ปีงบฯ 63-64 ค้าชายแดนเมียนมา-อินเดีย พุ่ง 106 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

การค้าระหว่างเมียนมาและอินเดียเพิ่มสูงขึ้นกว่า 106 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 โดยมูลค่าการค้าชายแดนของเมียนมาแตะ 194 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ณ วันที่ 20 ส.ค. ของปีงบประมาณนี้ ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนมี.ค.64 แบ่งเป็นการส่งออก 192 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้า 1.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การค้าชายแดนส่วนใหญ่ผ่าชายแดน Tamu, Reed และ Thantlang ในขณะที่การค้าของสองประเทศส่วนใหญ่ส่งทางเรือ โดยสินค้าส่งออกหลักๆ จะเป็น ผักและผลไม้ ประมง และผลิตภัณฑ์ป่าไม้ ขณะที่การนำเข้าจะเป็น ยา สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รถจักรยานยนต์ เส้นด้าย ฝ้าย เหล็กกล้าไม่เจือ และวัสดุก่อสร้างอื่นๆ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-india-border-trade-rises-as-of-20-aug/

ราคาส่งออกถั่วแระเมียนมา มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้น

เมื่อปลายเดือนส.ค.64 ราคาถั่วแระ เพิ่มขึ้นกว่า 1,320,000 จัตต่อตัน พุ่งจากช่วงเดือนเม.ย.64 ที่ราคา 1,000,000 จัตต่อตัน ตลาดส่งออกหลักยังคงเป็นอินเดีย และมีบางส่วนส่งออกไปยังสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ปากีสถาน สหราชอาณาจักร และมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 63 ถึง 13 ส.ค. 64 ของปีงบประมาณ 63-64 มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกถั่วแระคิดเป็น 183,507 ตัน สร้างรายได้ 122.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 60 เป็นต้นมาอินเดียกำหนดโควตานำเข้าถั่ว ซึ่งรวมถึงถั่วดำและถั่วแระ เมียนมาสามารถส่งออกถั่วดำ (urad) จำนวน 250,000 ตันและถั่วแระจำนวน 100,000 ตันภายใต้ข้อตกลง G-to-G (รัฐบาลต่อรัฐบาล) ในปีงบประมาณ 64-65 และปี 68-69 ตาม MoU สองประเทศที่ลงนามไปเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 64 ขณะที่ผลผลิตถั่วดำของเมียนมาอยู่ที่ประมาณ 400,000 ตันต่อปีและถั่วแระ 50,000 ตันต่อปี ทั้งนี้เมียนมาส่งถั่วพันธุ์ต่าง ๆ กว่า 1.6 ล้านตัน โดยเฉพาะถั่วดำ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไปยังต่างประเทศ โดยในปีงบประมาณ 62-63 มีการส่งออกไปแล้วกว่า 1.6 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1.195 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/pigeon-pea-price-remains-on-upward-trend/

ราคาเมล็ดผักชีเมียนมาพุ่ง ตามความต้องการของต่างประเทศ

ราคาเมล็ดผักชีในเมียนมาพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนส.ค.64 จากความต้องการที่สูงขึ้นของบังคลาเทศ อินเดีย และปากีสถาน อีกทั้งเป็นพืชที่ปลูกง่ายและต้นทุนเพาะปลูกไม่สูงมากสามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับเกษตรกร ซึ่งบังคลาเทศนำเข้ามาใช้สำหรับทำผงเครื่องเทศทุกปี โดยราคาอยู่ที่ 650-700 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน และใช้ในธุรกิจผงปรุงมาซาลา การปลูกเมล็ดผักชีเริ่มในเดือนตุลาคม เก็บเกี่ยวในเดือนมกราคม ปลูกมากในเขตมัณฑะเลย์และเขตมะกเว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/coriander-seed-prices-rise-on-strong-foreign-demand/#article-title

EIC CLMV Outlook Q3/2021

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC)

การระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ในภูมิภาคตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2021 สร้างแรงกดดันต่อแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจ CLMV แม้ว่าการส่งออกที่ยังขยายตัวได้สูงอาจจะช่วยลดความรุนแรงของผลกระทบได้บางส่วน

ด้านอุปสงค์ภายในประเทศ การระบาดของ COVID-19 ใน CLMV ตั้งแต่เดือนเมษายน ส่งผลให้ภาครัฐต้องยกระดับความเข้มงวดของมาตรการควบคุมโรค ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับลดลงและสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่ออุปสงค์ในประเทศที่เปราะบางอยู่เดิมก่อนแล้ว โดยการควบคุมการระบาดระลอกปัจจุบัน นับเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของภูมิภาค โดยเฉพาะเวียดนามที่สามารถควบคุมการระบาดในรอบก่อนหน้าได้ดี แต่ในครั้งนี้ การระบาดของเวียดนามกลับอยู่ในระดับสูง ทำให้รัฐบาลเวียดนามต้องประกาศมาตรการ lockdown เข้มงวด เช่นเดียวกับเมียนมาที่มียอดผู้ติดเชื้อสูง แต่บุคลากรทางการแพทย์กลับไม่เพียงพอจากความไม่สงบทางการเมือง ส่วนจำนวนผู้ติดเชื้อในกัมพูชาและสปป.ลาว ก็มีสูงกว่ารอบก่อนหน้า แต่ยังมีจำนวนต่ำกว่าอีกสองประเทศข้างต้น

สำหรับอุปสงค์ภายนอก ภาคการส่งออกของเศรษฐกิจ CLMV ยังคงส่งสัญญาณการฟื้นตัวแข็งแกร่งท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 โดยได้อานิสงส์จากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้ว การส่งออกจึงเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของภูมิภาค โดยการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของเวียดนามขยายตัวได้สูงอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของภูมิภาค อย่างไรก็ตาม การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานจากการระบาดของ COVID-19 ในวงกว้างที่อาจทำให้มีการปิดโรงงานเพิ่มขึ้น ยังคงเป็นความเสี่ยงสำคัญ และอาจกลายเป็นปัจจัยฉุดภาคการส่งออกได้ตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2021 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ CLMV ในระยะต่อไป ได้แก่

1) มาตรการควบคุมการระบาดที่มีประสิทธิภาพและทันท่วงที รวมถึงความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน ซึ่งจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจพลิกฟื้นกลับมาได้

2) ขนาดและประสิทธิภาพของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งภาคการคลังและการเงินที่จะช่วยลดผลกระทบต่อการครัวเรือนและภาคธุรกิจ

3) ปัจจัยความเสี่ยงรายประเทศ ได้แก่ ความไม่สงบทางการเมืองของเมียนมา และความสามารถในการชำระหนี้สาธารณะของสปป. ลาว

กัมพูชา

+ภาคการส่งออกฟื้นตัวจากเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวได้แข็งแกร่งและความสำเร็จในการกระจายการส่งออกไปยังหลายสินค้ามากขึ้น (export diversification)

+มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังและการฉีดวัคซีนที่ดำเนินการได้ย่างรวดเร็วและสนับสนุนการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ

มาตรการ lockdown ที่เพิ่มความเข็มงวดขึ้นเพื่อรับมือกับการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์เดลต้าจะสร้างแรงกดดันต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่ยังซบเซาจะเป็นปัจจัยฉุดการเติบโตของเศรษฐกิจ

สปป.ลาว

+การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานโครงการขนาดใหญ่และการเปิดตัวใช้รถไฟจีน-สปป.ลาว ในเดือนธันวาคม

+การส่งออกที่ขยายตัวสูงจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายนอกและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น

การยกระดับมาตรการ lockdown และการปิดพรมแดนอย่างเข็มงวดจะกระทบต่อกิจกรรมเศรษฐกิจ

เสถียรภาพการคลังที่น่ากังวล จากภาระหนี้สาธารณะในรูปเงินตราต่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง ประกอบกับภาวะเงินกีบอ่อนค่า และทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ

เมียนมา

การระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ทำให้เมียนมาประกาศใช้มาตรการ lockdown ทั่วประเทศ ขณะที่ขีดความสามารถ lockdown ทั่วประเทศ ขณะที่ขีดความสามารถของระบบสาธารณสุขมีจำกัด

การปราบปรามของรัฐบาลทหารและขบวนการอารยะขัดขืน โดยมวลชนจะส่งผลลบต่ออุปสงค์ภายในประเทศ

การหยุดชะงักของระบบโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะพื้นฐาน ได้แก่ การขนส่ง ระบบอินเทอร์เน็ต และการให้บริการของธนาคาร

ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในรัฐบาล ซึ่งอาจลดประสิทธิภาพของมาตรการต่างๆ รวมถึงแผนการฉีดวัคซีนและความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่ลดลง

เวียดนาม

+ การส่งออกสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงที่ขยายตัวได้ดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อเนื่อง

+ FDI ที่ลงทุนในเวียดนามยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มศักยภาพเศรษฐกิจในระยะยาว ได้แก่ ความสามารถในการเข้าถึงตลาดใหม่ๆ ผ่านข้อตกลงการค้า และจำนวนแรงงานที่มีมาก รวมถึงฐานผู้บริโภคขนาดใหญ่ในประเทศ

เวียดนามเผชิญความยากลำบากในการควบคุมการระบาดของ COVID-19 รอบที่ 4 ตั้งแต่เดือนเมษายน และส่งผลรุนแรงต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ

ความเสี่ยงการหยุดชะงักของอุปทานเนื่องจากปิดโรงงานที่ขยายระยะเวลาออกไปยังประเด็นที่ต้องจับตามอง

ที่มา : https://www.scbeic.com/th/detail/product/7761

ราคามันฝรั่งในตลาดค้าปลีก พุ่ง !

ราคาของมันฝรั่งยังคงอยู่ในช่วงขาขึ้นของตลาด โดยปกติราคามันฝรั่งจะสูงเฉพาะในฤดูมรสุม แต่ปีนี้ราคามันฝรั่งเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ เมื่อวันที่ 1 ก.ค.64 มันฝรั่งราคาอยู่ที่ 820 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) ในตลาดค้าส่ง ต่อมาพุ่งขึ้นเป็น 1,270 จัตต่อ viss ณ สิ้นเดือนก.ค.64 ต่อมา เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ราคามันฝรั่งอยู่ที่ 950 จัตต่อ viss ในตลาดค้าส่ง และพุ่งขึ้นเป็น 1,600 จัตต่อครั้งในตลาดค้าปลีก นอกจากนี้ มาตรการควบคุมการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในประเทศมีความผันผวนมาก เช่น หัวหอมและกระเทียมมีแนวโน้มสูงขึ้น ราคากระเทียมราคาจะเคลื่อนไหวในช่วง 2,600-4,800 จัตต่อ viss ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ กระเทียม (พันธุ์ Kyukok) ที่นำเข้าจากจีนขาดแคลนเนื่องจากการปิดด่านชายแดนส่งผลให้ราคาในตลาดค้าปลีกพุ่งสูงขึ้น ส่วนหัวหอมจากเมืองมยินจาน (Myingyan) ราคาอยู่ที่ 480-520 จัตขึ้นอยู่กับขนาด

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/potato-price-jumps-in-retail-market/#article-title