เมียนมาร์เตรียมจัดแสดงผลิตภัณฑ์ในเทศกาล Guangxi New Silk Road New Year E-commerce Festival ครั้งที่ 2

กระทรวงการต่างประเทศเมียนมาร์ ระบุว่า สินค้าของเมียนมาร์ที่จะจัดแสดงในเทศกาล Guangxi New Silk Road New Year E-commerce Festival ครั้งที่ 2 และเทศกาลช้อปปิ้งปีใหม่ออนไลน์ปี 2024 ในเมืองหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซี ประเทศจีน ซึ่งได้รับการแนะนำโดยสถานกงสุลเมียนมาร์ ทั้งนี้ สินค้าของเมียนมาร์ถูกกำหนดให้จัดแสดงภายในงาน E-commerce Festival Gala ในช่วงเทศกาลที่กำหนด ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2566 ถึงกุมภาพันธ์ 2567 U Kyaw Soe Thein กงสุลใหญ่เมียนมาร์ในหนานหนิงกล่าวถึงในการสัมภาษณ์กับ Guangxi Television ว่าสินค้าต่างๆ เช่น อัญมณี กาแฟ ชา ใบชาแห้ง น้ำผึ้ง น้ำอัดลม ไวน์ เบียร์ ซุปโมฮิงกา และเส้นหมี่ ซึ่งเป็นอาหารพม่าแบบดั้งเดิม จะถูกจัดแสดงในช่วงเทศกาล นอกจากนี้ งานหัตถกรรมพม่า เช่น ภาพวาด อัญมณี ภาพวาดปักทอง และประติมากรรมจะเป็นส่วนหนึ่งของการจัดแสดง นอกจากนี้ นักธุรกิจจากเมียนมาร์ได้รับคำเชิญให้เข้าร่วมในงานอีคอมเมิร์ซ โดยเปิดโอกาสให้พวกเขาได้ร่วมงานกับบริษัทอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคกวางสี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-to-showcase-its-products-at-2nd-guangxi-new-silk-road-new-year-e-commerce-festival-2024-online-shopping-festival-in-china/

ส่องความพร้อม ศักยภาพตลาด และโอกาสการค้า e–Commerce ใน CLMV

Bangkok Bank SME ขอพาทุกท่านมาสำรวจตลาดการค้า e–Commerce ของประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม) ว่าในแต่ละประเทศมีการพัฒนา และปรับตัวเข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างไรบ้าง  ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจจะนำไปสู่การปรับกลยุทธ์การค้า การลงทุน เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของ SME ไทยเพิ่มมากขึ้น

.

กัมพูชา (Cambodia)

ตลาด e–Commerce ที่น่าจับตามอง
การค้า e–Commerce ภายในประเทศกัมพูชา มีการพัฒนาระบบการชำระเงินมากขึ้น ขณะที่ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ มีการปรับใช้ระบบ GPS ในการให้บริการมากขึ้นเช่นกัน ทว่ายังพบว่ามีปัญหาในแง่ของโครงสร้างพื้นฐาน และระบบ ICT (Information And Communication Technology) รวมถึงยังขาดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่เหมาะสม ประกอบกับปัญหาในการจัดเก็บและรวบรวมฐานทะเบียนที่อยู่ประชากร ที่ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดในการจัดส่งสินค้าบ่อยครั้ง สำหรับแพลตฟอร์ม e–Commerce ยอดนิยม ได้แก่ Glad Market ซึ่งเป็นตลาดออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด รองลงมาคือ Shop168 และ MALL855 ซึ่งพัฒนารูปแบบการให้บริการเป็นแอปพลิเคชัน โดยเปิดให้ดาวน์โหลดฟรีบนอุปกรณ์แอนดรอยด์
.

สปป.ลาว (Lao)

e–Commerce ระยะตั้งต้น แต่โอกาสการเติบโต..ไม่ควรมองข้าม
เนื่องจากแพลตฟอร์ม e–Commerce ภายในประเทศลาวยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร จำนวนผู้ใช้งานยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งประชากรลาวส่วนใหญ่ยังซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดียอย่างไม่เป็นทางการ รวมถึงยังมี Official shop account ของผู้ประกอบการไม่มาก ซึ่งต้องอาศัยยุทธศาสตร์ในการพัฒนาตลาด e–Commerce ให้ได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบฐานทะเบียนที่อยู่ และกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสม แพลตฟอร์ม e–Commerce ยอดนิยม ได้แก่ Plaosme ซึ่งสนับสนุนให้กลุ่ม SME มีพื้นที่ขายสินค้าทั้งในประเทศและประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน
.

เมียนมา (Myanmar)

ระบบ e–Commerce ที่ยังต้องพัฒนาอีกมาก
ระบบการค้า e–Commerce ของประเทศเมียนมาร์ยังขาดความพร้อมในการพัฒนา ไม่ว่าจะมองในแง่ของโครงสร้างพื้นฐาน ระบบ ICT โลจิสติกส์ ระบบการชำระเงิน และอีกหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังขาดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและอาชญากรรมทางไซเบอร์โดยเฉพาะ  ประกอบกับการให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ยังไม่ครอบคลุม ทำให้อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรมีเพียง 33.4% ของประชากรทั้งหมดเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตเมืองใหญ่อย่าง ย่างกุ้ง ทว่าประชากรในประเทศเมียนมาร์ เริ่มมีความสนใจการใช้งานระบบการค้า e–Commerce มากขึ้นจากเดิม และยังมีแพลตฟอร์มซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์ที่ได้รับความนิยมอีกด้วย  แพลตฟอร์ม e–Commerce ยอดนิยม ได้แก่ BaganMart, OneKyat และ Shop.com.mm
.

เวียดนาม (Vietnam)

ตลาด e–Commerce ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว 
นับว่าเป็นประเทศที่ตลาด e–Commerce มีอัตราการเติบโตที่รวดเร็วขึ้นมาก โดยเฉพาะในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ประชากรในประเทศนิยมซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น อีกทั้งยังมีการพัฒนาในส่วนของระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบ ICT ระบบการขนส่ง ระบบการชำระเงิน และการส่งเสริมตลาด e–Commerce จากทั้งภาครัฐฯ และภาคเอกชนด้วย  แพลตฟอร์ม e–Commerce ยอดนิยม ได้แก่ Lazada ซึ่งเข้ามาลงทุนในตลาดเวียดนามตั้งแต่ปี 2555 นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์ Thegioididong ที่สามารถรองรับการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต และการทำธุรกรรมผ่านธนาคารได้อีกด้วย
.

GDT ประกาศการจัดเก็บ VAT ธุรกิจ e-Commerce ในช่วงไตรมาส 1

กรมภาษีอากร (GDT) รายงานการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากธุรกิจอีคอมเมิร์ซ มูลค่ารวม 21 ล้านดอลลาร์ ในไตรมาสแรกของปีนี้ สำหรับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซเฉลี่ยอยู่ที่ 7 ล้านดอลลาร์ในช่วง 3 เดือนแรกของปี ซึ่งการซื้อขายสินค้าผ่านตลาดอีคอมเมิร์ซขยายตัวหลังจากการเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านการเงิน รวมถึงการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและการใช้โทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือในกัมพูชามีจำนวนรวมอยู่ที่ 19.5 ล้านราย ตามรายงานของหน่วยงานกำกับดูแลด้านโทรคมนาคมของกัมพูชา (TRC)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501278433/gdt-earns-21-million-on-e-commerce-vat-income-in-q1/

‘ผลสำรวจ’ ชี้เวียดนามชำระสินค้าไร้เงินสด 70% ของการทำธุรกรรมค้าปลีก

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ช่วยผลักดันอีคอมเมิร์ซ์เติบโตอย่างรวดเร็ว และเมื่อปีที่แล้ว การชำระเงินไร้เงินสดมีสัดส่วน 70% ของธุรกรรมค้าปลีกในเวียดนามทั้งหมด จากการสำรวจโดยบริษัทเทคโนโลยี ‘Sapo’ ได้สำรวจความคิดเห็นของร้านค้าปลีก จำนวนทั้งสิ้น 15,000 ราย พบว่าการชำระเงินไร้เงินสดหรือผ่านอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากผู้บริโภคถูกจำกัดเพื่อลดการสัมผัสกับเชื้อโรค ทำให้การชำระเงินผ่านบัญชีธนาคารเป็นที่นิยมมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วน 36.5% ของจำนวนการทำธุรกรรมทั้งหมด รองลงมาเงินสด (30%), รหัส QR (9.6%), บัตรครดิต (8.5%) และช่องทางการชำระเงินอื่น (0.5%) ทั้งนี้ เมื่อสอบถามผู้ค้าปลีกบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ชี้ว่าในปีที่แล้ว มีรายได้เพิ่มขึ้น คิดเป็นสัดส่วน 11.2% ของรายรับทั้งหมด และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 73% หันมาทำธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งจะช่วยลดค่าแรงงานและค่าสถานที่ ตลอดจนเข้าถึงลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/cashless-payments-account-for-70-of-retail-transactions-survey/

 

เวียดนามเผยมูลค่าโมบายอีคอมเมิร์ซ แตะ 10.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ปี 66

บริษัทวิจัยทางตลาด “Appota” เผยว่าโมบายพาณิชย์ในเวียดนามเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยมูลค่าราว 10.2 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2566 ซึ่งการเติบโตดังกล่าว มีสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของรายได้มาจากธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) ในเวียดนาม และในอีกแง่หนึ่ง อัตราการทำธุรกรรมครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าแพลตฟอร์มโทรศัพท์มือถือได้รับความนิยมมากกว่าเดสก์ท็อป คิดเป็นสัดส่วน 62% ของการทำธุรกรรมทั้งหมด ทั้งนี้ เมื่อปีก่อน จำนวนผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในเวียดนาม ทั้งสิ้น 49 ล้านคน ติดอันดับที่ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย (137 ล้านคน) และฟิลิปปินส์ (57 ล้านคน) สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงโอกาสการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซและระบบการชำระเงิน ทั้งในแง่ของจำนวนผู้ใช้และมูลค่าการซื้อในเวียดนาม ตลอดจนยกระดับศักยภาพของตลาดอีคอมเมิร์ซเร็วๆนี้

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-mobile-e-commerce-to-value-us102-billion-by-2023-317335.html

‘ไทย’ ท็อป 3 อีคอมเมิร์ซอาเซียน

ในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังค์ถัด (UNCTAD) ได้ประกาศผลการจัดอันดับ B2C หรือ Business-to-Customer e-Commerce ประจำปี 2563 ซึ่งเป็นการวัดความพร้อมทางเศรษฐกิจเพื่อตอบโจทย์การค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Commerce จาก 152 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศที่ได้รับการจัดอันดับให้มีความพร้อมสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง คือ สวิตเซอร์แลนด์ ขณะที่ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 42 ติดท็อป 10 ของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย จากการจัดอันดับดังกล่าว พบว่า ประเทศไทยโดดเด่นในด้านความเชื่อมั่นการขนส่งไปรษณีย์ (Postal Reliability Index) โดยได้คะแนนสูงถึง 97 คะแนน เท่ากับคะแนนของสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมกันนี้ ประเทศไทยยังโดดเด่นในด้านจำนวนการเปิดบัญชีธนาคาร หรือมีบัญชีธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญพื้นฐานของการเติบโตของอีคอมเมิร์ซด้วย ความสำเร็จในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเด็นด้านนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล กฎระเบียบและระบบต่างๆ ที่ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นและความไว้วางใจให้กับผู้ประกอบการ

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/935012

Ezbuylao.com พัฒนาศักยภาพ E-Commerce ในสปป.ลาว

ในโลกปัจจุบันการค้าปลีกออนไลน์หรือที่เรารู้จักในชื่ออีคอมเมิร์ซ กำลังเฟื่องฟูในหลายประเทศทั่วโลกเช่นเดียวกับสปป.ลาวที่พฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ในประเทศหันมาซื้อขายออนไลน์กันมากถึงและด้วยการส่งเสริมของภาครัฐทำให้อีคอมเมิร์ซในสปป.ลาวเติบโตได้อย่างดี จุดนี้เองทำให้บริษัท ซีเคซีโกลบอล จำกัดบริษัทจากเวียดนามที่ประกอบธุรกิจด้านอีคอมเมิร์ซโดยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาเป็นรากฐานที่มั่นคงของบริษัท เห็นโอกาสที่จะพัฒนาการค้าออนไลน์ในสปป.ลาว ปัจจุบัน บริษัท ซีเคซีโกลบอล ได้ออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่ชื่อว่า  ‘Ezbuylao.com’ เป็นแพลตฟอร์มด้านการค้าปลีกออนไลน์ในสปป.ลาวมากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพของบริษัทและพฤติกรรมการจับจ่ายออนไลน์ที่มีมากขึ้น การเข้ามาของ Ezbuylao.com จะเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการ มีช่องทางจัดจำหน่ายได้มากขึ้นและยังช่วยประหยัดงบการประชาสัมพันธ์ของธุรกิจได้อีกด้วยในด้านของผู้บริโภคจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการจับจ่ายและการชำระเงินที่ง่ายขึ้นผ่านกระเป๋าเงินออนไลน์ ‘EZ’ เพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระเงินแบบไม่ใช้เงินสดซึ่งรับประกันความปลอดภัยสำหรับลูกค้า เมื่อทั้งฝั่งอุปสงค์และอุปทานมีการขยายตัวขนาดของเศรษฐกิจสปป.ลาวก็จะมีการขยายตัวตาม

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Ezbuylao.php

ตลาด ‘อีคอมเมิร์ซเวียดนาม’ แตะระดับมากกว่า 17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2566

จากข้อมูลของ GlobalData คาดการณ์ว่ามูลค่าของตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนามอยู่ที่ 17.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2566 และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2562 ราว 9.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย GlobalData เป็นบริษัทวิเคราะห์และจัดหาข้อมูล ระบุว่าอัตราการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนามจะเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 16.3 และมองว่าตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนามเพิ่มขึ้นมาเป็น 2 เท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจากการใช้จ่ายออนไลน์ ด้วยมูลค่าของตลาดดังกล่าวเพิ่มขึ้นจาก 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2558 จนมาถึงในปี 2562 อยู่ที่ 9.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ ผลสำรวจของบริษัท GlobalData แสดงให้เห็นว่าการชำระผ่านเงินสดยังคงเป็นช่องทางการชำระเงินที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 35.6 ของการทำธุรกรรมบนอีคอมเมิรซ์ และ MoMo เป็นช่องทางการชำระเงินที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเวียดนาม รองลงมา Paypal นอกจากนี้ บริษัทระดับโลกได้ส่งเสริมการลงทุนไปยังกลุ่มบริษัทอีคอมเมิร์ซเวียดนาม ได้แก่ TiKi ได้รับเงินทุน 5.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากบริษัท VNG Corporation และอีก 44 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากนักลงทุนชาวจีน (JD.com)

ที่มา : https://en.nhandan.com.vn/business/item/8479702-vietnam%E2%80%99s-e-commerce-market-to-surpass-us$17-billion-in-2023.html

ผู้ค้าออนไลน์เร่งปรับราคาหน้ากากและเจลล้างมือ

จากข้อมูลของสำนักงานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และเศรษฐกิจดิจิทัล ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เปิดเผยว่ามีการละเมิดในเว็บไซค์อีคอมเมิร์ซ ได้แก่ Sendo, Shopee, Lazada, Tiki, chotot, vatgia และ fado เป็นต้น ผู้ขายออนไลน์ถูกกล่าวหาว่าใช้ผลประโยชน์จากการแพร่ระบาดชองไวรัสโคโรนา ในการปรับขึ้นราคาสินค้าอนามัย ซึ่งทางสำนักงานระบุว่าได้ดำเนินการ เพื่อป้องกันไม่ให้ร้านค้าขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวที่ตั้งราคาสูงมากเกินไป เมื่อวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้ดำเนินการตรวจสอบผู้ขายออนไลน์ทั้งหมด 463,865 ราย พบว่ามีผู้ละเมิด 5,200 รายที่เพิ่มราคาสินค้า 21,000 ชิ้น ทั้งนี้ ในช่วงปลายเดือนม.ค. สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้คร่าชีวิตผู้คนมากกว่า 2,600 ราย และจำนวนผู้ติดเชื้อราว 79,000 ราย ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในท้องถิ่นและความต้องการของสินค้าสุขอนามัยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ข้อมูลของกันตาร์ เวิล์ดพาแนล (Kantar Worldpanel) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์และบริการจัดส่ง มองว่าการเติบโตฐานลูกค้าและการมใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนั้น ได้แรงหนุนจากความสนใจของผู้ซื้อรายใหม่ที่ยังไม่เคยซื้อของออนไลน์หรือการใช้จ่ายออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/online-sellers-fined-for-hiking-prices-of-face-masks-hand-sanitiser/169152.vnp

โครงการนำร่องเพื่อส่งเสริมธุรกิจอีคอมเมิร์ซสำหรับ SMEs ในกัมพูชา

กระทรวงพาณิชย์ได้เปิดตัว “Go4eCam” ซึ่งเป็นโครงการนำร่องที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่ออีคอมเมิร์ซสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของประเทศซึ่งเป็นภาคที่กำลังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งโครงการมีมูลค่าประมาณ 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐระยะเวลาของโครงการประมาณสามเดือนและมีกำหนดที่จะเริ่มดำเนินการในกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้รับการสนับสนุนจากหุ้นส่วนการพัฒนาระหว่างประเทศและรัฐบาล ที่เรียกว่า Enhanced Integrated Framework (EIF) ซึ่งเป็นกองทุนที่ให้การสนับสนุนทางการเงินและทางเทคนิคเพื่อสร้างขีดความสามารถทางการค้าใน 48 ประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ซึ่งรวมถึงประเทศกัมพูชา โดยได้มอบเงินช่วยเหลือประมาณ 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐให้กับโครงการ ซึ่งส่วนอื่นมาจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติและรัฐบาลกัมพูชา โดยกัมพูชามีธุรกิจ SMEs กว่า 500,000 รายซึ่งแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตร 150,000 ราย สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารตามที่สมาคมสมาพันธ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งกัมพูชาคาดการณ์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50686950/pilot-project-to-boost-e-commerce-for-kingdoms-smes