กัมพูชาลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยการเก็บภาษีซ้ำซ้อนกับฟิลิปปินส์

  กัมพูชาและฟิลิปปินส์ใกล้จะลงนามในข้อตกลงการเก็บภาษีซ้ำซ้อน (DTA) ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มการค้าและการจ้างงานแบบสองทางระหว่างทั้งสองประเทศ จากการรายงานของ Philippine Daily Inquirer ประเทศกัมพูชาได้ตกลงกับข้อเสนอส่วนใหญ่ที่ทางฟิลิปปินส์ได้เสนอมา โดยข้อตกลงดังกล่าวถือเป็นข่าวดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับชาวฟิลิปปินส์ที่ทำงานในกัมพูชา ซึ่งมีคนฟิลิปปินส์มากกว่า 5,000 คน ที่อาศัยและทำงานในกัมพูชา ส่วนใหญ่เป็นพนักงาน ผู้จัดการ ครูวิศวกร แพทย์ สถาปนิก นักบัญชีและตำแหน่งระดับสูงอื่นๆ โดย DTA จะอนุญาตให้ผู้อยู่อาศัยหรือพลเมืองของทั้งสองประเทศที่ทำงานในประเทศอื่นจ่ายหรือเสียภาษีในประเทศบ้านเกิดของตนเท่านั้น ซึ่งจากข้อมูลของสำนักรายได้ภายในระบุว่าผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศอื่นที่ฟิลิปปินส์มีสนธิสัญญาการเก็บภาษีซ้ำซ้อนอาจสามารถเรียกร้องการยกเว้นหรือยกเว้นภาษีจากทางฟิลิปปินส์บางส่วนได้จากรายได้บางประเภทในฟิลิปปินส์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50677163/nation-close-to-inking-double-taxation-pact-with-philippines

การเติบโตอย่างต่อเนื่องของกัมพูชา

ธนาคารกลางคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของกัมพูชาจะคงอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 7% โดยมีอัตราเงินเฟ้อที่ 2.3% ในปี 2563 ตามรายงานของธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) โดยกล่าวว่าการคาดการณ์สำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปตามการคาดการณ์ของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการส่งออกการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและภาคการท่องเที่ยว ในขณะที่เศรษฐกิจของกัมพูชา จากการเติบโตที่หลากหลายและการปฏิรูปที่ครอบคลุมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน การส่งออกคาดว่าจะเติบโตมากที่สุดโดยเฉพาะการส่งออกกระเป๋าเดินทางและผลิตภัณฑ์วัตถุดิบการผลิตอื่นๆ แม้ว่าการส่งออกเสื้อผ้าจะชะลอตัวลง ซึ่งสหภาพยุโรปอาจตัดสินใจถอน EBA จากกัมพูชาในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 ซึ่งการสูญเสีย EBA จะเพิ่มมูลค่าของสินค้าส่งออกของกัมพูชาไปยังตลาดยุโรปเนื่องจากภาษีเดิมคือ 0.1% มาอยู่ที่ 12.5% ​​ตามประเภทของผลิตภัณฑ์ โดยสิ่งที่กัมพูชาต้องทำในระยะยาวคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงบรรยากาศการลงทุน ปรับปรุงการเกษตรให้ทันสมัยและปกป้องสิ่งแวดล้อมที่มาอยู่ ซึ่งการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็มีความสำคัญเช่นกัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50677031/kingdoms-continued-real-growth

แผนกจังหวัดของกัมพูชาได้รับอนุญาตในการออกหนังสือรับรองหรือฟอร์มดี

กระทรวงพาณิชย์มุ่งมั่นที่จะมอบหมายการออกแบบฟอร์มดี สำหรับรับรองแหล่งกำเนิดให้กับกระทรวงพาณิชย์ทั่วประเทศภายในปีนี้เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในกิจกรรมทางธุรกิจและการส่งออกตามรายงานประจำปีของกระทรวง โดยใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (CO) เป็นเอกสารอย่างเป็นทางการที่ใช้เพื่อรับรองว่าผลิตภัณฑ์นั้นผลิตและมีแหล่งที่มาจากแหล่งใด ซึ่งทั่วไปจะเป็นเอกสารสำคัญที่ผู้ซื้อต้องการ โดย CO ของรูปแบบ ฟอร์มดี จะต้องได้รับจากบริษัทที่ขายผลิตภัณฑ์ไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนจนถึงขณะนี้มีโครงการถึง 16 จังหวัด โดยจะช่วยให้เจ้าหน้าที่ระดับจังหวัดสามารถออกฟอร์มดีและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานระดับชาติและระดับจังหวัดที่ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ตามที่กระทรวงระบุว่าการยื่นแบบฟอร์มดีที่แผนกการพาณิชย์จังหวัดใช้เวลาเพียง 16 ชั่วโมงเทียบกับ 10 วันถึงสองสัปดาห์หากการยื่นขอนั้นอยู่ที่กระทรวงพาณิชย์ในกรุงพนมเปญ ซึ่งกระทรวงตั้งเป้าในปีนี้เพื่อมอบหมายการออกแบบฟอร์มดี ไปยังแผนกพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจโดยเฉพาะการส่งออก โดยกัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรประมาณ 7 ล้านตันในปี 2562 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรระบุว่าเวียดนามเป็นผู้ซื้อสินค้าเกษตรรายใหญ่ที่สุดของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50676991/provincial-departments-will-be-allowed-to-issue-d-notices

ผู้ส่งออกเรียกร้องให้เกษตรกรกัมปอตในกัมพูชาผลิตพริกไทยที่เน้นถึงคุณภาพ

ผู้ส่งออกขอให้เกษตรกรให้ความสำคัญกับการผลิตพริกไทยคุณภาพสูงโดยทำตามมาตรฐานที่เข้มงวดเพื่อเพิ่มความต้องการของผลิตภัณฑ์ในต่างประเทศ โดยพริกไทยจากเมืองกัมปอตยังคงเป็นที่นิยมในระดับสากลโดยเฉพาะในกลุ่มยุโรป แต่อย่างไรก็ตามเกษตรกรจะต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพเพื่อรักษายอดขายให้แข็งแกร่ง ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่สนใจเรื่องราคาจนไม่สนใจคุณภาพ ซึ่งคุณภาพถือเป็นสิ่งที่ผู้ส่งออกให้ความสำคัญ โดยพริกไทยกัมปอตได้รับสถานะบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในสหภาพยุโรปในปี 2015 ซึ่งสมาคมส่งเสริมพริกไทยกัมปอตระบุว่า 50% ของพริกไทยกำปอตส่งออกไปยังสหภาพยุโรปในขณะที่ 30% บริโภคภายใน ส่วนที่เหลือจะถูกส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ในส่วนของ Confirel โดยขายพริกไทยกัมปอตภายใต้แบรนด์ Kirum ส่งออกประมาณ 14 ตันของพริกกัมปอตในต่างประเทศใน ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า 20% ถึง 25% ของเกษตรกรรายย่อย (เกษตรกรที่มีพื้นที่น้อยกว่า 3,000 ตารางเมตร) จะทำการยกเลิกการเพาะปลูกหลังจากจบฤดูเก็บเกี่ยวในปีนี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50673130/exporter-urges-kampot-pepper-farmers-to-focus-on-quality

สมัชชาแห่งชาติกล่าวถึงสี่โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ในกัมพูชา

โครงการพลังงานแสงอาทิตย์สี่โครงการซึ่งคิดเป็นกำลังการผลิตรวม 140 เมกะวัตต์ ได้รับการอนุมัติในระหว่างการประชุมสมัชชาแห่งชาติ โดยรัฐสภาอนุมัติร่างกฎหมายเกี่ยวกับการค้ำประกันการชำระเงินในโครงการ เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อการปฏิบัติตามภาระผูกพันทั้งหมดของโครงการ ซึ่ง Green Sustainable Ventures Co Ltd. ลงทุน 17.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ 20 เมกะวัตต์ ในเขตของจังหวัดสวายเรียงสามารถผลิตพลังงานได้ 34.67 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี โดย Ray Power Supply Co Ltd. จะลงทุนอีกกว่า 28.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 30 เมกะวัตต์ ในเขตของบันทายมีชัย โดยสามารถผลิตพลังงานได้ถึง 50 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ส่วน Risen Energy Co Lte. จะสร้างโซล่าฟาร์มขนาด 60 เมกะวัตต์ ในเขตจังหวัดพระตะบองด้วยการลงทุน 57.2 ล้านเหรียญสหรัฐ สามารถผลิตพลังงานได้ที่ 107 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี และโครงการสุดท้าย SchneiTec Infinite Co Ltd. กำลังวางแผนที่จะลงทุน 29 ล้านเหรียญสหรัฐขนาด 30 เมกะวัตต์ในเขต ของจังหวัดโพธิสัตว์สามารถผลิตพลังงานได้ที่ 48 ล้านกิโลวัตต์ต่อปี ซึ่งโรงไฟฟ้าเหล่านี้จะถูกขายให้กับการผลิตไฟฟ้าของกัมพูชา (EDC) ในอัตรา 0.076 เหรียญสหรัฐต่อกิโลวัตต์ชั่วโมงตามรายงานจากกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50672968/national-assembly-says-yes-to-four-solar-projects

กัมพูชาพิจารณาเครื่องหมายการค้ารูปแบบใหม่

กระทรวงพาณิชย์กำลังสำรวจความเป็นไปได้ในการออกเครื่องหมายการค้าใหม่เพื่อให้ครอบคลุมสินค้าเกษตรมากขึ้น โดยผู้อำนวยการกรมทรัพย์สินทางปัญญาของกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่าปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์สี่ประเภทที่มีสถานะทางภูมิศาสตร์ (GI) หรือเครื่องหมายการค้ารวม ซึ่งกระบวนการอยู่ในช่วงเริ่มต้นโดยขณะนี้กระทรวงกำลังรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยถือเป็นการปกป้องผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ซึ่งการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในท้องถิ่นในกระบวนการปกป้องสินค้าของกัมพูชาถือเป็นส่วนที่สำคัญมาก แต่บริษัทและผู้ผลิตในท้องถิ่นส่วนใหญ่ไม่ได้มีส่วนร่วมหรือเห็นถึงความสำคัญในกระบวนการนี้จริงๆบางครั้งยังลังเลที่จะเข้าร่วมเวิร์กช็อปที่ทางภาครัฐได้ชี้ชวนให้เข้าร่วม โดยพูดถึงประโยชน์ของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาแล้วก็ตาม ซึ่งในเดือนตุลาคมรัฐบาลได้เปิดตัวเครื่องหมายการค้าใหม่ซึ่งครอบคลุมหนึ่งในอาหารที่มีชื่อเสียงที่สุดของเมืองหลวงคือก๋วยเตี๋ยวพนมเปญ เป็นสินค้าที่ได้รับเครื่องหมายการค้าลำดับที่ห้าที่รัฐบาลกัมพูชาให้การยอมรับ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50672762/new-trademarks-considered

กัมพูชาทำการศึกษาใหม่เกี่ยวกับทางด่วนกรุงพนมเปญเชื่อมบาเว็ต

China Railway Corporation กำลังทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างทางด่วนที่เชื่อมระหว่างเมืองหลวงกับเมืองบาเว็ต ซึ่งอยู่ติดกับเวียดนามตามกระทรวงโยธาธิการและขนส่งรายงาน โดยการศึกษาจะใช้เวลาประมาณ 8 เดือนจึงจะเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งถือเป็นการศึกษาครั้งที่สองบนทางด่วนระหว่างบาเว็ตเชื่อมต่อกับกรุงพนมเปญและสวายเรียง ดำเนินการโดย Japan Cooperation Agency (JICA) โดยการศึกษาล่าสุดจะพิจารณาเพิ่มเติมว่าโครงการมีความเป็นไปได้และคุ้มค่าหรือไม่ และจะถูกส่งไปยังรัฐบาลที่จะใช้ในการตัดสินใจว่าจะอนุญาตหรือไม่ ซึ่งหากการลงทุนมีความเป็นไปได้ขั้นตอนต่อไปคือการเจรจาต่อรองสัมปทานกับบริษัทผู้สนใจลงทุน โดยการศึกษาของ JICA แสดงให้เห็นว่าโครงการจะมีมูลค่าสูงกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามรายงานดังกล่าวทางด่วนจะมีความยาว 135 กิโลเมตรวิ่งผ่านกรุงพนมเปญ, กันดาล, ไพรแวงและ สวายเรียง จนกระทั่งสู่ประตูชายแดนในบาเว็ต ซึ่ง China Railway Corporation ประกาศความสนใจที่จะลงทุนในโครงการเมื่อต้นปี และเชื่อว่าโครงการนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้าของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50672615/new-study-on-phnom-penh-bavet-expressway