กัมพูชารายงานถึงโครงการลงทุนมูลค่ารวม 1.716 พันล้านดอลลาร์

หลังจากทางการกัมพูชากำหนดกฎหมายด้านการลงทุนฉบับใหม่ ซึ่งถือเป็นสิ่งจูงใจสำคัญอย่างนึงให้กับนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนยังกัมพูชา รวมถึงปัจจุบันกัมพูชาได้เข้าร่วมกลุ่ม RCEP และได้ทำการลงนามข้อตกลงการค้า FTA ร่วมกับจีน ตลอดจนได้รับสิทธิพิเศษ EBA จากสหภาพยุโรป และ GSP จากสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่จะดึงดูดการลงทุนใหม่จากนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศมากขึ้น โดยกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังกัมพูชา พบว่าปัจจุบันมีโครงการลงทุนนอกเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งหมด 107 โครงการ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2021 ลดลง 34 โครงการเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการลงทุนทั้งหมดมีมูลค่า 1.716 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 72.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยคาดว่าโครงการดังกล่าวจะสร้างงานใหม่ให้กับคนในประเทศประมาณ 89,000 ตำแหน่ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501004396/investment-projects-worth-1-716-billion-registered-in-january-november/

ปี 64 เศรษฐกิจเมียนมาเจอมรสุมหนัก! คาด หดตัว 8.5%

โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่กำลังฟื้นตัวดี เศรษฐกิจเมียนมากลับเผชิญมรสุมทางการเมืองอย่างหนัก ภาพลักษณ์ของเมียนมาในสายตาชาติตะวันตกกำลังมีบทบาทลดน้อยลง จากการที่สหรัฐฯ ประกาศระงับความตกลงการค้าและการลงทุนกับเมียนมาที่มีมาตั้งแต่ปี 2556 ทำให้มียนมาต้องสูญเสียสิทธิพิเศษทางภาษีเป็นการทั่วไป (GSP) ของสหรัฐฯ และมีความเสี่ยงที่สหภาพยุโรปจะตัดสิทธิพิเศษทางการค้า EBA รวมถึงนานาชาติจะเพิ่มแรงกดดันด้านต่าง ๆ อันเป็นอุปสรรค์ต่อการทำธุรกิจในอนาคต

ตั้งแต่กองทัพเมียนมาเข้ายึดอำนาจเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 ได้มีการแสดงอารยะขัดขืนเป็นวงกว้างและทวีความรุนแรงขึ้น ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะงักงัน เครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจทุกตัวชะลอตัวลงมากกว่าคาด ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดเศรษฐกิจเมียนมาปี 2564 อาจจะหดตัวลึกขึ้นมาอยู่ที่ราว -8.5% (กรอบประมาณการ -9.8% ถึง -7.2%) หากการประท้วงไม่ขยายวงกว้างกว่านี้และทางการสามารถควบคุมสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองช่วงครึ่งปีหลังให้ดีขึ้นได้ เศรษฐกิจเมียนมาปี 2564 คาดว่าจะโน้มเอียงสู่กรอบบนประมาณการที่ -7.2% แต่หากความขัดแย้งรุนแรงลากยาวตลอดปี เศรษฐกิจอาจทรุดตัวเข้าใกล้กรอบล่างที่ -9.8%

การส่งออกผ่านชายแดนจากไทยไปเมียนมาเดือนก.พ. 2564 กลับมาหดตัวสูงที่ -21.4% ส่วนหนึ่งเพราะโควิด-19 ลุกลามอีกครั้ง และบางส่วนเพราะความไม่สงบในเมียนมาทำให้สินค้าส่วนใหญ่เริ่มหดตัวชัดเจน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าแม้ความไม่สงบในเมียนมาอาจส่งผลมายังช่องทางการค้าบริเวณพรมแดน แต่ไม่กระทบการขนส่งสินค้าข้ามแดนมากนักเพราะเมียนมาต้องพึ่งสินค้าไทยหลายชนิด ขณะเดียวกันความกังวลต่อความไม่สงบในช่วงแรกทำให้มีการเร่งกักตุนสินค้าจากไทยค่อนข้างมาก แต่ในช่วงที่เหลือของปีด้วยกำลังซื้อและภาวะเศรษฐกิจที่จะอ่อนแรงลงเรื่อยๆ คงฉุดให้การส่งออกชายแดนไทยไปเมียนมาปีนี้หดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ที่ -6.0% มูลค่าการส่งออก 81,890 ล้านบาท (กรอบประมาณการหดตัวที่ -8.0% หากเศรษฐกิจเมียนมาทรุดตัวตลอดปี ถึงหดตัวที่ -2.9% หากครึ่งปีหลังหลังสามารถควบคุมสถานการณ์ให้กลับมาดีขึ้นได้)​

ที่มา : https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Myanmar-Eco-23-04-2021.aspx

กัมพูชามองหาข้อตกลงทางการค้าทวิภาคีเพิ่มเติม

กัมพูชากำลังเตรียมพร้อมสำหรับข้อตกลงการค้าทวิภาคีกับประเทศคู่ค้าหลักเพื่อทำการทดแทนจากการถูกเพิกถอนสิทธิพิเศษทางการค้าบางส่วนของสหภาพยุโรปหรือที่เรียกว่า Everything but Arms (EBA) โดยผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่ากัมพูชาควรเร่งความพยายามในการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงของภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ ซึ่งจีนเป็นประเทศแรกที่ได้ลงนาม FTA อย่างเป็นทางการกับกัมพูชา โดยปริมาณการค้าทวิภาคีระหว่างจีนและกัมพูชาอยู่ที่ 9.42 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว ซึ่งทั้งสองประเทศตั้งเป้าไว้ว่าจะมีปริมาณการค้าระหว่างกันให้ถึงถึง 10,000 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2023 โดยในปัจจุบันกัมพูชาอยู่ระหว่างการเจรจา FTA กับเกาหลีใต้ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มการค้าทวิภาคีระหว่างประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50773321/kingdom-seeks-more-trade-deals/

กัมพูชาและจีนมองเขตการค้าเสรีจะเป็นตัวส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้า

ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างกัมพูชาและจีนคาดจะส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น กล่าวโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของกัมพูชา ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้เสร็จสิ้นขั้นตอนการเจรจา FTA ทวิภาคีไปแล้วในวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยข้อตกลงดังกล่าวมีความหมายอย่างมากต่อเศรษฐกิจของกัมพูชาเนื่องจากเข้าถึงตลาดของประเทศคู่ค้าได้มากขึ้นทำให้กัมพูชาสามารถกระจายผลิตภัณฑ์และขยายตลาดของกัมพูชาได้ และลดการพึ่งพาคู่ค้าเพียงไม่กี่ราย เช่นยุโรป สหรัฐฯและแคนาดา ซึ่งปกติแล้วจะทำการค้ากับกัมพูชาแบบสัมปทานเช่น Everything But Arms (EBA ), Generalized System of Preferences (GSP)” เป็นต้น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกล่าวว่าการลงนาม FTA ระดับทวิภาคีนี้จะช่วยกระตุ้นความรวดเร็วของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกัมพูชา รวมถึงโครงการภายใต้ Belt and Road Initiative (BRI) อีกด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50752996/cambodia-china-fta-to-boost-bilateral-trade-investment-ties/

สมาคมรองเท้ากัมพูชาเรียกร้องให้ EU เลื่อนการถอดถอน EBA ของกัมพูชา

พนักงานมากกว่า 40,000 คน ในภาคการผลิตรองเท้าได้รับผลกระทบแล้วในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากการระบาดของ COVID-19 ที่กำลังดำเนินอยู่ โดยแรงงานกว่า 40,000 คน ในอุตสาหกรรมมีความเสี่ยงที่จะตกงาน ซึ่งข้อมูลถูกเปิดเผยโดยสมาคมรองเท้ากัมพูชา (CFA) ในแถลงการณ์ โดยได้ขอให้สหภาพยุโรปชะลอการถอนสิทธิพิเศษทางการค้า (EBA) ซึ่งสหภาพยุโรปถอดถอนสิทธิพิเศษของกัมพูชาจากปัญหาสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ รวมถึง CFA ประกาศถึงปริมาณการสั่งซื้อที่มีอยู่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2020 ที่จะส่งผลให้โรงงานกว่า 70 แห่ง ของสมาชิกในกลุ่มกำลังเตรียมการสำหรับการลดการจ้างงานต่อไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50750848/cambodia-footwear-association-appeals-to-eu-again-to-postpone-eba-withdrawal-says-80000-jobs-at-risk/

เอชแอนด์เอ็มประเมินผลกระทบจากการที่กัมพูชาจะถูกถอนสิทธิ์ประโยชน์ EBA

เอชแอนด์เอ็ม ผู้ค้าปลีกเสื้อผ้าแฟชั่นในสวีเดนกล่าวว่าจะมีการประเมินผลกระทบทางธุรกิจจากคำแนะนำของคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ที่จะถอนสิทธิประโยชน์ทางภาษีหรือ EBA ของกัมพูชา โดย EC ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าต้องการให้รัฐสภาสหภาพยุโรปยกเลิกสถานะการค้า EBA ของกัมพูชาถึง 20% จากการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการละเมิดสิทธิแรงงานภายในประเทศ โดยในคำแถลงของ EC กล่าวว่าการถอนสิทธิทางภาษีบางส่วนที่ได้นำเสนอไปจะส่งผลเฉพาะกับผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าและรองเท้า สินค้าด้านการท่องเที่ยวและน้ำตาล คิดเป็นจำนวนหนึ่งในห้าของการส่งออกของกัมพูชาประจำปีไปยังกลุ่ม ซึ่ง H&M ต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศกัมพูชาต่อไปในทางบวกรวมถึงการลดความยากจนและเสริมสร้างสิทธิมนุษยชน ซึ่งบริษัทได้สร้างงานให้กับคนในกัมพูชาประมาณ 77,000 ตำแหน่ง โดยกล่าวว่าได้ผลักดันโครงการทางสังคมต่างๆ เพื่อปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่และสภาพการทำงานของคนงานที่ผลิตเสื้อผ้าในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50692902/hm-ebas-recommended-partial-removal-will-hurt

ด้วยสถานการณ์ EBA ภาคเอกชนกำลังตัดสินใจที่จะโยกย้ายเงินลงทุนบางส่วนออกจากกัมพูชา

หอการค้ากัมพูชาและหอการค้าธุรกิจอื่นๆรวมถึงสภาธุรกิจมาเลเซียแห่งกัมพูชา หอการค้ายุโรปและหอการค้าอเมริกันในกัมพูชา แสดงความเสียใจต่อการที่ยุโรปคาดว่าจะเริ่มเก็บภาษีการส่งออกของประเทศไปยังสหภาพยุโรปร้อยละ 20 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐจากสินค้าส่งออกทั้งหมด 5.8 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี โดยจะคิดภาษีร้อยละ 20 ของผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าและร้อยละ 30 ของผลิตภัณฑ์รองเท้า ส่วนการนำเข้ารถจักรยานและข้าวจากกัมพูชาจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ซึ่งภาคเอกชนได้เรียกร้องให้พิจารณาถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการตัดสินใจเพราะการย้ายจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของราคาประมาณ 140 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับสินค้าที่ถูกขึ้นภาษี อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้ดำเนินมาตรการในรูปแบบของการปฏิรูปโครงสร้างในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาเพื่อรับมือกับผลกระทบด้านลบที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจของสหภาพยุโรป โดยภาคเอกชนยังคงเรียกร้องให้ทั้งสหภาพยุโรปและรัฐบาลมีส่วนร่วมในการหารือเกี่ยวกับประเด็นที่คณะกรรมาธิการเสนอขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50691649/private-sector-regrets-eba-partial-withdrawal-decision