ราคามันฝรั่งในเมียนมาพุ่งสูงขึ้น

ราคามันฝรั่งในตลาดเมียนมาที่พุ่งสูงขึ้น เนื่องจากปัญหาผลผลิตที่ลดลงของจีน นอกจากนี้ อีกทั้งเกษตรกรยังไม่สามารถปลูกมันฝรั่งเพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศได้ อีกทั้งจีนได้ปิดชายแดนเพราะการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะที่ปีที่แล้วราคาลดลงเนื่องจากการหลั่งไหลเข้าของมันฝรั่งจีน เมื่อวันที่ 1 ก.ย.64 ราคามันฝรั่งในช่วง 500-1,200 จัตต่อ viss (1 viss = 1.6 กิโลกริม) ขึ้นอยู่กับสายพันธ์ แต่เมื่อวันที่ 7 ต.ค.64 ราคาขยับพุ่งมาเป็น 1,050-1,850 จัตต่อ viss นอกจากนี้ ราคาเครื่องครัวยังสูงขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมาตรการเข้มงวดเพื่อควบคุมโควิด-19 การอ่อนค่าของเงินจัต และความต้องการจากต่างประเทศ นอกจากมันฝรั่งแล้ว ราคาหัวหอมที่เพิ่มขึ้นทำให้สร้างความไม่พอใจให้กับครัวเรือนประชาชนเป็นอย่างมาก โดยราคาของหัวหอมเมื่อวันที่ 1 ก.ย.64 อยู่ระหว่าง 200 -500 จัตต่อ viss แต่ในวันที่ 7 ต.ค.64 ราคาขยับเป็น 450 – 950 จัตต่อ viss ราคาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการจากบังกลาเทศที่สูงขึ้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/potato-price-soars-in-domestic-market/?__cf_chl_managed_tk__=pmd_n6hH8rgDH77fex2nHcuNwVxhSWl4ukOGBcKxxDkcbJQ-1633856152-0-gqNtZGzNAvujcnBszRWl#article-title

 

11 เดือน เมียนมาส่งออกข้าวสร้างรายได้กว่า 661.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กรมศุลกากรเมียนมา เผย เมียนมาสร้างรายได้ 661.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าวและข้าวหักในช่วงแปดเดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63 – ส.ค.64) ของปีงบฯ  2563-2564 โดยการชะงักของการค้าชายแดนทำให้ตลาดซบเซาและส่งผลให้ราคาส่งออกลดลง ราคาข้าวขาวมีตั้งแต่ 340-355 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ขึ้นอยู่กับพันธุ์และคุณภาพ ซึ่งในปีนี้ การส่งออกไปยังยุโรปลดลง แต่อย่างไรก็ตามยังสามารถส่งออกไปยังจีนและบังคลาเทศได้ นอกจากนี้ ราคาข้าวปี 2563 จะเพิ่มขึ้นในฤดูฝน ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่าช่วงฤดูมรสุมของปีนี้ราคาอาจจะเพิ่มขึ้น โดยเมียนมาตั้งเป้าการส่งออกข้าวเพียง 2 ล้านตันในปีงบประมาณนี้ เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกลดลงตาม การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และน้ำชลประทานในการเกษตร ส่งผลให้ตัวเลขการส่งออกลดลง 300,000 ตันในปีนี้ ทั้งนี้การส่งออกข้าวในปีงบฯ 2562-2563 มีรายได้กว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งก่อนหน้าวันที่ 30 ก.ย.64 คาดว่าปริมาณการส่งออกจะอยู่ที่ 2.5 ล้านตัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-rice-export-earns-661-4-mln-in-eleven-months/

 

ปีงบฯ 63-64 ค้าชายแดนเมียวดีพุ่งขึ้น 705 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ระหว่างวันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 24 ก.ย.64 ของปีงบประมาณ 2563-2564 การค้าชายแดนผ่านด่านเมียวดีระหว่างเมียนมาและไทยเพิ่มขึ้นเป็น 1.9 พันล้านดอลลาร์ สะท้อนการเพิ่มขึ้น 705.47 ล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อยู่ที่ 1.19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของปีงบประมาณ 2562-2563 การค้าชายแดนเมียวดี-แม่สอด ยังคงเป็นปกติท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 สมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมา ให้ข้อมูลว่าปัจจุบันมีการส่งข้าวโพดหลายพันตันมายังไทยผ่านชายแดนเมียวดีทุกวัน เมียนมาได้รับอนุญาตให้ส่งออกข้าวโพดได้ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ถึง 31 สิงหาคมด้วย Form-D โดยไม่มีการเสียภาษีศุลกากร ในช่วงปีงบประมาณที่แล้ว เมียนมาส่งออกข้าวโพดผ่านชายแดนไปยังไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเป็นกว่า 1.2 ล้านตัน สินค้าส่งออกสำคัญไปยังไทย ได้แก่ ข้าวโพด ก๊าซธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ประมง ถ่านหิน ดีบุกเข้มข้น (ร้อยละ SN 71.58) มะพร้าว (สดและแห้ง) ถั่ว และหน่อไม้ ส่วนการนำเข้าจากไทยจะเป็นสินค้าทุน ได้แก่ เครื่องจักร สินค้าอุตสาหกรรมดิบ เช่น ซีเมนต์และปุ๋ย ส่วนการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ได้แก่ เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์อาหาร

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myawady-border-trade-up-by-705-mln-in-fy2020-2021/#article-title

ราคาหัวหอมในประเทศพุ่ง ผลจากความต้องการของบังคลาเทศเพิ่มขึ้น

ความต้องการหัวหอมเมียนมาที่เพิ่มขึ้นจากบังกลาเทศ ทำให้ราคาหัวหอมในตลาดเมียนมาสูงขึ้น ในเดือนมี.ค.64 ราคาอยู่ระหว่าง 250-300 จัตต่อ viss (1 viss = 1.6 กิโลกรัม) จากนั้นราคาก็แตะระดับต่ำสุดที่ 200 วอนต่อครั้ง จึงไม่สามารถส่งออกไปยังจีนได้เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ด้านบังคลาเทศมักจะนำเข้าหัวหอมจากอินเดีย แต่ในตอนนี้อินเดียได้ระงับการส่งออกหัวหอม ดังนั้นบังคลาเทศจึงหันนำเข้าจากเมียนมาแทน ส่งผลให้ ตอนนี้ราคาหัวหอมได้เพิ่มขึ้นเป็น 500 จัตต่อ viss ปัจจุบันสต๊อกหัวหอมในตลาดมัณฑะเลย์ลดน้อยลง ดังนั้นราคาค้าปลีกจึงอยู่ที่ 700 จัตต่อ viss ปัจจุบันหัวหอมส่วนใหญ่ปลูกในเขตมัณฑะเลย์ มะกเว ย่างกุ้ง เนปิดอว์ และรัฐฉาน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/domestic-onion-price-rises-due-to-demand-from-bangladesh/#article-title

ปีงบฯ 64-65 เมียนมา เร่งปลูกกาแฟบนพื้นที่กว่า 600 เอเคอร์ ในเขตซะไกง์

กรมวิชาการเกษตรเขตซะไกง์ เผย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565 เขตซะไกง์เริ่มปลูกกาแฟในเดือนมิ.ย. 2564 มีการปลูกกาแฟโดยใช้พื้นที่ประมาณ 622 เอเคอร์ และกำลังส่งเสริมการปลูกกาแฟในพื้นที่ของนาคาเพราะได้ผลผลิตกาแฟที่มีคุณภาพสูงแต่กำลังประสบปัญหาด้านการขนส่ง ในปีนี้ มีพื้นที่ปลูกกาแฟในเขตซะไกง์รวม 35 เอเคอร์ อำเภอมอไล 18 เอเคอร์ อำเภอตะมู่ 16 เอเคอร์ในอำเภอ กะเล่ 103 เอเคอร์ อำเภอคำตี 132 เอเคอร์ พื้นที่ปกครองตนเองนาคา 260 เอเคอร์ อำเภอกะตา และ 44 เอเคอร์ในอำเภอกอลี่น ปัจจุบัน กรมวิชาการเกษตรได้สร้างองค์ความรู้ในเรื่องการรักษาดิน การใช้ปุ๋ยธรรมชาติ วิธีการปลูก เพื่อให้สามารถเพิ่มพื้นที่ปลูก และเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/over-600-acres-of-coffee-cultivated-in-sagaing-region-this-year/#article-title

พาณิชย์เมียนมา อำนวยความสะดวกนำเข้าเวชภัณฑ์และอุปกรณ์การแพทย์ สู้ โควิด-19

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาจับมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมทำงานเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงเวชภัณฑ์ที่ในการป้องกัน ควบคุม และรักษาโควิด-19 ได้แก่ ถังออกซิเจนเหลวและถังออกซิเจน โดยนำเข้าอย่างต่อเนื่องทั้งทางอากาศ ทางทะเล และจุดการค้าชายแดน จากรายงานพบว่ากระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญกับการนำเข้า ผ่านระบบ SOPs ที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหลีกเลี่ยงความล่าช้า และประกาศพร้อมชี้แจงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้ายาและผลิตภัณฑ์เผยแพร่บนเว็บไซต์ https://www.commerce.gov.mm/

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/moc-facilitates-import-of-covid-19-medical-supplies-and-equipment/#article-title