เวิลด์แบงก์ เผยตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจเวียดนามอยู่ในระดับที่ดี

ตามรายงานของธนาคารโลก (World Bank) ประจำเดือนพฤษภาคม 2564 ระบุว่าตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของเวียดนามในเดือนเมษายนอยู่ในเกณฑ์ที่ดี อย่างไรก็ตาม ได้เตือนสัญญาถึงความเสี่ยงหลายด้านต่อเศรษฐกิจเวียดนาม เนื่องจากการระบาดครั้งล่าสุดของโควิด-19 ในช่วงปลายเดือนเมษายน ทั้งนี้ การผลิตของภาคอุตสาหกรรมยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง เพิ่มขึ้น 1.1% เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม ขณะที่ การส่งออกมีอัตราการเติบโตเป็นตัวเลขสองหลัก โดยเฉพาะสินค้าประเภทเครื่องจักรที่มีการเติบโตเร็วที่สุด นอกจากนี้ ธนาคารโลกยังให้ความสำคัญกับความคืบหน้าการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเวียดนาม ด้วยจำนวนวัคซีน 506,000 โดสในเดือนเมษายน เทียบกับจำนวน 50,000 โดสในช่วงปลายเดือนมีนาคม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/wb-most-of-vietnams-economic-indicators-in-april-good/201631.vnp

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของเวียดนาม ยังมีเทคโนโลยีในระดับต่ำ

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าการผลิตและการซื้อขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เติบโตขึ้นอย่างมาก การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิสก์ของเวียดนาม มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 50% นับตั้งแต่ปี 2553-2562 โดยกลุ่มสินค้าประเภทโทรศัพท์มือถือและส่วนประกอบ มีมูลค่าการส่งออกถึง 50.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 1% เมื่อเทียบกับปี 62 เหตุจากได้รับปัจจัยเชิงบวกจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ ศูนย์ส่งเสริมการส่งออกของสำนักงานการค้าเวียดนาม เผยว่าจากการร่วมมือกับบริษัทชั้นนำของโลก อาทิ สหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ทำให้ธุรกิจเวียดนามยกระดับความสามารถการทำธุรกิจผ่านห่วงโซ่อุปทานของบริษัทขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม สัดส่วนของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศ ยังอยู่ในระดับต่ำ ประมาณ 5-10% ซึ่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดเวียดนามส่วนใหญ่ นำเข้าหรือประกอบในประเทศ จากการใช้ส่วนประกอบที่นำเข้าเป็นส่วนใหญ่

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnamese-electronics-industry-still-low-in-technology-and-value/201568.vnp

เวียดนามเผยเดือนเมษายน ยอดส่งออกข้าว 362 ล้านเหรียญสหรัฐ

ปริมาณการส่งออกข้าวในเดือนเมษายน ประมาณ 700,000 ตัน เป็นมูลค่า 362 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกข้าวรวมทั้งสิ้นในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 1.9 ล้านตัน เป็นมูลค่า 1.01 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 10.8% ในแง่ปริมาณ แต่เพิ่มขึ้น 1.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี ตามรายงานของหน่วยงานด้านการแปรรูปและพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรเวียดนาม เผยว่าฟิลลิปปินส์เป็นตลาดบริโภคข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มีส่วนแบ่งตลาด 36.3% ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาประเภทของข้าวในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ พบว่ายอดการส่งออกข้าวขาว คิดเป็น 39.3% ของยอดการค้ารวม รองลงมาข้าวหอมมะลิและข้าวหอม (36%), ข้าวเหนียว (22%) และข้าวประเภทอื่นๆ (3%) นอกจากนี้ ในปี 2564 คาดว่าสภาพอากาศจะเลวร้ายในหลายพื้นที่ทั่วโลก ส่งผลให้การผลิตอาหารในหลายๆ ประเทศลดลงและความต้องการนำเข้าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในปีนี้

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-earns-362-million-usd-from-rice-exports-in-april/201573.vnp

Vietnam Economic Factsheet: April 2564

เศรษฐกิจเวียดนาม ประจำเดือนเมษายน 2564

ที่มา : รวบรวมจากสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (General Statistics Office: GSO), กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท, กระทรวงวางแผนและการลงทุน, กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กรมศุลกากรและ CEIC Data

เวียดนามดึงดูดโครงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ แม้เผชิญโควิด-19 ระบาด

ตามรายงานของกระทรวงวางแผนและการลงทุน เมื่อวันที่ 15 พ.ค. เปิดเผยว่าเวียดนามยังคงพยายามอย่างหนักในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัว โดยในปี 2563 เวียดนามเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นบวก (GDP) ถึง 2.91% และคาดว่าในปี 2564 เศรษฐกิจจะโตถึง 6.7% ทั้งนี้ ปัจจุบัน มีจำนวน 33,000 โครงการที่มาจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เป็นมูลค่าการลงทุนกว่า 394 พันล้านเหรียญสหรัฐ ถึงแม้ว่าการลงทุนทั่วโลกจะไม่ขยายตัว แต่เวียดนามมียอดการลงทุนจากโครงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ 12 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 24.7% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : http://dtinews.vn/en/news/018/73882/vietnam-attracts-fdi-projects-amid-covid-19.html

เวียดนามคาดยอดส่งออกปี 64 แตะ 600 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่ายอดตัวเลขการส่งออกของเวียดนามในไตรมาสแรกของปีนี้ เติบโตอย่างแข็งแกร่ง และคาดว่าตัวเลขการส่งออกจะมีมูลค่าแตะ 600 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2564 นาย Tran Thanh Hai รองผู้อำนวยการสำนักงานการค้าต่างประเทศ ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (MoIT) กล่าวว่าเวียดนามประสบความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการรักษาการเติบโตทางการส่งออกในอนาคตข้างหน้า ทั้งนี้ ข้อตกลงการค้าเสรีที่เวียดนามได้ลงนามไว้ โดยเฉพาะข้อตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับความร่วมมือข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก (CPTPP) และความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) สร้างความได้เปรียบแก่ผู้ส่งออกในประเทศและช่วยให้ผู้ประกอบการขยายไปยังตลาดใหม่ๆ นอกจากนี้ กระทรวงมุ่งเน้นไปที่การปฏิรูปสถาบันและการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก ตลอดจนให้ข้อมูลแก่ผู้ประกอบการส่งออก

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-eyes-us600-billion-in-export-turnover-in-2021-858058.vov

เวียดนามเผยมูลค่าโมบายอีคอมเมิร์ซ แตะ 10.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ปี 66

บริษัทวิจัยทางตลาด “Appota” เผยว่าโมบายพาณิชย์ในเวียดนามเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยมูลค่าราว 10.2 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2566 ซึ่งการเติบโตดังกล่าว มีสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของรายได้มาจากธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) ในเวียดนาม และในอีกแง่หนึ่ง อัตราการทำธุรกรรมครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าแพลตฟอร์มโทรศัพท์มือถือได้รับความนิยมมากกว่าเดสก์ท็อป คิดเป็นสัดส่วน 62% ของการทำธุรกรรมทั้งหมด ทั้งนี้ เมื่อปีก่อน จำนวนผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในเวียดนาม ทั้งสิ้น 49 ล้านคน ติดอันดับที่ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย (137 ล้านคน) และฟิลิปปินส์ (57 ล้านคน) สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงโอกาสการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซและระบบการชำระเงิน ทั้งในแง่ของจำนวนผู้ใช้และมูลค่าการซื้อในเวียดนาม ตลอดจนยกระดับศักยภาพของตลาดอีคอมเมิร์ซเร็วๆนี้

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-mobile-e-commerce-to-value-us102-billion-by-2023-317335.html