EDF พักโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำในเมียนมา

Electricite de France SA (EDF) หนึ่งในบริษัทพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของยุโรปสั่งเบรคโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเมียนมาที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทค้าขายสินค้าอุปโภค-บริโภคจากญี่ปุ่นอย่าง Marubeni ซึ่งการเบรคโครงการมีผลจากการรัฐประหารเมื่อเดือนที่แล้ว Marubeni เป็นกลุ่มที่ผลักดันให้สร้างสถานีไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่บนแม่น้ำเชวลี (Shweli) ในรัฐฉาน รัฐบาลฝรั่งเศสเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน EDF บริษัทได้วางแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 671 เมกะวัตต์ภายในปี 2569 ด้วยต้นทุนประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์ทำให้เป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดโครงการหนึ่งในเมียนมา EDF ได้แจ้งว่าเพื่อเป็นการเคารพสิทธิมนุษยชนในเมียนมาจึงได้ระงับโครงการไว้ก่อน นอกจากนี้ยังปรึกษากับรัฐบาลฝรั่งเศสและสหภาพยุโรปเพื่อเผ้าดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด Marubeni ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในโครงการรวมถึงขนาดของการลงทุน ซึ่งในการแถลงการล่าสุดบริษัทจะจัดการกับสถานการณ์นี้อย่างเหมาะสม แต่ทั้งนี้ยังไม่ได้ประเมินทิศทางในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/marubeni-involved-hydropower-project-in-myanmar-to-be-frozen

กระทรวงโยธาธิการและการขนส่งได้ประกาศระงับการให้บริการรถบัสทั้งหมด

กระทรวงโยธาธิการและการขนส่งได้ประกาศระงับการให้บริการรถบัสทั้งหมดและปิดสถานีรถบัสเป็นการชั่วคราวระหว่างวันที่ 1-10 เมษายน เพื่อป้องกัน Covid-19 หลังจากมีการยืนยันผู้ติดเชื้อเพิ่ม มาตราการดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขยืนยันจำนวนการติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็น 9 คน นอกจากนี้การดำเนินการดังกล่าวยังสอดคล้องไปกับมาตราการควบคุมต่างๆ ทั้งการให้ทุกคนกักตัวไม่ให้พบปะกัน การปิดพรหหมแดน ไม่เพียงแต่การแพร่ระบาดที่รัฐบาลได้ออกมาตราการต่างๆมาควบคุม เพราะในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ประชาชนสปป.ลาวมีการกักตุนอาหารทำให้ราคาสินค้าอาจมีการปรับตัว แต่อาจมีผู้ไม่หวังดีในช่วงนี้ที่จะปรับราคาเกินที่กำหนด รัฐบาลจึงต้องมีประกาศออกมาควบคุมในเรื่องราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในช่วงนี้เพื่อไม่ให้ราคาสูงเกินไป รัฐบาลจะจัดตั้งหน่วยงานเพื่อตรวจสอบอย่างเข้มงวดหากร้านค้ามีการปรับขึ้นราคาเกินจริงจะถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos65.php

สิงคโปร์เตรียมพร้อมจัดหาสินค้าอุปโภคบริโภคกรณีโควิด-19

รัฐมนตรีกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ กล่าวในการเยี่ยมชมศูนย์กระจายสินค้าของ NTUC Fariprice ย่าน Joo Koon เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2563 ว่า ชาวสิงคโปร์ต้องเตรียมใจให้พร้อมในการรับมือกับการป้องกันการแพร่ระบาย COVID-19 หลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าจะมีมาตรการป้องกันที่เข้มงวดในหลายๆ เดือนที่ผ่านมา ดังนั้น ต้องเตรียมใจให้พร้อมหากสถานการณ์ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยยกตัวอย่างการแพร่ระบาดในเกาหลีใต้ รวมถึงสิงคโปร์ต้องปรับโซ่อุปทานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความมั่นคงและมีอุปทานที่เพียงพอในประเทศ เนื่องจากประเทศอื่น ๆ มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ๆ ส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานของโลกเกิดภาวะชะงักตัวลง มีความจำเป็นต้องตรวจสอบสถานะสินค้าคงคลังและตรวจสอบสถานที่กระจายสินค้า โดยยกตัวอย่าง ในอดีตสิงคโปร์นำเข้าข้าวส่วนมากมาจากไทยหรือเวียดนาม แต่ในปัจจุบันสิงคโปร์นำเข้าข้าวมาจากญี่ปุ่นหรืออินเดียด้วยเช่นกัน เนื่องจากขณะนี้มีสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อโลก ด้วยเหตุนี้ ภาครัฐจะสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของจำนวนคู่ค้าของสิงคโปร์ โดยมองหาผู้ประกอบการรายใหม่ในประเทศที่ไกลออกไปเพื่อช่วยให้สิงคโปร์กระจายความเสี่ยงได้อย่างต่อเนื่อง หรือสินค้าในกลุ่มประเภทบะหมี่ต่าง ๆ ที่สิงคโปร์มีทั้งการนำเข้าและมีการผลิตในประเทศ ทำให้ไม่ต้องทำการกักตุนสินค้าประเภทนี้มากนัก อย่างไรก็ตาม เป็นไปไม่ได้ที่ทุกอย่างจะสามารถผลิตในสิงคโปร์ เนื่องจากข้อจำกัดด้านพื้นที่และกำลังคน แต่จะเพิ่มระดับความสามารถในการผลิตในประเทศ โดยเฉพาะในรายการสินค้าสำคัญที่จำเป็นสำหรับช่วงเวลาที่ต้องการ

ที่มา : http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=9769&index