บริษัท ญี่ปุ่นสร้างโรงงานแปรรูปมะม่วงหิมพานต์ในกัมพูชา

บริษัท ท็อปแพลนนิ่งเจแปน จำกัด ประกาศที่จะสร้างโรงงานในประเทศกัมพูชาเพื่อแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ โดยได้สรุปการศึกษาการลงทุนที่ดำเนินการโดยความช่วยเหลือขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) และได้มีการประชุมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของกัมพูชาในกรุงพนมเปญเพื่อหารือเกี่ยวกับการลงทุน ซึ่งจากการศึกษา บริษัท พบว่าเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของกัมพูชามีรสชาติดีกว่าในประเทศเวียดนาม อินเดียและแอฟริกา ภายใต้คุณภาพสุขอนามัย มีศักยภาพที่เป็นไปได้ แต่ขาดความทันสมัยในอุตสาหกรรมการผลิตแปรรูปทาง บริษัท จึงต้องการสร้างโรงงานแปรรูปในกัมพูชาที่ปฏิบัติตามมาตรฐานสากล โดยตั้งใจที่จะยกระดับมาตรฐานคุณภาพในภาคการผลิตให้ไปถึงระดับสากล ซึ่งทางรัฐบาลกัมพูชาเองกำลังพัฒนาภาคเกษตรทั้งในด้านคุณภาพ มาตรฐานบรรจุภัณฑ์และปรับปรุงอุตสาหกรรมให้ทันสมัย ตามนโยบายรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปเพื่อส่งออกร้อยละ 12 ของการส่งออกภายในปี 2568 ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ระบุว่ากัมพูชาส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ 169,458 ตัน ไปกว่า 11 ประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50654880/japanese-firm-to-build-cashew-processing-plant/

กัมพูชาเริ่มเข้าใกล้กับขั้นตอนการควบคุมท่าเรือที่เหมาะสม

กระบวนการในและนอกของการยกร่างกฎหมายที่จะควบคุมท่าเรือของกัมพูชาอย่างเหมาะสมนั้นกลับมาดำเนินการอีกครั้ง โดยกระทรวงโยธาธิการและคมนาคมของกัมพูชามีหน้าที่มอบหมายในการร่างกฎหมายท่าเรือและองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ได้จัดกิจกรรมที่นำผู้แทนจากทั้งภาครัฐและเอกชนมารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงร่างกฎหมายตามรายงานจาก Agence Kampuchea Presse (AKP) ซึ่ง JICA ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลกัมพูชาในการร่างกฎหมายที่เสนอ โดยในการประชุมเชิงปฏิบัติการแสดงถึงขั้นตอนที่สำคัญสำหรับกัมพูชาซึ่งตามผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและการขนส่งสินค้ามองว่าจำเป็นต้องมีกฎหมายที่ควบคุมกิจกรรมภายในท่าเรือของตนอย่างเหมาะสม ซึ่งการขาดกฎหมายท่าเรือถือว่าเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาท่าเรือของกัมพูชา โดยท่าเรือถูกมองว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาของกัมพูชาซึ่งได้เห็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและเติบโตอย่างมากหลังจากเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/653738/cambodia-one-step-closer-to-proper-port-regulation/

กลุ่มนักลงทุนจีนลงทุนในอุตสาหกรรมกล้วยมูลค่าโครงการกว่า 30 ล้านเหรียญ

Beijing Capital Agribusiness Group ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของจีนประกาศที่จะศึกษาโครงการการลงทุนมูลค่ากว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อทำสวนกล้วยในกัมพูชา โดยบริษัทกำลังพิจารณาการซื้อที่ดิน 1,500 เฮกตาร์ ที่จะใช้ในการปลูกกล้วย ซึ่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตรของกัมพูชาให้การต้อนรับแผนของ บริษัท และให้คำมั่นที่จะอำนวยความสะดวกในการลงทุนเนื่องจากมองว่าการลงทุนจะมีความสำคัญต่อการพัฒนาภาคเกษตรกรรมของกัมพูชา โดยให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความทันสมัยของภาคและส่งเสริมการแปรรูปบรรจุภัณฑ์รวมถึงการส่งออกสินค้าเกษตรที่มีมาตรฐานคุณภาพสูง จากรายงานล่าสุดของกระทรวงเกษตร กัมพูชาได้ส่งออกกล้วยสดจำนวนกว่า 110,512 ตัน ในช่วงเก้าเดือนแรกของปีซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศจีน เวียดนามและญี่ปุ่น โดยมองว่าในอนาคตมูลค่าการส่งออกกล้วยอาจจะสูงมากกว่ามูลค่าการส่งออกข้าวสารภายในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50653739/chinese-group-unveils-plan-to-invest-30m-in-banana-industry/

ผู้ค้าข้าวในกัมพูชาเริ่มส่งออกข้าวไปยังตลาดจีนมากขึ้น

เจ้าหน้าที่ของจีนตกลงที่จะเร่งการตรวจสอบใบสมัครของ บริษัท ในกัมพูชากว่า 40 แห่ง ที่ต้องการส่งออกข้าวไปยังตลาดจีน โดยสำนักงานควบคุมคุณภาพตรวจสอบและกักกันโรค (AQSIQ) ของประเทศจีน และกระทรวงเกษตรของกัมพูชาพบกันเพื่อหารือเกี่ยวกับการส่งออกข้าวของกัมพูชาไปยังประเทศจีน ซึ่งประธานสหพันธ์ข้าวกัมพูชากล่าวว่าการส่งมอบข้าวไปยังประเทศจีนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงเก้าเดือนแรกของปีเพิ่มขึ้น 44% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยจากข้อมูลของ CRF กัมพูชาส่งออกข่าว 157,793 ตันไปยังประเทศจีนตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกันยายนคิดเป็นกว่า 39.6% ของการส่งออกข้าวทั้งหมดของกัมพูชา ซึ่งเมื่อปีที่แล้วไม่สามารถส่งออกข้าวได้ตามโควต้าที่ทางจีนกำหนดโดยส่งออกไปเพียง 170,000 ตันจากจำนวนโควต้าที่ได้รับอนุญาตที่ 300,000 ตัน อย่างไรก็ตามในปีนี้ CRF มั่นใจว่ากัมพูชาจะสามารถส่งออกข้าวได้เต็มจำนวนโควต้าที่ได้รับอนุญาต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50653395/more-local-rice-traders-set-to-export-to-chinese-market/

รัฐบาลกัมพูชาจะซื้อ Cintri เพื่อแก้ไขปัญหาขยะภายในประเทศ

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนประกาศว่ารัฐบาลจะเข้าถือครองและจัดการ Cintri (กัมพูชา) ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่ทำสัญญาเพื่อรวบรวมและจำกัดขยะในเมืองหลวง โดยมองเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในเมืองหลวงคือมีขยะเป็นจำนวนมากบวกกับปัญหารถติดและที่จอดรถไม่เพียงพอ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ขอให้กระทรวงเศรษฐกิจและการคลังรวมถึงศาลาว่าการพนมเปญทำงานร่วมกับ Cintri ในการเข้าซื้อกิจการเพื่อให้เกิดบริการที่ดีขึ้น  โดยอดีตเมืองนี้มีขยะเพียง 500 ตันต่อวัน แต่ปัจจุบันสูงถึง 3,000 ตันต่อวัน เกิดจากการขยายตัวของเศรษฐกิจของเมืองอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะจัดการระบบในการทำงานใหม่โดยจะมี บริษัทเอกชนรายอื่นเข้ามาร่วมในการดำเนินการเพื่อไม่ให้เป็นการผูกขาดและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการให้ดีขึ้น โดยในทุกๆวัน กรุงพนมเปญสร้างขยะถึง 2-3 พันตันต่อวันซึ่งเป็นขยะพลาสติกกว่า 600 ตัน โดยรวมแล้วกัมพูชาสร้างขยะมากกว่า 10,000 ตันต่อวันหรือมากกว่า 3.6 ล้านตันต่อปี ซึ่งรวมถึงขยะมูลฝอยทุกประเภทในครัวเรือนและขยะอุตสาหกรรมอื่นๆ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50653397/government-will-buy-cintri-pm/

เจ้าหน้าที่ของกัมพูชาควบคุมผู้ใช้รถบนท้องถนนที่ไม่มีประกันภัย

สมาคมประกันภัยกัมพูชา (IAC) เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับ บริษัท ประกันภัยเกี่ยวกับการประกันภัยรถยนต์ โดยข้อตกลงดังกล่าวได้รับการออกแบบมาเพื่อสร้างความเชื่อมั่นระหว่างผู้ให้บริการประกันภัยกับผู้บริโภคภายในประเทศ ซึ่งข้อตกลงนี้มุ่งเน้นเฉพาะการชำระเงินสำหรับความเสียหายต่อยานพาหนะไม่ร่วมการประกันภัยสำหรับการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุร้ายแรง โดยบริษัท รถบรรทุกหลายแห่งไม่มีประกันภัยคุ้มครอง จากอุบัติเหตุรถบรรทุกกว่า 798 คันในปี 2561 มีเพียง 24% ที่ได้รับความคุ้มครอง ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวจะมีบทลงโทษกับบริษัทรถบรรทุกที่ไม่มีประกัน หากเกิดอุบัติเหตุและเจ้าของไม่มีประกันจะมีค่าปรับและอาจจะโดนยึดใบอนุญาตประกอบธุรกิจหรือถูกส่งเรื่องไปยังศาล รวมถึงผู้ใช้รถสันจรบนท้องถนนอื่นอีกด้วย โดยข้อตกลงจะมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคมปีหน้า ซึ่ง IAC จะฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับวิธีปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากข้อตกลง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50652811/authorities-clamp-down-on-lack-of-vehicle-insurance/