ยอดขายชุด PPE ในเมียนมา ลดฮวบ

ตลาดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ของเมียนมาลดลงเนื่องจาก ปัญหาด้านโลจิสติกส์และการขนส่งสินค้าที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและความไม่สงบทางการเมืองในปัจจุบันส่งผลให้ผู้ซื้อใช้ลดลงอย่างมาก นาย U Aye Kyaw ผู้ขายอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในย่างกุ้งเผย ตลาดหน้ากากในประเทศลดลงครึ่งหนึ่ง ด้านอุปทานลดลงเช่นกันเนื่องจากรถบรรทุกหยุดให้บริการเพราะคนขับรถได้เข่าร่วมต่อต้านรัฐบาลทหาร ปัญหาการขนส่งยังส่งผลให้ชุด PPE มากเกินความต้องการที่ศูนย์การค้าชายแดนเมียวดีหลักไมล์ 105 ตลาดหน้ากากในย่างกุ้งลดลง 40% :จากที่คนขับรถบรรทุกร่วมอารยะขัดขืนต้านรัฐประหารด้วยการหยุดวิ่งรถ ดังนั้นจึงไม่มีการส่งมอบหน้ากากที่ด่านมูเซ ทำให้ตลาดไม่เคลื่อนไหวและราคายังไม่เปลี่ยนแปลง ราคาหน้ากากอนามัย 50 กล่องในย่างกุ้งในราคา 760 จัต ราคาขายนอกตลาดอยู่ระหว่าง 1,000-1,200 จัต หน้ากากอนามัยที่ขายมาจากล็อตก่อนหน้านี้คาดว่าจะหมดในภายในสัปดาห์ถัดไป

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/demand-personal-protective-equipment-falls-myanmar.html

พิษการเมืองกระทบหนักภาคการเกษตรเมียนมา

การยึดอำนาจของกองทัพในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 64 ส่งผลให้ภาคเกษตรกรรมของประเทศอย่างรุนแรง การส่งออกและโครงการที่วางแผนไว้ถูกระงับ นาย Daw Sandar Myo ประธานสมาคมผู้ประกอบการอะโวคาโดแห่งเมียนมา เผยหลังการหารือการจัดตั้งโรงงานคัดบรรจุอะโวคาโดที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐในรัฐฉานตอนใต้ได้ถูกโต้กลับจากสหรัฐด้วยเช่นกัน ความช่วยเหลือจากนานาชาติหยุดลง ซึ่งรวมถึงความช่วยเหลือจากเดนมาร์ก ทั้งนี้โครงการที่มุ่งเน้นไปที่ MSMEหรือกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย เช่น Responsible Business Fund จะหยุดลงหรือไม่ยังไม่มีความแน่ชัด องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ได้ระงับโครงการการค้าเกษตรอาเซียนและความร่วมมืออื่น ๆ กับเมียนมา การส่งออกผลไม้ก็ได้รับผลกระทบเช่นกันไม่ว่าจะเป็นอะโวคาโดและขิงไปที่ส่งออกไปสหราชอาณาจักรและแตงเมลอนไปยังสหภาพยุโรป แผนการส่งออกแตงโมไปสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ยังไม่เป็นที่ชัดเจนมากนัก สมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกผลไม้ดอกไม้และผักแห่งเมียนมา มีแผนจะขายผลไม้เพื่อการส่งออกในตลาดท้องถิ่น แต่อาจเป็นไปได้ยากเนื่องจากมีผลผลิตจำนวนมาก

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/political-unrest-turns-myanmars-agriculture-sector-sour.html

สหภาพแรงงานฯ เตรียมดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐที่ต่อต้านการประท้วงในเมียนมา

สมาพันธ์สหภาพแรงงานแห่งเมียนมา (CTUM) กล่าวว่าเจ้าหน้าที่คนใดก็ตามที่บังคับให้พนักงานที่ประท้วงกองทัพเมียนมาให้ลาออกหรือออกจากสถานสงเคราะห์จะต้องถูกตั้งข้อหา ขณะนี้มีการประณามการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ที่บังคับให้แรงงานออกจากงานหรือที่พักอาศัย CTUM กำลังตรวจสอบพนักงานของรัฐที่เข้าร่วมในการประท้วงต่อต้านกองทัพเมียนมาที่เข้ายึดอำนาจ ทั้งนี้เมื่อสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติจะขอคืนสถานะให้เป็นพนักงานของรัฐเหมือนเดิม CTUM พร้อมให้บริการทางการแพทย์ฟรีแก่ผู้ที่ได้รับการบาดเจ็บจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ที่ไร้ซึ่งความยุติธรรม ก่อนหน้านี้ CTUM ได้ออกจากองค์กรไตรภาคีซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนภาครัฐ ภาคธุรกิจ และแรงงาน ที่ได้หารือเกี่ยวกับปัญหาที่คนงานประท้วงการยึดอำนาจและควบคุมตัวผู้นำระดับสูงของประเทศรวมถึงนางอองซาน ซูจี ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 64 ที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/trade-union-myanmar-prosecute-those-taking-legal-action-against-cdm-participants.html

วิกฤตการทางการเมืองเมียนมาส่งผล SME ส่อเค้าทรุดหนัก

นักธุรกิจจากเมืองเปียงมานา (Pyinmana)  ของเนปยีดอ เผยยอดขายสินค้าตั้งแต่อาหารไปจนถึงสินค้าฟุ่มเฟือยลดลงอย่างมากหลังจากการประกาศภาวะฉุกเฉินหนึ่งปีของกองทัพเมียนมา พบว่าผู้คนต่างจับจ่ายเฉพาะสิ่งของจำเป็นเพราะวิตกกังวลกับสถานการณ์ปัจจุบันในตอนนี้ เช่น ยอดขายไข่ลดลงประมาณ 70% อีกทั้งยอดขายสัตว์ปีกและเนื้อสัตว์ประเภทอื่น ๆ ยังได้รับผลกระทบอย่างหนักตามไปด้วย ขณะนี้ตลาดยังไม่เปิดเต็มรูปแบบเนื่องจาก COVID-19 ด้วยสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันผู้คนกังวลว่าเศรษฐกิจจะแย่ลงและหลายคนเริ่มประหยัดมากขึ้น ซึ่งการใช้จ่ายที่ลดลงยังส่งผลกระทบต่อธุรกิจสตาร์ทอัพในพื้นที่และธุรกิจ SMEs ส่วน MSMEs (วิสาหกิจขนาดเล็กขนาดกลางและขนาดย่อม) ล้วนประสบปัญหามากมายช่วงการระบาดและบางส่วนถูกบังคับให้ปิด MSMEs คิดเป็น 90% ของเศรษฐกิจประเทศและหากเกิดปัญหาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อาจกระทบต่อการว่างงานอย่างมากในอนาคต

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/growing-number-myanmar-smes-forced-fold-amid-political-crisis.html

MADB จับมือ JICA ปล่อยกู้ 500 ล้านจัตให้เกษตรกรมัณฑะเลย์

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 64 ที่ผ่านมา ธนาคารพัฒนาการเกษตรแห่งเมียนมา (MADB) สาขามัณฑะเลย์ ลงนามความร่วมมือกับสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ปล่อยเงินกู้ประมาณ 500 จัตล้านให้แก่เกษตรกรจาก 9 เมืองในเขตมัณฑะเลย์ เพื่อให้เกษตรกรนำไปซื้อเครื่องจักรการเกษตรที่ทันสมัย ผู้จัดการ สามารถเพิ่มผลผลิตการทำฟาร์มได้โดยการเปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรแบบอุตสาหกรรมส่งผลให้มาตรฐานดีขึ้นต้นทุนต่ำลงและคนมีงานทำมากขึ้น รายงานล่าสุดระบุว่า JICA มีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานของเมียนมา ซึ่งได้ลงนามข้อตกลงกับกระทรวงเกษตรปศุสัตว์และการชลประทานเพื่อร่วมมือในโครงการห่วงโซ่คุณค่าพืชผลทางการเกษตรที่ครอบคลุมผลผลิต เช่น ผักขม ฟักทอง มะเขือเทศ แครอท และบรอกโคลี

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/k500-million-loans-granted-mandalay-farmers.html

พบสินค้าที่มีเอี่ยวกองทัพเมียนมา ยอดขายดิ่งฮวบ

ยอดขายสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับกองทัพเมียนมาลดลงอย่างมากเนื่องจากประชาชนยังคงประท้วงต่อการยึดอำนาจของกองทัพ ซึ่งแบรนด์ต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับกองทัพกำลังเป็นที่ต้องการน้อยลงในตลาด รวมถึงแบรนด์อย่าง Myanmar Beer, ซิมการ์ด MyTel และบัตรเติมเงิน Ruby Cigarettes และรถบัสด่วนพิเศษ เช่น Shwe Mann Thu และ Shan Ma Lay เมียนมาร์ไทม์สยังพบว่าขณะนี้ผู้ใช้จำนวนมากที่เคยใช้ซิมการ์ด MyTel และบริการไฟเบอร์ได้หันไปใช้บริการเจ้าอื่น เช่น Telenor และ Ooredoo แคมเปญต่อต้านการรัฐประหารอย่าง “Stop Buying Junta Businesses” เปิดตัวบนโลกโซเชียลมีเดียเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 64 หลังการยึดอำนาจเมื่อวันก่อนโดยผู้นำจากกลุ่มรุ่น 88 เพื่อสันติภาพและสังคมเปิดกว้าง” (88 Generation Peace and Open Society) ออกแถลงการณ์รณรงค์อีกครั้งเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 64 ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้แคมเปญ Stop Buying Junta Businesses ได้แก่ Myanmar Beer, Dagon Beer, Mandalay Beer, MyTel SIM card และบริการอินเทอร์เน็ตไฟเบอร์, Kantharyar Private Hospital, Shwe Mann Thu และ Shan Ma Lay express และ 7th Sense Production เป็นต้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/sales-tatmadaw-linked-products-decline.html