เมียนมาอนุญาตเพิ่มวงเงินการลงทุนในระดับภูมิภาค

กระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศเผย คณะกรรมการการลงทุนของภูมิภาคและรัฐสามารถเพิ่มการลงทุนในโครงการพัฒนาระดับภูมิภาคได้ จากเดิมที่มีอำนาจการลงทุนสูงสุด 5 ล้านเหรียญสหรัฐและ 6 พันล้านจัต และถ้าหากจำนวนมากกว่านี้ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้าและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม MIC จะเพิ่มจำนวนเงินหากการลงทุนนั้นมีไว้เพื่อการพัฒนา ตัวอย่างคือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการก่อสร้างถนนและโทรคมนาคมนั้นมีค่าใช้จ่ายสูงและต้องใช้วงเงินจำนวนมาก หากสามารถทำได้จะพัฒนาภาคธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามนโยบายของคณะกรรมการด้านลงทุนและบริหารบริษัท (DICA) รัฐและภูมิภาคได้รับอนุญาตให้ตั้งคณะกรรมการการลงทุนเพื่อกำกับดูแลและปรับปรุงการลงทุน ในขณะเดียวกันก็ต้องส่งข้อมูลกลับไปยัง MIC

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/approval-investment-limits-can-be-raised-official-says.html

เกษตรกรเลี่ยงชำระเงินกู้ตั้งแต่ปี 55

เกษตรกรที่เป็นหนี้เงินกู้ธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตรของเมียนมา (MADB) จำนวน 200 พันล้านจัต ยังไม่ได้ชำระตั้งแต่ปี 55 ส่วนใหญ่มาจากจังหวัดอิรวดี พะโค และย่างกุ้ง ปัจจุบันการออมลดลงต่ำมากขณะที่สินเชื่อเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบพบว่ามีเงินฝาก 77 พันล้านจัต แต่เงินกู้ยืมรวมทั้งสิ้น 1.7 ล้านล้านจัตในปีงบประมาณ 61-62 เหตุผลหนึ่งที่เกษตรกรเลี่ยงการชำระคือ การชำระหนี้เจ้าหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงกว่า MADB ที่มีอัตราดอกเบี้ยเพียง 8% ขณะเดียวกันสภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้ยากที่จะรักษาคุณภาพและผลผลิตไม่คงที่ ซึ่งส่งผลให้รายได้ผันผวนตลอดหลายปี และการขาดแรงงานรุ่นใหม่ๆ ที่หลั่งไหลไปทำงานในต่างประเทศแทน MADB ได้ขยายการชำระคืนเงินกู้ในเดือน ต.ค. – ธ.ค. ปีที่แล้วจนถึงเดือน มิ.ย. – ก.ย. ที่ผ่านมา ทั้งการที่ธนาคารปล่อยเงินกู้มากขึ้น เช่น เกตรกรผู้ปลูกข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 150,000 จัต จาก 100,000 จัต ขณะเดียวกันเกษตรกรที่ปลูกพืชอื่น ๆ สามารถกู้เพิ่มขึ้นสองเท่าเป็น 100,000 จัต ปัจจุบัน MADB ให้สินเชื่อแก่เกษตรกรตาม 3 ฤดูการเพาะปลูกหลัก ได้แก่ มรสุม ก่อนมรสุม และฤดูหนาว

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/farmers-have-shirked-loan-repayments-2012.html

โครงการที่จะนำการเปลี่ยนแปลงสู่ฝั่งแม่น้ำของซิตตเวในปีหน้า

ซีอีโอ BXT International Co (BXT) บริษัทพัฒนาแห่งเกาหลีใต้กล่าวว่าโครงการพัฒนาริมน้ำที่หลากหลายตามแนวแม่น้ำกาลาดานในเมืองซิตตเว ของรัฐยะไข่ ตอนนี้คืบหน้าไป 90% แล้ว ส่วนที่เหลือคือการสร้างถนน ท่อระบายน้ำ และโครงข่ายพลังงาน โครงการพัฒนาฝั่งแม่น้ำของซิตตเว ประกอบไปด้วยหน่วยงานราชการ เขตอุตสาหกรรม โรงแรมและร้านค้าต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 เฟสบนพื้นที่ 36 เฮคเตอร์ใกล้กับตลาดเมียวมาและท่าเรือ ในเฟส 3 เป็นการพัฒนาอาคารพาณิชย์โดยความร่วมมือกับบริษัทของสหรัฐอเมริกาเมื่อได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) จะมีการสร้างทั้งหมด 70 รายการ เนื่องจากรัฐยะไข่เป็นหนึ่งในรัฐที่มีการพัฒนาน้อยที่สุดรัฐบาลจึงได้ยกเว้นภาษีเป็นเวลา 7 ปี แม้จะห่างไกลและยากจนแต่ซิตตเวมีความปลอดภัย สวยงาม และเหมาะสมสำหรับการลงทุน ถึงแม้จะมีปัญหาในรัฐยะไข่ โครงการนี้รัฐถือหุ้น 30% ซึ่งผู้ซื้อหลังจากทำการดาวน์ 20% และ BXT จะยกเว้นดอกเบี้ยให้ถ้าสามารถชำระคืนทั้งหมดภายใน 2 ปี

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/project-bring-changes-sittwes-waterfront-next-year.html

กระทรวงการก่อสร้างเดินหน้าโครงการที่พักให้เช่าราคาถูกสำหรับพนักงาน

กระทรวงการก่อสร้างเริ่มดำเนินโครงการที่อยู่อาศัยราคาถูกใกล้กับเขตอุตสาหกรรมติว่า ในเขตเมืองตาน-ลยีน เขตการปกครองไลง์ตายา เขตการปกครอง Dagon Seikkan (Yoma) และโครงการที่อยู่อาศัยให้เช่าสำหรับพนักงานในเนปิดอร์ ภายในปีงบประมาณ 62-63 ที่พักจำนวน 7,300 หน่วยสำหรับข้าราชการถูกสร้างขึ้นในเนปิดอร์, ย่างกุ้ง และมัณฑะเลย์ เป็นเวลาสามปีจากปีงบประมาณ 59-60 ถึง 61-62 ส่วนใหญ่อยู่ในมัณฑะเลย์ สามปีที่ผ่านมาได้สร้างที่พักอาศัย 520 แห่งในรัฐคะฉิ่น 318 แห่งในรัฐกะยา 150 แห่งในรัฐกะเหรี่ยง 162 รัฐชิน 1,262 แห่งในเขตซะไกง์ 252 แห่งในเขตตะนาวศรี 672 ในเขตพะโคะ 552 ในเขตมะกเว 1,530 ในมัณฑะเลย, 252 ในรัฐมอญ 666 ในรัฐยะไข่ 732 ในรัฐฉาน และ 224 ในเขตอิระวดี ตั้งแต่ปี 60 -62 ได้ขาย 8,416 หน่วยให้กับเจ้าหน้าที่บริการและคนที่มีรายได้น้อยในเมืองใหญ่รวมถึงย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และเนปิดอว์ นอกจากนี้ยังมีแผนการผ่อนชำระด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งการให้สินเชื่อมีไว้สำหรับผู้ซื้อที่ผ่านเกณฑ์ขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) และความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA)

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/construction-ministry-continues-implementing-low-cost-staff-rental-housing-projects

FDI เมียนมาสูงกว่า 81 ล้านเหรียญสหรัฐ

คณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) ระบุว่า 50 ประเทศมีมูลค่าการลงทุนมากกว่า 81,000 ล้านเหรียญสหรัฐจากปี 2531-2532 ปีงบประมาณถึงปี 2561-2562 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในภาคน้ำมันและก๊าซธรรมชาติและภาคไฟฟ้า MIC จัดประชุมครั้งที่ 18/2019 เมื่อวันที่ 16 พ.ย.และอนุญาตให้ธุรกิจใหม่ 8 ธุรกิจในการผลิตสัตว์และการประมง บริการอื่น ๆ และที่อยู่อาศัย การลงทุนรวมของธุรกิจใหม่มีมูลค่าประมาณ 165.853 ล้านเหรียญสหรัฐและ 99,443 ล้านเหรียญสหรัฐ สามารถสร้างโอกาสในการจ้างงาน 1,739 ตำแหน่งให้กับคนในท้องถิ่น โดย MIC เปิดโอกาสให้มีการลงทุนจากต่างประเทศมูลค่า 220 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในระยะเวลา 20 ปี และดำเนินการตามแผนส่งเสริมการลงทุนในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ระหว่างปี 2559-2560 ถึงปี 2563-2564 ปีงบประมาณระยะกลางจากปี 2564-2565 ถึงปี 2568-2569 ปีงบประมาณและระยะยาวจาก 2569-2570 ถึงปี 2578 2579 เมียนมาคาดจะมีเงินลงทุนต่างประเทศประมาณ 5.8 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562-2563

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/foreign-investment-reaches-over-us81-b

อินโดนีเซียจับมือเมียนมาพัฒนาการค้าทวิภาคี

นักธุรกิจเมียนมากว่า 30 คนเข้าร่วมการประชุมธุรกิจอินโดนีเซีย – เมียนมาที่โรงแรมในย่างกุ้งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียได้ร่วมมือจากศูนย์ส่งเสริมธุรกิจระหว่างประเทศจัดให้มีการประชุมทางธุรกิจสำหรับผู้แทนอินโดนีเซีย 10 คนจาก 6 บริษัท และบริษัทคู่ค้าในเมียนมา โดยเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียกล่าวว่าอินโดนีเซียและเมียนมาจะเพิ่มความพยายามในการส่งเสริมปริมาณการค้าที่เพิ่มขึ้นถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว ทั้งนี้ยังสนับสนุนให้นักธุรกิจชาวอินโดนีเซียสำรวจโอกาสในการลงทุน องค์กรที่เป็นตัวแทนในครั้งนี้มีตั้งแต่บริษัทน้ำมันและก๊าซ การรถไฟ การจัดการน้ำและสุขาภิบาล บริษัทผู้ผลิตภัณฑ์ยารักษาโรค โลจิสติกส์ การเลี้ยงสัตว์ปีก ยา ธุรกิจการเกษตร การก่อสร้างและการบำบัดน้ำเสีย

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/indonesia-myanmar-keen-keep-bilateral-trade-growing.html

จังหวะของการลงทุน

ในระยะเวลาปีสองปีต่อจากนี้ไป คือช่วงเวลาเหมาะต่อการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งหากผ่านพ้นไปอีก 4 – 5 ปี คงมีโอกาสเป็นไปได้ยาก เพราะวันนี้สภาวะของอสังหาริมทรัพย์อยู่ในช่วงขาลงสุดๆ เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่นำออกมาใช้ลดความร้อนแรงของราคาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อต้องการกระตุ้นการลงทุน ด้วยการออกนโยบายเงินขาว-เงินดำ แต่ก็ยังไม่สัมฤทธิ์ผลมากนัก คือการออกนโยบายเก็บภาษีซื้อ-ขายที่ดินแบบบ้าระห่ำ ทำให้ไม่มีคนซื้อ ราคาตกไปเกือบ 20% ต่อมาเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ผ่านมา รัฐออกกฎหมายซื้อ-ขายที่ดินแบบอัตราก้าวหน้ามาใช้ ทำให้การซื้อการอสังหาริมทรัพย์ได้รับอานิสงค์ และการที่ค่าเงินจัตอ่อนลงถึง 80% ทำให้น่าลงทุน เพราะถูกลงเกือบ 80% เช่น ราคาที่ดิน และอาคารโกดังปีที่แล้ว อยู่ที่อยู่เอเคอร์ละ 600 ล้านจัต เป็นเงินบาทประมาณ 13.95 ล้านบาท ในขณะที่วันนี้ราคาตกอยู่ที่ 550 ล้านจัต ราคาประมาณ 11 ล้านบาท หรือลดลง 21.14% เรียกว่าตลาดเป็นของผู้ซื้อจริงๆ เนื่องจากเมียนมาเป็นประเทศที่อ่อนไหวต่อเปลี่ยนแปลงกฎหมายง่าย เมื่อมีความต้องการที่จะแก้กฎหมายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ แค่นำเรื่องเสนอเข้าสภามีผลบังคับใช้ทันที ดังนั้นถ้ากฎหมายมีประโยชน์หรือมีความจำเป็น รับรองมีการประกาศใช้แน่นอน ถ้าหากเมียนมาเสนอให้เราแล้ว ต้องรีบยื่นเรื่องขอใบอนุญาต MIC (Myanmar Investment Committee) ทันที ซึ่งการที่จะถอนใบอนุญาตหรือยกเลิกการส่งเสริม มีทางเดียวคือทำผิดกฎหมายร้ายแรง นี่คือ “จังหวะของการลงทุน” อย่างแท้จริง

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/606619