การลงทุนในประเทศยังเพิ่มแม้ COVID-19 ระบาด

จากข้อมูลของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและการบริหารจัดการของเมียนมา (DICA) ถึงจะมีการระบาดของ COVID-19 แต่การลงทุนของนักลงทุนและประชากรในเมียนมาในปีงบประมาณ 62-63 มีมูลค่ากว่า 1,88 ล้านล้านจัต ซึ่งสูงกว่าปีงบประมาณที่แล้วประมาณ 200 ล้านจัต โดยอนุมัติให้ธุรกิจใน 130 แห่งลงทุนใน 9 ภาคธุรกิจ ย่างกุ้งได้รับการลงทุนที่สุดโดยมีมูลค่าการลงทุนกว่า 901 พันล้านจัต มัณฑะเลย์ 410 พันล้านจัต ขณะที่รัฐชาน 170 พันล้านจัต และอิรวดี 161 พันล้านจัตตามลำดับ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมโรงแรมและการท่องเที่ยว และการพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งนักลงทุนท้องถิ่นต้องได้รับการประเมินความสามารถในการลงทุนโดย Myanmar Investment Commission (MIC) ก่อนที่จะได้รับอนุมัติให้ลงทุนได้ จากนั้น MIC จะออกใบรับรองซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การลดหย่อนภาษี การยกเว้นภาษี และสิทธิพิเศษอื่น ๆ ในปีงบประมาณ 62-63 มีโอกาสในการทำงานมากกว่า 23,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นผลมาจากการลงทุนของนักลงทุนในประเทศ มีการจ้างงานคนในท้องถิ่น 22,700 คน และแรงงานต่างชาติกว่า 480 คน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-citizens-raise-investments-country-despite-pandemic.html

DICA เปิดตัวแอปฯ ลงทุนออนไลน์เป็นครั้งแรกในเมียนมา

คณะกรรมการการลงทุนและการบริหาร บริษัท (DICA) ของเมียนมา จะเปิดตัวแอปพลิเคชันการลงทุนออนไลน์เพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนเพื่อดึงดูดนักลงทุน ฟังก์ชั่นใหม่ฯ นี้ จะช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับการลงทุนโดยไม่ต้องไปที่สำนักงานของ DICA จึงเชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นให้เกิดการลงทุนมากขึ้นในช่วงเวลาที่การเดินทางเข้าประเทศยังถูกจำกัดจากการระบาดของ COVID-19 ทั้งยังลดการใช้กระดาษและลดจำนวนคนทำงานลง การเปิดตัวเกิดขึ้นหลังจาก DICA อนุญาตให้นักลงทุนและธุรกิจจดทะเบียนบริษัทผ่านระบบออนไลน์ ในปี 2561 ระบบการจดทะเบียนบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ Myanmar Companies Online (MyCO) ปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนมากกว่า 68,000 แห่ง กระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศ ได้อนุมัติใบอนุญาตทางออนไลน์มากขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/investment-applications-go-online-myanmar.html

เมืองกัมปอตของกัมพูชาได้รับการลงทุนในท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) หลายแห่งทั่วกัมพูชากำลังปิดตัวลงแต่บางกลุ่มธุรกิจในกำปอตยังคงเป็นบวกเนื่องจากการลงทุนในท้องถิ่นมีจำนวนมากขึ้นทำให้เมืองชายฝั่งยังคงเติบโตได้ โดยมีธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายทั่วเมืองกัมปอตตั้งแต่บาร์ ร้านอาหาร เกสต์เฮาส์ ไปจนถึงบริษัททัวร์ อย่างไรก็ตามกิจการใหม่จำนวนมากมุ่งเป้าไปที่ตลาดในประเทศโดยเฉพาะ เนื่องจากขาดการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติหลังจากได้รับผลกระทบจาก Covid-19 ซึ่งในช่วงหกเดือนแรกของปี 2020 จังหวัดกัมปอตได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศจำนวน 838,000 คน ในขณะที่ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยวมาเยือนยังกัมพูชาถึง 1,090,000 คน ตามข้อมูลของกรมการท่องเที่ยวจังหวัดกัมปอต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50778639/kampot-receives-more-local-investment/

รัฐบาลจะขจัดอุปสรรคและปรับปรุงบรรยากาศทางธุรกิจเพื่อดึงดูดการลงทุนในสปป.ลาว

รัฐบาลได้ให้คำมั่นที่จะขจัดอุปสรรคและปรับปรุงบรรยากาศทางธุรกิจเพื่อดึงดูดการลงทุนในสปป.ลาวจากนักลงทุนต่างประเทศมากขึ้น รัฐบาลตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจหลังจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชนมากขึ้นโดยรัฐบาลสปป.ลาวจะมีการดำเนินนโยบายกระตุ้นการลงทุนผ่านนโยบาย “3 เปิด” ไปสู่การปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับ“ เปิดใจ”“ เปิดประตู” และ“ อุปสรรคที่เปิดกว้าง”  การลงทุนถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สปป.ลาวที่รัฐบาลกำลังพยายามผลักดันให้มีขยายตัวต่อเนื่องเห็นได้ชัดในหลาย 10 ปีที่ผ่านมาที่มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมากมายโดยเฉพาะการลงทุนของภาคเอกชนคิดเป็นมูลค่าแล้วกว่า 26,127 พันล้านกีบคิดเป็นร้อยละ 50.7 ของการลงทุนทั้งหมดในสปป.ลาว Mr. Sonexay Siphandone รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุนกล่าวเพิ่มเติม “ ในอนาคตเงินลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศจะมาจากภาคเอกชนซึ่งจำเป็นต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสปป.ลาว” ดร. Sonexay กล่าวว่ารัฐบาลจะนำนโยบาย“ เปิดสามครั้ง” ไปสู่การปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับ“ เปิดใจ”“ เปิดประตู” และ“ อุปสรรคที่เปิดกว้าง”

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_vows_214.php

กฎหมายด้านการลงทุนฉบับใหม่ของกัมพูชาจ่อสรุปผลในเดือนพฤษจิกายนนี้

ร่างกฎหมายฉบับใหม่เกี่ยวกับการลงทุนของกัมพูชามีกำหนดสรุปภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายนปีนี้ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังจากได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ตามที่กระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง (MEF) ระบุ โดยร่างกฎหมายฉบับใหม่คำนึงถึงความเปิดกว้าง เอื้ออำนวย และดึงดูดการลงทุน ทั้งยังสร้างสภาพแวดล้อมในการแข่งขันโดยเฉพาะการคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของผู้ลงทุน รวมถึงความโปร่งใสและประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งคาดว่ากฎหมายการลงทุนฉบับใหม่จะดึงดูดนักลงทุนได้มากขึ้นเนื่องจากกัมพูชาได้ลงนามในข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับจีนร่วมด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50778372/new-investment-law-to-be-finanlised-in-november/

ธนาคาร ACLEDA ประจำประเทศกัมพูชาจัดสัมนาด้านการลงทุน

ACLEDA Bank ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในกัมพูชาและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (SECC) จัดงานสัมมนาที่มุ่งเน้นไปที่โอกาสการลงทุนที่สร้างผลกำไรในภาคหลักทรัพย์สำหรับนักลงทุนและประชาชนโดยทั่วไป โดยงานสัมมนานี้จัดขึ้นเพื่อให้นักลงทุนและประชาชนที่สนใจได้รับข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวกับโอกาสในการลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์ กลยุทธ์ที่จำเป็นสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ พื้นฐานสำหรับการลงทุนในหลักทรัพย์ การปรับปรุงกฎระเบียบและโครงสร้างพื้นฐานของตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนการพัฒนาของ ACLEDA Bank ซึ่งทางผู้จัดงานสัมนาหวังว่าจะช่วยกระตุ้นตลาดและสร้างความไว้วางใจให้กับสาธารณชนต่อตลาดตราสารทุนในประเทศ รวมถึงหวังว่าจะมีการดึงดูดนักลงทุนเข้ามาในตลาดด้วยความมั่นใจมากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50776885/acleda-hosts-profitable-investment-seminar/

กัมพูชาร่างกฎหมายด้านการลงทุนฉบับใหม่

รัฐบาลกัมพูชากำลังส่งร่างกฎหมายเกี่ยวกับการลงทุนฉบับใหม่ให้กับภาคเอกชนเพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางที่จะทำให้ร่างกฎหมายฉบับใหม่ครอบคลุมเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจภายในประเทศกัมพูชามากขึ้นและช่วยให้กัมพูชากลายเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจสำหรับโครงการการลงทุนใหม่ๆในอนาคต โดยร่างกฎหมายนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ ทั้งยังปรับปรุงและเพิ่มผลผลิตของอุตสาหกรรมในท้องถิ่นเพื่อเชื่อมโยงกับห่วงโซ่คุณค่าในระดับภูมิภาคและระดับโลก ผ่านการเคลื่อนย้ายของกระแสเงินทุนจากนานาชาติ การถ่ายโอนเทคโนโลยีและความรู้ นอกจากนี้ยังปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ทางกฎหมายของนักลงทุนที่มาลงทุนยังกัมพูชาอีกด้วย ซึ่งกฎหมายจะถูกนำไปใช้กับโครงการลงทุนที่ผ่านการรับรอง (QIP) ทั้งหมด โดยจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้เป็นเวลา 3-9 ปี โดยพิจารณาจากภาคส่วนและกิจกรรมการลงทุน ซึ่งหากโครงการการลงทุนภายใต้ QIP จะได้รับการสนับสนุนให้จ่ายภาษีลดลงร้อยละ 25, 50 และร้อยละ 75 ในทุก ๆ 2 ปี รวมถึงยังได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมสำหรับการซื้อวัตถุดิบที่ผลิตภายในท้องถิ่น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50773944/new-draft-law-on-investment-mulled/

SECC ของกัมพูชาและออสเตรเลียร่วมมือกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมการลงทุน

รัฐบาลออสเตรเลียร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (SECC) เปิดตัวการระดมทุนภายในประเทศ เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานผ่านโครงการ Security Market Project ซึ่งคาดว่าหากตลาดทุนในประเทศมีประสิทธิภาพจะช่วยให้กัมพูชาสามารถกระจายการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความพยายามในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลัง COVID-19 โดยออสเตรเลียได้ให้การสนับสนุนโครงการมูลค่ากว่า 50 ล้านเหรียญออสเตรเลียผ่าน “Investing in Infrastructure (3i)” ซึ่งรัฐบาลออสเตรเลียร่วมมือกับ SECC เพื่อปรับปรุงการระดมทุนในประเทศสำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคเพื่อพัฒนากรอบการกำกับดูแลหนี้สินระยะยาว การสร้างขีดความสามารถของผู้มีส่วนร่วมในตลาด และการพัฒนามาตรการ เพื่อให้ภาคเอกชนในกัมพูชามีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50771221/secc-australia-team-up-to-improve-domestic-capital-mobilisation-for-infrastructure-investment/

รัฐบาลกัมพูชามองหามาตรการผ่อนคลายด้านการลงทุนภายในประเทศ

รัฐบาลกัมพูชากำลังทำงานอย่างหนักเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและส่งเสริมการค้าภายนอกให้ทันกับสภาพแวดล้อมการค้าโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยโฆษกกระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน (MEF) กล่าวว่าในช่วงเวลาของการแพร่ระบาดของไวรัสทั่วโลก ทั้งประกอบไปด้วยสงครามการค้าที่กำลังดำเนินอยู่ระหว่างประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและสหรัฐอเมริกา ซึ่งรัฐบาลได้มีนโยบายที่จะสนับสนุนธุรกิจการค้าและการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เข้ากับกระแสโลกและใช้ช่วงโอกาสให้เป็นประโยชน์จากสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในช่วงของความตึงเครียดทางด้านการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ โดย MEF ได้จัดทำแผนพัฒนา 5 ปี (พ.ศ. 2020-2025) สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ในการปรับเปลี่ยนภาคอุตสาหกรรมให้เป็นอุตสาหกรรมที่มีความมั่นคง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50770066/government-looks-at-easing-investment-procedures/

เวียดนามเผย 8 เดือนแรกของปี 2563 ดึงดูดเม็ดเงิน FDI 19.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

กระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) เปิดเผยว่า ณ เดือนสิงหาคม เวียดนามดึงดูดเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) 19.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 13.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับโครงการที่ได้รับการอนุญาตใหม่นั้น มีจำนวน 1,797 โครงการ ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 9.73 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 25.3 ในแง่ของโครงการ แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งการเพิ่มขึ้นดังกล่าว เป็นผลมาจากโครงการบากเลียว (ก๊าซธรรมชาติ) ในขณะเดียวกัน โครงการที่มีอยู่ในปัจจุบัน 718 โครงการ มีการปรับเพิ่มเงินลงทุนมากกว่า 4.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปยังคงดึงดูดเม็ดเงิน FDI สูงสุด ที่ 9.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (47.7% ของยอดลงทุนทั้งหมด) รองลงมาการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า, อสังหาริมทรัพย์และการค้าปลีกค้าส่ง ตามลำดับ นอกจากนี้ สิงคโปร์เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ด้วยมูลค่า 6.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (33.5% ของยอดลงทุนทั้งหมด) รองลงมาเกาหลีใต้ จีน, ญี่ปุ่น, ไทยและไต้หวัน ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/eightmonth-fdi-attraction-hits-1954-billion-usd/181983.vnp