจาะพยู รัฐยะไข่ เป็นที่นิยมจากผู้ซื้อและขายดีเป็นอย่างมากที่ตลาดเจาะพยู โดยขายในราคา 4,500 จัต จากเรือลากอวน และนำมาขายต่อที่ 5,000 จัตต่อ viss (1 viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) นอกจากการนี้ยังนำไปขายในเมืองมเยาะอู้, เจาะตอ, มี่น-บย่า, อ้าน, ทัตตาอุง และย่าน-บแย ในรัฐยะไข่อีกด้วย แต่ทั้งนี้ไม่สามารถส่งไปขายยังเมืองใหญ่ๆ เช่น ย่างกุ้ง เนปิดอว์ และมัณฑะเลย์ และต่างประเทศได้เนื่องจากไม่มีการติดต่อรับซื้อ ปลาดาบเงินเป็นที่รู้จักในท้องถิ่นว่างาทัยเวแห้งในรัฐยะไข่ ใช้สำหรับทำน้ำพริกและเป็นอาหารแห้งโดยการย่าง ทอด หรือทำเป็นสลัดรวมทั้งรับประทานกับอาหารเช้าแบบดั้งเดิมของเมียนมา เช่น ข้าวเหนียวร้อน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/dried-ribbonfish-marketable-in-kyaukpyu/#article-title