ภาคอุตสาหกรรมในกัมพูชาส่งเสริมด้านพลังงานที่ยั่งยืน

สมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าแห่งกัมพูชา ร่วมกับ Global Green Growth Institute (GGGI) และ GERES กลุ่มเพื่อสิ่งแวดล้อมด้านพลังงานทดแทนและความเป็นปึกแผ่นซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ตั้งขึ้นในเมืองมาร์เซย์ตั้งแต่ในปี 1976 กำลังร่วมกันดำเนินโครงการที่เรียกว่า การส่งเสริมการปฏิบัติด้านพลังงานอย่างยั่งยืนในภาคอุตสาหกรรมเสื้อผ้า หรือที่เรียกว่าโครงการ “Switch Garment in Cambodia” โดยโครงการ Switch Garment ได้รับทุนจากสหภาพยุโรปเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งอายุโครงการอยู่ที่ 48 เดือน มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตเสื้อผ้าให้เกิดยั่งยืนในกัมพูชา โดยเพิ่มการลงทุนในแนวทางปฏิบัติด้านพลังงานที่ยั่งยืน ด้วยโครงการนี้จะแก้ปัญหาอุปสรรคที่ขัดขวางในด้านการลงทุนและการนำแนวทางปฏิบัติด้านพลังงานที่ยั่งยืนมาใช้และพัฒนากลไกที่เป็นนวัตกรรมสู่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอในกัมพูชา ซึ่งหวังว่าโครงการนี้จะช่วยให้โรงงานสามารถลดต้นทุนค่าไฟฟ้าและค่าน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้พลังงานหมุนเวียน ทั้งหวังว่าโครงการนี้จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณร้อยละ 17 จากอุตสาหกรรมสิ่งทอ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50763442/industry-to-promote-sustainable-energy/

เวียดนามเผยการส่งออกรองเท้า 7 เดือนแรก พลาดเป้า 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เปิดเผยว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2563 เวียดนามส่งออกเครื่องหนังและรองเท้าเพียง 9.53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นสินค้าส่งออก 10 อันดับแรกจะมีมูลค่ามากกว่า 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้การส่งออกรองเท้าหดตัวลงร้อยละ 7.9 คิดเป็นมูลค่า 9.53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ หลังจากตั้งเป้ายอดส่งออกเมื่อปีที่แล้วอยู่ที่ 22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าได้ตั้งเป้าที่จะส่งออก 24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ แม้ว่าจุดมุ่งหมายดังกล่าวมีความทะเยอทะยานก็ตาม ด้วยเหตุนี้ ทางสมาคมเครื่องหนังและรองเท้าเวียดนามจึงปรับเป้าหมายการส่งออกลดลงร้อยละ 10 จากผลกระทบเชิงลบของการระบาด COVID-19 นอกจากนี้ ข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA จะช่วยให้อุตสาหกรรมนี้เติบโตอีกครั้งในช่วงไตรมาสที่ 3-4 ในปีนี้ เพื่อที่ชดเชยความเสียหายในช่วงต้นปีนี้ และในปัจจุบันสหภาพยุโรปยังคงเป็นตลาดดั้งเดิมสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของยอดส่งออกรวมต่อปี หรือประมาณ 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/footwear-exports-in-seven-months-fails-to-break-us10-billion-mark-416895.vov

ผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มเวียดนามชี้กระทบหนักพิษโควิด-19 หาทางรับมือกับวิกฤติไวรัส

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ภาคสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนามเผชิญกับอุปสรรคหลายด้าน เนื่องจากการยกเลิกคำสั่งซื้อและความล่าช้า แต่ผู้ผลิตบางรายได้ค้นหาแนวทางในการรับมือกับวิกฤติดังกล่าว โดยผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มในประเทศดิ้นร้นในการเสาะหาแหล่งวัตถุดิบจากที่อื่นๆ หลังจากเพื่อนบ้านทางตอนเหนือของเวียดนามเข้าสู่การล็อกดาวน์ในช่วงปลายเดือนมกราคม แต่ในปัจจุบัน สิ่งต่างๆ เริ่มกลับมาสู่ภาวะปกติในจีน และปัญหาใหญ่โตจากการแพร่ระบาดไปยังทั่วโลก ส่งผลให้เวียดนามมียอดคำสั่งซื้อจากตลาดสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและยุโรป ในขณะเดียวกัน ยอดส่งออกลดลงร้อยละ 9.07 เมื่อเทียบกับปีก่อนในไตรมาสแรก และนำเข้าร้อยละ 16.59 ทั้งนี้ จากข้อมูลของกลุ่มผู้ผลิตและส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแห่งชาติของเวียดนาม (VINATEX) กล่าวว่าผู้ซื้อจากสหรัฐฯและยุโรป ได้ระงับหรือยกเลิกคำสั่งซื้อตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม และคาดว่าการส่งออกอาจลดลงร้อยละ 33 คิดเป็นมูลค่า 33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2563 ทั่วโลก รวมถึงยอดคำสั่งซื้ออาจดิ่งลงร้อยละ 29 ตลอดทั้งปี ถึงแม้ว่าจะมีผลกระทบด้านลบมากมาย แต่การระบาดของเชื้อดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ผลิตท้องถิ่นได้รับโอกาสที่ดีจากความต้องการหน้ากากทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/pandemichit-garment-producers-find-way-to-weather-crisis/172166.vnp

COVID-19 ส่งผลกระทบต่อแรงงานอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มในกัมพูชา

การระบาดทั่วโลกของ COVID-19 กำลังส่งผลทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง รวมถึงส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในกัมพูชาซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในภูมิภาค ซึ่งโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากประเทศจีน ในขณะที่การผลิตลดลงในประเทศจีนเจ้าของโรงงานในกัมพูชาได้เริ่มหยุดดำเนินการและตัดทอนแรงงานลง ซึ่งโรงงาน 10 แห่งในกัมพูชาแจ้งรัฐบาลว่าจะระงับการผลิต และคาดว่าจะมีโรงงานอีกกว่า 200 แห่งในภาคอุตสาหกรรมที่จะหยุดการดำเนินงานหรือลดกำลังการผลิตลง โดยจากแหล่งข่าวรายงานว่าแรงงานกัมพูชา 5,000 คนตกงานแล้ว ซึ่งโรงงานที่หยุดการดำเนินงานจะต้องจ่ายค่าแรง 60% ของค่าแรงขั้นต่ำ ในช่วงพักงานพนักงานจะต้องได้รับการฝึกอบรมที่จัดทำโดยกระทรวงแรงงานและอาชีวศึกษาในสถานที่ทำงาน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50701601/covid-19-impacts-garment-workers-in-cambodia/

เอชแอนด์เอ็มประเมินผลกระทบจากการที่กัมพูชาจะถูกถอนสิทธิ์ประโยชน์ EBA

เอชแอนด์เอ็ม ผู้ค้าปลีกเสื้อผ้าแฟชั่นในสวีเดนกล่าวว่าจะมีการประเมินผลกระทบทางธุรกิจจากคำแนะนำของคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ที่จะถอนสิทธิประโยชน์ทางภาษีหรือ EBA ของกัมพูชา โดย EC ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าต้องการให้รัฐสภาสหภาพยุโรปยกเลิกสถานะการค้า EBA ของกัมพูชาถึง 20% จากการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการละเมิดสิทธิแรงงานภายในประเทศ โดยในคำแถลงของ EC กล่าวว่าการถอนสิทธิทางภาษีบางส่วนที่ได้นำเสนอไปจะส่งผลเฉพาะกับผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าและรองเท้า สินค้าด้านการท่องเที่ยวและน้ำตาล คิดเป็นจำนวนหนึ่งในห้าของการส่งออกของกัมพูชาประจำปีไปยังกลุ่ม ซึ่ง H&M ต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศกัมพูชาต่อไปในทางบวกรวมถึงการลดความยากจนและเสริมสร้างสิทธิมนุษยชน ซึ่งบริษัทได้สร้างงานให้กับคนในกัมพูชาประมาณ 77,000 ตำแหน่ง โดยกล่าวว่าได้ผลักดันโครงการทางสังคมต่างๆ เพื่อปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่และสภาพการทำงานของคนงานที่ผลิตเสื้อผ้าในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50692902/hm-ebas-recommended-partial-removal-will-hurt

GMAC กล่าวถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดกับแรงงานกว่า 7.5 แสนตำแหน่งในกัมพูชา

GMAC ถามรัฐบาลถึงความน่าเชื่อถือและความมั่นคงของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม รองเท้าและสินค้าทางด้านการท่องเที่ยวของกัมพูชากับนายกรัฐมนตรีฮุนเซน ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของแรงงานกว่า 750,000 คน ในประเทศกัมพูชา โดยชี้ให้เห็นว่าหลักการพื้นฐานและสิทธิเสรีภาพในการสมาคมถูกจัดตั้งขึ้นในภาคที่ได้กล่าวในข้างต้นหรือไม่ ซึ่ง GMAC ระบุด้วยว่าการเป็นหุ้นส่วนของ GMAC กับ ILO ในการจัดตั้งโครงการ Better Factories Cambodia ของประเทศกัมพูชาในการตรวจสอบรายงานและสร้างความมั่นใจในความโปร่งใสส่งผลให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ GMAC ยังเน้นว่าหนึ่งในเป้าหมายของการจัดตั้งโปรแกรมระหว่าง ILO กับ Arbitration Council คือการมีบทบาทสำคัญในการยุติข้อพิพาทด้านความสัมพันธ์ทางอุตสาหกรรมในประเทศ โดยสมาคมยังได้แสดงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดเพื่อปรับปรุงเงื่อนไขแรงงานในภาคอุตสาหกรรมและยินดีต่อการหารือเกี่ยวกับการให้คำแนะนำกับผู้นำสหภาพและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรัฐบาลได้ค่อยๆเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำสำหรับคนงานในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าโดยในปี 2563 มีการเพิ่มขึ้น 4.4% จากปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50685264/750000-jobs-put-at-risk-in-apparel-footwear-travel-goods-says-gmac

อุตสาหกรรมสิ่งทออาเซียนในยุค 4.0

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีการประชุมสภาอุตสาหกรรมสิ่งทอแห่งอาเซียน (AFTEX) ครั้งที่ 43 จัดโดยสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มสปป.ลาวและถือว่าเป็นวันครบรอบ 40 ปีของสมาคมอีกด้วยโดยที่ประชุมได้มีการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจเสื้อผ้าสำเร็จรูปในอาเซียนรวมถึงมีการพิจารณาตลาดเครื่องนุ่งห่มโลกและหารือถึงวิธีการร่วมมือกันในการส่งออกเสื้อผ้าไปยังทั่วโลก ปัจจุบันในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ทำให้การค้าคล่องตัวมากขึ้น โดยผ่านการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์และการรวมตลาดภายในภูมิภาคและทั่วโลกเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการค้าในกลุ่มมากขึ้น นอกจากนี้ภายในที่ประชุมยังมีการเปิดตัวโครงการความร่วมมือการค้าเทคโนโลยีใหม่และโอกาสสำหรับตลาดใหม่ในจีนและสาธารณรัฐเกาหลีที่จะเป็นตลาดที่สำคัญของสมาคมต่อไปในอนาคต

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/asean-textile-industry-reps-eye-seamless-export-trade-112459

เม็ดเงิน FDI ไหลเข้าไปยังโครงการสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนามอย่างมาก

จากข้อมูลของสมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนาม (VITAS) เปิดเผยว่าในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2562 มีเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) จำนวนมากไหลเข้าไปในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนาม โดยประเทศที่มีเงินลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้าในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอมากที่สุดของเวียดนาม คือ ฮ่องกง (447 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) รองลงมาสิงคโปร์ จีน เกาหลีใต้และสาธารณรัฐเซเชลส์ ตามลำดับ นอกจากกลุ่มประเทศข้างต้นแล้ว อุตสาหกรรมสิ่งทอเวียดนามมีเงินทุนจดทะเบียนรวมราว 61 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่มาจากนักลงทุนชาวญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไต้หวัน เป็นต้น ซึ่งเม็ดเงินทุน FDI ได้ไหลเข้ามาในโครงการวัสดุต่างๆ ได้แก่ โครงการสิ่งทอ,ย้อมผ้า,ตัดเย็บเสื้อผ้า,เส้นใยและผลิตเส้นใย เป็นต้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/strong-fdi-inflows-poured-into-textile-and-fiber-projects-408588.vov

กลุ่มนักลงทุนจีนหนุนภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอในกัมพูชา

สมาคมใหม่ของนักลงทุนจีนได้เปิดตัวเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของกัมพูชาซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่สุดของการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศ โดยสมาคมสิ่งทอประสานงานกับรัฐบาล ซึ่งจะเน้นไปที่กลุ่มนักลงทุนจีนเป็นพิเศษ โดยกัมพูชามีโรงงานกว่า 663 แห่ง เป็นโรงงานผลิตเสื้อผ้า 520 แห่งและอีก 83 แห่งทำการผลิตรองเท้า ส่วนที่เหลือจะเป็นโรงงานผลิตถุง ซึ่งทั้งอุตสาหกรรมมีแรงงานประมาณ 800,000 คน กว่า 80% เป็นผู้หญิงตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรมระบุรายงานเมื่อปีที่แล้ว โดยจากรายงานของ NBC แสดงให้เห็นว่าการส่งออกเสื้อผ้าและรองเท้าของกัมพูชามีมูลค่าถึง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 24% จาก 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2017 โดยผู้ซื้อส่วนใหญ่อยู่ในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งกัมพูชามีค่าแรงขั้นต่ำเป็นอันดับห้าในอาเซียน ค่าแรงขั้นต่ำของกัมพูชาสำหรับภาคตัดเย็บเสื้อผ้าอยู่ที่ 182 เหรียญสหรัฐต่อเดือน แต่จะเพิ่มขึ้นเป็น 190 เหรียญสหรัฐในปีหน้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50655062/china-textile-group-launched-to-bolster-garment-sector/