ไฟเขียวต่างชาติลงทุนไทย มิ.ย.63 จำนวน 22 ราย

อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่า เดือนมิ.ย.2563 คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างชาติ 22 ราย ประกอบธุรกิจในประเทศไทยภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยส่วนใหญ่เป็นคนต่างชาติจากประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ และจีน มีการนำเงินเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจ 1,587 ล้านบาท ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานคนไทย 3,575 คน และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเป็นองค์ความรู้เฉพาะด้านโดยตรงจากประเทศผู้เข้ามาลงทุน โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่วนใหญ่เป็นองค์ความรู้ในแขนงที่คนไทยยังไม่มีความชำนาญหรือมีความเชี่ยวชาญในระดับที่ไม่สูงมากนัก เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำงานในที่อับอากาศและการถ่ายเทสารเคมีในหอกลั่นสูงที่มีความกดอากาศตามมาตรฐานยุโรป องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องกำเนิดไอน้ำที่ใช้หลักการแลกเปลี่ยนความร้อน (HRSG system) องค์ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมเพื่อออกแบบและพัฒนาคุณภาพชิ้นส่วนยานยนต์ และโปรแกรมเพื่อการตรวจและทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ และองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงของสินทรัพย์ เป็นต้น สำหรับธุรกิจที่คนต่างด้าวได้รับอนุญาต ได้แก่ 1.ธุรกิจบริการโดยเป็นคู่สัญญากับเอกชน จำนวน 4 ราย โดยเป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น และจีน มีเงินลงทุนจำนวน 542 ล้านบาท 2.ธุรกิจบริการให้แก่บริษัทในเครือ/ในกลุ่ม จำนวน 6 ราย โดยเป็นนักลงทุนจากประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ มีเงินลงทุนจำนวน 632 ล้านบาท 3.ธุรกิจนายหน้า ค้าปลีก ค้าส่ง จำนวน 7 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น ฟินแลนด์ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และสิงคโปร์  มีเงินลงทุนจำนวน 181 ล้านบาท  4.ธุรกิจบริการให้แก่ลูกค้า จำนวน 5 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากประเทศสวิส ซามัว อังกฤษ สิงคโปร์ และหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน มีเงินลงทุนจำนวน 232 ล้านบาท ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/888887?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

เวียดนามเผยเนื้อหมูที่นำเข้าจากญี่ปุ่นขายได้ดี แม้ว่าราคาจะอยู่ในระดับสูงก็ตาม

ผลิตภัณฑ์เนื้อหมูที่นำเข้าจากญี่ปุ่นกำลังได้รับความนิยมในตลาดเวียดนาม ถึงแม้ว่าราคาสูง 4-5 เท่าเมื่อเทียบกับสินค้าในท้องถิ่น โดยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เกิดการระบาดของเชื้อไข้หวัดหมูแอฟริกัน (ASF) ส่งผลต่ออุปทานเนื้อหมูในท้องถิ่น ซึ่งตลาดและซูปเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งในเวียดนาม มีราคาเนื้อหมูอยู่ที่ 150,000-320,000 ด่งต่อกิโลกรัม ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า ทั้งนี้ เวีดยนามนำเข้าเนื้อหมูจากต่างประเทศ มากกว่า 70,000 ตัน ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งผลิตภัณฑ์หมูที่นำเข้าจากต่างประเทศส่วนใหญ่มีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับทางเลือกในท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์หมูของญี่ปุ่นมีราคาสูง 4-5 เท่ากว่าตลาดในประเทศ นอกจากนี้ พ่อค้าเนื้อหมูชาวญี่ปุ่นรายหนึ่ง กล่าวว่าผลิตภัณฑ์ของเขาขายดีมากกว่าหมูไอเบริโกของสเปน จำนวนยอดคำสั่งซื้อออนไลน์เกือบ 100 กิโลกรัมต่อวัน ลูกค้าส่วนใหญ่มาจากเมืองโฮจิมินห์

ที่มา : https://vnexplorer.net/japanese-imported-pork-sells-well-despite-high-prices-a202059181.html

เวียดนาม-ญี่ปุ่น ขยายความร่วมมือทางการค้าทวิภาคี

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนามและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่น หารือแนวทางในการสร้างความเชื่อมั่นและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างสองประเทศ รวมถึงการค้าชายแดนและข้อตกลงการค้าเสรี “CPTPP” หลังจากสิ้นสุดของโรคระบาด เศรษฐกิจหันมาฟื้นตัวในภูมิภาคและทั่วโลก ซึ่งรัฐมนตรีทั้งสองท่านต่างแสดงความกังวลต่อลัทธิกระทำฝ่ายเดียวและเน้นถึงความสำคัญของการส่งเสริมการค้าข้ามพรมแดนในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัวและหลังจากสิ้นสุดการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทั้งนี้ ข้อตกลงการค้าเสรี CPTPP จะช่วยให้เศรษฐกิจโลกและกลุ่มสมาชิกมีการพัฒนามากขึ้น ขยายห่วงโซ่อุปทานในระดับภูมิภาคและระดับโลก ขณะที่ ส่งเสริมการใช้อีคอมเมิรซ์และเศรษฐกิจดิจิทัลในการผลิต อย่างไรก็ตาม การอภิปรายดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายแสดงให้เห็นถึงการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อขยายการค้าทวีภาคีมากยิ่งขึ้น ไม่เพียงแค่ข้อตกลง CPTPP แต่ยังมีข้อตกลงอื่นๆอีก เช่น หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และข้อตกลง ASEAN-Japan เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-japan-seek-to-expand-bilateral-trade-ties/177873.vnp

ลิ้นจี่เวียดนามที่ส่งออกไปยังญี่ปุ่น “ขายหมด”

ผู้อำนวยการสำนักงานเกษตรและพัฒนาชนบทในจังหวัดบั๊กซาง กล่าวว่าลิ้นจี่สดที่ส่งออกไปยังญี่ปุ่นนั้น คาดว่าจะขายได้ดี ซึ่งในวันที่ 21 มิ.ย. ทางจังหวัดดังกล่าว ส่งออกลิ้นจี่สดไปยังญี่ปุ่นผ่านการขนส่งทางอากาศ ด้วยปริมาณ 3 ตัน และเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. ได้ส่งออกลิ้นจี่สดเพิ่มอีก 6 ตัน ผ่านทางทะเล ส่งผลให้ปริมาณขายลิ้นจี่ในญี่ปุ่น อยู่ที่ราว 10 ตัน โดยจะเริ่มวางขายในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้ “ราคาลิ้นจี่ที่ขายในตลาดต่างประเทศ ปรับตัวสูงถึง 40,000 ด่งต่อกิโลกรัม ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าเมื่อเทียบกับราคาในประเทศ อย่างไรก็ตาม หากได้การวางแผนที่ดี จะสามารถส่งออกไปยังญี่ปุ่นหลายร้อยตัน”

ที่มา : http://en.dangcongsan.vn/economics/vietnamese-lychee-sold-out-in-japan-555343.html

ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง-ญี่ปุ่น หารือความร่วมมือทางเศรษฐกิจและหลักประกันสุขภาพ

รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจสังกัดกระทรวงการต่างประเทศนาย King Phokeo Phommahaxay นำคณะผู้แทนสปป.ลาวเข้าร่วมประชุมผ่านวิดีโอลิงค์ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศแม่น้ำโขง – ญี่ปุ่นครั้งที่ 13 ในวันที่ 10 มิถุนายนผ่านมาในที่ประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับร่างแถลงการณ์ความร่วมมือแม่น้ำโขง – ญี่ปุ่น เพื่อให้เกิดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งขึ้น ความร่วมมือดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนระดับภูมิภาคระหว่างญี่ปุ่น – กลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแม่น้ำโขงรวมถึงการปรับปรุงวิถีชีวิตของผู้คนในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงให้มีชีวิตการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การจะบรรลุเป้าหมายได้นั้นทุกภาคส่วนต้องมีการร่วมมือซึ่งกันและกัน ผลของการร่วมมือจะนำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจรวมถึงวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Mekong_113.php

ญี่ปุ่นให้เงินมากกว่า 123 พันล้านกีบสำหรับการตอบสนองต่อ Covid-19

รัฐบาลญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนกว่า 123 พันล้านคิป (1.5 พันล้านเยน) สำหรับการซื้อเครื่องมือแพทย์เพื่อสนับสนุนในการรับมือกับการระบาดของโควิด -19 เงินทุน 1.5 พันล้านเยน (US $ 13.7 ล้าน) จะถูกนำไปใช้ในการจัดหาอุปกรณ์ให้กับรัฐบาลสปป.ลาว การลงนามในครั้งนี้ญี่ปุ่นมีจุดมุ่งหมายในการสนับสนุนสปป.ลาวในความพยายามอย่างต่อเนื่องในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สอดคล้องกับแนวคิด“ ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง” ซึ่งอุปกรณ์การแพทย์ที่ให้ไว้ภายใต้โครงการนี้คาดว่าจะนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพทั่วสปป.ลาวโดยเฉพาะในชุมชนท้องถิ่นที่ระบบการดูแลสุขภาพยังไม่มีประสิทธิภาพ การแพร่กระจายทั่วโลกของ Covid-19 ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจและผู้คนของทุกประเทศรวมถึงสปป.ลาวและญี่ปุ่น ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความพยายามร่วมกันเพื่อลดผลกระทบของโรคร้ายแรงนี้ทั้งในด้านเศรษฐกิจและระบบสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Japan_108.php

บริษัทจากญี่ปุ่นสองแห่งมองหาโอกาสทางการเกษตรในกัมพูชา

NIPPON Express และ Xamato Green แสดงถึงความสนใจหลังจากได้เห็นการลงทุนที่มีศักยภาพในภาคเกษตรกรรมของกัมพูชา โดยแผนดังกล่าวถูกเปิดเผยในระหว่างการประชุมเมื่อสัปดาห์ที่แล้วนำโดยประธาน บริษัท และผู้อำนวยการทั่วไปของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งกล่าวว่าบริษัทกำลังดำเนินโครงการลงทุนเกี่ยวกับผักและผลไม้ในประเทศกัมพูชา โดยเสริมว่าบริษัทกำลังวางแผนที่จะดำเนินการและบรรจุภัณฑ์เพื่อการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สนับสนุนการลงทุนโครงการอย่างมั่นคง โดยกล่าวว่าโครงการการลงทุนนี้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ดึงดูดการลงทุนดังกล่าวในภาคเกษตรกรรม ซึ่งให้คำมั่นว่าจะเร่งงานในบันทึกความเข้าใจเพื่อลงนามในไม่ช้าเพื่อให้บริษัทสามารถเริ่มดำเนินโครงการได้โดยเร็ว โดยเสริมว่าโครงการลงทุนนี้จะช่วยลดการนำเข้าผักและผลไม้จากตลาดต่างประเทศได้อย่างแน่นอน ขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปเพื่อการส่งออกและสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50726611/two-japanese-firms-eye-agricultural-opportunities/

พานาโซนิคย้ายโรงงานจากไทยไปเวียดนาม

โดย nuttachit I Marketeer

สำนักข่าวนิคเคอิ เอเชียน รีวิว รายงานว่าพานาโซนิค คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น มีแผนปิดโรงงาน ผลิตตู้เย็นและเครื่องซักผ้าในประเทศไทย เพื่อย้ายกำลังการผลิตไปรวมกับโรงงานผลิตตู้เย็นและเครื่องซักผ้าในเวียดนามให้เป็นโรงงานหลักในการผลิตตู้เย็นและเครื่องซักผ้า เหตุผลสำคัญ คือ ลดต้นทุนการจัดหาชิ้นส่วน ซึ่งการย้ายกำลังการผลิตในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในการปรับโครงสร้างธุรกิจ โดยมีเป้าหมายลดต้นทุน ค่าใช้จ่าย 100 ล้านเยนหรือประมาณ 29.56 ล้านบาทในเดือนมีนาคม 2565

‘Marketeer’ วิเคราะห์ออกเป็น ดังนี้

  1. ลดต้นทุนค่าแรงสูงบนรายได้การผลิตที่ลดลง ลดต้นทุนในการจัดหาชิ้นส่วน และลดต้นทุนในการจ้างแรงงานที่มีค่าแรงขั้นต่ำถูกกว่าประเทศไทย
  2. ยอดขายในไทยลดลงบนการแข่งขันที่สูง แม้พานาโซนิคจะเข้ามาทำธุรกิจในไทยมาอย่างยาวนาน แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พานาโซนิค ถูกสินค้าแบรนด์เกาหลี และจีน เข้ามาท้าทายตลาดอย่างต่อเนื่องจนรายได้และกำไรในการขายสินค้าพานาโซนิคลงอย่างเห็นได้ชัดในปี 2562

ทั้งนี้ ศิริรัตน์  ยงค์เจริญชัย ผู้จัดการทั่วไปสายสื่อสารองค์กร บริษัท พานาโซนิค แมนเนจเม้นท์ ประเทศไทย จำกัด ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การควบรวมโรงงานผลิตตู้เย็นและเครื่องซักผ้าไปอยู่ที่ประเทศเวียดนามเป็นไปตามนโยบายของบริษัทแม่ในประเทศญี่ปุ่น ที่มีพิจารณาแผนการดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2562 เพื่อเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพทั้งเรื่องของพื้นที่ขนาดใหญ่กว่า และการบริหารด้านการผลิตและต้นทุนให้มากขึ้น

ที่มา : https://marketeeronline.co/archives/165880

เวียดนามเร่งส่งออกลิ้นจี่สดไปยังญี่ปุ่นในช่วงปลายปีนี้

รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนามเข้าร่วมการประชุมเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำเวียดนาม เปิดเผยว่าทางกระทรวงฯ เรียกร้องให้ทางการญี่ปุ่นหาแนวทางแก้ปัญหา เพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งออกลิ้นจี่สดไปยังกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวปีนี้ ขณะเดียวกัน กระทรวงฯ ขอความร่วมมือต่อหน่วยงานญี่ปุ่นในการปฏิบัติงานที่มีความยืดหยุ่น เมื่อทดสอบการรมควันฆ่าเชื้อลิ้นจี่และอำนวยความสะดวกในการส่งออกลิ้นจี่สดชุดแรกไปยังญี่ปุ่นช่วงปลายปีนี้ ทั้งนี้ รัฐมนตรีกระทรวงฯ แสดงความขอบคุณถึงรัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น สำหรับการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับเวียดนาม ด้วยความร่วมมือระหว่างอาเซียน ญี่ปุ่นและอินเดีย เพื่อเร่งการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-gears-up-to-export-fresh-lychee-to-japan-later-this-year-413914.vov

การค้าระหว่างกัมพูชากับญี่ปุ่นมีมูลค่าสูงถึง 586 ล้านดอลลาร์ ใน Q1

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและญี่ปุ่นมีมูลค่า 586.8 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรกของปีนี้เพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วตามรายงานขององค์การการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมีนาคม 2563 กัมพูชาส่งออกสินค้ามูลค่า 475.1 ล้านดอลลาร์ ไปยังญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 4.4% ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 111.7 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 7% รายงานของกระทรวงพาณิชย์กัมพูชาพบว่าผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพสำหรับการส่งออกจากกัมพูชาไปยังญี่ปุ่น ได้แก่ เสื้อผ้า รองเท้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยรองประธานหอการค้ากัมพูชากล่าวว่าตัวเลขการค้าที่เน้นความต้องการในเชิงบวกสำหรับผลิตภัณฑ์ของกัมพูชาในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะกิจกรรมการผลิตที่แข็งแกร่งของประเทศเพื่อการส่งออก ซึ่งเมื่อปีที่แล้วการค้าระหว่างสองประเทศเพิ่มขึ้น 13% เป็น 2,292 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50722980/cambodia-japan-trade-register-more-than-586-million-in-q1/