ราคามะเขือเทศพุ่ง 10,000 จัต ในปีนี้

มะเขือเทศที่เก็บเกี่ยวกำลังเข้าสู่ตลาดขายส่งอาหารสด Thiri Marlar ราคามะเขือเทศเพิ่มขึ้นในปีนี้ ในปีนี้ราคาเพิ่มขึ้น 10,000 จัตจากปีที่แล้ว ก่อนหน้านี้ราคาของมะเขือเทศเหล่านั้นอยู่ระหว่าง 23,000 ถึง 25,000 จัตต่อกล่อง (บรรจุ 18 visses) อย่างไรก็ตามในปีนี้ราคาอยู่ที่ 33,000 หรือ 35,000 จัตต่อกล่อง มะเขือเทศส่วนใหญ่จากอินเลย์ การเพิ่มขึ้นของราคาอาจเกิดจากการค่าขนส่ง นอกจากนี้ ผักสดอื่นๆ เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก และแครอท ก็ได้ราคาดีจนเป็นที่น่าพอใจให้กับเกษตกร

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/tomato-price-rises-by-over-k-10000-this-year/

ราคาส่งออกข้าวคุณภาพต่ำ ตรึงอยู่ที่ 23,000 จัตต่อถุง เนื่องจากธนาคาร จำกัดการทำธุรกรรมการเงิน

ราคาส่งออกข้าวคุณภาพต่ำยังไม่กระเตื้องขึ้น และถูกตรึงไว้ที่ 23,000 จัตต่อถุง 108 ปอนด์ เนื่องจากไม่สามารถถอนเงินจากธนาคารได้ ดังนั้นผู้ค้าข้าวกำลังเผชิญกับการซื้อขายที่จำกัดและไม่สามารถชำระเงินสดสำหรับการซื้อขายได้ แม้จะมีความพยายามเชื่อมต่อกับ Myanmar Economic Bank และธนาคารเอกชนอื่นๆ แต่ก็ไม่สามารถเบิกเงินสดได้ นอกจากนี้ยังมีบริษัทเพียงไม่กี่แห่งที่สามารถซื้อข้าวได้และยังมีบริษัทที่ซื้อข้าวส่งออกไปยังบังกลาเทศอีกด้วย ดังนั้นราคาข้าวส่งออกจึงไม่สามารถแข่งขันได้มากนัก ก่อนหน้านี้การซื้อขายข้าวและข้าวหักประมาณ 80,000 ถุงทุกวันที่ศูนย์ค้าส่งข้าวบุเรงนอง แต่ปัจุบันเหลือประมาณ 30,000 ถุง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/price-of-exported-low-quality-rice-stands-at-k23000-per-108-pound-bag-due-to-bank-withdrawal-limit/

ราคาข้าวในประเทศพุ่ง 2,000 จัตต่อถุง

ราคาข้าในประเทศเพิ่มขึ้น 2,000 วอนต่อถุง ปัจจุบันราคาข้าวมีมูลค่า 32,000-35,000 จัตต่อถุซึ่งงเป็นที่ต้องการของตลาดมาก คาดราคาข้าวดีดตัวก่อนเทศกาลติงจัน (เทศกาลปีใหม่เมียนมาในเดือนเมษายน) หลังจากนั้นไม่นาน ราคามักจะสูงขึ้น ในช่วงต้นมรสุม มักพบสต๊อกข้าวอยู่ในโรงสีแทนที่จะเป็นชาวนา ดังนั้น การขึ้นราคาจึงเกิดขึ้นท่ในช่วงที่อุปทานต่ำ ราคาข้าวมักจะพุ่งสู่จุดสูงสุดในเทศกาลติงจันและทาซวงแดง (ต.ค.-พ.ย.) แต่เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวราคาก็จะตกต่ำลง ราคาอาจยังคงสูงอยู่ในขณะนี้ แต่ความต้องการในตลาดค้าปลีกนั้นไม่ค่อยดีนัก การส่งออกยังไม่แข็งแกร่งเช่นกัน ส่งผลให้ราคาไม่ดีดตัวขึ้นท่ามกลางอุปสงค์ที่ยังต่ำอยู่ ก่อนหน้านี้มีการซื้อขายข้าวและข้าวหักประมาณ 80,000 ถุงต่อวันที่ศูนย์ค้าส่งข้าวบุเรงนอง ในทางตรงกันข้ามปัจจุบันมีความต้องการลดลงเหลือประมาณ 30,000 ถุง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/domestic-rice-prices-up-by-k2000-per-bag/#article-title

ก.พาณิชย์เมียนมา เผย นำเข้าถดถอย 3.3 พันล้านดอลลาร์

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา (MoC) เผย มูลค่าการนำเข้าของเมียนมาร์ระหว่างวันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 28 พ.ค.64 ของปีงบประมาณ 63-64 อยู่ที่ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 3.338 พันล้านดอลลาร์จาก 13.397 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคมูลค่า 2.08 พันล้านดอลลาร์ ประกอบด้วยเครื่องสำอาง และน้ำมันปาล์ม ลดลงเล็กน้อย 189 ล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อน ลำดับต่อมาเป็นการนำเข้าสินค้าขั้นกลาง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและวัตถุดิบพลาสติก การนำเข้าวัตถุดิบลดลงเหลือ 3.34 พันล้านดอลลาร์ จาก 4.45 พันล้านดอลลาร์ ขณะเดียวกันการนำเข้าวัตถุดิบมีมูลค่า 989 ล้านดอลลาร์สหรัฐในอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า Cut-Make-Pack (CMP) พบว่าลดลง 488 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปแบบ CMP มีสัดส่วนการส่งออกถึง 30% กำลังประสบปัญหาจากการยกเลิกคำสั่งโดยเฉพาะในยุโรปจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยประเทศผู้นำเข้า 10 อันดับแรกของเมียนมา ได้แก่ จีน สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และสหรัฐอเมริกา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/imports-down-by-3-3-bln-as-of-28-may-moc-reports/

เกษตรกรมโหย่ติ ประสบผลสำเร็จในการปลูกงาได้ตลอดทั้งปี

ชาวบ้านในพญายี อำเภอมโหย่ติ จังหวัดมะกเว เขตมะกเว ประสบความสำเร็จในการใช้น้ำบาดาลปลูกงาดำตลอดทั้งปี เกษตรกรมีการไถไร่อย่างเป็นระบบ งาดำเริ่มปลูกเมื่อวันที่ 24 เมษายน 64 หลังจากมีเรือนเพาะชำแล้ว จะทำการปลูกบนพื้นที่ขนาด 1 เอเคอร์ และรดน้ำด้วยผ่านท่อด้วยระบบสปริงเกอร์งาสามารถให้ผลผลิตได้หลังจากปลูก 100 วัน งามีการปลูกในประเทศตลอดทั้งปี โดยเฉพาะเมียนมาร์ปลูกงาขาว งาดำ ปัจจุบันเมียนมาส่งออกงาไปยังจีนส่วนใหญ่ผ่านเส้นทางชายแดน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/cultivation-of-sesame-succeeds-in-myothit/#article-title

ราคาถั่วเหลืองพุ่งตามอุปสงค์ที่แข็งแกร่ง

ราคาถั่วเหลืองอยู่ที่ 68,550 ต่อถุงต่อถุงในปลายเดือนมกราคม-ปลาย ม.ค. 64 จากความต้องการจากต่างประเทศที่สูงส่งผลให้ราคาสูงถึง 80,000 จัตต่อถุงในต้นเดือนมิถุนายน โดยปกติเมียนมาส่งถั่วเหลืองไปยังจีนผ่านด่านชายแดนมูเซ นอกจากตลาดจีนแล้ว ยังส่งออกไปไทยใน และอินเดียทางทะเล ความท้าทายที่ครั้งใหญ่ของการผลิตถั่วเหลืองคือการพื้นที่เพาะปลูกในปีที่ผ่านมา ระหว่างปี 56-57 และปี 62-63  ลดลงเหลือ 40,000 เอเคอร์ การลผลิตถั่วเหลืองยังต้องการสนับสนุนทางเทคนิคสำหรับโรคก่อนการเก็บเกี่ยวและความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว ควบคู่ไปกับการสำรวจตลาด ในปีงบประมาณ 62-63 มีพื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลืองมากกว่า 360,000 เอเคอร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากกว่า 340,000 เอเคอร์ที่จดทะเบียนในปีงบประมาณ 61-62 การส่งออกถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ในปี 2559 ส่งออกถ 1,700 ตัน ส่งออก 2,000 ตันในปี 60 และ 7,000 ตันในปีงบประมาณ 61-62

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/soybean-price-rises-on-steady-demand/