คลังยังไม่มีแผนกู้เพิ่ม1ล้านล้าน มาดูแลโควิด

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เผยถึงกระแสข่าวกระทรวงการคลังเตรียมกู้ฉุกเฉินเยียวยาโควิดอีก 1 ล้านล้านบาทว่า ยังไม่ทราบนโยบายดังกล่าว แต่ปัจจุบัน พ.ร.ก.กู้เงิน1 ล้านล้าน สามารถใช้ได้จนถึง 30 ก.ย.นี้ ทั้งนี้ยังต้องมีการหารือในคณะกรรมการวินัยการเงินการคลังเพื่อขยายกรอบเพดานการก่อหนี้สาธารณะ เนื่องจากสัดส่วนหนี้สาธารณะของงบประมาณนี้ คาดอยู่ที่ประมาณ 57-58% ต่อจีดีพี แต่หากจะกู้เพิ่มขึ้นอาจสูงกว่ากรอบที่กำหนดไว้ไม่เกิน 60% ต่อจีดีพี อย่างไรก็ตาม หนี้สาธารณะที่ปรับสูงขึ้นป็นทิศทางเดียวกันกับประเทศอื่นทั่วโลก ซึ่งทุกประเทศได้ก่อหนี้เพื่อนำมาใช้จ่ายดูแลแก้ปัญหาโควิด

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/839321

สปป.ลาว Lockdown เวียงจันทร์และปิดพรมแดนสกัด COVID-19 ที่เชื่อมโยงกับไทย

สปป.ลาว Lockdown เวียงจันทร์และปิดพรมแดนระหว่างประเทศในทุกด่าน หลังพบผู้ป่วยรายใหม่ 28 ราย(22.04.64) ซึ่งมีคามเชื่อมโยงมาจากไทย สร้างผลกระทบต่อด้านการค้าและกิจกรรมทางเศรษฐกิจบริเวณด้านชายแดน นายยกรัฐมนตรีได้มีลงนามมีคำสั่งประกาศให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงเวียงจันทน์ไม่ให้ออกจากเมืองและบุคคลภายนอกจะต้องได้รับอนุญาตในการเข้าไปด้านพรมแดนระหว่างประเทศถูกปิดยกเว้นรถบรรทุกที่บรรทุกสินค้าที่ยังสามารถขนส่งได้แต่อาจมีความล่าช้าจากมาตรการตรวจที่เข้มงวดอาจส่งผลกระทบต่อความล่าช้าด้านการขนส่งและคุณภาพของสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค อย่างรก็ตามรัฐบาทมุ่งมั่นที่จะจำกัดหรือหยดการแพร่เชื่อระลอกใหม่ให้ได้ตามระยะเวลาที่ประกาศ เพื่อป้องกันไม่ให้สปป.ลาวเข้าสู่วิกฤตด้านสาธารณสุขหากมีการระบาดจำนวนมาก

ที่มา : https://www.channelnewsasia.com/news/asia/covid-19-laos-lockdown-capital-vientiane-outbreak-tied-thailand-14672574

การล็อกดาวน์ที่ผ่านมาของกัมพูชา อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ

รัฐบาลกัมพูชาได้ทำการล็อกดาวน์ประเทศลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ขึ้น โดยในบางพื้นที่ของเมืองหลวงถูกกำหนดให้เป็น “เขตพื้นที่สีแดง” ส่งผลทำให้จำเป็นต้องทำการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจของกัมพูชาในปี 2021 ใหม่อีกครั้ง จากผลกระทบข้างต้น ซึ่ง The Economist Intelligence Unit (EIU) สื่อจากสหภาพยุโรปได้ตีพิมพ์ในหัวข้อ The Economist รายงานว่าอาจจะมีการปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของกัมพูชาในปี 2021 ลงจากร้อยละ 4.6 ลงมาสู่ช่วงระดับร้อยละ 3 ถึง 4 จากรายงานของ Nikkei Asia โดยการระบาดและการล็อกดาวน์จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจภาคเอกชน ซึ่งมีสัดส่วนสำคัญคิดเป็นประมาณร้อยละ 70 ของ GDP ประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50843002/lockdowns-movement-restrictions-could-affect-economic-outlook/

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกสาม

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจ “ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกสาม” พบว่า นักธุรกิจกิจและสมาชิกหอการค้าไทย มีความกังวลเรื่องไม่มีวัคซีนโควิดตามแผนที่วางไว้มากถึง ร้อยละ 91.67 รองลงมามีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิดที่ยืดเยื้อและไม่สามารถควบคุมได้ ร้อยละ 89.19 และเป็นห่วงเรื่องการ Lockdown มากถึงร้อยละ 78.38 และมีทัศนะต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นในเมื่อเทียบกับโควิดระลอกที่ผ่านมา 2 รอบ คิดว่าเศรษฐกิจโดยรวมแย่ลงมากถึง ร้อยละ 48.65

และนอกจากนั้น ยังมีข้อเสนอแนะที่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศต่อรัฐบาล ได้แก่ อยากให้เร่งดำเนินการเกี่ยวกับวัคซีนร่วมกับภาคเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ และอยากให้รัฐบาลเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยรวม ภายใต้การจัดสรรงบประมาณตามความเหมาะสม พร้อมกำหนดและออกมาตรการที่ครอบคลุมกับทุกภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19

ที่มา: สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

คลังชงขยายเวลา’เราชนะ’เพิ่ม1เดือน ใช้จ่ายได้ถึงสิ้นมิ.ย.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง ชี้แจงว่า ชี้แจงว่า ในการประชุม ครม.วันที่ 20 เม.ย.64 ได้เสนอขออนุมัติงบเพิ่มเติมสำหรับใช้ในโครงการเราชนะเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขณะเดียวกันได้ขยายระยะเวลาการใช้เงินเพิ่มอีก 1 เดือนด้วย จากเดิมสิ้นสุดเดือนพ.ค.64 เป็น 30 มิ.ย.64 เพื่อให้ผู้ที่เพิ่งได้รับสิทธิเราชนะบางส่วน เช่น ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ไม่มีสมาร์ทโฟน ผู้พิการ ผู้สูงวัย เพื่อให้มีโอกาสวางแผน และทยอยจับจ่ายใช้เงินได้ดีขึ้น ทั้งนี้ยังยืนยันว่าทุกคนยังได้รับวงเงิน 7,000 บาทเท่าเดิม ส่วนการใช้จ่ายปัจจุบันใช้ไปแล้วเกือบ 2 แสนล้านบาท เหลืออีกประมาณ 1 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะมียอดใช้จ่ายได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/838071

รัฐบาลสปป.ลาวร่างวาระแห่งชาติเพื่อป้องกันไม่ให้สปป.ลาวเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจ

รัฐบาลสปป.ลาวกำลังร่างวาระแห่งชาติเพื่อแก้ไขปัญหาทางการเงินและเศรษฐกิจท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด -19 และภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นของประเทศเพื่อป้องกันไม่ให้สปป.ลาวเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังออกมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแหล่งรายได้เพิ่มขึ้นและการใช้จ่ายงบประมาณที่รัดกุมขึ้น ในขณะเดียวกันกระทรวงการวางแผนและการลงทุนได้รับคำสั่งให้สร้างเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อการดึงดูดการลงทุนจากผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศผ่านบริการแบบครบวงจร ด้านธนาคารแห่งสปป. ลาวจะมีมาตรการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราและอัตราเงินเฟ้อตลอดจนดูแลให้ธุรกิจเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น กระทรวงเกษตรและป่าไม้ กระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ กระทรวงพลังงานและเหมืองแร่รวมถึงกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งได้รับคำแนะนำให้มุ่งเน้นมาตรการที่จะเพิ่มผลผลิตทางการค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปลูกพืชและการเลี้ยงปศุสัตว์เพื่อส่งออกไปยังประเทศจีน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_74.php

รัฐบาลกัมพูชาสั่งห้ามเดินทาง รวมถึงปิดรีสอร์ทเป็นการชั่วคราว

กัมพูชาสั่งห้ามเดินทางและให้ทำการปิดรีสอร์ทสำหรับนักท่องเที่ยวชั่วคราวทั่วกัมพูชาจนถึงวันที่ 28 เมษายน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไปยังพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ ซึ่งการขนส่งสินค้า การเดินทางของข้าราชการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ และกรณีอื่นๆ ที่เห็นชอบด้วยกฎหมาย ยังคงสามารถทำได้ ภายใต้กฎข้อบังคับที่รัฐบาลกัมพูชากำหนดไว้ โดยในช่วงเวลาดังกล่าวหน่วยงานของเทศบาลและจังหวัดจะต้องดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อควบคุม รับรองความปลอดภัย และความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตลอดจนการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันด้านสุขภาพอย่างเข้มงวดในแต่ละพื้นที่

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50840939/travel-ban-and-temporary-closure-pf-resorts-extended-for-eight-more-days/

GDT อำนวยความสะดวกสำหรับผู้ต้องการยื่นภาษีผ่านทางออนไลน์ในกัมพูชา

กรมจัดเก็บภาษี (GDT) ได้ออกคำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนในการยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบภาษีไปยังกรมสรรพากรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ตามแนวทางที่กำหนดโดย GDT ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยลดและป้องกันความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้เสียภาษี ไม่ว่าจะเป็นผู้เสียภาษีเงินได้ทั่วไปที่สามารถกรอกและส่งแบบแสดงรายการภาษีรายเดือนผ่านแอปการยื่นภาษีของ GDT ก่อน และทำการชำระภาษีผ่านอัตโนมัติ ไปจนถึงบริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบจัดการการยื่นภาษีออนไลน์ (E-Filing) และชำระภาษีผ่าน E-Payment

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50840782/gdt-facilitates-submission-of-tax-documents-by-introducing-e-documents-submission-system/

เวียดนามเผยโควิด-19 กระทบสินเชื่อเพื่อการบริโภค

นาย Can Van Luc สมาชิกสภาที่ปรึกษาการเงินแห่งชาติ ระบุว่าสถาบันการเงินหลายแห่งได้ปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจในช่วงระบาดของเชื้อไวรัส เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะผู้บริโภคที่รัดเข็มขัดและให้ความสำคัญมากขึ้นกับการดูแลสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและใช้วิถีสุขภาพ ในขณะที่เทคโนโลยีดิจิทัล อีคอมเมิร์ซและการซื้อของออนไลน์ กลายเป็นที่นิยมแก่องค์กรและผู้บริโภค ทั้งนี้ การปล่อยสินเชื่อผู้บริโภคกำลังค่อยๆเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยี ประกอบไปด้วยข้อมูลลูกค้า ตลาดออนไลน์ การยืนยันตัวตนทางออนไลน์ ซึ่งจะผ่านบิ๊กดาต้า (Big Data) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และชำระเงินโดยตรงไปยังบัญชีของลูกค้า นอกจากนี้ บริษัทสำรวจและวิจัยตลาด “Ipsos” ได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง พบว่าคนเวียดนามส่วนใหญ่ 80% มีรายได้ในเชิงลบจากการได้รับผลกระทบของโควิด-19 อีกทั้ง การแพร่ระบาดยังกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาใช้กระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์และการชำระเงินออนไลน์แทนเงินสดมากขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/pandemic-impacts-consumer-credit/200322.vnp

รัฐบาลกัมพูชาเร่งสนับสนุนภาคบริการภายในประเทศ

หลังจากกัมพูชาทำการล็อกดาวน์ประเทศลงเป็นระยะเวลา 5 วัน เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 โดยรัฐบาลได้ตกลงที่จะทำงานร่วมกับองค์กรด้านอาหารและผู้ให้บริการการขนส่งผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อให้แน่ใจว่าภาคบริการจะดำเนินกิจการต่อไปได้ในระหว่างการล็อกดาวน์ ซึ่งผู้ก่อตั้ง Nham24 ยืนยันว่า 2 วันแรกของการล็อกดาวน์ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและบริการจัดส่งสินค้าทุกแห่งที่ดำเนินงานในเมืองหลวงของกัมพูชา โดยรัฐบาลได้กำหนดกฎระเบียบใหม่สำหรับผู้ใช้บริการที่จะสามารถสั่งซื้อสินค้าจำเป็นเพื่อการบริโภค ร่วมกับบริการจัดส่ง เพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องให้สามารถดำเนินต่อไปได้ในช่วงของการล็อกดาวน์ประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50840654/delivery-services-back-online-as-city-hall-updates-regulations/