บริษัท สปป.ลาว ไทย เมียนมา ร่วมเป็นคู่ค้าในการซื้อขายข้าว

บริษัท 3 แห่งจากสปป.ลาว ไทย และเมียนมา เข้าร่วมทุนเพื่อซื้อและขายข้าวโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเกษตรกรหารายได้เพิ่มเติมจากการเพราะปลูก และปรับปรุงสถานการณ์ของเกษตรกรใน 3 ประเทศด้วยการสนับสนุนให้พวกเขาผลิตข้าวคุณภาพดีเพื่อจำหน่าย การริเริ่มดังกล่าวเริ่มขึ้นในสปป.ลาว ในพิธีลงนามข้อตกลงในสัญญาซื้อขาย ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว บริษัท Laos’ Homxay Agriculture Export-Import ร่วมมือกับบริษัท Thailand’s Siam Golden Horse จะซื้อข้าวจาก บริษัท Myanmar’s ABA NARES  ขายให้กับญี่ปุ่น เวียดนามและฟิลิปปินส์ ทั้งสามบริษัทตกลงที่จะซื้อข้าวคุณภาพดีประมาณ 10 ล้านตัน ในช่วงเวลา 8 ปีเริ่มตั้งแต่เดือนม.ค.63 คาดว่าจะนำเข้าข้าวประมาณ 980,000 ตัน ในช่วงหกเดือนแรก นอกจากนี้ยังเป็นก้าวแรกในการขยายความร่วมมือด้านการค้าในอาเซียนและในอนาคต นอกจากนี้เป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร อีกทั้งความร่วมมือของภาคเอกชนได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในด้านการค้าการเกษตรและอุตสาหกรรม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการขยายตัวของภาคเอกชนในฐานะหน่วยธุรกิจที่สำคัญเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-myanmar-thai-companies-partner-sale-and-purchase-rice-107602

ผู้ค้าข้าวในกัมพูชาเริ่มส่งออกข้าวไปยังตลาดจีนมากขึ้น

เจ้าหน้าที่ของจีนตกลงที่จะเร่งการตรวจสอบใบสมัครของ บริษัท ในกัมพูชากว่า 40 แห่ง ที่ต้องการส่งออกข้าวไปยังตลาดจีน โดยสำนักงานควบคุมคุณภาพตรวจสอบและกักกันโรค (AQSIQ) ของประเทศจีน และกระทรวงเกษตรของกัมพูชาพบกันเพื่อหารือเกี่ยวกับการส่งออกข้าวของกัมพูชาไปยังประเทศจีน ซึ่งประธานสหพันธ์ข้าวกัมพูชากล่าวว่าการส่งมอบข้าวไปยังประเทศจีนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงเก้าเดือนแรกของปีเพิ่มขึ้น 44% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยจากข้อมูลของ CRF กัมพูชาส่งออกข่าว 157,793 ตันไปยังประเทศจีนตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกันยายนคิดเป็นกว่า 39.6% ของการส่งออกข้าวทั้งหมดของกัมพูชา ซึ่งเมื่อปีที่แล้วไม่สามารถส่งออกข้าวได้ตามโควต้าที่ทางจีนกำหนดโดยส่งออกไปเพียง 170,000 ตันจากจำนวนโควต้าที่ได้รับอนุญาตที่ 300,000 ตัน อย่างไรก็ตามในปีนี้ CRF มั่นใจว่ากัมพูชาจะสามารถส่งออกข้าวได้เต็มจำนวนโควต้าที่ได้รับอนุญาต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50653395/more-local-rice-traders-set-to-export-to-chinese-market/

เวียดนามเผยปริมาณการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น แต่ยอดมูลค่ากลับลดลง

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562  เวียดนามส่งออกข้าวกว่า 5.2 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2.24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 แต่มูลค่ากลับลดลงร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งประเทศฟิลิปปินส์เป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มีการบริโภคข้าวเกือบ 1.76 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 720 ล้าน ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ ราคาข้าวเฉลี่ยในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 13.8 คิดเป็นราคาอยู่ที่ 435 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน และทางหน่วยงานเกษตรกรรมฟิลิปปินส์มีการเสนอให้ใช้ภาษีนำเข้าข้าวในการปกป้องผู้ประกอบการในประเทศ โดยมีอัตราภาษีนำเข้าข้าวอยู่ที่ร้อยละ 30-65 ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกข้าวเวียดนามในอนาคตข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ตลาดญี่ปุ่นกำลังพิจารณาที่จะนำเข้าข้าวในกลุ่มประเทศสมาชิก CPTPP เช่น เวียดนาม นอกจากนี้ เวียดนามเล็งเห็นโอกาสในการขยายตลาดไปยังแอฟริกาและตะวันออกกลางอีกด้วย

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/536522/rice-export-volume-up-but-value-falls.html#m6XyQo0ATOuAqIYj.97

ราคาข้าวนำเข้าถูกกว่าข้าวที่ปลูกในสปป.ลาว

ราคาข้าวที่ปลูกในสปป.ลาวสูงขึ้นเรื่อย ๆ และไม่เคยมีการลดราคาเลย เหตุผลนี้เป็นเพราะพื้นที่เพาะปลูกข้าวจำนวนมากมักไม่สามารถสร้างผลผลิตที่คาดหวังได้เนื่องจากความแห้งแล้งหรือน้ำท่วมเป็นเวลานาน ดังนั้นบางส่วนของประเทศไม่สามารถปลูกข้าวได้อย่างเพียงพอและผู้ขายใช้โอกาสในการขาดแคลนเพื่อขึ้นราคาขาย ในบางปีพื้นที่ทั้งหมดของประเทศมีการเก็บเกี่ยวที่ดีและสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ แต่ถึงกระนั้นราคาก็ยังสูง สิ่งนี้ทำให้ผู้กำหนดนโยบายและกระทรวงคิดเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ว่าราคาข้าวที่นำเข้าจากเวียดนามและไทยนั้นถูกกว่าข้าวที่ปลูกในสปป.ลาว รัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงที่เกี่ยวข้องควรทำการศึกษาในเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีการทำราคาข้าวที่ปลูกเองราคาถูกกว่าข้าวนำเข้า หากเราปลูกข้าวเพิ่มขึ้นแน่นอนว่าราคาน่าจะลดลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐบาลลดราคาไฟฟ้าให้เกษตรกรและจัดให้มีการยกเว้นภาษีสำหรับปุ๋ยและสิ่งจำเป็นทางการเกษตรอื่น ๆ ที่นำเข้ามา  แต่รัฐบาลจะต้องมุ่งเน้นที่การลดราคาของข้าวเหนียวเพื่อให้สอดคล้องกับอำนาจการใช้จ่ายของผู้คนและได้รับวัตถุดิบปริมาณที่เพียงพอในราคาที่เหมาะสม

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/editorial-imported-rice-cheaper-rice-grown-laos-105519

รัฐบาลสปป.ลาวปล่อยข้าวที่สต๊อกไว้เพื่อลดราคาในตลาด

รัฐบาลอนุมัติให้มีการจำหน่ายข้าวสารบรรจุหีบห่อจำนวน 2,000 ตันเพื่อลดราคาในตลาดสูงหลังจากขาดแคลนอุปทานทำให้ราคาข้าวสูงขึ้นกว่าปกติ 20% ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายสำหรับผู้บริโภคและลดความยากลำบากของผู้คนที่มีรายได้ระดับต่ำและปานกลาง กรมอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ของนครหลวงเวียงจันทน์ได้สั่งให้ the Khamphaengphet Chaengsavang Agriculture Promotion Co., Ltd. ขายข้าว 2,000 ตันหลังจากรัฐบาล ข้าวเหนียวเกรด B ขัดมันมีจำหน่ายที่ 5 แห่งในเวียงจันทน์ราคา 6,500 kip ต่อกิโลกรัมตั้งแต่วันที่ 23-30 ก.ย. ข้าววางขายที่ ตลาด Xaoban Sa-ard  รัฐวิสาหกิจอาหารของเวียงจันทน์ ในหมู่บ้านสีหอม และที่สปป.ลาว – ​​ไอทีซีซี นอกจากนี้ยังสามารถหาซื้อได้ที่ตลาดสดออสซี่ และที่โรงสีนางจันทร์เพ็ญ ในหมู่บ้านนาสิวอำเภอนาเกลือ ข้าวที่เก็บไว้ในคลังได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลซึ่งมอบให้แก่บริษัท 10,000,000 กีบตั้งแต่ปี 58 โครงการดังกล่าวสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกข้าว ซึ่งรัฐบาลเก็บสำรองข้าวเป็นประจำและมีจำหน่ายทุกปีซึ่งสามารถวางขายได้เมื่อราคาตลาดของวัตถุดิบหลักสูงจนไม่อาจยอมรับได้

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-govt-releases-stockpiled-rice-lower-market-price-105063

รัฐบาลเมียนมาอนุญาตให้ส่งออกข้าวหากราคาในประเทศตกต่ำ

รัฐบาลประกาศราคาข้าวในฤดูฝนที่จะถึงนี้และคาดว่าจะส่งออกข้าวสารได้หากราคาในตลาดท้องถิ่นลดลงต่ำเกินไปเพื่อรักษาเสถียรภาพของอาหารในประเทศ รัฐบาลกำหนด 500,000 จัต (327 เหรียญสหรัฐ) เป็นราคาขั้นต่ำสำหรับทุก ๆ 100 ตะกร้าข้าวสำหรับปี 2018 ตะกร้าแต่ละใบมีค่าเท่ากับ 20.86 กิโลกรัม ขณะนี้มีการหารือในหมู่สมาชิกของสมัชชาสหภาพสหพันธ์ข้าวเมียนมาและตัวแทนเกษตรกรเกี่ยวกับราคาข้าวขั้นต่ำ และหากราคาข้าวลดลงต่ำกว่าราคาใหม่ซึ่งจะประกาศในวันที่ 15 ต.ค.62 การส่งออกข้าวจะได้รับอนุญาตให้รักษาเสถียรภาพด้านราคา ไม่กี่ปีที่ผ่านมาไม่อนุญาตให้ส่งออกข้าวเพื่อให้แน่ใจว่าอุปทานคงที่ของตลาดภายในประเทศ แต่มีบางครั้งที่อนุญาตให้ส่งออกไปยังประเทศอื่น ๆ เพื่อผลักดันราคาข้าวและลดความสูญเสียของเกษตรกร

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govt-allow-rice-exports-if-local-prices-sink.html

RDB ของกัมพูชา เปิดสินเชื่อ “ฉุกเฉิน” รอบใหม่

ในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวในกัมพูชา ธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบทของภาครัฐ (RDB) ได้เริ่มให้เงินกู้ยืมแก่โรงสีข้าวในท้องถิ่นภายใต้กองทุนฉุกเฉินของภาครัฐ โดยเงินกู้ยืมในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้โรงสีซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรในท้องถิ่น ซึ่งมีวงเงินอยู่ที่ 50 ล้านเหรียญสหรัฐเท่ากับปีที่แล้ว โดยผู้ขอสินเชื่อส่วนใหญ่เป็นโรงสีขนาดกลางตั้งอยู่ในพื้นที่เพาะปลูกข้าวส่วนใหญ่ในกัมพูชา เช่น Battambang, Banteay Meanchey, Pursat, Prey Veng, and Takeo ซึ่งเงินกู้ของ RDB มีอายุสินเชื่ออยู่ที่ 12 เดือนและอัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี โดย RDB ยังมีเงินทุนอีก 30 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับโรงสีข้าวในจังหวัดที่ผลิตข้าวหลัก ที่ต้องการสร้างหรือพัฒนาสถานที่เก็บสินค้าเช่นคลังสินค้าหรือไซโลในการเก็บสินค้า ซึ่งในช่วงครึ่งแรกของปีกัมพูชาส่งออกข้าวสาร 281,538 ตันเพิ่มขึ้น 3.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50643674/rdb-opens-new-round-of-emergency-loans/

กัมพูชาติดอันดับหนึ่งในห้าผู้ส่งออกข้าวอินทรีย์ไปยังสหภาพยุโรป

ความต้องการข้าวอินทรีย์ในสหภาพยุโรปและตลาดสำคัญอื่นๆ เช่นสหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย และจีนพุ่งสูงขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคมีความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อมและใส่ใจสุขภาพมากขึ้น จากตัวเลขของสหพันธ์ข้าวกัมพูชา รายงานว่าการส่งออกข้าวอินทรีย์ของกัมพูชาอยู่ที่ 8,467 ตัน ไปยังสหภาพยุโรปคิดเป็น 3.9% ของการนำเข้าข้าวอินทรีย์ทั้งหมด โดยสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ส่งออกข้าวอินทรีย์รายใหญ่ที่สุดไปยังสหภาพยุโรปคิดเป็นเกือบ 70% ของตลาดทั้งหมด ตามด้วยปากีสถาน 10% และอินเดีย 9% ซึ่งประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 4 โดยมีการส่งออกอยู่ที่ 4.9% ของตลาด (10,522 ตันในการส่งออก) กว่าประมาณ 90% ของการส่งออกข้าวอินทรีย์ทั้งหมดของกัมพูชาเมื่อปีที่แล้วมาจาก Amru Rice Cambodian ซึ่งเมื่อปีที่แล้วกัมพูชาส่งออกข้าว 626,225 ตัน ลดลง 1.5% เมื่อเทียบกับปี 2560 โดยตลาดที่ใหญ่ที่สุดในการส่งออกข้าวของกัมพูชาคือสหภาพยุโรป คิดเป็นเกือบ 270,000 ตัน คิดเป็น 42.9%

ที่มา:https://www.khmertimeskh.com/50639919/cambodia-among-top-five-exporters-of-organic-rice-to-the-eu/

เวียดนามส่งออกข้าวไปจีนลดฮวบผลจากกฎระเบียบที่เข้มงวด

จากข้อมูลศุลกากรเวียดนาม (Vietnam Customs) เปิดเผยว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2562 เวียดนามส่งออกข้าวไปยังจีนอยู่ที่ 318,000 ตัน ลดลงร้อยละ 65.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (yoy) เนื่องมาจากกฎระเบียบการนำเข้าสินค้าเกษตรที่เข็มงวดของจีน รวมไปถึงคุณภาพของสินค้าเกษตรเวียดนามที่ไม่ได้รับรองตามมาตรฐานจีน ซึ่งคาดว่าในปีหน้า การส่งออกข้าวของเวียดนามยังต้องเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น โดยคาดว่าในปีนี้ การนำเข้าจากจีนจะลดลงร้อยละ 2.94 คิดเป็นปริมาณประมาณ 3.3 ล้านตัน เนื่องมาจากผู้ผลิตในประเทศจีนมีจำนวนมาก นอกจากนี้ นับตั้งแต่เดือนมกราคม-กรกฎาคมที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกสินค้าเกษตรไปยังจีนลดลงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว คิดเป็นมูลค่าราว 3.35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://e.vnexpress.net/news/business/industries/steep-plunge-in-rice-exports-to-china-as-import-rules-tighten-3968743.html

ยอดการส่งออกข้าวเมียนมาลดลงกว่า 350 ล้านเหรียญสหรัฐ

กระทรวงพาณิชย์ระบุว่ามูลค่าจากการส่งออกข้าวและข้าวหักมีมูลค่า 597.369 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงกว่า 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณปัจจุบัน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 61 ถึง 2 ส.ค.62 ของปีงบประมาณ 61-62 มีรายรับ 597.369 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าวและข้าวหัก 1.978 ล้านตัน ช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมามีรายรับ 950.661 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าว 1.801 ตันและข้าวหัก เมียนมาส่งออกข้าวไปยังตลาดสหภาพยุโรปและแอฟริกาผ่านทางทะเลและไปยังจีนผ่านด่านการค้าชายแดน จากการขยายตลาดในปี 60-61  สามารถส่งออกข้าวได้เกือบ 3.6 ล้านตัน เป็นการทำลายสถิติในรอบ 50 กว่าปีที่ผ่านมา การนำเข้าที่หดตัวเพราะแนวโน้มนำเข้าของทั้งจีนและอียูลดน้อยลง

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/rice-export-earnings-decline-by-over-350-m-usd