ธุรกิจญี่ปุ่นลงทุนภาคการค้าปลีกและบริการในเวียดนาม

ภาคการค้าปลีกและบริการเวียดนาม คาดว่าจะดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่นจำนวนมากในปีนี้ จากข้อมูลขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JETRO) เปิดเผยว่ากำลังซื้อของชาวเวียดนามที่เพิ่มขึ้นทั่วประเทศนั้น ทำให้ผู้ประกอบการค้าปลีกและบริการชาวญี่ปุ่น มองหาโอกาสธุรกิจในตลาดที่กำลังเติบโต ถึงแม้ว่าการลงทุนของญี่ปุ่นจะลดลงในปีที่แล้ว แต่จำนวนโครงการใหม่ของนักลงทุนญี่ปุ่นกลับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งจำนวนโครงการที่จดทะเบียนแตะระดับสูงสุดอยู่ที่ 435 โครงการในปีที่แล้ว ทั้งนี้ จากผลการสำรวจของเจโทร ระบุว่าผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่นที่ทำธุรกิจในเวียดนามส่วนใหญ่ร้อยละ 63.9 ตั้งใจที่จะขยายธุรกิจในประเทศ นับว่าเวียดนามเป็นประเทศที่มีอัตราการลงทุนสูงสุดในอาเซียน ในขณะเดียวกัน องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ได้กล่าวกับสื่อท้องถิ่นว่าเมื่อ 3 ปีก่อน ว่าประเทศไทยเป็นตลาดที่น่าสนใจอย่างมากสำหรับนักลงทุนและผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่น แต่ด้วยแนวโน้มในปัจจุบัน ผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่หันมาลงทุนในเวียดนามแทน เนื่องจากจำนวนประชากรมากกว่า 96 ล้านคน ดังนั้น ภาคบริการจีงมีศักยภาพสูงและเป็นสาเหตุที่ผู้ค้าปลีกญี่ปุ่นหลายรายเข้ามาทำตลาดในเวียดนาม นอกจากนี้ กระทรวงการวางแผนและการลงทุน ระบุว่าธุรกิจญี่ปุ่นหลายรายมักจะระมัดระวังในการลงทุน ซึ่งจากข้อมูลสถิติการลงทุน ระบุว่าในปีที่แล้ว เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่นอยู่ที่ 1.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/japanese-businesses-to-invest-in-vietnam-s-services-and-retail/169100.vnp

กัมพูชามุ่งหวังส่งเสริมการส่งออกสิ่งทอไปยังญี่ปุ่น

กัมพูชาเช่นเดียวกับ สปป.ลาว เมียนมาและเวียดนาม ได้รับการสนับสนุนในการปรับปรุงพัฒนาห่วงโซ่การผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์สิ่งทอของกลุ่ม ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น โดยการประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้แทนจากกลุ่ม CLMV เกี่ยวกับศักยภาพการส่งออกจากทั้ง 4 ประเทศไปยังญี่ปุ่นและห่วงโซ่อุปทานระดับโลกในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและวิเคราะห์นโยบายที่ศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่นกล่าวว่ากัมพูชาตั้งอยู่ในศูนย์กลางภูมิศาสตร์ของอาเซียนและมีเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อธุรกิจที่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการอธิบายประโยชน์ของห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมสิ่งทอภายในกลุ่ม CLMV เกี่ยวกับการส่งออก ซึ่งผู้เข้าร่วมคาดว่าจะเข้าใจประเด็นและโอกาสที่ภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอต้องเพิ่มการส่งออกไปญี่ปุ่นทุกปี ตัวเลขจากกระทรวงพาณิชย์แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพสำหรับการส่งออกจากกัมพูชาไปยังญี่ปุ่นคือ เสื้อผ้า รองเท้าและอุปกรณ์ โดยในปี 2561 กัมพูชาส่งออกไปญี่ปุ่นพุ่งขึ้น 27.3% ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้น 17.8% ตามข้อมูลจากองค์การการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50691648/hopes-to-boost-textile-exports-to-japan-with-added-value

สปป.ลาว, ญี่ปุ่นลงนามข้อตกลงเรื่องพัฒนาการท่องเที่ยวในหลวงน้ำทา

Luangpaseuth Corporation ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับกลุ่ม Chodai จากประเทศญี่ปุ่นเพื่อโครงการการท่องเที่ยวและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน โดยแขวงหลวงน้ำทามีชายแดนการค้าสำคัญกับจีนซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย คุณสมบัติเหล่านี้เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาภาคส่วนที่สำคัญของการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นภาคที่สำคัญของสปป.ลาวในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การลงนามดังกล่าวจะทำให้มีการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนแก่สปป.ลาวต่อไป

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-japan-ink-deal-tourism-development-luang-namtha-113704

ญี่ปุ่นลงทุนโดยตรงไปยังกัมพูชาสูงถึง 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา

ในระหว่างปี 2537-2562 กัมพูชาได้รับโครงการลงทุนจากญี่ปุ่นกว่า 137 โครงการ มูลค่ารวม 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐภายใต้กรอบการลงทุนโดยตรงของญี่ปุ่น โดยผู้ช่วยปลัดกระทรวงการต่างประเทศกระทรวงพาณิชย์จัดงานสัมมนาเรื่อง “การได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่มีค่าผ่านการเชื่อมโยง MSME” ณ กรุงพนมเปญเมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งโครงการลงทุนยังคงดำเนินต่อไปโดยมุ่งเน้นไปที่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมเกษตร อาหารแปรรูป โรงแรม การท่องเที่ยว โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้าและอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) อีกจำนวน 1,799 แห่ง ที่ญี่ปุ่นลงทุนในด้าน โดยธุรกิจจากญี่ปุ่นมีชื่อเสียงด้านคุณภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าท้องถิ่นสร้างงานและช่วยปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพของคนงานกัมพูชาซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของรัฐบาลกัมพูชา ซึ่งจำนวนบริษัทญี่ปุ่นที่ทำธุรกิจในกัมพูชาเพิ่มขึ้นทุกปี โดยการตัดสินใจลงทุนและขยายการดำเนินงานในกัมพูชาเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความเชื่อมั่นที่แข็งแกร่งของรัฐบาลกัมพูชาและมีสภาพแวดล้อมการลงทุนที่ดี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50686389/japans-foreign-direct-investment-in-cambodia-peaks-2-5-billion-in-last-15-years

กัมพูชาเสนอบริษัทญี่ปุ่นลงทุนในแหล่งน้ำสะอาดภายในประเทศ

บริษัทญี่ปุ่นถูกขอให้ลงทุนสร้างโรงผลิตน้ำสะอาดและจัดหาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำสะอาดให้แก่กัมพูชาตามนโยบายด้านสุขอนามัยของรัฐบาล โดยการเรียกร้องดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากรัฐบาลกัมพูชาต้องการเชื่อมโยงการแจกจ่ายน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคไปยังเขตเมืองทั้งหมดทั่วประเทศภายในปี 2568 และในพื้นที่ชนบททั้งหมดในปี 2573 ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรมได้มีการเสนอกับบริษัทญี่ปุ่น ณ งานสัมมนาน้ำประปาและสิ่งปฏิกูลกัมพูชาและญี่ปุ่น 2563 โดยจัดขึ้นที่โรงแรมซันเวย์ในกรุงพนมเปญ โดยกระทรวงส่งเสริมให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศโดยเฉพาะญี่ปุ่นลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานน้ำของกัมพูชาเพื่อให้ชาวกัมพูชาสามารถเข้าถึงน้ำสะอาดที่ยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันกว่าร้อยละ 80 ของเขตเมืองทั่วประเทศสามารถเข้าถึงน้ำสะอาด ที่ดำเนินการผลิตโดยหน่วยงานประปาของรัฐและผู้จัดจำหน่ายน้ำสะอาดเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตให้ทำงานในพื้นที่ที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับท่อส่งน้ำสะอาด โดยมีหน่วยงานผู้ให้บริการน้ำของรัฐ 11 แห่งและผู้ให้บริการน้ำสะอาดภาคเอกชนอีก 258 รายที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวง ซึ่งมีการใช้น้ำสะอาดประมาณ 30 ล้านลูกบาศก์เมตรทุกวันภายในประเทศกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50682452/japanese-firms-asked-to-invest-in-nations-clean-water-supplies

เมียนมา-ญี่ปุ่นลงนามสัญญาเงินกู้ 1.1 พันล้านดอลลาร์สำหรับสี่โครงการ

รัฐบาลเมียนมาและญี่ปุ่นได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจและสัญญาเงินกู้เพื่อรับเงินกู้ ODA ประมาณ 1,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการดำเนินโครงการพัฒนารวมถึงโครงการพัฒนาเมืองย่างกุ้ง โดยทั้งสี่โครงการมีชื่อโครงการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียย่างกุ้ง โครงการพัฒนาเมืองย่างกุ้งแหล่งจ่ายไฟในเมือง โครงการปรับปรุงและโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระดับภูมิภาค ระยะที่ 3 โครงการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา (Official Development Assistance หรือ ODA) ของรัฐบาลญี่ปุ่น มีมูลค่า 120.915 ล้านเยน (ประมาณ 1,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) อัตราดอกเบี้ย 0.01 เปอร์เซ็นต์และระยะเวลา 40 ปีในการชำระคืน เงินกู้ดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียและสร้างโรงบำบัดน้ำเพื่อการพัฒนาด้านสาธารณสุขในย่างกุ้ง ยกระดับระบบระบายน้ำ และแก้ไขปัญหาการจราจรในย่างกุ้ง ยกระดับสถานีไฟฟ้าย่อยและสายไฟฟ้าในย่างกุ้งและมัณ ฑะเลย์ สะพาน ไฟฟ้า และระบบประประปา ในภูมิภาคอื่น ๆ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-japan-sign-11bn-loan-agreement-for-four-projects

บริษัทญี่ปุ่นเตรียมลุยขยายธุรกิจไปยังเวียดนาม

จากข้อมูลขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่นหรือเจโทร (JETRO) เปิดเผยว่ากว่าร้อยละ 64 ของบริษัทญี่ปุ่นในเวียดนาม มองว่ากำไรเป็นแรงจูงใจในการขยายธุรกิจไปยังประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในปีที่แล้ว นักลงทุนขาวญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในเวียดนามอยู่ที่ 2.89 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และอีก 655 โครงการ ซึ่งจำนวนโครงการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับปี 2561 ประกอบกับในปี 2562 นักลงทุนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ร้อยละ 66 ได้กำไรจากการดำเนินธุรกิจในเวียดนาม นอกจากนี้ สงครามการค้ามีผลต่อการขยายตัวของการออกไปลงทุนของญี่ปุ่นในเวียดนาม รวมไปถึงสภาพแวดล้อมในการลงทุนและการทำธุรกิจของเวียดนามที่เป็นส่วนสำคัญในการขยายธุรกิจของญี่ปุ่น ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานลงทุนจากต่างประเทศ (FIA) ระบุว่ามูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ณ วันที่ 20 ธ.ค.62 อยู่ที่ 38.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี หากจำแนกรายเมือง/จังหวัดเวียดนาม พบว่ากรุงฮานอยดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุด รองลงมานครโฮจิมินห์ ตามลำดับ อีกทั้ง เกาหลีใต้และญี่ปุ่นยังคงเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/japanese-firms-wish-to-scale-up-business-in-vietnam/167422.vnp

ไทยแลนด์พลัสวัน จับคู่ญี่ปุ่น รุกตลาดแรงงาน CLMV

“ไทยแลนด์พลัสวัน” จับคู่ญี่ปุ่นรุกตลาด CLMV หวังช่วยกระตุ้นภาคเอกชนในประเทศทั้งรายเก่ารายใหม่ และนักลงทุนต่างชาติที่อาจหนีผลกระทบสงครามการค้าสหรัฐ-จีน เข้ามาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม โดยศูนย์ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งโตเกียวร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมจัดงาน The 4th Business Connecting 2019 ในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์ไทยแลนด์พลัสวัน สู่ความเป็นไปได้ทางความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่น” เพื่อจับคู่ทางธุรกิจและตอกย้ำความร่วมมือของ 2 ประเทศ รวมไปถึงช่วยกระตุ้นภาคเอกชนในประเทศทั้งรายเก่าและรายใหม่และนักลงทุนต่างชาติที่อาจหนีผลกระทบของสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ทั้งนี้ ในงานดังกล่าว กำหนดให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการทำธุรกิจในกลุ่มภูมิภาค CLMV ควบคู่ไปกับการขยายฐานการผลิตไปยังกลุ่มประเทศเหล่านี้

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/855088

ญี่ปุ่นให้เงินช่วยเหลือสปป.ลาวเพื่อบรรเทาภัยพิบัติ

เมื่อวันจันทร์ที 23 ธค.62 ได้มีพิธีลงนามในการแลกเปลี่ยนบันทึกสำหรับโครงการให้ความช่วยเหลือ โดยรัฐบาลญี่ปุ่นตกลงที่จะให้เงินสนับสนุนมากกว่า 8 พันล้านกีบ (9.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศลาวนาย Takewaka Keizo และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสปป.ลาวร่วมลงนาม โครงการดังกล่าวจะช่วยให้รัฐบาลสปป.ลาวมีอุปกรณ์มูลค่า 9.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่จะช่วยเหลือผู้ประสบภัยและการฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติจะเริ่มเปิดดำเนินการใช้งานเมื่ออุปกรณ์ครบและอุปกรณ์ดังกล่าวจะถูกส่งไปประจำการป้องกันภัยพิบัติทั่วประเทศ เพื่อความั่นคงและความปลอดภัยของชีวิตการเป็นอยู่ในประเทศและป้องกันความเสียหายให้ลดลงเมื่อเกิดภัยพิบัติในครั้งต่อ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Japan276.php

รัฐบาลสปป.ลาวระบุถึงข้อจำกัดในการทำธุรกิจของญี่ปุ่นในสปป.ลาว

ตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนจากสปป.ลาวและญี่ปุ่นได้ร่วมประชุมประจำปีครั้งที่ 13 โดยมีวัตถุประสงค์หารือและแก้ปัญหากฎเกณฑ์การลงทุนจากบริษัทญี่ปุ่นในสปป.ลาว โดยในที่ประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับปัญหาการดำเนินธุรกิจของบริษัทญี่ปุ่นที่เผชิญในสปป.ลาว จุดมุ่งหมายในหัวข้อดังกล่าวเพื่อปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนและดึงดูดนักลงทุนญี่ปุ่นมายังสปป.ลาวโดยหาวิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะสำหรับแต่ละประเด็นที่แตกต่างกัน โดยก่อนหน้านี้ในการประชุมครั้งที่ 12 ช่วยให้เข้าใจปัญหาของญี่ปุ่นทำให้ได้รับการแก้ไขในหลายประเด็น โดยรัฐบาลได้จัดตั้งสำนักงานตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศเพื่อเป็นตัวกลางในการเจรจาของบริษัทญี่ปุ่นกับบริษัทในสปป.ลาวและยังมีการกำหนดกฎเกณฑ์ด้านภาษีที่เป็นประโยชน์มากขึ้นแก่บริษัทญี่ปุ่น ซึ่งในการประชุมครั้งนี้เป้าหมายก็ยังคงเป็นการแก้ไขในประเด็นอื่นๆต่อไปเพื่อกระตุ้นการลงทุนจากบริษัทญี่ปุ่นในโครงการต่างๆมูลค่า 203 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการที่ญี่ปุ่นลงทุนมีส่วนทำให้เกิดการจ้างงานและการแบ่งปันเทคโนโลยีการผลิตและความรู้ด้านการจัดการทำให้เกิดการเติบโตของเศรษฐกิจสปป.ลาวและการพัฒนาประเทศในอนาคต

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Public.php