สปป.ลาวกระตุ้นการลงทุนด้านโภชนาการอย่างต่อเนื่อง

สปป.ลาวจะยังคงส่งเสริมการลงทุนด้านโภชนาการในระดับท้องถิ่นเพื่อสร้างชุมชนที่สามารถผลิตอาหารและวัตถุดิบได้อย่างยั่งยืนและคนในชุมชนสามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่า แม้ว่าสถานการณ์การขาดสารอาหารจะดีขึ้น แต่การลงทุนด้านโภชนาการสำหรับชุมชนท้องถิ่นยังคงมีต่อเนื่องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รายงานการขาดแคลนลดลงจาก 44% ปัจจุบันอยู่ที่ 33%แต่ยังมีในอีกหลายแขวงยังขาดการสนับสนุนทำให้การเปลี่ยนดังกล่าวยังไม่น่าพอใจมากนัก เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวกล่าวว่าสาระสำคัญของงานโภชนาการในปีนี้คือ ‘การลงทุนด้านโภชนาการเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์การเจริญเติบโตและความเจริญรุ่งเรือง’ ความสำคัญของการลงทุนด้านโภชนาการที่เพิ่มขึ้นในภาคส่วนต่าง ๆโดยเฉพาะที่สำคัญคือภาครัฐจะเป็นกุญแจสำคัญสำหรับรัฐบาลสปป.ลาวที่จะบรรลุเป้าหมายด้านโภชนาการที่ยั่งยืนที่จะส่งผลต่อความเป็นอยู่และความยั่งยืนของชาติในภายภาคหน้า

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_DPM267.php

รัฐฉานต้องการการลงทุนเพิ่มในภาคการเกษตร

คณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) เรียกร้องให้มีการลงทุนในประเทศและต่างประเทศมากขึ้นในภาคเกษตรของรัฐฉาน เพราะเป็นรัฐที่มีศักยภาพที่ดีสำหรับธุรกิจการเกษตร แหมาะแก่การพัฒนาในด้านการเกษตร ปศุสัตว์และภาคอุตสาหกรรม เป้าหมายคือเป็นภูมิภาคที่จัดหาสินค้าเกษตรสำหรับตลาดในและต่างประเทศ ปัจจุบันมีผลผลิตอย่าง กาแฟ ใบเมี่ยง ข้าวโพด เนย และผัก ซึ่งสินค้าเกษตรมีจำหน่ายในตลาดท้องถิ่นและส่งออก กาแฟส่งออกไปยังอเมริกา ยุโรป และเอเชีย พืชชนิดอื่น ๆ จะส่งออกไปจีนเป็นหลัก รัฐฉานมีสภาพอากาศเหมาะสมสำหรับธุรกิจการเกษตร และมีที่ตั้งใกล้กับไทยและจีนนั้นเป็นข้อได้เปรียบในการกระจายสินค้า ความท้าทายคือ ขาดเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงใช้วิธีเพาะปลูกแบบดั้งเดิม รัฐบาลกำลังเชิญชวนนักลงทุนให้เข้ามาลงทุน อีกทั้งยังแนะนำโครงการลงทุนของรัฐฉาน (2563-2573) และโครงการพัฒนาการเกษตรระยะสั้น ส่วนความขัดแย้งในบางพื้นที่อาจเป็นเรื่องท้าทายของรัฐบาลที่กำลังหาทางแก้ไข การลงทุนส่วนใหญ่มาจากธุรกิจท้องถิ่น รัฐบาลมีแผนที่จะจัดตั้งเขตเกษตรกรรมและเศรษฐกิจใน Hopone โดยร่วมมือกับเขตปกครองตนเอง Hopone และเขตเศรษฐกิจชายแดนเมียนมา – จีนทางตอนเหนือของรัฐฉาน จากสถิติบริษัทต่างชาติได้ลงทุนในรัฐฉานตั้งแต่ปี 2531 ถึง 2560 มีมูลค่ามากกว่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/shan-state-seeking-more-investors-agricultural-sector.html

บริษัทจากสหรัฐเร่งการลงทุนในกัมพูชา

การพบกันระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กัมพูชาขอให้สหรัฐฯเร่งการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเกษตรกรรม การผลิตอัญมณี การผลิตไฟและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งตัวแทนสถานทูตสหรัฐฯกล่าวว่าในไม่ช้าจะมีการจัดเวทีที่มุ่งเน้นภาคเกษตร โดยเป้าหมายของการจัดงานคือการช่วยเหลือและสนับสนุนการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกัมพูชา ภายในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า ซึ่งนักการทูตสหรัฐฯกล่าวกับทางรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ว่า บริษัท General Electrics ได้แสดงความตั้งใจที่จะลงทุนในภาคพลังงานของกัมพูชา โดยโฆษกประจำสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกากำลังส่งเสริมธุรกิจของสหรัฐฯให้แสวงหาโอกาสการลงทุนในกัมพูชารวมทั้งเชื่อมโยงบริษัทกัมพูชาเข้ากับธุรกิจในสหรัฐฯ ซึ่งสหรัฐฯให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯกับกัมพูชา โดยวางแผนที่จะติดตามกิจกรรมนี้โดยเชิญ บริษัท ชั้นนำบางหลายแห่งของสหรัฐฯไปยังกัมพูชาในเดือนกุมภาพันธ์เพื่อสำรวจโอกาสทางการค้าและการลงทุนในภาคเกษตรกรรมของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50663745/us-companies-urged-to-invest-in-cambodia/

จังหวะของการลงทุน

ในระยะเวลาปีสองปีต่อจากนี้ไป คือช่วงเวลาเหมาะต่อการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งหากผ่านพ้นไปอีก 4 – 5 ปี คงมีโอกาสเป็นไปได้ยาก เพราะวันนี้สภาวะของอสังหาริมทรัพย์อยู่ในช่วงขาลงสุดๆ เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่นำออกมาใช้ลดความร้อนแรงของราคาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อต้องการกระตุ้นการลงทุน ด้วยการออกนโยบายเงินขาว-เงินดำ แต่ก็ยังไม่สัมฤทธิ์ผลมากนัก คือการออกนโยบายเก็บภาษีซื้อ-ขายที่ดินแบบบ้าระห่ำ ทำให้ไม่มีคนซื้อ ราคาตกไปเกือบ 20% ต่อมาเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ผ่านมา รัฐออกกฎหมายซื้อ-ขายที่ดินแบบอัตราก้าวหน้ามาใช้ ทำให้การซื้อการอสังหาริมทรัพย์ได้รับอานิสงค์ และการที่ค่าเงินจัตอ่อนลงถึง 80% ทำให้น่าลงทุน เพราะถูกลงเกือบ 80% เช่น ราคาที่ดิน และอาคารโกดังปีที่แล้ว อยู่ที่อยู่เอเคอร์ละ 600 ล้านจัต เป็นเงินบาทประมาณ 13.95 ล้านบาท ในขณะที่วันนี้ราคาตกอยู่ที่ 550 ล้านจัต ราคาประมาณ 11 ล้านบาท หรือลดลง 21.14% เรียกว่าตลาดเป็นของผู้ซื้อจริงๆ เนื่องจากเมียนมาเป็นประเทศที่อ่อนไหวต่อเปลี่ยนแปลงกฎหมายง่าย เมื่อมีความต้องการที่จะแก้กฎหมายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ แค่นำเรื่องเสนอเข้าสภามีผลบังคับใช้ทันที ดังนั้นถ้ากฎหมายมีประโยชน์หรือมีความจำเป็น รับรองมีการประกาศใช้แน่นอน ถ้าหากเมียนมาเสนอให้เราแล้ว ต้องรีบยื่นเรื่องขอใบอนุญาต MIC (Myanmar Investment Committee) ทันที ซึ่งการที่จะถอนใบอนุญาตหรือยกเลิกการส่งเสริม มีทางเดียวคือทำผิดกฎหมายร้ายแรง นี่คือ “จังหวะของการลงทุน” อย่างแท้จริง

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/606619

สิงคโปร์กับการลงทุนพลังงานแสงอาทิตย์ในเมียนมา

สิงคโปร์ได้หารือเกี่ยวกับการลงทุนในภาคพลังงานแสงอาทิตย์และการธนาคารและยังให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคแก่การลงทุนในภาคอื่น ๆ จากข้อมูลของผู้อำนวยการสำนักการลงทุนและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุนของเมียนมาร์ในการประชุมสุดยอดธุรกิจ 2019 เมียนมา – สิงคโปร์ เมื่อ 14 พ.ย. ที่ผ่านมา สิงคโปร์ยังลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โครงสร้างพื้นฐานขั้นพื้นฐาน และการช่วยเหลือทางการเงิน ในบรรดา 49 ประเทศที่ลงทุนในเมียนมา สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีการลงทุนมากที่สุดมูลค่าประมาณ 22 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/singapore-discusses-investment-in-myanmars-solar-energy-sector

ผู้ประกอบการเวียดนามลงทุนกว่า 430 ล้านเหรียญสหรัฐฯไปยังต่างประเทศ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้

จากข้อมูลของสำนักงานลงทุนต่างประเทศ ภายใต้กระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม เปิดเผยว่าผู้ประกอบการเวียดนามลงทุนประมาณ 431.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไปยังต่างประเทศ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ โดยส่วนใหญ่ลงทุนในภาคการค้าปลีกค้าส่ง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.6 ของการลงทุนรวม รองลงมาภาควิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาคเกษตรกรรม และภาคอสังหาริมทรัพย์ ตามลำดับ ซึ่งในบรรดา 30 ประเทศทั่วโลก นักการเงินเวียดนามส่วนใหญ่ลงทุนไปยังประเทศออสเตรเลีย คิดเป็นมูลค่า 140.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาสเปน กัมพูชา และสิงคโปร์ ตามลำดับ ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าว ธุรกิจท้องถิ่นได้อัดฉีดเงินทุนเข้าสู่ตลาดใหม่ สังเกตได้จากเวียดนามอัดฉีดเงินทุน 4.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ไปยังสปป.ลาว สำหรับการลงทุนในประเทศ ส่วนใหญ่ลงทุนในภาคการเกษตรกรรม การเงิน ภาคธนาคาร ประกันภัยชีวิต และโทรคมนาคม เป็นต้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnamese-firms-invest-over-us430-million-abroad-in-nine-months-406166.vov

เมียนมา ตลาดสุดท้ายของประเทศ CLMV

เมียนมาเป็นประเทศที่น่าสนใจ แม้ประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ ที่อยู่ห่างไกลออกไปยังเลือกที่จะเข้ามาลงทุน เช่น ประเทศสิงคโปร์ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้ามาที่นี่นานมากแล้ว ตั้งแต่ยุคประธานาธิบดี ลี กวนยู ยังมีชีวิตอยู่ เคยเดินทางมาเพื่อเชื่อมสัมพันธ์ด้วยตนเอง อีกประการหนึ่งประเทศใน CLMV คือ เพื่อนบ้านเราที่อยู่ชายแดนติดกัน จึงน่าจะง่ายที่สุดในการค้าและการลงทุน หากจะเปรียบเทียบหรือวิเคราะห์ ระหว่างทั้ง 4 ประเทศแล้วประเทศกัมพูชา และสปป.ลาว (ซึ่งมีประชากรน้อย) หากจะไปแข่งขันกับประเทศที่มีเงินทุนหนา เทคโนโลยีสูง มีความฉลาด ขยันอดทน อย่างคนจีน ที่เข้าไปยึดหัวหาดไว้เกือบจะหมดแล้ว ไทยเราอาจจะสู้ได้ลำบาก ส่วนเวียดนามที่นั่นมีพัฒนามากเกือบจะล้ำหน้าไทยเราไปแล้ว อีกทั้งยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศก็เข้าไปแล้วทุกประเทศ ในช่วงนี้ใครที่เข้าไปลงทุนใหม่ๆ ต้องศึกษาให้ดีก่อน ดังนั้นประเทศเมียนมาเท่านั้น ที่เพิ่งเปิดประเทศได้ไม่นาน ไทยมีโอกาสสู้ประเทศอื่นๆ ได้อยู่แล้ว เพราะกำลังเร่งพัฒนาประเทศกันอยู่ เราต้องนึกย้อนไปในช่วงไทยเริ่มต้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 เมื่อปีพ.ศ.2504 เพียงแต่เขาจะเร็วกว่าเรา เพราะยุคสมัยและเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งมาในช่วงที่ยุค IT กำลังบูม หากไทยมองเห็นช่องก็จะมีโอกาสรวยได้เช่นกัน

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/605146

MIC เผยนักลงทุนเกาหลีใต้ไม่ถอนการลงทุนจากเมียนมา

นักธุรกิจชาวเกาหลีใต้ในเมียนมาจะไม่มีการย้ายการลงทุนไปยังบังคลาเทศอย่างแน่นอน เลขาธิการคณะกรรมาธิการการลงทุนของพม่า (MIC) เผย จากแถลงการณ์ของสำนักงานเขตเศรษฐกิจบังกลาเทศ (BEZA) และ บริษัท เกาหลีอินดัสเตรียลคอมเพล็กซ์ จำกัด (KIC) เมื่อเร็ว ๆ นี้หนังสือพิมพ์ของบังคลาเทศรายงานว่าเกาหลีใต้ที่ลงทุนในเมียนมาต้องการย้ายไปบังกลาเทศ จากรายงานระบุว่าธุรกิจของเกาหลีใต้ประมาณ 100 รายต้องการย้ายไปยังบังคลาเทศเนื่องจากข้อบกพร่องในเขตอุตสาหกรรม แม้ว่า KIC จะลงทะเบียนในเมียนมาแต่ก็ยังไม่ได้เริ่มดำเนินธุรกิจ แต่จากข้อมูลพบว่าเป็นเพียงข่าวลือ ในปัจจุบันมีเขตอุตสาหกรรมสองเขต ได้แก่ เขตอุตสาหกรรมเกาหลี – เมียนมาที่ตั้งขึ้นรัฐบาลเมียนมาและเกาหลีใต้และอีกหนึ่งเขตตั้งขึ้นโดยบริษัทเอกชน รายงานของคณะกรรมการการลงทุนและการบริหาร บริษัท (DICA) เกาหลีใต้เป็นนักลงทุนต่างชาติอันดับหกมีการลงทุน 3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐในธุรกิจ 179 แห่ง ส่วนใหญ่ลงทุนในน้ำมันและก๊าซ และธุรกิจการผลิต

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/no-withdrawal-south-korean-investors-says-mic.html

MIC อนุมัติการลงทุนในประเทศและต่างประเทศ 8 แห่งมูลค่าสูงกว่า 270 ล้านเหรียญสหรัฐ มากกว่า 150 พันล้านจัต

ในระหว่างการประชุม (ครั้งที่ 19/2562) คณะกรรมาธิการการลงทุนของเมียนมา (MIC) ได้อนุมัติการลงทุนในประเทศและต่างประเทศแปดแห่งมูลค่า 279.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐและสูงกว่า 156 พันล้านจัตสร้างงานในท้องถิ่นได้ถึง 33,279 อัตรา เป็นการลงทุนในที่อยู่อาศัย บริการการศึกษา อุตสาหกรรม และการเกษตร เป้าหมายการลงทุนสำหรับปีงบประมาณ 62-63 จะเกิดขึ้นเนื่องจากโครงการโครงสร้างพื้นฐานแม้จะมีการเลือกตั้งทั่วไปในปีหน้า การเลือกตั้งของเราในปีหน้าประชาคมระหว่างประเทศจะรอดูผลการเลือกตั้งและสถานการณ์ของรัฐบาลใหม่ ซึ่งเป็นปกติของ บริษัทข้ามชาติที่รอเฝ้าดูสถานการณ์ อย่างไรก็ตามยังชี้ให้เห็นถึงการมีอยู่ของ Project Bank ที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาล ซึ่งรวมถึงโครงการระดับชาติและโครงการระดับกระทรวง สำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานจะเชิญนักลงทุนในปีหน้าโครงการเหล่านั้นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากซางโครงการเหล่านั้นจะมีผลประโยชน์แม้จะมีการเลือกตั้ง เป้าหมายการลงทุนสามารถบรรลุได้หากโครงสร้างพื้นฐาน น้ำมันและก๊าซ และการสื่อสารได้รับการพิจารณา

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/mic-approves-8-local-and-foreign-investments-worth-over-us270m-over-k150bn

การลงทุนในอุตสาหกรรมสปป.ลาวซบเซา

อัตราการเติบโตของโรงงานในสปป.ลาวยังคงอยู่ในระดับปานกลาง แม้รัฐบาลจะปรับปรุงนโยบายและกฎระเบียบเพื่อดึงดูดนักลงทุน จำนวนโรงงานเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5 ต่อปี สปป.ลาวมีโรงงาน 13,148 แห่งในปี 59 ซึ่งรวมถึงหน่วยงานขนาดใหญ่ ขนาดกลางขนาดเล็กและครัวเรือน ปัญหาหลักในการประเมินในเชิงลึกของแต่ละอุตสาหกรรมที่ไม่สามารถทำได้คือการรวบรวมข้อมูล อย่างไรก็ตามสถิติที่เก็บรวบรวมพบว่ามีโรงงานขนาดใหญ่เพียงไม่กี่แห่งที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้โดยประมาณร้อยละ 80 เป็นธุรกิจครัวเรือน ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในการรักษาสิ่งแวดล้อมนั้นไม่เพียงพอ โรงงานหลายแห่งใช้พลังงานมากและปล่อยมลพิษทางอากาศในอัตราที่สูง โดยมีชาวต่างชาติเป็นเจ้าของบริษัท 354 แห่ง เป็นกิจการร่วมค้า 2,115 บริษัท และการลงทุนในประเทศ 10,679 บริษัท โรงงานขนาดใหญ่ 714 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 5.43  ขนาดกลาง 784 แห่งหรือร้อยละ 5.96 ขนาดเล็ก 6,707 แห่งหรือร้อยละ 51.01 และเวิร์กช็อปในครัวเรือน 4,943 แห่งคิดเป็น 37.6% ของทั้งหมด โรงงานผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและบริการมากกว่า 80 ประเภทและอีกหลายโรงงานเป็นโรงสีข้าวและโรงงานข้าวโพดหวาน ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมีตั้งแต่คอนกรีตจนถึงเฟอร์นิเจอร์ เพื่อดึงดูดนักลงทุนเพิ่มเติม รัฐบาลควรดำเนินการทบทวนและระบุมาตรการที่สามารถปรับปรุงบรรยากาศการลงทุน

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/investment-lao-industry-stagnates-106623