เขตซะไกง์ประกาศเคอร์ฟิว 10:00 น. ถึง 04:00 น.

ประชาชนในเขตซะไกง์จะไม่อนุญาตให้ออกจากบ้านระหว่างเวลา 22.00 น. ถึง 04.00 น. แต่อนุญาตให้ออกไปสถานที่สำคัญ เช่น การซื้ออาหารหรือรักษาพยาบาล เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการป้องกันการระบาดของ COVID-19 ตามเมื่อประกาศ 13 เมษายน 2563 หากละเมิดกฎเหล่านี้จะดำเนินคดีโดยทันที ทั้งนี้ยังไม่ให้ประชาชนฉลองเทศกาลตะจาน (ปีใหม่ของเมียนมา) และหลีกเลี่ยงการชุมนุมโดยไม่มีเหตุผล เขตซะไกง์เป็นหนึ่งในเขตที่มีประชากรแรงงานอพยพสูงสุด ตามรายงานสถานการณ์ของ COVID-19 ของกระทรวงสาธารณสุขระหว่างวันที่ 31 มกราคมถึงวันที่ 11 เมษายน 2563 มีแรงงานกว่า 17,000 คนถูกกักตัวจำนวน 6,889 ซึ่งไม่ชัดเจนว่าตัวเลขเหล่านี้รวมถึงผู้ที่ถูกกักกันที่บ้านหรือไม่

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/sagaing-imposes-10pm-4am-curfew.html

เมียนมาปิดประตูเข้าออกชายแดนบังคลาเทศ

รัฐบาลเมียนมาได้ปิดการเข้าและออกของผู้คนในประตูชายแดนกับบังกลาเทศตั้งแต่วันที่ 13 เมษายนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะบรรเทาการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้ได้ห้ามการเข้าและออกของผู้คนจากประตูชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินเดีย จีน ไทยและสปป.ลาวและเปิดเฉพาะการขนส่งสินค้าเท่านั้น ซึ่งสินค้าระหว่างเมียนมาและบังคลาเทศก็จะดำเนินต่อไปเช่นกัน วันที่ 13 และ 14 เมษายน 2563 เมียนมามีจำนวนผู้ป่วย 62 คนโดยมีผู้เสียชีวิต 4 รายและหายป่วยไปแล้วสองราย

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-stops-entry-exit-people-bangladesh-border-gates.html

ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในเมียนมา เพิ่มขึ้นอีก 53 ราย

กระทรวงสาธารณสุขรายงานเมื่อวันที่ 13 เมษายนมีผู้ติเชื้อ COVID-19 ในประเทศแล้ว 12 รายทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อ เป็น 53 ราย จำนวน 12 รายเป็นคนที่เข้ารับการกักตัวที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลต่าง ๆ มีอาการ เช่น ไข้ ไอ และเจ็บคอเป็นต้น จำนวนผู้ป่วย COVID-19 ที่ตรวจพบใหม่สูงสุดในวันเดียวนับตั้งแต่มีรายงานผู้ป่วย 2 รายแรกเมื่อวันที่ 23 มีนาคม จากจำนวนผู้ป่วย COVID-19 ทั้งหมด 53 รายมีผู้เสียชีวิตแล้ว 4 รายและรักษาหายแล้ว 2 ราย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-reports-another-surge-covid-19-cases-52.html

MIC อนุมัติการลงทุนด้านแรงงานและการดูแลสุขภาพ

คณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) จะเร่งอนุมัติการลงทุนในโครงการที่ต้องใช้แรงงานมากและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้มั่นใจว่าคนงานจำนวนมากหางานได้มากที่สุดเพื่อชดเชยผลกระทบของการเลิกจ้างในภาคอื่น ๆ เช่น การผลิตและการท่องเที่ยว MIC จะเร่งการอนุมัติสำหรับธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพและอุปกรณ์ทางการแพทย์รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์การผลิต เช่น หน้ากากอนามัย นอกจากนี้ยังจะให้ความสำคัญกับสถานประกอบการด้านเภสัชกรรมผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในวันที่ 3 เมษายนอนุมัติเงิน 555 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับโครงการใหม่ 11 โครงการในภาคการผลิตการก่อสร้างและการบริการ ในขณะเดียวกันมีการอัดฉีดเงินทุนเข้าโครงการที่มีอยู่ 13 โครงการ คาดว่าจะสร้างตำแหน่งงานได้มากกว่า 3,234 คน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mic-accelerate-approvals-labour-intensive-healthcare-investments.html

MIC ลดค่าธรรมเนียมสมัคร 50% สำหรับนักลงทุนจากการระบาดของ coronavirus

คณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) ประกาศเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2563 นักลงทุนที่ต้องการสมัครขออนุญาตลงทุนในประเทศจะได้รับส่วนลด 50% ทั้งนักลงทุนชาวเมียนมาและนักลงทุนต่างชาติ วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนและช่วยให้ธุรกิจประหยัดค่าใช้จ่ายในช่วงเวลาที่ COVID-19 ระบาดอยู่ในขณะนี้ MIC อนุมัติการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมูลค่ามากกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก 11 ธุรกิจและการลงทุนในท้องถิ่นมูลค่า 50,000 ล้านจัต เมื่อวันที่ 3 เมษายน 1 วันหลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 20 ราย ซึ่งรวมถึงการลงทุนในภาคต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมการก่อสร้างและบริการนอกเหนือจากการขยายธุรกิจที่มีอยู่แล้ว 13 แห่ง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mic-halves-application-fees-investors-coronavirus-bites.html

สหภาพยุโรปให้เงินฉุกเฉิน 5 ล้านยูโรแก่แรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าชาวเมียนมา

สหภาพยุโรป (EU) จะให้เงินสด 5 ล้านยูโร (7.9 พันล้านจัต) ให้กับแรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าชาวเมียนมาที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 กองทุนเงินสดฉุกเฉิน Myan Ku (เงินช่วยเหลือด่วน) สำหรับอุตสาหกรรมเน้นผลิตเสื้อผ้าแบบแบบ Cutting Making และ Packaging (CMP) ที่ตกงานเนื่องจาก COVID-19 ณ สิ้นเดือนมีนาคมมีพนักงานกว่า 25,000 คนจาก 40 โรงงานถูกปลดในขณะที่ 350,000 คนมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกพักงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างหรือตกงาน อุตสาหกรรมมีการว่าจ้างมากถึง 700,000 คนส่วนใหญ่เป็นแรงงานหญิงในโรงงาน 600 แห่ง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/eu-provides-eu5-million-emergency-cash-myanmar-garment-workers.html

การส่งออกประมงเมียนมาชะลอตัว

การส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงขอเมียนมาเกือบจะหยุดชะงักตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของ COVID-19 และโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมงแช่แข็งกำลังประสบปัญหาในการดำเนินงาน ปัจจุบันมีการระงับการสั่งซื้อในหลายประเทศ ส่วนข้อตกลงการสั่งซื้อได้หยุดการเจรจาลงและข้อตกลงที่มีอยู่ปัจจุบันถูกระงับ ผลิตภัณฑ์ประมงจากทะเลส่วนใหญ่ส่งออกไปยังยุโรปและประเทศในเอเชีย ขณะที่ ผลิตภัณฑ์น้ำจืดถูกส่งออกไปยังประเทศอาหรับ ปัจจุบันโรงงานแปรรูปที่มีแรงงานจำนวนมากอาจไม่สามารถจ่ายค่าแรงได้หากสถานการณ์ยังคงเป็นแบบนี้ ในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด COVID-19 จึงมีการแนะนำให้เมียนมาพิจารณาในแนวทางดังกล่าว ระหว่างเดือนตุลาคม 2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ของปีงบประมาณปัจจุบันเมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลเกือบ 340,000 ตันมูลค่ามากกว่า 412 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (572 พันล้านจัต)

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/exports-fisheries-products-slow-crawl.html