ภาพรวมเศรษฐกิจของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา หลัง COVID-19

หัวข้อสำคัญของเอกสาร มีดังต่อไปนี้

  1. ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2563
  2. สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19
  3. แนวโน้มเศรษฐกิจเมียนมา หลัง COVID-19

ที่มา:

  • CEIC DATA
  • International Monetary Fund (IMF)
  • Statista
  • Directorate of Investment and Company Administration (DICA)
  • Ministry of Commerce (Myanmar)
  • Economic Intelligence Center (EIC)
  • Asian Development Bank (ADB)
  • World bank

รัฐบาลเมียนอนุญาติให้เปิด ชายหาดอิรวดีและโรงแรมอีกครั้ง

รัฐบาลอนุญาตให้ชายหาดโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอื่น ๆ ในภูมิภาคอิรวดีซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูธุรกิจในพื้นที่ โดยธุรกิจจะต้องผ่านการตรวจสอบโดยหน่วยงานท้องถิ่นและต้องปฏิบัติตามแนวทางการป้องกัน COVID-19 ของกระทรวงสาธารณสุขและการกีฬา ในบรรดาชายหาดที่มีชื่อเสียงที่เปิดให้บริการอีกครั้งได้ คือ Chaung Tha, Ngwe Saung, เกาะ Gaw Yin Gyi และ Shwe Thaung Yan ชายหาดถูกปิดในวันที่ 24 มีนาคม 2563 หนึ่งวันหลังจากที่มีรายงานการติดเชื้อ COVID-19 จำนวน 2 ราย ขณะนี้มีเพียงโรงแรมบนชายหาดเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการในอิรวดี ผู้ประกอบการกล่าวว่าธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวคาดว่าจะเพิ่มราคาสูงขึ้นเนื่องจากต้องปฏิบัติตามระเบียบ COVID-19 แม้ว่าจะกลับมาเปิดโรงแรม เที่ยวบิน และการเดินทางสำหรับนักท่องเที่ยวในท้องถิ่น แต่ก็ยังคงปิดให้บริการแก่ชาวต่างชาติและเที่ยวบินระหว่างประเทศและน่าจะกลับมาเปิดได้ในเดือนตุลาคม โดยโรงแรมในประเทศประมาณ 60% ได้เปิดให้บริการอีกครั้งหลังจากได้ผ่อนคลายข้อบังคับลงในเดือนพฤษภาคม แต่ธุรกิจยังคงซบเซา เช่น ร้านอาหารผลประกอบการลดลงมากถึง 50% ในขณะที่ผู้คนยังคงระมัดระวังในการไปในที่สาธารณะ สมาคมผู้ประกอบการโรงแรมในเมียนมาเผย โรงแรมบางแห่งไม่มีลูกค้ามากพอและอาจสูญเสียรายได้ดังนั้นจึงยังไม่เปิดทำการ การท่องเที่ยวของเมียนมาคิดเป็น 6.6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ มีรายได้รวม 4.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2560 และแรงงาน 1.4 ล้านคน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/ayeyarwady-beaches-hotels-reopen-after-inspection.html

ผู้ค้าแตงโมเมียนมาประเมินความต้องการในฤดูการส่งออก

สมาคมผู้ปลูก ผู้ผลิต และผู้ส่งออกแตงโมเมลอนเมียนมา เผยกลยุทธ์ที่จะผลิตเพื่อการส่งออกและคาดการณ์ว่าจะสูญเสียรายได้ในปีที่จะมาถึงนี้  จากผลของ COVID-19 ผู้ส่งออกแตงโมมีผลขาดทุนเป็นจำนวนมากจากการสูญเสียและความต้องการที่ลดลงในเขตชายแดนเมียนมา- จีนในปีนี้ โดยปกติฤดูกาลส่งออกแตงโมจะเริ่มในเดือนกันยายนและอย่างเร็วในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงพฤษภาคม มีการคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในอดีตที่ผ่านมามีการส่งออกแตงโมมากกว่า 800,000 ตันและตอนนี้เหลือเพียง 500,000 ตันเท่านั้น ผลไม้ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีนที่เขตชายแดน ก่อนการระบาดของ COVID-19 แตงโมและแตงกวาคือการส่งออกผลไม้หลักและรายได้เพิ่มขึ้นทุกปีเนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น ในปีนี้การส่งออกลดลงถูกชดเชยด้วยอุปสงค์กล้วยที่เพิ่มขึ้นในช่วงต้นปีตามรายงานของกระทรวงพาณิชย์ รายได้จากการส่งออกผลไม้ของเมียนมาสูงถึง 370 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณปัจจุบันซึ่งมีแม้จะมีการระบาดของ COVID-19 หากไม่มีการระบาดเมียนมาจะมีรายได้จากการส่งออกผลไม้เพิ่มขึ้นในปีนี้หากมีการจัดเก็บรักษาที่เหมาะสมของชายแดนเมียนมา – จีน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-traders-gauge-demand-melons-upcoming-export-season.html

ศูนย์อัญมณีในมัณฑะเลย์ปิดทำการ

ศูนย์ซื้อขายพลอยในมัณฑะเลย์จะปิดทำการจนถึงสิ้นเดือนแม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื่อ COVID-19 ยังคงต่ำในภูมิภาค เลขาธิการคณะกรรมการบริหารศูนย์การค้าอัญมณี กล่าวว่าแม้ความพยายามของฝ่ายบริหารในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ COVID-19 ของรัฐบาลแต่ก็ยังถูกสั่งให้ปิดไปจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ศูนย์อัญมณีแห่งนี้ดึงดูดผู้คนหลายพันคนต่อวันรวมถึงผู้ซื้อจากจีน รัฐบาลระดับภูมิภาคได้ปลดล็อคจำกัดของมาตรการ COVID-19 โดยอนญาติทำให้เดินทาง โรงแรมสามารถกลับมาเปิดใหม่และเริ่มการผลิตได้หากปฏิบัติตามระเบียบ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/gemstone-centre-mandalay-stay-closed.html

เมียนมาเตรียมยื่นกู้เงินกว่า 480 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก ADB สร้างทางด่วนพะโค – ไจก์ทิโย

กระทรวงการก่อสร้างได้ยื่นข้อเสนอระหว่างการประชุมรัฐสภาของสหภาพที่จัดขึ้นในเนปิดอว์เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคมเพื่อขอสินเชื่อ 483.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เพื่อดำเนินโครงการทางด่วน พะโค – ไจก์ทิโย โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ในเขตเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตกถนนจะเชื่อมต่อท่าเรือ Darn ในเวียดนามและท่าเรือติวาล่า ในย่างกุ้งโดยผ่านลาวและไทย โครงการนี้จะมีการพัฒนาที่ยั่งยืนในฝั่งตะวันออกของย่างกุ้ง เช่น สิเรียม, ติวาล่า, โตน-กวะ, กะยัน, Thanetpin และถนนพะโค ซึ่งจะช่วยให้เกิดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของชาวเมียนมา ทางด่วน พะโค – ไจก์ทิโย เป็นถนน 4 เลนลาดยางยาว 62 กิโลเมตร

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/over-480m-loan-to-be-sought-from-adb-to-build-bago-kyaikhto-expressway

การเติบโตที่แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าของเมียนมา

เมียนมามีศักยภาพในการเติบโตสูงในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องนุ่งห่ม บริษัทวิจัยจากลอนดอน Fitch Solutions เผยความเสี่ยงและอุตสาหกรรมของประเทศในเอเชียอย่างเวียดนาม, บังคลาเทศ, กัมพูชาและเมียนมาจะยังคงเป็นผู้เล่นที่โดดเด่นในการผลิตสิ่งทอของภูมิภาค โดยมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากประชากรขนาดใหญ่และแรงงานหนุ่มสาวส่วนใหญ่ ต้นทุนแรงงานต่ำในประเทศเหล่านี้พร้อมกับได้รับจากโซ่อุปทานทั่วโลกที่กำลังจะมาจีน เมียนมามีค่าแรงต่ำที่สุดในภาคการผลิตเครื่องนุ่งห่มแม้ว่าจะเปรียบเทียบกับผู้เล่นระดับภูมิภาคอย่างกัมพูชา เวียดนาม และลาว ในปี 2561 ค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนของเมียนมาก็อยู่ในระดับเดียวกัน หรือต่ำกว่าบังคลาเทศซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีค่าแรงต่ำที่สุดในโลก แต่ความเสี่ยงของการถอน GSP ของสหภาพยุโรปต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐยะไข่ เนื่องจากว่า 60% ของการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปในปัจจุบันจะส่งผลลบต่ออุตสาหกรรมในระยะเวลาอันใกล้นี้ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเวียดนามและบังคลาเทศได้ครองส่วนแบ่งการตลาดส่งออกเสื้อผ้าโลกและกลายเป็นผู้ส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปรายใหญ่อันดับสองและสามรองจากจีน เมื่อจีนเพิ่มวัตถุดิบในห่วงโซ่คุณค่าและผลักดันการผลิตในระดับต่ำถึงระดับกลางทำให้เวียดนามและบังคลาเทศได้กลายเป็นผู้รับผลประโยชน์ที่สำคัญ อย่างไรก็ตามสัดส่วนการส่งออกสิ่งทอระดับโลกของเมียนมายังคงต่ำมากเพียง 1% ในปี 2562 แม้จะเพิ่มขึ้นจาก 0.1%  ในปี 2553 ซึ่งยังเป็นรองกัมพูชาเพียงเล็กน้อยที่ 1.4% และบังคลาเทศที่ 6.1% Fitch Solutions มองว่าเมียนมาจะเป็นแบบเดียวกับ บังคลาเทศ เวียดนาม และกัมพูชามีแนวโน้มที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงของการผลิตในอุตสาหกรรม จากการใกล้ชิดกับแหล่งวัตถุดิบในประเทศจีนและอินเดีย แหล่งแรงงานที่มีต้นทุนต่ำขนาดใหญ่เชื่อมโยงการค้ากับจีนและส่วนอื่น ๆ ของโลกและที่สำคัญที่สุดคือการสนับสนุนทางเศรษฐกิจของจีน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/strong-growth-continue-myanmars-garment-industry.htm