ปิดตลาดล่าเสี้ยว หวังหยุดโควิดระบาด

ร้านค้าอย่างร้านขายปลา ร้านเสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า และร้านขายของชำอื่นๆ ในตลาดล่าเสี้ยว ทางตอนเหนือของรัฐฉาน จะปิดชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 64 เพื่อลดการแพร่กระจายของโควิด-19 เนื่องจากความแออัดยัดเยียด ซึ่งเกิดจากควบคุมการจราจรในตัวเมือง จากการให้ข้อมูลของเจ้าหน้าที่ การแพร่กระจายของโควิด-19 ในลาเสี้ยวยังมีทีท่าไม่ลดลง ที่ผ่านมาตลาดได้รับอนุญาตให้เปิดอีกครั้งในวันที่ 1 สิงหาคม 64 ตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาด โดยวันที่ 1 สิงหาคม 64 ที่ผ่านมา มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในลาเสี้ยว 1,813 ราย และเสียชีวิต 92 ราย ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

ที่มา: https://news-eleven.com/article/212888

ปีงบ 63-64 ภาคการผลิตดึงเม็ดเงินลงทุนต่างชาติ 256.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ผู้ประกอบการต่างชาติจับตาการลงทุนภาคผลิตในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63-มิ.ย.64) ของปีงบประมาณปัจจุบัน 63-64 โดยอัดฉีดเงินทุนประมาณ 256.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน 23 โครงการ ซึ่งบริษัทที่เน้นการใช้แรงงานกำลังได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ภาคการผลิตส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอที่ผลิตบนพื้นฐานการตัดเย็บ การผลิต และการบรรจุ (CMP) ถือเป็นส่วนสำคัญของ GDP ประเทศ ปัจจุบันการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลงอย่างมากจากความต้องการที่น้อยลงของตลาดสหภาพยุโรป ส่งผลให้โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า CMP บางแห่งปิดตัวลง ปัจจุบันเมียนมาดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 3.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ด้านคณะกรรมการด้านการลงทุนของเมียนมา (MIC) เผย ระหว่างวันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 30 มิ.ย.64 มีบริษัท 23 แห่งที่ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภาคการผลิต ภาคพลังงานได้รับโครงการขนาดใหญ่ 6 โครงการ ภาคการปศุสัตว์และการประมง 6 โครงการ ภาคบริการอื่นๆ 5 โครงการ ขณะที่ภาคเกษตรกรรมมีการลงทุน 2 โครงการ และ 1 โครงการในนิคมอุตสาหกรรมและภาคการโรงแรมและการท่องเที่ยว

ที่มา: https://gnlm.com.mm/manufacturing-sector-attracts-256-8-mln-this-fy/

7 เดือนของปีงบ 63-64 ยอดส่งออกไปญี่ปุ่น พุ่ง 582 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย มูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63-เม.ย.64) ของปีงบประมาณปัจจุบัน 63-64 อยู่ที่ 582.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่าเพียง 231.87 ล้านดอลาสร์สหรัฐฯ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ทางทะเล ข้าว งาดำ ถั่วเขียว ยางและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ส่วนการนำเข้าจะเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ ยา รถยนต์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ มูลค่าการค้าของทั้ง 2 ประเทศ ในปีงบประมาณ 62-63 อยู่ที่ 1.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปีงบประมาณ 61-62 อยู่ที่ 1.89 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปีงบประมาณ 60-61 อยู่ที่ 1.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปีงบประมาณ 59-60 อยู่ที่ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และปีงบประมาณ 58-59 อยู่ที่ 1.84 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ ญี่ปุ่นมีสัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 34.7% ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา ขณะที่องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ได้เสนอเงินกู้ ODA เพื่อนำไปพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม

ที่มา: https://gnlm.com.mm/exports-to-japan-cross-582-mln-in-seven-months/

7 เดือนแรกของปีงบฯ 63-64 เมียนมาขาดดุลการค้าสิงคโปร์ 1.388 พันล้านดอลลาร์ฯ

7 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค. -63-เม.ย. 64) ของปีงบประมาณ 2563-2564  เมียนมาขาดดุลการค้าสินค้าสิงคโปร์ประมาณ 1.388 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสิงคโปร์เป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองในภูมิภาคอาเซียนรองจากไทย ในปีงบประมาณปัจจุบันมีมูลค่าการค้าอยู่ที่ 1.624 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากรายงานของกระทรวงพาณิชย์พบว่ามีมูลค่าการส่งออก 117.78 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการนำเข้ากว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ สินค้าเกษตร รองเท้า สิ่งทอและเสื้อผ้า แร่ธาตุ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ขณะที่การนำเข้าจะเป็น พลาสติก น้ำมันเชื้อเพลิง สินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง สินค้าอุปโภคบริโภค โลหะ และเคมีภัณฑ์

ที่มา : https://gnlm.com.mm/29-july-2021/#article-title

ค้าชายแดนเมียนมาลดฮวบ 693 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

มูลค่าการค้าชายแดนเมียนมารวม 7.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 693 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีมูลค่า 8.34 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ  แบ่งเป็นการส่งออก 4.98 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้า 2.66 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปริมาณการค้าที่ด่านชายแดนมูเซ ระหว่างจีน-เมียนมา มีมูลค่า 2.92 พันล้านดอลลาร์ ลดลงกว่า 638 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีก่อน เมียนมามีด่านการค้าชายแดน 18 แห่ง ติดกับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง จีน ไทย บังคลาเทศ และอินเดีย ทั้งนี้สินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ ฟาร์ม สัตว์ ทะเล ป่าไม้ เหมืองแร่ สินค้า CMP และอื่นๆ ส่วนการนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน วัตถุดิบอุตสาหกรรม สินค้าส่วนบุคคล และวัตถุดิบ CMP เป็นหลัก

ที่มา : https://cdn.myanmarseo.com/file/client-cdn/2021/07/28_July_21_gnlm.pdf

โควิด-19 พ่นพิษ ค้าถั่วเมียนมาหยุดชะงัก

ภายหลังการคลังสินค้าในแต่ละเขตเมืองจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 การค้าขายถั่วพัลส์ต้องหยุดชะงักลง ส่งผลให้การส่งออกสินค้าเกษตรผ่านชายแดนไปยังจีนต้องถูกปิดตัว ทำให้ราคาถั่วเขียว งา และถั่วลิสงร่วงลงทันที อย่างไรก็ตาม ราคาถั่วดำและถั่วแระยังคงสูงตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นของตลาดอินเดีย ข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ระบุว่ามีการส่งออกถั่วต่างๆ มากกว่า 1.66 ล้านตัน ระหว่างวันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 9 ก.ค.64 ของปีงบประมาณ 63-64 โดยมีมูลค่าประมาณ 1.29 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาคเกษตรกรรมถือเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจเมียนมาโดยคิดเป็น 30% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งส่วนใหญ่ปลูกข้าวเปลือก ข้าวโพด ฝ้าย อ้อย ถั่วต่างๆ และถั่วต่างๆ ซึ่งถั่วพัลส์ ซึ่งคิดเป็น 33% ของผลผลิตทางการเกษตรและครอบคลุม 20% ของพื้นที่เพาะปลูก ส่วนถั่วดำ ถั่วลันเตา และถั่วเขียว คิดเป็น 72% ของพื้นที่เพาะปลูกถั่วทั้งประเทศ

ที่มา: https://cdn.myanmarseo.com/file/client-cdn/2021/07/27_July_21_gnlm.pdf

ค้าชายแดนเมียนมา-อินเดีย พุ่ง 110 ล้านดอลลาร์

มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างเมียนมาและอินเดียอยู่ที่ 193 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 9 ก.ค.64 ของปีงบประมาณ 2563-2564 เพิ่มขึ้น 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งโดยการส่งออกของ 191.89 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้า 1.52 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แม้จะมีการปิดด่านชายแดน ซึ่งการค้าชายแดนส่วนใหญ่ผ่านชายแดนทามู และด่าน Reed ในรัฐชิน ระหว่างวันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 9 ก.ค.64 การค้าผ่านชายแดนทามูมีมูลค่ารวมกว่า 32.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเป็นการส่งออก 31.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้า 0.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการซื้อขายผ่านด่านชายแดน Reed อยู่ที่ 160.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยส่งออกมีมูลค่า 160.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้า 0.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้เมียนมาส่งออกถั่วเขียว ถั่วแระ ถั่วเขียว ถั่วลันเตา ขิง หญ้าฝรั่น ขมิ้น ใบกระวาน ผลิตภัณฑ์ประมง ผลไม้ ขณะเดียวกันสินค้านำเข้าได้แก่ ยา เค้กน้ำมัน เครื่องใช้ไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ เหล็ก เครื่องจักรก่อสร้างอื่นๆ และวัสดุก่อสร้าง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-india-border-trade-up-by-110-mln-as-of-9-july/