‘ชาวเวียดนาม’ โดนโกงออนไลน์ สูญเงินกว่า 12.24 ล้านเหรียญสหรัฐ

กระทรวงสารสนเทศและการสื่อสารของเวียดนาม (MIC) รายงานว่าคดีฉ้อโกงออนไลน์ มีจำนวนทั้งสิ้น 17,500 คดี โดยมุ่งเป้าไปที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวเวียดนาม มีมูลค่าการสูญเสียเงินจากการฉ้อโกงมากกว่า 300 พันล้านด่อง หรือประมาณ 12.24 ล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้ จากการประชุมหารือเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันการฉ้อโกงและการรับมือกับอาชญากรรมในโลกไซเบอร์ พบว่าการฉ้อโกงทางไซเบอร์มีความซับซ้อนในเมื่อไม่นาน ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อองค์กรและบุคคลทั่วไป จึงจำเป็นที่จะต้องหาแนวทาการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาชญากรทางไซเบอร์ได้เปลี่ยนวิธีการและยุทธวิธีอย่างต่อเนื่อง หันมาใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการโจมดี แทรกซึมและฉ้อโกงในวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของสังคม และสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1655485/vietnamese-users-report-losses-of-more-than-12-24-million-due-to-online-fraud.html

‘เวียดนาม’ เผยรายได้อุตฯ ICT ลดลง 7%

กระทรวงสารสนเทศและการสื่อสารของเวียดนาม (MIC) เปิดเผยว่าในเดือนที่แล้ว รายได้จากอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มีมูลค่ากว่า 1.71 พันล้านล้านด่อง หรือประมาณ 72.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 7.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สาเหตุมาจากเศรษฐกิจหลายๆประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอย และไม่เห็นสัญญาการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ ตลาดไอซีที (ICT) ยังคงปรับตัวลดลง พร้อมกับศักยภาพการเติบโตอยู่ในระดับต่ำ เนื่องมาจากได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน และอาฟเตอร์ช็อกทางเศรษฐกิจ หลังการระบาดของโควิด-19 ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดส่งออกสินค้าและบริการของเวียดนาม

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/ict-revenue-falls-by-more-than-7-over-last-year-2174502.html

“สหรัฐฯ” นำเข้าชิป 10% จากเวียดนาม

ตามรายงานของกระทรวงสารสนเทศและการสื่อสาร (MIC) ระบุว่าเวียดนามมียอดการส่งออกชิปเซมิคอนดักเตอร์ไปยังประเทศสหรัฐฯ จำนวนมาก อยู่ในอันดับที่ 3 ในเอเชีย รองจากมาเลเซียและไต้หวัน และเวียดนามมีสัดส่วนการส่งออกชิปมากกว่า 10% ของปริมาณการนำเข้าชิปของสหรัฐฯ ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี การส่งออกชิปของเวียดนามส่วนใหญ่มาจากบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในเวียดนาม (FIEs) ซึ่งจะดำเนินงานไม่ได้มีความ ซับซ้อน อาทิเช่น การประกอบและการทดสอบ ทั้งนี้ คุณ แดเนียล หลิน จากบริษัท MediaTek กล่าวว่าเวียดนามมีโอกาสที่จะเป็นแหล่งเชื่อมโยงสำคัญของห่วงโซ่อุปทานชิปเซมิคอนดักเตอร์ระดับโลก หากสามารถทำการผลิตได้ดีและการสร้างและออกแบบนวัตกรรมใหม่ๆ อีกทั้ง เวียดนามควรคำนึงถึงการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมชิปเซมิคอนดักเตอร์ อาจเริ่มต้นจากการดำเนินงานที่ไม่ซับซ้อน เช่น การออกแบบไอซี การสร้างโรงงานและห้องปฏิบัติการ การบรรจุภัณฑ์ และการพัฒนาซอฟต์แวร์ เป็นต้น ก่อนที่จะค่อยๆ ยกระดับความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/10-of-chips-imported-to-us-are-from-vietnam-2142369.html

10 เดือนของปีงบฯ 65-66 MIC ไฟเขียว 70 โครงการลงทุนในเมียนมา โกยเงินเข้าประเทศทะลุ 1.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

สำนักงานบริหารจัดการบริษัทและทะเบียนบริษัท (DICA) เผย 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2565-2566 (เดือนเมษายน 2565 -เดือนมกราคม 2566) คณะกรรมาธิการการลงของทุนเมียนมา (MIC) ได้ตอบรับโครงการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) จำนวน 70 โครงการ ซึ่งจะลงทุนในภาคเกษตรกรรม เหมืองแร่ การผลิต ไฟฟ้า โรงแรมและการท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ และภาคบริการ สามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนเข้าประเทศกว่า 1.476 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสิงคโปร์เป็นประเทศผู้ลงทุนอันดับต้น ๆ มีมูลค่าการลงทุนกว่า 1,157 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงมาคือฮ่องกง มีมูลค่าการลงทุนกว่า 165 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และจีน มีมูลค่าการลงทุนกว่า 105.55 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/mic-greenlights-70-foreign-projects-worth-1-47-bln-in-ten-months/

5 เดือน ของปีงบ 65-66 MIC ไฟเขียวให้ต่างชาติมาลงทุน 35 โครงการ เม็ดเงินทะลุ 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา (เดือนเมษายน-เดือนสิงหาคม 2565) ของปีงบประมาณปัจจุบัน 2565-2566 สำนักงานคณะกรรมการการลงทุนแห่งเมียนมา (MIC) ให้ไฟเขียวโครงการต่างประเทศ 35 โครงการจาก 6 ประเทศ มีเม็ดเงินลงทุนกว่า 1.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  เป็นการลงทุนในภาคเกษตรกรรม การผลิต พลังงาน อสังหาริมทรัพย์ และบริการตามลำดับ โดยมีสิงคโปร์เป็นอันดับหนึ่งที่เข้ามาลงทุนในเมียนมา มีมูลค่าการลงทุน 1.089 พันล้านดอลลาร์ รองลงมา คือ ฮ่องกง 70.239 ล้านดอลลาร์จากโครงการ 7 โครงการ ส่วนจีนอยู่ในอันดับที่สาม 56.7 ล้านดอลลาร์จาก 15 โครงการ ที่ผ่านมาเมียนมาดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจำนวน 647 ล้านดอลลาร์ในช่วงงบประมาณย่อยปี 2564-2565 (เดือนตุลาคม 2564 ถึง เดือนมีนาคม 2565)

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mic-nods-35-foreign-projects-worth-1-2-bln-in-5-months/

MIC เชิญชวนลงทุน 8 ภาคธุรกิจในเมียนมา

Interest: EoI) สำหรับ 8 ภาคส่วนเพื่อพัฒนาประเทศ ได้แก่ 1.การผลิตปุ๋ย 2.การผลิตปูนซีเมนต์ 3.การผลิตเหล็ก 4.การเกษตรและการเลี้ยงปศุสัตว์ 5.การผลิตหรือการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของอาหารอาหาร 6.การผลิตยานยนต์อิเล็กทรอนิกส์ 7.ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพและวัสดุที่เกี่ยวข้อง และ 8.การขนส่งสาธารณะ ซึ่งหากนักลงทุนชาวเมียนมาและนักลงทุนต่างชาติที่สนใจลงทุนให้ติดต่อ MIC กระทรวงหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดเตรียมเอกสารหรือหลักฐานที่จำเป็นในการยื่นข้อเสนอในการขอลงทุน ตั้งแต่เดือนต.ค. 2564 ถึงมี.ค. 2565 ได้มีการอนุมัติการลงทุน 48 รายการ เป็นเงิน 684.686 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาการลงทุนจากต่างประเทศ และการลงทุนของชาวเมียนมาเองอีก 38 รายการ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 468,393.528 ล้านจัต สร้างตำแหน่งงานได้ถึง 42,880 ตำแหน่ง ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2564-2565 MIC ได้อนุมัติการทั้งลงทุนในประเทศและต่างประเทศไปแล้วกว่า  684 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 468 พันล้านจัต ตามลำดับ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/mic-invites-eoi-for-eight-investment-sectors/

DICA และ MIC ออกแนวปฏิบัติในการรับชาวต่างชาติเข้าทำธุรกิจในประเทศ

คณะกรรมการด้านการลงทุนและจดทะเบียนธุรกิจ (DICA) และคณะกรรมการการลงทุนของประเทศเมียนมา (MIC) ได้ออกแนวปฏิบัติสำหรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ต้องการกลับไปยังเมียนมาเพื่อทำธุรกิจเร่งด่วนในช่วงที่มีการระบาดของ COVID-19 ซึ่งทั้งสององค์กรได้ร้องขอให้รัฐบาลอนุญาตให้พนักงานชาวต่างชาติที่ทำงานในบริษัทที่จดทะเบียนกับ MIC และ Myanmar Companies Online (MyCO) ให้บินกลับเข้าไปในเมียนมา ชาวต่างชาติที่ต้องการบินกลับเมียนมาจากต่างประเทศจะได้รับการตรวจและคัดกรองโดยกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศ (MIFER) ว่ามีธุระด่วนในประเทศจริงหรือไม่ เนื่องปัจจุบันกระทรวงแรงงานการตรวจคนเข้าเมืองและประชากรไม่ได้ออกวีซ่าขาเข้าสำหรับนักเดินทางชาวต่างชาติ ดังนั้นนักลงทุนต่างชาติที่ทำงานในบริษัทที่จดทะเบียนภายใต้ MIC และ MyCO และรวมถึงเจ้าหน้าที่และสมาชิกในครอบครัวจะต้องติดต่อสถานทูตเมียนมาในประเทศของตนเสียก่อน สำหรับการบินเข้าประเทศ MIC และ DICA จะร่วมคัดกรองกรองผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้เดินทางที่ได้รับแจ้งจากสถานทูตเมียนมา กระทรวงการต่างประเทศและ MIFER

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/dica-mic-issue-guidelines-returning-foreign-executives.html

ย่างกุ้งเตรียมผลักดันโครงการ FDI ขนาดใหญ่ 3 โครงการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

คณะกรรมการการลงทุนของย่างกุ้งเปิดเผยว่ากำลังเร่งจัดลำดับความสำคัญของการดำเนินการของเขตอุตสาหกรรม 3 แห่ง ซึ่งจะช่วยธุรกิจในท้องถิ่นและสร้างโอกาสในการทำงานในภูมิภาคเนื่องจากการลงทุนใหม่อื่น ๆ อาจใช้เวลาเนื่องจากข้อจำกัดด้านการเดินทางที่เกิดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โครงการทั้ง 3 ได้แก่ Hlegu Industrial Park, Yangon Amata Smart Eco City และ Korea-Myanmar Industrial Complex ซึ่งทั้ง 3 โครงการได้รับการรับรองจากคณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) โดยโครงการ Hlegu Industrial Park มีมูลค่า 230.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งพัฒนาโดยกลุ่มบริษัท Sembcorp Industries ในสิงคโปร์ครอบคลุมพื้นที่ 566 เฮกตาร์ในเมืองแลกูและเมืองย่างกุ้ง ข้อตกลงสำหรับโครงการนี้ลงนามโดย Sembcorp CSSD Myanmar Co และพันธมิตรในพื้นที่ Phatama Group Co Ltd และ Myanmar Agribusiness Public Corp (MAPCO) โครงการที่ 2 ศูนย์อุตสาหกรรมเกาหลี – เมียนมาร์ (Korea-Myanmar Industrial Complex : KMIC) เป็นโครงการของรัฐกับรัฐ (G2G) ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐตั้งอยู่ในเมืองแลกูและเมืองย่างกุ้งซึ่งจะเริ่มดำเนินการก่อนสิ้นปีนี้ โครงการที่ 3 Yangon Amata Smart Eco City  มีมูลค่า 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โครงการนี้จะเกี่ยวข้องกับกรมพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัยและอมตะเอเชีย (เมียนมา) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของกลุ่มอุตสาหกรรมในประเทศไทยคืออมตะคอร์ปอเรชัน การพัฒนาจะอยู่ในเขตเมือง East Dagon โครงการการลงทุนใหม่นี้เป็นโครงการจากต่างประเทศ 2 โครงการมูลค่า 6.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐและการลงทุนในประเทศ 1 โครงการมูลค่า 2.17 พันล้านจัตในภาคการผลิต คาดว่าจะสร้างโอกาสในการทำงาน 1,073 คน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/yangon-push-three-large-fdi-projects-boost-economy.html

ต่างชาติยังสนใจลงทุนในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเมียนมาเชื่อยังแข็งแกร่งแม้ส่งออกลดลง

ความสนใจของนักลงทุนต่างชาติในภาคการผลิตเสื้อผ้ายังคงแข็งแกร่งแม้จะมีปริมาณการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลงในปีงบประมาณ 2562-2563 จากข้อมูลของคณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) มีบริษัทต่างชาติ 178 แห่งที่ได้รับอนุญาตให้ลงทุนในเมียนมาระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 31 พฤษภาคม 2563 แม้การส่งออกจะลดลงเหลือเพียง 2.7 พันล้านดอลลาร์ โดยลดลงมากกว่า 24 ล้านดอลลาร์จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากการยกเลิกคำสั่งซื้อของสหภาพยุโรปจากปัญหา COVID-19 ทั้งโรงงานยังเลิกจ้างหรือปิดกิจการซึ่งส่งผลกระทบถึงแรงงานกว่า 700,000 คนโดยเฉพาะแรงงานหญิงในโรงงาน 600 แห่ง และการหยุดชะงักของการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศจีนนื่องจากการล็อกดาวน์ประเทศ โดยร้อยละ 70 ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป เช่นเดียวกับญี่ปุ่น เกาหลี แคนาดา และสหรัฐอเมริกา จากการช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาลและสหภาพยุโรปทำให้อุตสาหกรรมกำลังฟื้นตัว นอกจากนี้ยังมีรายได้จากการส่งออกจากชายแดนเมียนมา – ไทย ในเมียวดีโดยมีการส่งออกมูลค่า 71 ล้านดอลลาร์ไปยังประเทศไทย ทั้งนี้รัฐบาลมีแผนรับมือทางเศรษฐกิจโดยได้จัดสรรเงินกู้ยืมให้กับอุตสาหกรรมที่มีปัญหารวมถึงอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าด้วย ภาคการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเมียนมามีรายรับจากการส่งออก 5 พันล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณ 2561-2562

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/investor-interest-myanmar-garment-sector-still-strong-despite-lower-exports.html

MIC อนุมัติการลงทุนด้านแรงงานและการดูแลสุขภาพ

คณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) จะเร่งอนุมัติการลงทุนในโครงการที่ต้องใช้แรงงานมากและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้มั่นใจว่าคนงานจำนวนมากหางานได้มากที่สุดเพื่อชดเชยผลกระทบของการเลิกจ้างในภาคอื่น ๆ เช่น การผลิตและการท่องเที่ยว MIC จะเร่งการอนุมัติสำหรับธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพและอุปกรณ์ทางการแพทย์รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์การผลิต เช่น หน้ากากอนามัย นอกจากนี้ยังจะให้ความสำคัญกับสถานประกอบการด้านเภสัชกรรมผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในวันที่ 3 เมษายนอนุมัติเงิน 555 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับโครงการใหม่ 11 โครงการในภาคการผลิตการก่อสร้างและการบริการ ในขณะเดียวกันมีการอัดฉีดเงินทุนเข้าโครงการที่มีอยู่ 13 โครงการ คาดว่าจะสร้างตำแหน่งงานได้มากกว่า 3,234 คน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mic-accelerate-approvals-labour-intensive-healthcare-investments.html