‘อุตฯ เมียนมา’ เผยเดือน เม.ย. ดึงดูดเม็ดเงินลงทุน 3.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและการบริหารจัดการของเมียนมา (DICA) เปิดเผยข้อมูลทางสถิติในเดือน เม.ย. 2566 ว่าภาคอุตสาหกรรมของเมียนมาดึงดูดเงินลงทุนกว่า 3.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงการปรับเพิ่มเงินลงทุนจากผู้ประกอบการในปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้ประกอบการจีนรายหนึ่งที่เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมของเมียนมา ด้วยมูลค่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เมียนมาดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) รวมทั้งสิ้น 1.64 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2565-2566 (เม.ย.-มี.ค.) การลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม คิดเป็นมูลค่า 271.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมกระจุกตัวอยู่ในสินค้าเสื้อผ้าและสิ่งทอ มีโรงงานผลิตกว่า 541 แห่งที่อยู่ภายใต้สมาคมผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-manufacturing-sector-attracts-3-7-mln-in-april/#article-title

10 เดือนของปีงบฯ 65-66 MIC ไฟเขียว 70 โครงการลงทุนในเมียนมา โกยเงินเข้าประเทศทะลุ 1.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

สำนักงานบริหารจัดการบริษัทและทะเบียนบริษัท (DICA) เผย 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2565-2566 (เดือนเมษายน 2565 -เดือนมกราคม 2566) คณะกรรมาธิการการลงของทุนเมียนมา (MIC) ได้ตอบรับโครงการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) จำนวน 70 โครงการ ซึ่งจะลงทุนในภาคเกษตรกรรม เหมืองแร่ การผลิต ไฟฟ้า โรงแรมและการท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ และภาคบริการ สามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนเข้าประเทศกว่า 1.476 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสิงคโปร์เป็นประเทศผู้ลงทุนอันดับต้น ๆ มีมูลค่าการลงทุนกว่า 1,157 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงมาคือฮ่องกง มีมูลค่าการลงทุนกว่า 165 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และจีน มีมูลค่าการลงทุนกว่า 105.55 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/mic-greenlights-70-foreign-projects-worth-1-47-bln-in-ten-months/

เดือนเม.ย.66 ของงบฯ 65-66 เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศในเมียนมาทะลุ! 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

คณะกรรมการบริษัทแห่งการบริหารการลงทุนและบริษัท (DICA)  เปิดเผยว่า ในเดือนเม.ย. 2565 เมียนมามีเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศเกือบ 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการลงทุนของจีน 2.782 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามมาด้วยไต้หวัน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ฮ่องกง 1.215 ล้านดอลลาร์ และประเทศอื่นๆ รวมเป็น 5.997 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยในช่วงหกเดือนของงบประมาณย่อยปี  2564-2565 พบว่าประเทศผู้ลงทุนรายใหญ่ในเมียนมา คือ สิงคโปร์ 297.349 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามด้วย จีน 142.137 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, ฮ่องกง  109.140 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ,  เกาหลีใต้ 62.693 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, ใต้หวัน 8.641 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนไทย 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ฯลฯ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/us6-mln-foreign-investment-flows-in-april-this-2022-2023fy/

ปีงบฯ 63-64 เงินลงทุนจากต่างประเทศไหลสู่เมียนมาเพียง 3.791 พันล้านดอลลาร์

จากข้อมูลของคณะกรรมการด้านการลงทุนและจดทะเบียนธุรกิจ (DICA) พบว่า ตั้งแต่เดือนต.ค.63 ถึงเดือนก.ย.64 ของปีงบประมาณ 2563-2564 มีการลงทุนจากต่างประเทศเข้าสู่เมียนมาเพียง 3.791 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยลงทุนในภาคเกษตรกรรม 9.988 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาคปศุสัตว์และการประมง 19.698 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาคการผลิต 286.023 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาคพลังงาน 3,121.323 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาคการขนส่งและการสื่อสาร 133.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาคการโรงแรมและการท่องเที่ยว 81 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาคอสังหาริมทรัพย์  8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาคนิคมอุตสาหกรรม 28.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และภาคอื่นๆ  103.656 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งในปีงบประมาณ 2562-2563 มีโครงการลงทุนทั้งหมด 245 รายการ เม็ดลงทุนรวม 4.235 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และได้อนุมัติการลงทุนเพิ่มอีก 1.291 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับ 110 โครงการที่ดำเนินการอยู่ รวมทั้งสิ้น 5.56 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งตามแผนส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศของเมียนมาตั้งเป้าไว้สูงถึง 8.5 พันล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณ 2564-2565 แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงต้องมีการทบทวนใหม่ ทั้งนี้เมียนมากำลังเร่งดำเนินการตามแผนส่งเสริมการลงทุน 20 ปี โดยมุ่งเป้าเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางให้ได้ภายในปี 2573

ที่มา: https://news-eleven.com/article/217365

เมียนมาเตรียมจัดตั้ง MSME เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศ

นาย U Zaw Min Win ประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) กล่าวว่าเมียนมาเตรียมจัดตั้งสมาคม MSME เพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดย่อม (MSME) และเมื่อเร็วๆ นี้ ได้เขียนกฎระเบียบขององค์กรแล้วและจะส่งไปยังสำนักงานคณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) MSME มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและมีส่วนช่วยในการสร้างโอกาสในการทำงานมากขึ้น จนถึงขณะนี้มีธุรกิจทั้งหมด 70,866 แห่งที่จดทะเบียนในหน่วยงานพัฒนาของ MSME โดยมีอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมที่ลงทะเบียนเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันในเมียนมาธุรกิจ MSME มีถึงร้อยละ 90

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-establish-msme-association-support-economy.html

โรงงาน 30 แห่งในย่างกุ้งแห่ยื่นขอปิดกิจการ

จากรายงานของกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและทรัพยากรมนุษย์ เขตย่างกุ้งมีโรงงานมากกว่า 30 แห่งที่ยื่นขอปิดกิจการต่อ คณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) จากสาเหตุหลากหลายประการมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึง 31 กรกฎาคม 63 มีโรงงาน 173 แห่งในเขตย่างกุ้งที่ปิดตัวลงปิดชั่วคราวหรือเลิกจ้างคนงาน ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้ว่างงาน 41,395 คน ซึ่งแผนกตรวจสอบได้ดำเนินการเกี่ยวกับสวัสดิการด้านแรงงาน เช่น ค่าจ้างเงินเดือนและการถูกเลิกจ้างจากโรงงาน 173 แห่ง หากมีการร้องเรียนเกิดขึ้นทีมประสานงานเขตเมืองและทีมเจรจาจะดำเนินการภายใต้กฎหมายระงับข้อพิพาทแรงงานที่ตราขึ้นในปี 2555 ในระลอกที่สองของการระบาดของ COVID-19 มีบริษัทกว่า 220 แห่งได้ยื่นฟ้องปิดตัวปิดชั่วคราวหรือเลิกจ้างคนงาน

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/over-30-more-factories-in-yangon-file-for-close-down

DICA เปิดตัวแอปฯ ลงทุนออนไลน์เป็นครั้งแรกในเมียนมา

คณะกรรมการการลงทุนและการบริหาร บริษัท (DICA) ของเมียนมา จะเปิดตัวแอปพลิเคชันการลงทุนออนไลน์เพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนเพื่อดึงดูดนักลงทุน ฟังก์ชั่นใหม่ฯ นี้ จะช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับการลงทุนโดยไม่ต้องไปที่สำนักงานของ DICA จึงเชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นให้เกิดการลงทุนมากขึ้นในช่วงเวลาที่การเดินทางเข้าประเทศยังถูกจำกัดจากการระบาดของ COVID-19 ทั้งยังลดการใช้กระดาษและลดจำนวนคนทำงานลง การเปิดตัวเกิดขึ้นหลังจาก DICA อนุญาตให้นักลงทุนและธุรกิจจดทะเบียนบริษัทผ่านระบบออนไลน์ ในปี 2561 ระบบการจดทะเบียนบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ Myanmar Companies Online (MyCO) ปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนมากกว่า 68,000 แห่ง กระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศ ได้อนุมัติใบอนุญาตทางออนไลน์มากขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/investment-applications-go-online-myanmar.html

DICA และ MIC ออกแนวปฏิบัติในการรับชาวต่างชาติเข้าทำธุรกิจในประเทศ

คณะกรรมการด้านการลงทุนและจดทะเบียนธุรกิจ (DICA) และคณะกรรมการการลงทุนของประเทศเมียนมา (MIC) ได้ออกแนวปฏิบัติสำหรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ต้องการกลับไปยังเมียนมาเพื่อทำธุรกิจเร่งด่วนในช่วงที่มีการระบาดของ COVID-19 ซึ่งทั้งสององค์กรได้ร้องขอให้รัฐบาลอนุญาตให้พนักงานชาวต่างชาติที่ทำงานในบริษัทที่จดทะเบียนกับ MIC และ Myanmar Companies Online (MyCO) ให้บินกลับเข้าไปในเมียนมา ชาวต่างชาติที่ต้องการบินกลับเมียนมาจากต่างประเทศจะได้รับการตรวจและคัดกรองโดยกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศ (MIFER) ว่ามีธุระด่วนในประเทศจริงหรือไม่ เนื่องปัจจุบันกระทรวงแรงงานการตรวจคนเข้าเมืองและประชากรไม่ได้ออกวีซ่าขาเข้าสำหรับนักเดินทางชาวต่างชาติ ดังนั้นนักลงทุนต่างชาติที่ทำงานในบริษัทที่จดทะเบียนภายใต้ MIC และ MyCO และรวมถึงเจ้าหน้าที่และสมาชิกในครอบครัวจะต้องติดต่อสถานทูตเมียนมาในประเทศของตนเสียก่อน สำหรับการบินเข้าประเทศ MIC และ DICA จะร่วมคัดกรองกรองผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้เดินทางที่ได้รับแจ้งจากสถานทูตเมียนมา กระทรวงการต่างประเทศและ MIFER

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/dica-mic-issue-guidelines-returning-foreign-executives.html