สปป.ลาว-เวียดนามปฏิญาณกระชับความสัมพันธ์ความเป็นปึกแผ่นพิเศษ
ประธานาธิบดีสปป.ลาว Mr.Thongloun Sisoulith ได้ให้คำมั่นที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับ Mr.Nguyen Xuan Phuc ประธานาธิบดีแห่งรัฐที่ได้รับการเลือกตั้งใหม่ของเวียดนามเพื่อยกระดับความสัมพันธ์การร่วมมือและความเป็นปึกแผ่นพิเศษระหว่างทั้งสองประเทศให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น หลายปีมานี้เวียดนามได้ให้การสนับสนุนต่อสปป.ลาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งความช่วยเหลือของเวียดนามในการฟื้นฟูสปป.ลาวจากภัยพิบัติ รวมถึงการช่วยสปป.ลาวในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด -19 ท่ามกลางวิกฤตการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศและโลก เวียดนามถือเป็นประเทศหนึ่งที่สปป.ลาวมีการพึ่งพาทั้งด้านการค้าและการลงทุน ซึ่งเวียดนามเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่อันดับสามในสปป.ลาวรองจากจีนและไทยในปี 2563 มูลค่าลงทุนจากเวียดนามทั้งหมด 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้านการค้ามีมูลค่าอยู่ที่ 815 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_LaosViet_68.php
แผนการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโควิด-19 กำลังดำเนินการอยู่ตามแผน
รัฐบาลได้เริ่มฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงมากที่สุดเพื่อยุติการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ตามแผนระยะแรก (รอบที่ 2 ) วัคซีนได้รับการฉีดวัคซีนในวันที่ 2 และ 3 เมษายน 2564 โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนประมาณ 4,000 คนซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการสัมผัสกับเชื้อโควิด -19 มากที่สุดและมีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรงจากการติดเชื้อหลังจากการผลักดันครั้งแรกในการฉีดวัคซีนในโรงพยาบาลหลัก 7 แห่งในเวียงจันทน์และต่างจังหวัด แผนในการฉีดวัคซีนของสปป.ลาวเป็นไปตามเป้าที่วางแผนไว้ท่ามกลางสถานการณ์การควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่สปป.ลาวสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเร่งการฉีดวัคซีนจะนำพาสปป.ลาวกลับสู่สภาวะปกติได้โดยเร็ว ซึ่งมีผลต่อการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Mass_66.php
รัฐบาลผลักดันให้มีการเชื่อมระหว่างระบบโทรคมนาคมกับแหล่งผลิตในประเทศ
การสร้างถนนและทางรถไฟที่เชื่อมต่อเขตการผลิตกับระเบียงเศรษฐกิจสปป.ลาว – จีนเป็นสิ่งจำเป็นหากสปป.ลาวต้องการได้รับประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญจากการรวมกลุ่มในภูมิภาค Dr. Sonexay Siphandone รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุน กล่าวกับรัฐสภาในที่ประชุมที่ผ่านมาว่า “ รัฐบาลกำลังมุ่งเน้นที่จะสร้างทางรถไฟและทางด่วนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระเบียงเศรษฐกิจลาว – จีน โดยเรามุ่งเน้นไปที่การพัฒนาทางรถไฟโดยเฉพาะการสร้างสถานีรถไฟหลัก 4 สถานีที่จะกลายเป็นศูนย์กลางของเมืองใหม่ที่ทันสมัย เมืองเหล่านี้จะเชื่อมต่อกับสวนอุตสาหกรรมและเขตการผลิตทางการเกษตรใน 10 แขวงที่สำคัญ” การดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมดตามแนวระเบียงเศรษฐกิจลาว – จีนจะช่วยส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้มากและจะนำการลงทุนมาสู่ภูมิภาคมากขึ้น
ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt64.php
จีนสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในชนบทบรรเทาปัญหาความยากจนในสปป.ลาว
สปป.ลาวและจีนได้เปิดตัวเฟสแรกของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในชนบทโดยจีนเพื่อบรรเทาความยากจนในแขวงหลวงพระบางและเวียงจันทน์ การดำเนินการจะใช้เวลาอย่างน้อย 18 เดือนและได้รับการสนับสนุนจากข้อตกลงระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากสองประเทศ โดยกรอบของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจะมีลำดับความสำคัญอยู่สี่ประการหลักๆของโครงการเรียกว่า“ 4X100” ประกอบด้วยการติดตั้งระบบน้ำสะอาดในหมู่บ้าน 100 แห่ง การก่อสร้างตู้จ่ายยาหรือโรงพยาบาลชุมชน 100 แห่ง การจ่ายไฟฟ้าให้ครัวเรือนใน 100 หมู่บ้านและการติดตั้งระบบดิจิตอลดาวเทียม โทรทัศน์ใน 100 หมู่บ้าน เพื่อลดความยุ่งยากในการดำเนินโครงการ 400 โครงการพร้อมกันจึงตัดสินใจแบ่งโครงการเหล่านี้ออกเป็นระยะต่างๆ เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพในทุกจังหวัดของลาว
ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_China64.php
คณะกรรมการสมัชชาสปป.ลาว (NA) จะอนุมัติกฎหมาย 96 ฉบับเพื่อบังคับใช้ใน 5 ปีข้างหน้า
กฎหมาย 96 ฉบับจะถูกประกาศใช้และแก้ไขในช่วง 5 ปีข้างหน้า กฎหมาย 38 ฉบับเป็นกฎหมายใหม่และจะมีการถกเถียงกันก่อนที่จะได้รับการอนุมัติในขณะที่อีก 58 ฉบับเป็นกฎหมายที่จะได้รับการแก้ไขเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์การพัฒนาของประเทศซึ่งจากกฎหมายทั้งหมด 96 ฉบับมี 36 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ 28 นางพิงคำลา สิมมาเลขาธิการ NA กล่าวว่า “คณะกรรมการประจำของสมัชชาจะต้องร่วมมืออย่างใกล้ชิดมากขึ้นกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเนื้อหาของกฎหมายก่อนที่จะส่งไปยังรัฐสภาเพื่ออภิปราย” ปัญหาหลักอย่างหนึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาคือกฎหมายบางฉบับที่ประกาศใช้แล้วไม่สามารถปฎบัติหรือประยุกต์ใช้ได้ตามความเป็นจริงของสถานการณ์ของประเทศ NA มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การแก้ไขหรืออกกฎหมายเพิ่มเติมครั้งนี้ จะทำให้กฎหมายของสปป.ลาวมีความสอดคล้องกับยุคสมัยและบริบทของโลกปัจจุบันเพื่อเป็นกรอบหรือแนวทางในการพัฒนาประเทศที่สำคัญด้านหนึ่งจากเสาหลักที่สำคัญอย่างด้านกฎหมาย
ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_NA_63.php
Moody’s รายงานการจัดอันดับเครดิตเรตติ้งของกัมพูชา
ฝ่ายบริการนักลงทุนของ Moody’s ประกาศถึงการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของ 6 ประเทศ ในกลุ่มอาเซียนรวมถึงกัมพูชา โดยในรายงานภายในอาเซียนฉบับเดือนมีนาคมสถาบันจัดอันดับของสหรัฐฯกล่าวว่าแนวโน้มด้านเครดิตเรตติ้งของกัมพูชายังคงมีเสถียรภาพ ซึ่งถูกจัดอยู่ในอันดับ B2 โดยอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ที่จัดเครดิตเรตติ้งอยู่ที่ Baa2, มาเลเซียถูกจัดอยู่ในอันดับ A3, สิงคโปร์ Aaa และไทยถูกจัดอันดับอยู่ที่ Baa1 ในขณะเดียวกันสำหรับ สปป.ลาว ถูกจัดให้อยู่ในอันดับ Caa2 ซึ่งถือเป็นเรตติ้งที่อยู่ในทิศทางลบ จากสถานการณ์ในปัจจุบัน ส่วนสำหรับเวียดนามอยู่ที่อันดับ Ba3
ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50831628/moodys-says-outlook-stable-for-cambodias-credit-rating/