อัพเดท ปัจจัยและโอกาสการลงทุนใน สปป.ลาว

จากบทสัมภาษณ์ของ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายพาณิชย์) สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เวียงจันทน์ พบว่า ทั้ง 2 ประเทศมีมูลค่าการค้าขายตัว 5% แต่ติดลบในการส่งออกในภาคอุตสาหกรรม เพราะการเข้มงวดและโปร่งใสในโครงการสำคัญๆ เช่น เขื่อนไซยะบุรี ปีที่ผ่านมาได้มีการแก้กฎหมายการลงทุนทำให้มีต่างชาติทะลักเข้ามาลงเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะการคมนาคมและขนส่ง เช่น รถไฟฟ้าความเร็วสูงสปป.ลาว-จีน ที่แล้วเสร็จปี 2021 จากคุนหมิงถึงเวียงจันทร์ คาดว่าจะมีคนจีนเข้ามาไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคนต่อปี ทั้งยังให้ความสำคัญกับภาคการเกษตร การศึกษา ระบบสาธารณสุข โดยเพาะด้านวัตถุดิบ SME ไทยควรเข้าไปหนุนด้านการผลิตและแพกเกจจิ้ง จะดีกว่าการนำสินค้าไปขายเอง และยังมีช่องทางลงทุนที่น่าสนใจ คือ การบริการด้านสุขภาพ พบว่าในปีที่จะถึงนี้กลุ่มทุนจากไทยไปเปิดโรงพยาบาลใน สปป.ลาว แล้ว ส่วนสินค้าความงาม และอาหาร พบว่าใช้สินค้าไทยสูง 60-70% และเรื่องของการศึกษาและธุรกิจแฟรนไชส์ยังไปได้ดี โดยปีที่ผ่านมาสมาคมแฟรนไชส์สามารถขายออกไปได้ถึง 10 แบรนด์

ที่มา: https://www.bangkokbanksme.com/article/22146

21 มีนาคม 2561

มีอะไรใหม่ ในหลวงพระบาง

ปี 2561 ที่ผ่านมา สปป.ลาวมีการเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารราชการโดยการยกแขวงหลวงพระบางขึ้นเป็น นครหลวงพระบาง เพื่อยกระดับการพัฒนาและเชื่อมโยงกับเมืองสำคัญของภูมิภาค โดยครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดที่อยู่ภายใต้การดูแลของ UNESCO มีประชากรทั้งสิ้น 71,812 คน เป็นเกษตรกรเพียง 5% มีศักยภาพในการลงทุน รองรับนักท่องเที่ยวได้ 550,000 คนต่อปี ทุกครัวเรือนสามารถเข้าถึงระบบสาธารณูปโภคได้ร้อยเปอร์เซ็น ซึ่งหลวงพระบางนั้นเป็นความหวังด้านการท่องเที่ยวของ สปป.ลาว ปัจจุบันเส้นทางรถไฟฟ้าความเร็วสูงจีน – สปป.ลาว โดยมี 1 สถานีของหลวงพระบางเป็นจุดจอดสำคัญ ซึ่งเชื่อมต่อกับการท่องเที่ยวสายวัฒนธรรมภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจ หลวงพระบาง อินโดจีน เมาะลำไย (LIMEC) ที่เชื่อมโยงด้านการค้า การลงทุน โลจิสติกส์ ฯลฯ กับประเทศไทยและเมียนมา เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า สปป.ลาวคาดหวังให้หลวงพระบางนครหลวงพระบางเป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยว เพราะ 7-8% ของจีดีพี เป็นการท่องเที่ยวที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มา: กองความร่วมมือการค้าและการลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ

30 เมษายน 2561

ส่องดู สปป.ลาว อย่าดูถูกตลาดใหม่ที่ยังมีช่องว่างให้เติบโต ก่อนจะคุยเรื่องรุกตลาดจีน

ก่อนที่จะไปบุกตลาดจีน เราควรมาพิเคราะห์ประเทศเพื่อนบ้านเราอย่าง สปป.ลาวกันก่อนว่ามีอะไรโดดเด่นเหมาะแก่การลงทุนกันบ้าง ด้วยความที่ไทยและ สปป.ลาวเป็นเพื่อนบ้านกัน วัฒนธรรม ภาษา การใช้ชีวิต จึงคล้ายคลึงกันและเป็นจุดเชื่อมต่อกับจีนที่กำลังหนุนสารพัดโครงการไม่ว่าจะเป็น ด้านโครงสร้างพื้นฐานและท่าเรือน้ำลึกเพื่อใช้ในการส่งออก การเป็นทางผ่านให้นักท่องเที่ยวจีนมุ่งสู่ไทย และปัจจุบันได้เกิดกลุ่มผู้บริโภคใหม่คือชนชั้นกลางมากขึ้นมีอำนาจซื้อมากขึ้น จึงเป็นโอกาสดีของสินค้าไทยที่การส่งงออกซึ่งชาว สปป.ลาว ให้ความมั่นใจในคุณภาพของสินค้าและให้อยู่ในระดับเดียวกับสินค้าที่มาจากเกาหลี การจับจ่ายสินค้าส่วนใหญ่ใช้เป็นเงินสดไม่นิยมการผ่อน ไม่นิยมทานข้าวนอกบ้านเพราะมองว่าเป็นการสิ้นเปลือง นับว่าเป็นบ้านใกล้เรือนเคียงที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

ที่มา: https://www.marketingoops.com/reports/industry-insight/laos-blue-ocean/

28 มิถุนายน 2561

รถไฟความเร็วสูงจีน-สปป.ลาว อีกหนึ่งเส้นทางเชื่อมจีนสู่อาเซียน

ปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนใน มากที่สุดด้วยมูลทุนสะสมกว่า 5.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 30% ของมูลค่าเงินลงทุนจากต่างประเทศสะสมทั้งหมด โดยเฉพาะ เส้นทางรถไฟสายคุนหมิง-สิงคโปร์ภายใต้ยุทธศาสตร์ One Belt, One Road ที่ถือสัดส่วน 70% ของโครงการ ผลดีต่อการขนส่งไปจีนคือลดต้นทุนได้ถึง 40 – 70% และเส้นทางยังผ่านเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างร่วมบ่อเต็นบ่อหาน แขวงหลวงน้ำทา เขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ แขวงบ่อแก้ว และเขตเศรษฐกิจเฉพาะอุตสาหกรรมและการค้าเวียงจันทน์-โนนทอง นครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งทั้ง 3 เขตเศรษฐกิจมีความสำคัญทางด้านเป็นศูนย์กระจายสินค้า แหล่งบันเทิงที่สำคัญ เช่น นิคมอุตสาหกรรม Vita โอกาสของผู้ประกอบการไทยคือลงทุนในภาคการผลิต ธุรกิจท่องเที่ยว ค้าปลีก ซึ่งในอนาคตจะเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงภายใต้โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ซึ่งจะเป็นประตูสู่การลงทุนในกลุ่ม CLMV ได้เป็นอย่างดี

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/48780_0.pdf

19 มิถุนายน 2560

สปป.ลาว ท็อปค่าใช้จ่าย “แพงสุด” ในลุ่มน้ำโขง ชู 2018 ปีแห่งการท่องเที่ยว

บรรดากลุ่มประเทศ CLMV สปป.ลาวจัดเป็นประเทศที่ยากจนที่สุด แต่กลับเป็นประเทศที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดด้วยเช่นกัน ด้วยความที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล “Land Locked Country” จำเป็นต้องนำเข้าสินค้าทุกประเทศไม่เว้นแม้กระทั่งข้าวเหนียว แม้การเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย ที่ต้องอาศัยการสร้างเขื่อนพลังงานฟ้า 100 แห่งภายในปี 2020 แต่ถูกต่อต้านจากนักเคลื่อนไหวและกัมพูชา ดังนั้นการท่องเที่ยวจึงเป็นทางออกแต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ปัจจุบันนักท่องเที่ยวต่างชาติมีจำนวนลดลง 12% ของครึ่งปีแรกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน โดยเฉพาะจากชาติอาเซียนลดลงมากที่สุด เหตุจากค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว การเดินทาง อาหาร ที่พักและค่าธรรมเนียมที่สูงเกินไปและยังสูงกว่าเวียดนามด้วยซ้ำ แม้ปี 2561 จะเว้นวีซ่าตลอดทั้งปีให้กับประเทศอย่าง เดนมาร์ก นอร์เวย์ ฟินแลนด์ และสวีเดน ด้านจีนที่พยายามเชื่อม Land Links ต้องจับตาว่าจะสามารถช่วย สปป.ลาวในด้านการท่องเที่ยวและการค้าได้มากน้อยเพียงใด

ที่มา: https://www.matichonweekly.com/intrend/article_77224

24 มกราคม 2561

ชี้ขุมทรัพย์ของนักธุรกิจไทยในสปป.ลาวโดย SME แห่งสปป ลาว

นิตยา เพชดาวัน กรรมการสมาคม SME สปป.ลาว ได้ชี้ถึงโอกาสของนักลงทุนไทยในสปป.ลาว โดยเฉพาะในจุดที่แตกต่างระหว่างไทยกับสปป.ลาว ที่ถือเป็นความลงตัว สปป.ลาวยังมีทรัพยากรจำนวนมาก แต่ยังไม่สามารถแปรรูป แต่คนไทยทำได้หมด จึงอยากให้นักธุรกิจไทยให้ไปลงทุน ซึ่งโอกาสมีทั้งเรื่องธุรกิจอาหาร เครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์เสริมความงาม คนสปป.ลาวมีความมั่นใจในสินค้าไทยมาก มีความเชื่อว่าเป็นของดี สินค้าจากสองประเทศวางคู่กัน สินค้าแบรนด์ที่ Made in Thailand จะถูกเลือกซื้อไปก่อน เพราะมีราคาไม่สูงและเป็นสินค้ามีคุณภาพ และที่น่าสนใจคือการค้าชายแดนที่รัฐบาลสปป.ลาว ยึด 4 ข้อหลัก คือ การสร้างเขื่อนไฟฟ้า พัฒนาโครงการพื้นฐาน การลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และผลักดันการลงทุนทั้งด้านเกษตรแปรรูป การศึกษา และโรงพยาบาล ด้านผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย มีศักยภาพมากพอที่จะเข้าไปลงทุนในด้านเกษตรแปรรูป (ที่ในปัจจุบันรัฐบาลเน้นเกษตรออร์แกนิค พืชผักปลอดสารพิษ) การศึกษา และโรงพยาบาล เช่นเดียวกัน ที่ผ่านมานักธุรกิจมักคิดว่าสปป.ลาวเป็นเมืองปราบเซียน ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องความไม่เข้าใจระหว่าง ที่ถูกต้องคือต้องไปกับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ถ้าจดทะเบียนตามระบบขั้นตอนที่ถูกต้องนั้น การันตีเลยว่าจะไม่โดนโกงอย่างแน่นอน นักธุรกิจที่ไม่ประสบความสำเร็จนั้นมีเป็นส่วนน้อย เพราะไทยกับ สปป.ลาวนั้นเชื่อมโยงใกล้ชิดกันอยู่แล้ว

ที่มา: https://news.mbamagazine.net/index.php/entrepreneurship/smes/item/1020-2018-08-13-02-49-26

ส่องการค้าใน สปป.ลาว

สปป.ลาว แม้จะเป็นประเทศขนาดเล็กแต่มีอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ 7% เป็นอันดับ 3 ในอาเซียน อันดับ 10 ของโลก ถึงแม้จะมีประชากรเพียง 7 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัยหนุ่มสาวแต่มีนักท่องเที่ยวมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากร ปัจจุบันมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน 4 ด้าน ได้แก่ การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้า โครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมให้ลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ 12 เขต และการส่งเสริมการลงทุนภาคกสิกรรม อุตสาหกรรมแปรรูป การศึกษา และโรงพยาบาล และยังปรับปรุงกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ โอกาสสำหรับ SME ไทยคือสินค้าอุปโภคบริโภคเพราะยอมรับในคุณภาพและบริการ ในปัจจุบันไทยเข้ามาลงทุนเป็นอันดับ 2 รองจากจีน โดยมีทั้งหมด 752 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 4,492 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่ลงทุนด้านการค้า การบริการ หัตถกรรม โรงแรม ร้านอาหาร สินค้าเกษตรแปรรูปและธุรกิจด้านพลังงาน

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/scoop/560465

11 สิงหาคม 2561

ชำระเงินค่ำสินค้ำวิธีไหน เหมาะกับการค้ำไทยและ สปป.ลาว

เศรษฐกิจ สปป.ลาว ขยายตัวสูงเฉลี่ยกว่าร้อยละ 7 ต่อปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้มีพลังในการบริโภคมากขึ้นและสินค้าไทยเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่นิมมากที่สุดเพราะชายแดนที่ติดกันมีการคมนาคมขนส่งสะดวกขึ้น และไทยครองอันดับหนึ่งจากการนำเข้าของสปป.ลาวมาตลอดและเกือบทั้งหมดเป็นการค้าผ่านชายแดน ซึ่งในปัจจุบันการชำระเงินซื้อขายสินค้ามีอยู่ 2 รูปแบบคือ 1.แบบไม่ผ่านระบบธนาคาร เช่น การใช้เงินสด จะเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เงินบาทไทย ส่วนเงินกีบไม่เป็นที่นิยมมากนักเพราะไม่ค่อยมีเสถียรภาพ และการชำระเงินผ่านนายหน้า (โพยก๊วน) นิยมในแถบชายแดนเฉพาะกลุ่ม SME โดยผ่านคนกลางและค่าธรรมเนียมที่ไม่สูง 2.แบบผ่านธนาคาร เช่น การชำระเงินผ่านบัญชีธนาคาร ชาวสปป.ลาวสามารถข้ามมาเปิดบัญชีเงินบาทประเภทผู้ไม่มีถิ่นฐานในไทย และการชำระเงินเงินในรูปแบบการค้าระหว่างประเทศสากล ส่วนใหญ่จะเป็นการค้ามูลค่าสูง

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/49554.pdf

มีนาคม 2561

เจาะตลาด สปป.ลาว โอกาสที่มาพร้อมกับรถไฟความเร็วสูง

สปป.ลาว แม้จะเป็นประเทศขนาดเล็กแต่มีอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ 7% เป็นอันดับ 3 ในอาเซียน อันดับ 10 ของโลก ถึงแม้จะมีประชากรเพียง 7 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัยหนุ่มสาวแต่มีนักท่องเที่ยวมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากร ปัจจุบันมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน 4 ด้าน ได้แก่ การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้า โครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมให้ลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ 12 เขต และการส่งเสริมการลงทุนภาคกสิกรรม อุตสาหกรรมแปรรูป การศึกษา และโรงพยาบาล และยังปรับปรุงกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ โอกาสสำหรับ SME ไทยคือสินค้าอุปโภคบริโภคเพราะยอมรับในคุณภาพและบริการ ในปัจจุบันไทยเข้ามาลงทุนเป็นอันดับ 2 รองจากจีน โดยมีทั้งหมด 752 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 4,492 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่ลงทุนด้านการค้า การบริการ หัตถกรรม โรงแรม ร้านอาหาร สินค้าเกษตรแปรรูปและธุรกิจด้านพลังงาน

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/49347_0.pdf

30 มกราคม 2561