ปี 64 เมียนมาพร้อมเปิดตัวระบบเงินชดเชยจากการว่างงาน

กรมสวัสดิการสังคม กระทรวงแรงงานการเข้าเมืองและประชากรเผยเมียนมาจะเริ่มระบบเงินชดเชยจากการว่างงานในปีงบประมาณ 63-64 แม้ว่าสิทธิประโยชน์การว่างงานถูกกำหนดไว้แล้วภายใต้กฎหมายประกันสังคมปี 55 แต่ยังไม่มีการบังคับใช้ ซึ่งกระทรวงจะเริ่มดำเนินการโดยได้รับความช่วยเหลือจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และสหภาพยุโรป จากการประกันภัย 6 ประเภทภายใต้กฎหมายประกันสังคม พ.ศ. 55 มีการบังคับใช้เฉพาะการประกันสุขภาพและเงินชดเชยจากการบาดเจ็บในการทำงานเท่านั้น การประกันภัยประเภทอื่น ๆ อีกสี่ประเภทที่ยังคงต้องดำเนินการ ได้แก่ การประกันความช่วยเหลือครอบครัว ผลประโยชน์จากการว่างงาน การประกันความทุพพลภาพ เงินอุดหนุนและผลประโยชน์ของผู้รอดชีวิตตลอดจนความช่วยเหลือด้านประกันสังคม ปัจจุบันมีสมาชิกประมาณหนึ่งล้านคนที่ได้รับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมและเป็นสมาชิกสวัสดิการสังคมในเขตย่างกุ้ง ตามกฎหมายเงินสมทบประกันสังคมคือ 5% – 2% จากเงินเดือนของพนักงานและเงินสมทบจากนายจ้างอีก 3% ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายประกันสังคม 60% ใช้สำหรับการดูแลสุขภาพของพนักงานส่วนที่เหลืออีก 40 % .ใช้สำหรับการลงทุน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-introduce-unemployment-benefits-system-2021.html

ท่าเรือติวาลาพร้อมรับเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่

การท่าเรือของเมียนมา (Myanmar Port Authority: MPA) อนุญาตให้เรือขนาดใหญ่ที่มีความสูงถึง 10 เมตรเข้าเทียบได้ที่ท่าเรือติวาลาของย่างกุ้งในเดือนนี้ คาดว่าจะช่วยให้มีปริมาณการขนส่งสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์มากและสามารถกระตุ้นให้มีปริมาณการค้าที่สูงขึ้น ซึ่งการค้าของเมียนมาประมาณ 95% เป็นการค้าทางทะเล ในปีงบประมาณที่แล้วมีการส่งออกสินค้ามูลค่ากว่า 10.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและนำเข้า 15.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐผ่านเส้นทางเดินเรือ ท่าเรือ Thilawa ซึ่งมีความยาว 10 เมตรสามารถรองรับเรือได้ถึง 20,000 ตันหรือ 2,000 TEU (Twenty foot Equivalent Unit : ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต) จนถึงต้นปีนี้มีเพียงเรือที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตรเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้เทียบที่ท่าเรือ สามารถรองรับเรือได้ถึง 15,000 ตันหรือ 1,500 TEU

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/yangons-thilawa-port-receive-larger-ships.html

เมียนมาตอบรับข้อเสนอญี่ปุ่นในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย

คณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายเผย เมียนมายินดีรับข้อเสนอของญี่ปุ่นในการลงทุนในโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ในเขตตะนาวศรี เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 63 ที่ผ่านมา โดยการลงทุนคาดว่าจะเป็นเขตอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระดับ G2G ทั้งนี้รัฐบาลไทยยังแสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายด้วย ซึ่งชาวญี่ปุ่นจะมีส่วนร่วมในการพัฒนา SEZ โดยมีมูลค่า 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐบนพื้นที่ 20,000 เฮกตาร์ โดยจะดำเนินการเป็นระยะ ๆ รวมถึงท่าเรือน้ำลึกและ high-tech zones. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ บริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่ของไทยได้เคยทำ MOU กับรัฐบาลเมียนมาร์ในปี 2551 แต่ต้องหยุดชะงักในปี 2556 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาทูตญี่ปุ่นประจำเมียนมากล่าวว่ากำลังศึกษาโครงการท่าเรือน้ำลึกและจะจัดหาเงินทุนให้กับโครงการผ่านความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการหรือด้วยวิธีการอื่น ๆ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-replies-japans-offer-cooperation-dawei-sez.html

อินเดีย-เมียนมา เดินหน้าเจรจาทวิภาคีหนุนการค้าและการลงทุน

ในการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าเมียนมา – อินเดียครั้งที่ 7 ทั้ง 2 ประเทศจะร่วมมือกันส่งเสริมการค้าและการลงทุนแบบทวิภาคี นายอูหมินหมิน อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าเมียนมากล่าวว่าการหารือเป็นไปเพื่อกระตุ้นการค้ารวมถึงการเพิ่มโควต้าการนำเข้าของอินเดียสำหรับถั่วและพัลส์ และการเปิดตลาดชายแดน หลังจากแก้ปัญหาชายแดนการขยายตลาดสำหรับภาคสิ่งทอได้รับความช่วยเหลือด้านเทคนิคของอินเดียในภาคการเกษตรและปศุสัตว์และเร่งโครงการโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนและสะพานตามเส้นทางการค้าเมียนมา – อินเดีย นอกจากนี้ยังจับมือกับ MyanTrade ซึ่งเป็นหน่วยงานส่งเสริมการส่งออกเพื่อเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างสองประเทศ สิ่งนี้จะทำให้เกิดโอกาสพัฒนาและการเติบโตใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมการเกษตร สิ่งทอ การขนส่ง และการธนาคารของเมียนมาด้วย ทั้งสองประเทศยังหารือเกี่ยวกับการเพิ่มการลงทุนของอินเดียในภาคพลังงานของเมียนมา

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/india-myanmar-strengthen-bilateral-trade-and-investment.html

ก๊าซ LNG จากมาเลเซีย ถูกลำเลียงไปยังโรงไฟฟ้าย่างกุ้ง

จากรายงานของกระทรวงไฟฟ้าและพลังงาน เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 63 เมียนมานำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เป็นครั้งที่ 2 จากมาเลเซีย จำนวนทั้งหมด 126,000 ลูกบาศก์เมตรถูกส่งไปยัง CNTIC VPower ที่ท่าเรือติวาลาในย่างกุ้งและจะถูกถ่ายโอนไปยังโรงไฟฟ้าตั่นหลิน (Thanlyin) กำลังผลิต 350MW และโรงไฟฟ้าธาเกตา (Thaketa) กำลังผลิต 400MW โดยได้ลงนามในข้อตกลงกับ Petronas LNG Ltd ของมาเลเซียและ CNTIC VPower ของจีนเมื่อต้นปีที่ผ่านมาเพื่อซื้อ LNG เป็นระยะเวลา 5 ปี LNG จะถูกใช้ในโรงงานใหม่ 7 แห่งใน Magwe, Shwe Taung, Kyun Chaung, Ahlone, Kyauk Phyu, Thanlyin และ Thaketa เพื่อผลิตพลังงานรวม 1166MW สำหรับฤดูร้อนในปีนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-takes-delivery-lng-yangon-power-plants.html

ระบบขนส่งแบบใหม่เอื้อประโยชน์ต่อการส่งสินค้าของเมียนมา

การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในอาเซียนจะมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นด้วยการใช้ระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในภูมิภาค ขณะนี้มีการร่างข้อตกลงเกี่ยวกับระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยไทยและฟิลิปปินส์ได้กำหนดกฎหมายส่วนเมียนมาเสร็จสิ้นขั้นตอนการร่างเรียบร้อยแล้ว การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบมีการผสมผสานระหว่างรูปแบบการเคลื่อนย้ายสินค้าที่แตกต่างกันอย่างน้อยสองรูปแบบภายใต้ใบส่งเพียงใบเดียวซึ่งหมายความว่าผู้ขนส่งต้องรับผิดชอบอย่างเต็มที่สำหรับการขนส่งทั้งหมดแม้ว่าจะดำเนินการในรูปแบบการขนส่งที่แตกต่างกัน เช่น ทางอากาศ ทางรถไฟ ถนนหรือทางทะเล หากนำระบบนี้ไปใช้จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจโลจิสติกส์ขนาดใหญ่และคาดว่าจะอำนวยความสะดวกในการค้าข้ามแดนในอาเซียน นอกจากนี้ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะไม่มีการเรียกเก็บภาษีสำหรับสินค้าซึ่งจะอนุญาตให้ผ่านโดยไม่มีข้อจำกัด

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/new-regional-transport-system-benefit-myanmars-freight-forwarders.html