MIC เผยนักลงทุนเกาหลีใต้ไม่ถอนการลงทุนจากเมียนมา

นักธุรกิจชาวเกาหลีใต้ในเมียนมาจะไม่มีการย้ายการลงทุนไปยังบังคลาเทศอย่างแน่นอน เลขาธิการคณะกรรมาธิการการลงทุนของพม่า (MIC) เผย จากแถลงการณ์ของสำนักงานเขตเศรษฐกิจบังกลาเทศ (BEZA) และ บริษัท เกาหลีอินดัสเตรียลคอมเพล็กซ์ จำกัด (KIC) เมื่อเร็ว ๆ นี้หนังสือพิมพ์ของบังคลาเทศรายงานว่าเกาหลีใต้ที่ลงทุนในเมียนมาต้องการย้ายไปบังกลาเทศ จากรายงานระบุว่าธุรกิจของเกาหลีใต้ประมาณ 100 รายต้องการย้ายไปยังบังคลาเทศเนื่องจากข้อบกพร่องในเขตอุตสาหกรรม แม้ว่า KIC จะลงทะเบียนในเมียนมาแต่ก็ยังไม่ได้เริ่มดำเนินธุรกิจ แต่จากข้อมูลพบว่าเป็นเพียงข่าวลือ ในปัจจุบันมีเขตอุตสาหกรรมสองเขต ได้แก่ เขตอุตสาหกรรมเกาหลี – เมียนมาที่ตั้งขึ้นรัฐบาลเมียนมาและเกาหลีใต้และอีกหนึ่งเขตตั้งขึ้นโดยบริษัทเอกชน รายงานของคณะกรรมการการลงทุนและการบริหาร บริษัท (DICA) เกาหลีใต้เป็นนักลงทุนต่างชาติอันดับหกมีการลงทุน 3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐในธุรกิจ 179 แห่ง ส่วนใหญ่ลงทุนในน้ำมันและก๊าซ และธุรกิจการผลิต

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/no-withdrawal-south-korean-investors-says-mic.html

ธุรกิจ CMP นำเข้าวัตถุดิบมากกว่า 160 ล้านเหรียญสหรัฐในหนึ่งเดือน

ธุรกิจเสื้อผ้าแบบ CMP (Cutting Making และ Packaging) ได้นำเข้าวัตถุดิบมูลค่ากว่า 160 ล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือนในปีงบประมาณนี้ (1 ต.ค.62) เกิน 12 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อน ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 25 ต.ค.ในปีงบประมาณ 62-63 ปัจจุบันวัตถุดิบในธุรกิจ CMP มีมูลค่า 160.748 ล้านเหรียญสหรัฐในขณะที่ปีที่แล้วอยู่ที่ 148.588 ล้านเหรียญสหรัฐ ระบบ CMP ส่วนใหญ่จะใช้ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและมีบ้างในการทำรองเท้าและกระเป๋า อย่างไรก็ตามเมียนมามีรายรับเพียง 10% เนื่องจากระบบ CMP เป็นไปตามค่าแรง แม้ว่าประเทศจะมีรายรับจากธุรกิจ CMP ประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี แต่การใช้ระบบ FOB สามารถเพิ่มรายได้มากกว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/cmp-businesses-import-raw-materials-worth-over-160m-in-one-month

โครงการถนนสายใหม่รัฐชินเริ่มปีหน้า

โครงการถนนสายใหม่ของรัฐชินได้รับเงินกู้จากธนาคารโลกเริ่ม ต.ค.ปีหน้า โดยจะเชื่อมเมืองกะเล่, พะล่าน และฮ่าค่า จุดเริ่มต้นของถนนจะอยู่ในกะเล่ซึ่งเลาะเลียบรัฐชินและเขตสะกาย ถนนกะเล่-พะล่าน-ฮ่าค่า มีความสำคัญในการเชื่อมโยงรัฐชินกับภูมิภาคและรัฐอื่น ๆ เมื่อเสร็จสิ้นจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาของรัฐซิน โครงการนี้จะกู้ยืมเงิน 65 ล้านเหรียญสหรัฐจากธนาคารโลกและส่วนหนึ่งจากเงิน 200 ล้านเหรียญสหรัฐจากเงินทุนในเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 58 เงินกู้ดังกล่าวได้รับอนุญาตสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในรัฐยะไข่, เขตอิรวดี, และรัฐชิน ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการที่มีความสำคัญสำหรับรัฐชินดังนั้นจึงให้ความสำคัญในการสร้างอย่างเหมาะสมและยั่งยืน ส่วนผลลัพธ์จากการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม รัฐบาลต้องมีแนวทางเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการจะได้รับการชดเชยอย่างเป็นธรรม โปร่งใสและมีผลกระทบน้อยที่สุด

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/new-road-project-chin-set-start-next-year.html

ราคาไข่ในประเทศลดลงผลจากปัญหาโลจิสติกส์

ประธานสหพันธ์ปศุสัตว์แห่งเมียนมาเผยราคาไข่ลดลงมาอยู่ที่ 1400 จัต ต่อ viss (1.65 กิโลกรัม) จากระดับ 2600 จัต เมื่อสัปดาห์ที่แล้วก่อนที่จะดีดตัวขึ้นมาที่ระดับ 2100 จัต ปัญหาอุปสงค์และอุปทานไม่สมดุล ทำให้การขนส่งไข่ไปยังพื้นที่ชายแดนอย่างมูเซ และอากาศอบอุ่นในปีนี้ทำให้ผลผลิตลดลงและผลักดันราคาให้ลดลงอีก จากสถิติมีไก่อยู่ราว 20 ล้านตัวและ 75% เป็นไก่ไข่ ผลผลิตในท้องถิ่นกำลังเผชิญแรงกดดันจากนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาใน เช่น จีน ไทย และอินเดียได้ ซึ่งการเพาะพันธุ์ส่วนใหญ่ทำโดยเกษตรกรเพียงเล็กน้อยและยังใช้วิธีการเลี้ยงแบบดั้งเดิม มีเกษตรกรเพียง 5 –10% ที่เปลี่ยนวิธีการเลี้ยงเป็นแบบสมัยใหม่ซึ่งต้นทุนจะสองกว่าแบบดั้งเดิมถึงสองเท่า ในปีนี้การลงทุนจากต่างประเทศจะมาจากอเมริกา อินเดีย และมาเลเซียมากขึ้น ซึ่งเกษตรกรในท้องถิ่นต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ ตามปกติฟาร์มขนาดใหญ่จะมีความสามารถในการเลี้ยงไก่ไข่ 10,000-50,000 ตัว และที่ไก่เนื้อ 3,000 ตัว ขณะที่บริษัทต่างชาติคาดว่าจะเลี้ยงไก่หลายล้านตัวและสามารถขยายธุรกิจได้มากด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ถูกและผลิตอาหารไก่ได้เองทำให้ต้นทุนต่ำลง ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดสองข้อในการพัฒนาอุตสาหกรรมคือการจัดหาเงินทุนจากธนาคารและการเข้าถึงที่ดิน ผลผลิตที่ผ่านมาลดลงเนื่องจากความร้อนในเดือน มิ.ย.และราคาไก่สดสร้างสถิติสูงสุดเป็นเวลาสองสัปดาห์ เมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนธุรกิจจะต้องหันไปใช้เทคนิคการทำฟาร์มแบบเย็นที่ทันสมัยมากขึ้น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/local-egg-prices-drop-due-logistical-issues.html

โตโยต้าเมียนมาเริ่มผลิตไฮลักซ์

โตโยต้ามอเตอร์เมียนมา (TMY) จะเริ่มผลิตไฮลักซ์เมียนมาเป็นครั้งแรกและยังมีแผนที่จะผลิตแบรนด์รถยนต์อื่น ๆ หลังจากประเมินสถานการณ์ตลาด การก่อสร้างโรงงานรถยนต์ได้เริ่มขึ้นคาดจะเริ่มให้บริการใน ส.ค. 63 คาดว่าจะผลิตได้ในปี 64 กุมภาพันธ์ ผลิตได้ 2,500 คัน โตโยต้ามอเตอร์คอร์ปอเรชั่นญี่ปุ่นวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างโรงงานอัตโนมัติแห่งใหม่ของเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาล่าในวันที่ 1 พ.ย.62 ที่ผ่านมา การลงทุนจากต่างประเทศมีมูลค่า 52.6 ล้านเหรียญสหรัฐ มีแรงงาน 130 คน และเริ่มผลิตรถยนต์ในปี พ.ศ. 64 โดยตั้งเป้าผลิตโตโยต้าไฮลักซ์ 2,500 คันโดยใช้ระบบน็อคดาวน์ (SKD)

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/microfinance-firms-get-more-support.html

ทศวรรษหน้า ขนส่งสาธารณะย่างกุ้งสามารถพึ่งพา YBS ได้

การประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สองของ บริษัท ขนส่งสาธารณะย่างกุ้งประจำเมือง (YUPT) การขนส่งสาธารณะในเขตย่างกุ้งสามารถพึ่งพา YBS (Yangon Bus Service) ได้ในทศวรรษหน้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมการไฟฟ้าและการขนส่งทางถนนกล่าวระหว่างการ เมื่อวันที่ 30 ต.ค. ที่ผ่านมา การขนส่งทางรถไฟรอบเมืองสามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณหมื่นคนในขณะที่โครงการรถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดินไม่สามารถดำเนินการได้ มีผู้โดยสารประมาณ 2.5 ล้านคนต้องพึ่งพา YBS แต่อาจจะอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านคนเพราะต้องไปและกลับจากบ้านของพวกเขา ย่างกุ้งมีรถบัส 100 สาย พร้อมด้วยรถบัสที่จดทะเบียน 6,635 คัน รถโดยสารมากกว่า 4,500 คัน มีผู้โดยสารประมาณ 1.8 ล้านคนต่อวัน

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/yangon-public-transport-can-rely-on-ybs-for-next-decade-minister

MAB หนุนไมโครไฟแนนซ์เพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็ก

Myanmar Apex Bank (MAB) ได้จัดสรรเงิน 57,000 ล้านจัต เพื่อสนับสนุนบริษัทสินเชื่อรายย่อยที่ปล่อยกู้สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ขณะนี้ MAB ได้ให้การสนับสนุนกับ Fullerton Finance Myanmar, Proximity Finance Microfinance, Vision Fund Myanmar, Early Dawn Microfinance, and Pact Global Finance Microfinance Fund. บริษัท ไมโครไฟแนนซ์มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กในเมียนมา โดยยินดีที่จะให้ธุรกิจขนาดเล็กได้กู้ยืมสินเชื่อเพราะธุรกิจเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการสร้างโอกาสการจ้างงาน MAB ได้จัดตั้งขึ้นในปี 53 มีบทบาทในการสนัยสนุนทุนให้กับ บริษัทไมโครไฟแนนซ์เพื่อสนับสนุนลูกค้ารายย่อยและธุรกิจขนาดเล็ก ในอนาคตได้วางแผนจะขยายการระดมทุนการเงินรายย่อยเพื่อให้สามารถรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจ ธุรกิจขนาดเล็กมียอดกู้มากที่สุด 10 ล้านจัตและหากมีการเติบโตจะต้องการเงินทุนเพื่อขยายตัวของธุรกิจ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/microfinance-firms-get-more-support.html

KBZPay ขยายบริการทดแทนการใช้เงินสด

KBZPay คาดว่าผู้ใช้จะเพิ่มขึ้น 42% เป็น 5 ล้านคนภายในสิ้นปีนี้และขยายเป็นหกเท่า 30 ล้านคนภายในปี 2571 ผู้ใช้จะสามารถจองตั๋วสำหรับการท่องเที่ยว ซื้อและขายสินค้า และบริการออนไลน์ จ่ายเงินเดือนและสนับสนุนแพลตฟอร์ม การชำระเงินทางธุรกิจด้วย KBZPay มั่นใจได้ว่าข้อมูลของผู้ใช้จะได้รับการปกป้องและส่งเสริมการรับรู้เกี่ยวกับความรู้ทางการเงินและดิจิทัลสำหรับประชาชน ปัจจุบันแอพพลิเคชั่นมีผู้ใช้มากกว่า 3.5 ล้านคน – ราว 1.6 ล้านคนในย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และรัฐฉานและ 1.9 ล้านคนในพะโค, ซากะ, อิรวดี,มะกเว , มน, ยะไข่ รวมถึงเนปยีดอ แอพนี้อำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมไร้เงินสดได้จำนวน 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐในปีแรก ปัจจุบันสามารถใช้สำหรับการฝากและถอนเงิน เติมเงินมือถือ การซื้อข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต การชำระเงิน QR code และการโอนเงินจากบัญชีออม KBZ ไปยัง KBZPay เป้าหมายของคือลดการใช้เงินสดให้มากที่สุดและช่วยพัฒนาระบบการเงินดิจิทัลในเมียนมา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/kbzpay-expand-cashless-service-offering.html