นักลงทุนเรียกร้องให้สนับสนุนเป้าหมายด้านพลังงานในกัมพูชา

ทางการกัมพูชายินดีกับความร่วมมือเชิงกลยุทธ์และการลงทุนจากทั่วทั้งภูมิภาค เพื่อให้บรรลุเป้าหมายกำลังการผลิตพลังงานทดแทนที่เป้าหมายร้อยละ 70 ของกำลังการผลิต และการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมด (TFEC) ลดลงร้อยละ 19 กล่าวโดย Keo Rottanak รัฐมนตรีกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานของกัมพูชา ซึ่งพร้อมที่จะสนับสนุนนักลงทุนในภูมิภาค โดยได้กล่าวไว้ในการประชุมสุดยอดธุรกิจกัมพูชา-อาเซียนประจำปี 2024 ขณะที่เป้าหมายของกัมพูชาคาดการณ์ว่าภายในปี 2050 จะบรรลุเป้าหมายทางด้านความเป็นกลางทางคาร์บอน ผ่านการกำหนดกลยุทธ์ 4 ประเด็น เพื่อบรรลุเป้าหมายพลังงานสีเขียว โดยเน้นไปที่การเพิ่มการใช้พลังงานทดแทน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน รวมถึงประเทศกำลังสร้างโครงข่ายที่ยืดหยุ่นซึ่งสามารถปรับให้เข้ากับสภาวะและความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อทำให้การซื้อขายไฟฟ้าข้ามพรมแดนเป็นจริง ไปจนถึงการผลักดันให้กัมพูชามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อกำหนดนโยบายเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า (EVS) ซึ่งคาดว่ารถยนต์ร้อยละ 40 และรถจักรยานยนต์ร้อยละ 70 ในกัมพูชาจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2050

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501466705/investors-urged-to-support-kingdoms-energy-goals/

การลงทุนในภูมิภาคพะโคพุ่งสูงขึ้น สร้างโอกาสในการทำงาน

จากข้อมูลของคณะกรรมการการลงทุนเขตพะโค เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีการลงทุนในท้องถิ่นเกิน 5,000 ล้านจ๊าด และสร้างโอกาสในการทำงานถึง 56 ตำแหน่ง โดยก่อนหน้านี้ บริษัท Ayar Yoma Agriculture and Trading Co Ltd ลงทุน 5,654.736 ล้านจ๊าดสหรัฐในการสีและจำหน่ายข้าว อย่างไรก็ดี ด้านมุขมนตรีเขตพะโค ประกาศว่า เขตพะโคกำลังมองหาการลงทุนสำหรับโรงสีข้าวนึ่ง โรงงานน้ำมัน ห้องเย็นสำหรับเนื้อสัตว์และปลา โรงงานแผงโซลาร์เซลล์ และโรงงานปุ๋ย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/investments-surge-in-bago-region-creating-job-opportunities/

รัฐบาล สปป.ลาว เห็นชอบร่างกฎหมายท่าเรือบก กระตุ้นการลงทุนของประเทศ

คณะรัฐมนตรี สปป.ลาว รับรองข้อเสนอทางกฎหมายที่สำคัญหลายข้อ รวมถึงร่างการแก้ไขพระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับท่าเรือบก โดยตระหนักถึงความจำเป็นที่จะมีแนวทางที่ชัดเจนและสอดคล้องกัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการการลงทุนเหล่านี้อย่างมีประสิทธิผล นอกจากนี้ ยังได้ผ่านการร่างแผนแม่บทด้านการผลิตแห่งชาติจนถึงปี 2573 และร่างการแก้ไขพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยถิ่นที่อยู่ถาวรสำหรับคนเชื้อสายลาวที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ พร้อมด้วยกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการข้ามชายแดนและสนามบินนานาชาติ การพิจารณายังรวมถึงพิมพ์เขียวเชิงกลยุทธ์สำหรับการพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับชาติจนถึงปี 2573

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_64_Govtendorses_y24.php

ARCCI ยินดีต้อนรับนักลงทุนชาวอินโดนีเซียในภาคเกษตรกรรมและปศุสัตว์

หอการค้าและอุตสาหกรรมเขตอิรวดี (ARCCI) เชิญนักธุรกิจชาวอินโดนีเซียให้ลงทุนในธุรกิจการเกษตรและปศุสัตว์ รวมถึงการผลิตและส่งออกข้าว ปลา และกุ้ง ด้านเจ้าหน้าที่ของ ARCCI ได้พบกับ Mr Arvinanto Soeriaatmadja ผู้ช่วยทูตพาณิชย์ของอินโดนีเซีย ที่ห้องประชุมโครงการอุตสาหกรรม Pathein ในเมือง Pathein เขต Ayeyawady เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ในการประชุม ผู้ช่วยทูตพาณิชย์แสดงความเต็มใจที่จะนำเข้าข้าวจากเมียนมาร์เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากอินโดนีเซีย และสร้างสะพานเชื่อมระหว่างนักธุรกิจเมียนมากับบริษัทอินโดนีเซียที่มีความสนใจร่วมกันในการจับมือกันในด้านข้าวและธุรกิจอื่นๆ รวมทั้ง นักธุรกิจชาวอินโดนีเซียยังได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่จะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายนที่สถานทูตอินโดนีเซียประจำเมียนมา นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของ ARCCI ยังได้หารือเกี่ยวกับข้อกำหนดด้านเทคโนโลยีและเงินทุนในธุรกิจข้าวและปศุสัตว์ โดยเชิญชวนบริษัทอินโดนีเซียให้ลงทุนในการทำฟาร์มตามสัญญาและการส่งออกข้าวและเมล็ดพืชโดยตรงจากภูมิภาคอิรวดีไปยังอินโดนีเซีย และโอกาสในการส่งออกอื่นๆ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/arcci-welcomes-indonesian-investors-to-agriculture-livestock-sectors/

เมียนมาเข้าร่วมการประชุมโอกาสการลงทุนและธุรกิจที่เวียดนาม

กระทรวงการต่างประเทศเมียนมา (MoFA) รายงานว่า เมียนมาเข้าร่วมการประชุมเรื่องการลงทุนและโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม ณ เมืองฮาลอง จังหวัดกว๋างนิงห์ ประเทศเวียดนาม ด้าน U Soe Ko Ko อุปทูตชั่วคราวประจำเวียดนาม เป็นตัวแทนของเมียนมาในงานนี้ตามคำเชิญของหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม อย่างไรก็ดี ก่อนเริ่มการประชุม U Soe Ko Ko ได้พบกับนาย Cao Tuong Huy ประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดกว๋างนิงห์ ในระหว่างการหารือ U Soe Ko Ko เสนอการเสริมสร้างความร่วมมือทวิภาคีในด้านการค้าและการค้า การเกษตร การท่องเที่ยว และการส่งออกเครื่องนุ่งห่ม โดยคาดว่าจะครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตทวิภาคีในปีหน้า นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตและผู้แทนการค้าจากสถานทูตต่างประเทศในกรุงฮานอยก็เข้าร่วมงานด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-attends-investment-business-opportunities-meeting-in-viet-nam/

‘สื่อต่างประเทศ’ ชี้เวียดนามมั่งคั่งเร็วที่สุดในโลก

เฮนลี่ย์ แอนด์ พาร์ทเนอร์ส (Henley & Partners) บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนเพื่อการย้ายถิ่นฐานชั้นนำระดับโลก รายงานว่าเวียดนามอยู่ในตำแหน่งที่ดีจากความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอีก 10 ปีข้างหน้า และเวียดนามยังได้รับการขนามนามว่าเป็นศูนย์กลางการผลิตระดับโลก ในขณะที่ Andrew Amoils นักวิเคราะห์ของ New World Wealth กล่าวว่าเวียดนามจะมีความมั่งคั่งเติบโตสูงถึง 125% ในอีก 10 ปีข้างหน้า นับว่าเป็นการขยายตัวทางด้านความมั่งคั่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกทั้งในแง่ของรายได้ต่อหัวและจำนวนเศรษฐี นอกจากนี้ เวียดนามเป็นฐานการผลิตที่ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นในมุมมองของบริษัทข้ามชาติ ตั้งแต่เทคโนโลยี ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าและสิ่งทอ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/foreign-media-vietnam-to-see-highest-increase-in-wealth-growth-post1078049.vov

ทางการพร้อมผลักดันโครงการเขตเศรษฐกิจกัมพูชา-ญี่ปุ่น (CJSEZ)

รัฐบาลกัมพูชากำลังจัดเตรียมนโยบายในการเตรียมความพร้อมจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษกัมพูชา-ญี่ปุ่น (CJSEZ) เพื่อเป็นการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่นมากขึ้น โดยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (11 ก.พ.) มีการประชุมระหว่างรัฐมนตรีทั้งสองประเทศเพื่อหารือและเตรียมเอกสารแนวคิดในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศกัมพูชา นำโดย Sun Chanthol รองนายกรัฐมนตรีและประธานสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) เป็นประธาน โดยคาดว่าโครงการนี้จะมีส่วนสำคัญในการดึงดูดการลงทุนของญี่ปุ่นมายังกัมพูชา รวมถึงก่อให้เกิดการจ้างงาน การพัฒนาขีดความสามารถและทักษะให้กับแรงงานในท้องถิ่น อีกทั้งมีส่วนในการสนับสนุนเศรษฐกิจผ่านการส่งออกที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากกัมพูชามีตลาดเผื่อการส่งออกที่ขนาดใหญ่ขึ้น สำหรับปัจจุบัน CDC ได้อนุมัติโครงการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นไปแล้วกว่า 149 โครงการ ด้วยเงินทุนรวมประมาณ 2.9 พันล้านดอลลาร์ ณ เดือนสิงหาคม 2022 โดยลงทุนในอุตสาหกรรมการเสื้อผ้า รองเท้า สินค้าสำหรับเดินทาง ชิ้นส่วนรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ยางรถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ แผงโซลาร์เซลล์ และอุตสาหกรรมประกอบจักรยาน เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501439391/cambodia-japan-sez-project-on-the-cards/

‘เวียดนาม’ คาดเม็ดเงินทุนไหลเข้า FDI เติบโตต่อเนื่องปี 2567

สำนักงานการลงทุนต่างประเทศ เปิดเผยข้อมูล ณ วันที่ 20 ม.ค. พบว่าเวียดนามดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มากกว่า 2.36 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 40.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และมีโครงการใหม่ที่ได้รับการจดทะเบียนสูงถึง 190 โครงการ คิดเป็นเงินทุนจดทะเบียนรวมมากกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 24.2% และ 66.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ทั้งนี้ นาย Michael Kokalari ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาคและการวิจัยตลาดของ VinaCapital ประเมินว่าในปี 2567 เวียดนามยังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติและยังคงสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะบริษัทญี่ปุ่นที่เห็นโอกาสในการร่วมมือกับหน่วยงานในประเทศ อาทิ การลงทุนในภาคอสังหาฯ การผลิตและการค้าปลีก ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (BCI) ของหอการค้ายุโรป เปิดเผยผลการสำรวจ ชี้ให้เห็นว่าธุรกิจ 31% มองว่าเวียดนามเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการลงทุนระดับโลก

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-fdi-forecast-to-remain-strong-through-2024/279260.vnp

มีการลงทุน 93 โครงการเข้าสู่รัฐมอญใน 3 ปี

U Tin Tun Aung หัวหน้าคณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัทของรัฐมอญ กล่าวว่า มีการลงทุนจากต่างประเทศและในประเทศทั้งหมด 93 โครงการที่เข้ามาและดำเนินการในรัฐมอญ โดยมีธุรกิจทั้งหมด 56 โครงการที่เป็นของชาวเมียนมา คิดเป็นมูลค่า 934,758.248 ล้านจ๊าด และ การลงทุนจากต่างประเทศ 37 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 5,136.396 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งกำลังดำเนินการในรัฐมอญ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2021-22 ถึงปีงบประมาณ 2023-24 ซึ่งมีการจ้างงานเกิดขึ้นกว่า 4,487 คน อย่างไรก็ตาม การประชุมคณะกรรมการการลงทุนของรัฐมอญ ครั้งที่ 1/2567 ได้ไฟเขียวให้การผลิตรถจักรยานยนต์ที่บริษัท Min Oo Motor Myanmar Co. Ltd จะดำเนินการด้วยการลงทุนระดับชาติของเมียนมาอย่างเต็มรูปแบบ และการขยายขั้นตอนการพัฒนาของธุรกิจ การอัพเกรด การผลิต และการส่งออกยางที่ จะดำเนินการโดยบริษัท M Rubber Co Ltd พร้อมการลงทุนระดับชาติเต็มรูปแบบ ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา นอกจากนี้ คณะกรรมการการลงทุนของรัฐมอญได้อนุญาตให้การลงทุนในเมียนมาและต่างประเทศสร้างโอกาสในการทำงานภายในรัฐมอญตามกฎหมายและข้อบังคับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/93-investments-logged-in-mon-state-within-three-years/#article-title

บริษัทสัญชาติไต้หวัน สนใจเข้าลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตร-อาหาร และยานยนต์ กัมพูชา

Far East Trade Service Inc พนมเปญ (FETPP) บริษัทสัญชาติไต้หวัน ซึ่งดำเนินงานภายใต้บริษัท TAITRA กำลังสำรวจโอกาสในการขยายการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเกษตร อาหาร และยานยนต์ ด้วยความช่วยเหลือจากสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ด้าน Suon Sophal รองเลขาธิการคณะกรรมการการลงทุนกัมพูชา (CIB) ได้ร่วมสนทนากับ Chen I-Hua ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ FETPP โดย Sophal ชื่นชมความพยายามของรัฐบาลกัมพูชา (RGC) ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมการลงทุนที่มุ่งสร้างกรอบกฎหมายที่เปิดกว้างเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนต่างชาติตามความจำเป็น ตลอดจนการดำเนินการตามแผนงานสำหรับการพัฒนาภาคยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501430458/taiwan-firm-keen-to-invest-in-agri-food-automotive-sectors/