รัฐบาลญี่ปุ่นตั้งกองทุนสนับสนุนการพยากรณ์ในลุ่มน้ำแม่น้ำโขง

รัฐบาลญี่ปุ่นมอบเงินสนับสนุน 2.9 ล้านดอลลาร์ ให้แก่คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) เพื่อช่วยดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาในภูมิภาค โดยการระดมทุนครั้งใหม่นี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาต่อความท้าทายในภูมิภาคที่จะต้องเผชิญในอนาคต ซึ่งแผนยุทธศาสตร์ฉบับใหม่จะดำเนินการจนถึงปี 2024 จะช่วยให้กลุ่ม MRC และประเทศสมาชิกได้คอยติดตามและประเมินสถานการณ์ของลุ่มแม่น้ำ เพื่อเตรียมปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์นั้น ๆ ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยแม่น้ำโขงถือเป็นที่ตั้งและจุดกำเนิดของความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยมีกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ มากกว่า 95 กลุ่ม ที่อาศัยอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำโขง ที่ได้พึ่งพาทรัพยากรทางธรรมชาติจากแม่น้ำโขงมาอย่างยาวนาน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50819129/japanese-govt-helps-fund-mekong-forecasting-system/

การค้าข้ามพรมแดนระหว่างไทยและกัมพูชาลดลงร้อยละ 3.15

การค้าข้ามพรมแดนของไทยคาดว่าจะฟื้นตัวขึ้นเป็นร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 6 ในปีนี้ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้แก่ประชาชน ร่วมกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกโดยภาพรวม ซึ่งอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศระบุว่าการค้าข้ามพรมแดนมีแนวโน้มที่จะสร้างรายได้ราว 1.36 ถึง 1.40 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 1.31 ล้านล้านบาทในปี 2020 โดยสถานการณ์การค้าชายแดนในปีที่แล้วลดลงร้อยละ 1.7 จากปีก่อน สาเหตุหลักมาจากการแพร่ระบาดและการปิดด่านชายแดนเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่า ซึ่งการค้าชายแดนของไทยกับ 4 ประเทศเพื่อนบ้านมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 760 พันล้านบาทลดลงร้อยละ 8.01 เมื่อเทียบรายปี โดยการค้าระหว่างกัมพูชาอยู่ที่ 156 พันล้าน ลดลงร้อยละ 3.15 มาเลเซียที่เป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดโดยมีมูลค่าการค้าระหว่างกันรวม 2.46 แสนล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.1 ตามด้วย สปป.ลาว ที่ 190 พันล้าน ลดลงร้อยละ 3.85 และเมียนมาที่ 165 พันล้าน ลดลงร้อยละ 14.7

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50819149/cross-border-trade-between-thailand-and-cambodia-down-by-3-15-percent/

การค้าระหว่างกัมพูชาและไทยหดตัวต่อเนื่อง

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยในช่วงต้นปี 2021 มีการหดตัวลงอย่างต่อเนื่องเนื่อง จากผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 โดยการค้าระหว่างสองประเทศมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 653 ล้านดอลลาร์ในเดือนมกราคม 2021 ซึ่งลดลงร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบเป็นรายปีจากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ของไทย โดยกัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังไทยในเดือนมกราคมมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 113 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบเป็นรายปี ในขณะที่กัมพูชานำเข้าสินค้าจากไทย 540 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมปี 2020 ซึ่งปีที่แล้วการค้าทวิภาคีระหว่างสองประเทศมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 7.236 พันล้านดอลลาร์ ในปีที่แล้วลดลงร้อยละ 23 จากปี 2019 โดยขณะนี้ความพร้อมของวัคซีนโควิด-19 กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ ซึ่งคาดว่าจะมีความเคลื่อนไหวในการฟื้นตัวของกิจกรรมการค้าภายในประเทศที่ดีขึ้นในช่วงปี 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50818390/cambodia-thailand-trade-continues-contraction/

กัมพูชาลงนามข้อตกลงด้านการสนับสนุนการพัฒนาภาคเอกชน

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) และบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (IFC) ได้ทำบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อดำเนินโครงการ “การพัฒนาตลาดซัพพลายเชนทางการเงิน” โดยบันทึกความเข้าใจดังกล่าวได้รับการลงนามเมื่อไม่นานมานี้ระหว่างผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายกำกับการธนาคารในนามของผู้ว่าการ NBC และผู้แทนของ IFC ซึ่งโครงการพัฒนาตลาดห่วงโซ่อุปทานทางการเงินจะช่วยสนับสนุนรัฐบาลกัมพูชาในการปรับปรุงภาคเอกชนในประเทศต่อไป นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์ชาติด้านการเงินรวมสำหรับปี 2019-2025 เพื่อส่งเสริมภาคสินเชื่อสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โครงการนี้จะมีบทบาทสำคัญในฐานะแนวทางสำหรับการจัดทำนโยบายสำหรับ SMEs และระบบทางการเงินในกัมพูชา ผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพการสนับสนุนด้านกฎระเบียบและการปรับปรุงความรู้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50818714/agreement-to-support-cambodias-private-sector-development-signed/

กระทรวงเกษตรฯ กัมพูชา ชี้ผู้ปลูกมะม่วงขึ้นทะเบียนเพิ่มมาตรฐานสินค้า

กระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง (MAFF) ได้เรียกร้องให้เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงขึ้นทะเบียนการปลูกมะม่วงกับกรมวิชาการเกษตรอีกครั้ง เพื่อเพิ่มผลิตภาพและมาตรฐานของผลไม้ภายในกัมพูชา นอกจากนี้ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถจัดตั้งกลุ่มธุรกิจที่ดำเนินการแปรรูปมะม่วง และร่วมงานกับบริษัททั้งในและต่างประเทศในการทำคอนแทรคฟาร์มมิ้งเพื่อแปรรูปและส่งออกมะม่วง โดยจากข้อมูลของ MAFF ราคาสินค้าเกษตรรวมทั้งมะม่วงมีความผันผวนตามฤดูกาลเก็บเกี่ยว รวมถึงอุปสงค์และอุปทานในตลาดที่ไม่แน่นอน กระทรวงฯ จึงพยายามอย่างมากในการแสวงหาตลาดเพิ่มเติมสำหรับผลิตภัณฑ์มะม่วงของกัมพูชา โดยเฉาพะเกาหลีใต้และญี่ปุ่น ซึ่งกัมพูชามีพื้นที่เพาะปลูกมะม่วง 131,890 เฮกตาร์ สร้างผลผลิตเฉลี่ย 18.78 ตันต่อเฮกตาร์ โดยผลผลิตในปี 2020 อยู่ที่ 1.75 ล้านตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50817427/mango-farmers-asked-to-register-to-boost-standards/

กัมพูชาส่งเสริมธุรกิจด้านการเกษตร

Khmer Enterprise (KE) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน ร่วมกับ Cambodia Partnership for Sustainable Agriculture (CPSA) เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการในภาคการเกษตรของกัมพูชา โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะส่งเสริมนวัตกรรมการปรับตัวทางเทคโนโลยี การแก้ปัญหาการผลิต การพัฒนาทักษะทางธุรกิจ การเชื่อมโยงด้านวิชาการกับอุตสาหกรรม และการเป็นผู้ประกอบการในภาคการเกษตร รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาคส่วน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลไกสนับสนุนภาคการเกษตรภายในประเทศ โดย KE และ CPSA ยังได้เปิดตัวโครงการบ่มเพาะวิสาหกิจสหกรณ์การเกษตรซึ่งเป็นโครงการระยะเวลา 3 ปี เพื่อสร้างอุตสาหกรรมการเกษตรที่ยั่งยืน และมีประสิทธิผลมากขึ้น ช่วยแก้ไขปัญหาหลักสองประการที่ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรในกัมพูชา ได้แก่ ปัญหาผลผลิตต่ำ และปัญหาแรงงานภาคการเกษตรที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่น้อยลง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50817350/promoting-business-in-farming/

สมาคม Fintech กำหนดเป้าหมายภายในประเทศกัมพูชา

สมาคมการเงินและเทคโนโลยีแห่งกัมพูชา (CAFT) นำเสนอวิสัยทัศน์สำหรับอนาคตของอุตสาหกรรมในการประชุมสามัญประจำปีครั้งแรก โดยงานนี้มีวิทยากรจาก ธนาคารกลางของประเทศกัมพูชา (NBC) และ องค์การเงินตราแห่งประเทศสิงคโปร์ ได้รวบรวมผู้นำจากภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงสถาบันบริการการชำระเงิน (PSI), การประกันภัย, การธนาคาร, การเงินขนาดเล็กและอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งประธาน CAFT มองว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องรวมกลุ่มธุรกิจให้กว้างขวางขึ้น เพราะจะช่วยสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นวงกว้าง ผ่านการทำงานร่วมกันภายใต้นวัตกรรมใหม่ ซึ่งในขณะนี้ CAFT กำลังดำเนินการจัดทำเอกสารแนวคิดที่จะส่งไปยัง NBC เพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการการรวมกลุ่ม โดยปัจจุบันการใช้งานหลักสำหรับโซลูชันฟินเทคคือการโอนเงินแบบดิจิทัล ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50816982/fintech-association-outlines-goals-at-its-first-annual-meeting/